ไซโคลนทำให้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย สูญหาย 20 รายในบราซิล
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของบราซิลกล่าววานนี้ว่า พายุไซโคลนพัดกระหน่ำทางภาคใต้ของบราซิล ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 11 ราย และสูญหายอีก 20 ราย
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของบราซิลกล่าววานนี้ว่า พายุไซโคลนพัดกระหน่ำทางภาคใต้ของบราซิล ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 11 ราย และสูญหายอีก 20 ราย
ลมกระโชกแรงและคลื่นแรงจัดพัดเข้ากระหน่ำตามแนวชายฝั่งทะเลของอินเดียและปากีสถานในวันนี้ ขณะที่ในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า พายุไซโคลนจะพัดขึ้นฝั่ง โดยผู้ที่ไม่สามารถจะเดินทางหนีไปที่ใดได้ก็ต้องพยายามหาที่หลบภัยเท่าที่จะทำได้
เวลลิงตัน 15 มิ.ย.- ข้อมูลของทางการนิวซีแลนด์เผยว่า เศรษฐกิจนิวซีแลนด์ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว เนื่องจากขยายตัวติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน ก่อนที่นิวซีแลนด์จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ สำนักงานสถิตินิวซีแลนด์เผยวันนี้ว่า เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาสแรกของปี 2566 หลังจากหดตัวร้อยละ 0.7 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ทให้เศรษฐกิจเข้าสู่ถาวะถดถอยเป็นครั้งแรกนับจากปี 2563 ที่นิวซีแลนด์ต้องปิดประเทศเพราะโควิด-19 นายแกรนต์ โรเบิร์ตสัน รัฐมนตรีคลังนิวซีแลนด์ยอมรับว่า การที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะเป็นที่รู้กันว่าปี 2566 เป็นปีที่ท้าทาย เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอการขยายตัว อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงไปอีกระยะหนึ่ง และเกาะเหนือของนิวซีแลนด์เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเมืองออกแลนด์เมื่อเดือนมกราคม และถูกไซโคลนแกเบรียลพัดถล่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลกระทบหนักต่อกิจกรรมของครัวเรือนและธุรกิจ พรรคฝ่ายค้านสายกลางขวากล่าวโทษรัฐบาลว่า ทำให้เศรษฐกิจตกอยู่ในอันตราย เพราะหดตัวทั้งที่อัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 6.7 ตัวเลขการเกษตร การผลิต การขนส่งและการบริการล้วนขยายตัวลดลง นายกรัฐมนตรีคริส ฮิปกินส์กำลังถูกกดดันเนื่องจากผลการหยั่งเสียงชี้ว่า รัฐบาลพรรคแรงงานสายกลางซ้ายต้องขับเคี่ยวอย่างหนักกับพรรคแห่งชาติในการเลือกตั้งเดือนตุลาคม เขาจะไปเยือนจีนในปลายเดือนนี้เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการค้า เพราะรายได้จากการส่งออกเกือบ 1 ใน 4 มาจากจีน นักวิเคราะห์ของกีวีแบงก์มองว่า เศรษฐกิจนิวซีแลนด์เข้าสู่ภาวะถดถอยเร็วกว่าที่คาด จึงเป็นหน้าที่ของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ที่จะต้องนำพาประเทศให้พ้นจากภาวะนี้ด้วยการยุตินโยบายขึ้นดอกเบี้ยที่ทำให้ประชาชนยากลำบากในช่วงที่ค่าครองชีพสูง.-สำนักข่าวไทย
