ประชาชนอยากให้พรรคการเมือง ยึดหลักธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์ สุจริต

กรุงเทพฯ 15 เม.ย.- สวนดุสิต โพล สำรวจ คนไทยคิดอย่างไร กับพรรคการเมืองไทย ณ วันนี้ พบ ลักษณะของพรรคการเมืองไทยที่ประชาชนอยากให้เป็นรัฐบาล ร้อยละ 80.26 ยึดหลักธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์ สุจริต คำนึงถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ ร้อยละ 77.78 สามารถบริหารบ้านเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น


จากที่มีการรัฐประหารของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทำให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ต้องยุติบทบาทชั่วคราว แต่หลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน ทำให้พรรคการเมืองออกมาเรียกร้องให้ คสช.ผ่อนปรนให้พรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมทางการเมืองได้  เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองไทย  “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,287 คน ในหัวข้อ “คนไทยคิดอย่างไร กับพรรคการเมืองไทย ณ วันนี้” ระหว่างวันที่ 10-14 เมษายน 2560 สรุปผลได้ ดังนี้

ประชาชน ร้อยละ 42.83 เห็นด้วย ที่พรรคการเมืองออกมาเรียกร้องให้ คสช. ผ่อนปรนให้พรรคการเมืองไทยสามารถ ทำกิจกรรมทางการเมืองได้ เพราะ เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ทุกพรรคย่อมมีสิทธิเสรีภาพ อยากเห็นแนวคิด วิสัยทัศน์ เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ แต่ละพรรคต้องเตรียมพร้อมเข้าสู่การเลือกตั้ง แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ฯลฯ  


แต่ร้อยละ 30.15 ไม่เห็นด้วย เพราะ ที่ผ่านมาก็มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดแต่มีมาตรา 44 ควบคุมอยู่  ถ้าไม่มีอาจสร้างความวุ่นวายมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ฯลฯ  ร้อยละ 27.02 ไม่แน่ใจ เพราะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ คสช. อาจเป็นการออกมาเรียกร้องเพื่อหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ

หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ประชาชนอยากเห็นบทบาทของพรรคการเมืองไทยเป็นอย่างไร  ร้อยละ 74.44 ต้องการให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม ไม่สร้างความแตกแยก  ร้อยละ 71.87 ต้องการให้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือบ้านเมือง พัฒนาประเทศให้ดีขึ้น และร้อยละ 65.19 ต้องการให้เคารพกฎหมาย กติกา และระบอบประชาธิปไตย

หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ประชาชนอยากเห็นกิจกรรมต่าง ๆ ของพรรคการเมืองไทยในเรื่องอะไรบ้าง ร้อยละ 64.65 เตรียมพร้อมสู่การเลือกตั้ง คัดเลือกผู้สมัคร กำหนดวิสัยทัศน์และนโยบาย ร้อยละ 55.71 ลงพื้นที่พบปะประชาชน พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น และร้อยละ 51.75 สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพรรคการเมือง เสริมสร้างความปรองดอง


ลักษณะของพรรคการเมืองไทยที่ประชาชนอยากให้เป็นรัฐบาล ควรเป็นอย่างไรนั้น ร้อยละ 80.26 ยึดหลักธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์ สุจริต คำนึงถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ ร้อยละ 77.78 สามารถบริหารบ้านเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น และร้อยละ 69.08  มาจากการเลือกตั้ง มาจากการตัดสินใจของประชาชน .- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง