อุตุฯ เตือนไซโคลน “โมคา” ส่งผลไทยฝนตกต่อเนื่อง
กรมอตุฯ ประกาศเตือน พายุไซโคลน “โมคา” บริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง ส่งผลให้ไทยฝนตกต่อเนื่องและตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ กลาง รวมทั้ง กทม.-ปริมณฑล และภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 12-15 พ.ค.66
กรมอตุฯ ประกาศเตือน พายุไซโคลน “โมคา” บริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง ส่งผลให้ไทยฝนตกต่อเนื่องและตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ กลาง รวมทั้ง กทม.-ปริมณฑล และภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 12-15 พ.ค.66
พายุหมุนเขตร้อน หรือ ทรอปิคอล ไซโคลนที่มีความรุนแรงพัดกระหน่ำรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียด้วยความเร็วลมที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันนี้
พายุหมุนเขตร้อน หรือ ทรอปิคอล ไซโคลน ที่มีความรุนแรงกำลังมุ่งหน้ามายังรัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย ทำให้ทางการต้องอพยพประชาชน ในขณะที่เจ้าหน้าที่เตือนว่า จะเกิดกระแสลมแรงสร้างความเสียหาย ทำให้ต้นไม้โค่นล้มและเศษซากปรักหักพังปลิวเป็นอันตรายได้
สหประชาชาติกล่าววานนี้ว่า พายุไซโคลน เฟรดดี ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 460 รายในภาคใต้ของทวีปแอฟริกาและส่งผลกระทบกับประชาชนมากกว่า ครึ่งล้านคนในประเทศมาลาวี
ยอดผู้เสียชีวิตจากไซโคลนเฟรดดี้ พัดถล่มทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 200 คนแล้ว และคาดว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตน่าจะเพิ่มขึ้นอีก
โมซัมบิก น้ำท่วมหลายจุด ระดับน้ำในแม่น้ำหลายสายเกินระดับ หลังพายุไซโคลนเฟรดดี พัดกระหน่ำเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 สัปดาห์
พอร์ตวิลา 3 มี.ค.- วานูอาตู ประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หลังจากเผชิญทั้งแผ่นดินไหวรุนแรงและไซโคลนถล่มหลายระลอก สำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐหรือยูเอสจีเอส (USGS) แจ้งว่า แผ่นดินไหวขนาด 6.5 เกิดขึ้นเมื่อเวลา 05:04 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 01:04 น.วันนี้ตามเวลาในไทย นอกชายฝั่งเกาะที่อยู่ทางเหนือของประเทศ ศูนย์กลางลึกลงไปในทะเล 10 กิโลเมตร จากนั้นไม่นานเกิดแรงสั่นสะเทือนหลังแผ่นดินไหวหรืออาฟเตอร์ช็อกขนาด 5.4 และก่อนหน้านั้น 2 วันไซโคลนจูดี (Judy) เพิ่งพัดกระหน่ำวานูอาตูด้วยความเร็วลมสูงสุด 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดหลังคาบ้านปลิวและต้นไม้ล้ม นอกจากนี้ยังทำให้มีฝนตกหนัก น้ำท่วมถนนหนทาง บริการด้านไฟฟ้าและการสื่อสารได้รับผลกระทบทั่วประเทศ รวมถึงกรุงพอร์ตวิลาที่เป็นเมืองหลวง โฆษกรัฐบาลวานูอาตูแถลงว่า คณะรัฐมนตรีได้ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะที่สภากาชาดประจำมหาสมุทรแปซิฟิกเผยว่า ยังไม่ได้รับรายงานเรื่องผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต วานูอาตูมีประชากรประมาณ 320,000 คน ตั้งอยู่บนแนววงแหวนแห่งไฟ ซึ่งเป็นแนวรูปเกือกม้าที่มีแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นมาบรรจบกัน รายงานความเสี่ยงโลกจัดให้เป็นหนึ่งในประเทศที่เสี่ยงภัยมากที่สุดต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ.-สำนักข่าวไทย
เวลลิงตัน 20 ก.พ.- นิวซีแลนด์เผยวันนี้ว่า ความเสียหายจากไซโคลนแกเบรียล (Gabrielle) พัดถล่มเมื่อสัปดาห์ก่อนอาจสูงกว่า 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 274,720 ล้านบาท) และได้ประกาศงบฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูความเสียหาย ไซโคลนพัดถล่มพื้นที่ทางเหนือสุดของเกาะเหนือเมื่อหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา จากนั้นสร้างความเสียหายไปตลอดชายฝั่งตะวันออก นายกรัฐมนตรีคริส ฮิปกินส์ระบุว่า เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในศตวรรษนี้ของนิวซีแลนด์ เขาแถลงเรื่องงบประมาณบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ราว 6,432 ล้านบาท) ในวันนี้ว่า การลงทุนเพื่อฟื้นฟูชุมชนและสร้างสาธารณูปโภคที่คงทนในอนาคตเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องใช้การตัดสินใจที่เด็ดขาด งบประมาณ 250 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ราว 5,360 ล้านบาท) จะใช้ซ่อมแซมถนนสายสำคัญ และอีก 50 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ราว 1,072 ล้านบาท) จะใช้ช่วยเหลือภาคธุรกิจและภาคการผลิตพื้นฐาน รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณบรรเทาทุกข์และฟื้นฟูเพิ่มเติมในภายหลัง นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ยังได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินระดับชาติต่อไปอีก 7 วัน เพื่อสนับสนุนการบูรณะฟื้นฟู เป็นการประกาศครั้งที่ 3 นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันนายแกรนต์ โรเบิร์ตสัน รัฐมนตรีคลังกล่าวว่า รัฐบาลอาจต้องใช้งบประมาณใกล้เคียงกับที่ใช้ฟื้นฟูหลังเกิดแผ่นดินไหวไครสต์เชิร์ชขนาด 6.3 ในปี 2554 […]