ประชาชนมากกว่า 100,000 คน อพยพออกจากเส้นทางผ่านของพายุไซโคลน “บีปอร์จอย” (Biparjoy) ที่มีความรุนแรงที่กำลังมุ่งหน้ามายังอินเดียและปากีสถานโดยนักอุตุนิยมวิทยากล่าวเตือนในวันนี้ว่า พายุอาจจะสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเรือนและทำให้สายไฟฟ้าถูกตัดขาด
เปชวาร์ 11 มิ.ย.- เจ้าหน้าที่ปากีสถานแจ้งวันนี้ว่า มีผู้เสียชีวิตแล้ว 27 คนจากฝนตกหนักและกระแสลมแรงที่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ โฆษกสำนักงานจัดการภัยพิบัติแคว้นไคเบอร์ปักตุนควาแจ้งว่า พายุหลายลูกพัดกระหน่ำ 4 เขต เมื่อคืนวันเสาร์ มีคนอย่างน้อย 12 คนถูกฝังทั้งเป็น เนื่องจากหลังคาและกำแพงบ้านพังถล่ม และมีคนเสียชีวิตอีก 15 คน ในจำนวนนี้เป็นพี่น้องครอบครัวเดียวกันจำนวน 5 คน วัยเพียง 2-11 ขวบ นอกจากนี้ยังมีคนบาดเจ็บมากกว่า 140 คน ปศุสัตว์ล้มตายมากกว่า 200 ตัว ทางการได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทั้ง 4 เขตแล้ว ขณะเดียวกันสำนักงานจัดการภัยพิบัติแคว้นสินธ์ที่อยู่ทางใต้ประกาศเตือนในวันนี้ว่า ไซโคลนลูกหนึ่งกำลังเคลื่อนตัวจากทะเลอาหรับมายังปากีสถานและอินเดีย อาจทำให้เกิดฝนตกหนักมาก และมีกระแสลมแรงถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในสัปดาห์นี้ ขอแนะนำชาวประมงให้งดออกเรือจนกว่าพายุจะเคลื่อนตัวผ่านพ้นไปภายในวันที่ 17 มิถุนายน.-สำนักข่าวไทย
คณะโฆษกของรัฐบาลทหารเมียนมากล่าววันนี้ว่า ยอดผู้เสียชีวิตในเมียนมาจากพายุไซโคลน “โมคา” เพิ่มเป็น 145 รายแล้ว หลังจากพายุลูกนี้พัดกระหน่ำสร้างความเสียหายแก่เมียนมาเมื่อ 5 วันก่อน
หลังจากพายุไซโคลน “โมคา” พัดถล่มเมียนมา ยังไม่มียอดผู้เสียชีวิตจากทางการ แต่คนในท้องถิ่นรายงานว่าเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 200 คนแล้ว ส่วนผู้รอดชีวิตต้องลำบากหนัก ความช่วยเหลือเข้าไปน้อยมาก
ประชาชนในเมืองชิตตเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ของเมียนมาที่ประสบภัยจากพายุไซโคลน “โมคา” เข้าคิวรอรับแจกอาหารและน้ำดื่มเมื่อวานนี้ ในขณะที่สหประชาชาติพยายามเจรจากับรัฐบาลทหารเมียนมา เพื่อเปิดทางให้เข้าไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากพายุไซโคลน
ยอดผู้เสียชีวิตจากพายุไซโคลน “โมคา” ที่พัดกระหน่ำพื้นที่บริเวณอ่าวเบงกอล เพิ่มขึ้นเป็น 29 รายแล้ว ในขณะที่ระบบการสื่อสารเริ่มค่อย ๆ กลับมาใช้งานได้อย่างช้า ๆ หลังจากพายุทำให้ต้องตัดการติดต่อสื่อสารและเส้นทางคมนาคม
ประชาชนนับแสนคนในเมืองซิตตเว เมืองท่าและเมืองหลักของรัฐยะไข่ของเมียนมา ถูกตัดขาดจากการติดต่อในวันนี้หลังจากที่พายุไซโคลน “โมคา” พัดถล่มทางตะวันตกของเมียนมาและบังกลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดต่อกัน
เทคนาฟ 14 พ.ค.- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาบังกลาเทศแจ้งว่า ไซโคลนโมคา (Mocha) ได้ขึ้นฝั่งพรมแดนบังกลาเทศ-เมียนมาแล้วในวันนี้ ทำให้ต้นไม้ล้มและมีฝนตกในพื้นที่ที่มีผู้ลี้ภัยโรฮีนจาอาศัยอยู่ร่วมล้านคน สำนักงานฯ แจ้งว่า ไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นฝั่งในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศกับเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ของเมียนมา