สธ.แนะควบคุมอารมณ์ ลดความรุนแรงบนท้องถนน

สธ.17 เม.ย.-โฆษก สธ.แนะประชาชนวางแผนเดินทางกลับจากการฉลองเทศกาลสงกรานต์ ถ้าผู้ขับขี่รู้สึกอ่อนเพลียหรือเกิดความเครียดให้พักตามจุดบริการ ทำให้ลดความเครียดและสามารถควบคุมอารมณ์ ลดการใช้ความรุนแรงบนท้องถนน


นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงที่ประชาชนเดินทางกลับจากการฉลองเทศกาลสงกรานต์ ส่วนใหญ่อาจเกิดความเครียดจากรถติดและมารยาทการขับขี่บนท้องถนน  โดยเฉพาะผู้ที่ขับรถจะมีความเครียดอยู่แล้ว หากมีความเครียดสะสมมากๆ อาจทำให้บุคคลนั้น เสียความสามารถในการควบคุมอารมณ์จนเกิดกระทบกระทั่งกันหรือระเบิดออกมาเป็นพฤติกรรมรุนแรงได้ ทางจิตวิทยา ถือเป็นปัจจัยกระตุ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่สามารถควบคุมตัวเองได้ เนื่องจากอาจมีความเครียดสะสมน้อยและมีวิธีการจัดการความเครียดที่ดีกว่า 


ดังนั้นการเตรียมตัวก่อนการเดินทางไม่ให้มีความเครียดสะสม เช่น การพักผ่อนนอนหลับ การคำนวณเรื่องเวลาเดินทางหรือการเลี่ยงเส้นทางที่เราคิดว่าจะเป็นปัญหา การเลือกเวลาเดินทาง โดยเฉพาะการวางแผนเดินทาง จะช่วยทำให้ปัญหาน้อยลง ซึ่งผู้ขับขี่ต้องยอมรับสภาพความเป็นจริง เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาว  ถ้าทำใจได้ก็จะไม่มีความเครียดมากเพราะไม่ได้คาดหวังอะไร และยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญระหว่างเดินทาง คือถ้าผู้ขับขี่รู้สึกอ่อนเพลียหรือเกิดความเครียด  ควรพักตามที่ทางหน่วยงานและท้องถิ่นจัดให้  มีจุดพัก และบริการต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ขับขี่กลับมาสดชื่น จึงคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเวลาที่เสียไป ดีกว่าการที่จะไปหงุดหงิดวุ่นวายใจอยู่ในรถ เป็นการช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา ที่สำคัญคืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาดทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร เพราะจะทำให้เสียการควบคุมตนเองอันเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุและความรุนแรง


นพ.ยงยุทธ กล่าวอีกว่า เวลาเครียดจากรถติดถ้าเกิดการกระทบกระทั่งกัน ต้องให้อภัย เพราะหากใช้อารมณ์ฉุนเฉียวจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ หลักง่ายๆ คือให้กลับมาที่ลมหายใจ ด้วยการหายใจเข้ายาวๆสัก5-6 ลมหายใจ การใช้ลมหายใจจะช่วยเรียกสติคืนมา จึงควรเรียนรู้วิธีการนี้ในการจัดการกับอารมณ์ ร่วมไปกับการสื่อสารที่ลดความขัดแย้ง โดยบอกความรู้สึกและความต้องการตนเองมากกว่าไปพูดตำหนิพฤติกรรมอีกฝ่าย(หรือใช้ภาษาฉันมากกว่าภาษาแก) เช่น จาก “แกทำไมถึงทำแบบนี้” เปลี่ยนเป็น “ผมไม่ได้ตั้งใจ ขอโทษที” หากยุติความขัดแย้งไม่ได้ต้องหาบุคคลที่ 3 มาช่วย เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือบุคลากรของท้องถิ่น

ทั้งนี้ หากประชาชนประสบปัญหาเครียด กังวล โทรปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 หรือสามารถเข้าไปประเมินความเครียดของตนเอง ทางระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข www.dmh.go.th ได้ตลอดเวลา ซึ่งในเว็บไซต์นี้จะมีคำแนะนำวิธีคลายเครียดง่ายๆ .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่มพาลูก-เมียกลับจากฉลองวันเกิด รถยางระเบิดเสียหลักชนเสาไฟ ดับ 3 สาหัส 2

พ่อแม่ลูก 5 คน กลับจากฉลองวันเกิด รถกระบะยางระเบิดเสียหลักหมุนชนอัดเสาไฟฟ้า พ่อและแม่พร้อมลูกคนโตเสียชีวิตคาที่ ส่วนลูกคนกลางและคนเล็กอาการสาหัส

สุดโหด! ไล่แทงหนุ่มดับปมขัดแย้งยาเสพติด

วงจรปิดจับภาพชัด คนร้ายวิ่งข้ามถนนไล่แทงหนุ่มเสียชีวิต ชาวบ้านแตกตื่น ขณะที่ตำรวจรวบตัวทันควัน คาดปมขัดแย้งยาเสพติด

กยศ.เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน พ.ค.-มิ.ย.68

กยศ. เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน ช่วยเหลือชั่วคราว พ.ค.-มิ.ย.68 ให้นายจ้างลดยอดการหักเงินเดือน ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเริ่มผ่อนชำระใหม่เป็นรายเดือนในอัตราลดลง

ข่าวแนะนำ

ผู้เสียหาย 70 ราย ร้องสภาทนายฯ ถูกหอพักโหดเอาเปรียบ

ผู้เสียหาย 70 คน เข้าร้องสภาทนายความช่วยเหลือ หลังถูกเจ้าของหอพัก ย่านรังสิต เอาเปรียบ ข่มขู่กักขัง-ยึดทรัพย์ ด้านนายกสภาทนายความ ตั้งคณะทำงานช่วยเหลือทางคดี ทั้งแพ่ง-อาญา เชื่อมีผู้เสียหายเพิ่มอีก

คณะกรรมการแพทยสภา มีมติลงโทษ 3 แพทย์ เซ่นปม “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14

คณะกรรมการแพทยสภา มีมติลงโทษแพทย์ 3 ท่าน เซ่นปม “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14 รพ.ตำรวจ โดยว่ากล่าวตักเตือน 1 ท่าน พักใช้ใบประกอบวิชาชีพ 2 ท่าน เผยมติที่ประชุมมีความเห็น “เป็นเสียงส่วนใหญ่มาก มาก มาก”

นายกฯ มาเลเซีย ต่อสายคุย “แพทองธาร” ติดตามสถานการณ์ใต้

นายกฯ มาเลเซีย ต่อสายคุย “แพทองธาร” ติดตามสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ แสดงความพร้อมร่วมมือกับไทยเพื่อยุติความรุนแรง พร้อมใช้เวทีอาเซียนสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกมากขึ้น