เมืองต่าง ๆ ในนิวซีแลนด์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากพายุไซโคลนถล่มก่อนหน้านี้ ค่อย ๆ กลับมามีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้แล้วในวันนี้ ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติครั้งนี้เพิ่มขึ้นเป็น 9 ราย
ออกแลนด์ 16 ก.พ.- นิวซีแลนด์รับความช่วยเหลือจากนานาชาติหลังจากที่เคยปฏิเสธในเบื้องต้น เนื่องจากไซโคลนแกเบรียล (Gabrielle) สร้างความเสียหนักให้แก่เกาะเหนือที่มีประชากรหนาแน่น กระแสลมแรงและฝนที่ตกกระหน่ำตลอด 4 วันตั้งแต่ไซโคลนพัดกระหน่ำนิวซีแลนด์เมื่อวันอาทิตย์ทำให้เกิดดินถล่มและน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ถนนถูกตัดขาด ระบบไฟฟ้าและสื่อสารใช้การไม่ได้ มีคนเสียชีวิตแล้ว 5 คน สูญหาย 100 คน และไร้ที่อยู่อาศัย 10,500 คน วันนี้กองทัพได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงอาหาร น้ำ และเชื้อเพลิงให้แก่เมืองที่ถูกตัดขาด ขณะที่นายกรัฐมนตรีคริส ฮิปกินส์ กล่าวว่า เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความบอบช้ำ การเร่งฟื้นฟูสาธารณูโภคให้ใช้งานได้โดยเร็วที่สุดเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก แต่ต้องยอมรับว่าหนทางไม่ใช่ง่าย ๆ และต้องใช้ระยะเวลา บางพื้นที่อาจต้องรอหลายสัปดาห์กว่าจะมีไฟฟ้าใช้ และต้องใช้เวลานานกว่านั้นในการทำความสะอาดซากความเสียหาย ขณะนี้นิวซีแลนด์รับความช่วยเหลือจากนานาชาติแล้ว หลังจากที่เคยปฏิเสธการเสนอให้ความช่วยเหลือของสหรัฐและหลายประเทศในเบื้องต้น ไซโคลนแกเบรียลได้เคลื่อนตัวเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกกตอนใต้แล้ว แต่คาดว่าจะยังทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่องในวันนี้ เป็นอุปสรรคต่อการบรรเทาทุกข์และอาจทำให้เกิดดินถล่มครั้งใหม่ นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกีวีแบงก์ในนิวซีแลนด์ประเมินว่า ความเสียหายครั้งนี้น่าจะอยู่ที่ 5,000-10,000 ล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ราว 107,475-214,951 ล้านบาท).-สำนักข่าวไทย
นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ขอให้ประชาชนเตรียมรับมือและเตรียมแผนอพยพ เนื่องจากไซโคลนแกเบรียล (Gabrielle) เริ่มพัดกระหน่ำพื้นที่ทางเหนือสุดของประเทศแล้ว
ธากา 26 ต.ค. – บังกลาเทศมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 24 คน หลังพายุไซโคลน ‘สีตรัง’ (Sitrang) พัดขึ้นฝั่งถล่มชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเมื่อคืนวันจันทร์ และมีบ้านเรือนเกือบ 10,000 หลังถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายจากไซโคลนดังกล่าว ตำรวจและเจ้าหน้าที่บังกลาเทศเผยว่า พบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 24 คน หลังไซโคลนสีตรังถล่มชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเมื่อคืนวันจันทร์ เหตุดังกล่าวทำให้มีประชาชนหลายล้านคนต้องใช้ชีวิตท่ามกลางไฟดับ และทำให้ทางการต้องอพยพชาวบังกลาเทศราว 1 ล้านคนออกจากพื้นที่ประสบภัย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ถูกต้นไม้ล้มทับ นอกจากนี้ มีผู้เสียชีวิต 2 คนจากเหตุเรือล่มในแม่น้ำยมุนา ทางตอนเหนือของบังกลาเทศ และมีแรงงานชาวเมียนมา 1 คนที่ทำงานอยู่บนเรือเสียชีวิตจากเหตุตกดาดฟ้าเรือ ขณะนี้ ทางการบังกลาเทศยังไม่ได้รับรายงานความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากไซโคลนสีตรัง ตำรวจและเจ้าหน้าที่ยังระบุว่า มีประชาชนราว 10 ล้านคนในพื้นที่ตามแนวชายฝั่งต้องใช้ชีวิตท่ามกลางไฟดับเมื่อวันอังคาร ขณะที่โรงเรียนในพื้นที่ทางตอนใต้ของบังกลาเทศต้องสั่งหยุดการเรียนการสอนเป็นการชั่วคราว ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีกระทรวงจัดการภัยพิบัติของบังกลาเทศ ระบุว่า ไซโคลนสีตรังได้พัดขึ้นฝั่งถล่มพื้นที่ทางตอนใต้ของบังกลาเทศเมื่อช่วงคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา ทางการศรีลังกาได้สั่งอพยพประชาชนราว 1 ล้านคนออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำหรือริมฝั่งแม่น้ำก่อนไซโคลนสีตรังพัดถล่ม โดยย้ายประชาชนเหล่านี้ไปพักอาศัยอยู่ในศูนย์หลบภัยไซโคลนที่เป็นอาคารสูงหลายชั้น ทั้งยังระบุว่า มีบ้านเรือนเกือบ 10,000 หลังที่ถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายจากไซโคลนสีตรัง และมีฟาร์มเลี้ยงกุ้งราว 1,000 แห่งได้รับความเสียหายจากเหตุน้ำท่วม.-สำนักข่าวไทย