ก่อนหน้านี้ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐแจ้งว่า ไซโคลนมีความเร็วลมสูงสุด 140 นอตหรือ 259 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบเท่าเฮอริเคนระดับ 5 ชายชาวโรฮีนจาวัย 28 ปีที่ลี้ภัยอยู่ในบังกลาเทศเผยว่า ที่พักในค่ายผู้ลี้ภัยสร้างด้วยผ้าใบกันน้ำและไม้ไผ่ เพียงแค่ถูกลมพัดเบา ๆ ก็เสียหายแล้ว ส่วนโรงเรียนที่ใช้เป็นที่หลบภัยไซโคลนก็ไม่แข็งแรงมากพอที่จะต้านทานแรงลมได้ ทำให้ทุกคนรู้สึกหวาดกลัว ด้านชาวโรฮีนจาที่อยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นในเมืองซิตตเวเผยว่า เริ่มมีลมพัดแรงตั้งแต่เช้าและแรงขึ้นเรื่อย ๆ บ้านพักในค่ายพังเสียหาย หลังคาของที่หลบภัยซึ่งสร้างโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) ถูกลมพัดปลิวหาย บังกลาเทศเคยถูกไซโคลนซิดร์ (Sidr) พัดถล่มทางตอนใต้ในเดือนพฤศจิกายน 2550 คร่าชีวิตคนไปมากกว่า 9,000 คน สร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล ขณะที่เมียนมาเคยถูกไซโคลนนาร์กิส (Nargis) พัดถล่มบริเวณสันดอนแม่น้ำอิรวดีในปี 2551 คร่าชีวิตคนไปมากถึง 138,000 คน.-สำนักข่าวไทย
ค็อกซ์บาซาร์ 14 พ.ค.- เจ้าหน้าที่พยากรณ์ว่า ไซโคลนโมคา (Mocha) จะขึ้นฝั่งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศกับเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ของเมียนมาราวเวลา 13:30 น.วันนี้ตามเวลาไทย เว็บไซต์ซูมเอิร์ธ (Zoom Earth) รายงานว่า ไซโคลนโมคามีความเร็วลมสูงสุด 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นซูเปอร์ไซโคลน ทางการบังกลาเทศอพยพคน 190,000 คนในเมืองค็อกซ์บาซาร์และอีก 100,000 คนในเมืองจิตตะกองไปยังพื้นที่ปลอดภัย เมืองค็อกซ์บาซาร์เป็นที่ตั้งของค่ายผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่มีชาวโรฮีนจาลี้ภัยอยู่ร่วมล้านคน ค่ายเหล่านี้ตั้งอยู่ตามเชิงเขาที่เสี่ยงเกิดดินถล่ม และสร้างขึ้นอย่างลวก ๆ ด้วยผ้าใบกันน้ำและไม้ไผ่ เพราะทางการเกรงว่าหากสร้างถาวรผู้ลี้ภัยจะไม่เดินทางกลับเมียนมา หลังจากหนีมาตั้งแต่ 5 ปีก่อน ด้านชาวโรฮีนจาที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นในเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ ทางตะวันตกสุดของเมียนมาก็เสี่ยงภัยจากไซโคลนโมคาเช่นกัน แกนนำในค่ายเผยว่า ทางการไม่ได้อพยพพวกเขาไปยังสถานที่ปลอดภัย โดยจัดหาให้เพียงอาหารและสิ่งจำเป็นเท่านั้น พวกเขากังวลว่าจะตกอยู่ในอันตรายหากระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ชาวเมืองซิตตเวพากันอพยพขึ้นสู่ที่สูงตั้งแต่วันเสาร์ เพราะมีคำพยากรณ์เตือนว่า อาจเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งหรือสตอร์มเซิร์จสูงถึง 3.5 เมตร ด้านนครย่างกุ้งที่อยู่ห่างออกไป 500 กิโลเมตรมีฝนตกและลมแรงแล้วในวันนี้ ไซโคลนเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดียด้านทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล เทียบเท่ากับไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และเฮอริเคนที่เกิดขึ้นทางเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก.-สำนักข่าวไทย