“คลองผิงลู่” ประตูโอกาสสินค้าจีน-อาเซียนสู่ตลาดโลก

หนานหนิง 8 ก.ย. – งานก่อสร้างโครงการ “คลองขนส่งผิงลู่” เส้นทางโลจิสติกแห่งอนาคต เชื่อมต่อจีนตะวันตกกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก คืบหน้าเกินครึ่งทางแล้ว ก่อนเปิดทดลองใช้งานในอีก 2 ปีข้างหน้า คลองขนส่งผิงลู่ (Pinglu Canal) ในพื้นที่เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ภาคใต้ของจีน เริ่มดำเนินการขุดพื้นที่เพื่อการก่อสร้าง รวมทั้งสร้างระบบนิเวศน์โดยรอบมาตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2565 ด้วยมูลค่าการลงทุน 72,700 ล้านหยวน หรือประมาณ 343,849 ล้านบาท เป็นโครงการที่รัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 14 ระหว่าง พ.ศ.​ 2564-2568 และแผนแม่บทระเบียงการค้าเชื่อมพื้นที่บกกับทะเลแห่งภาคตะวันตก (New Western Land and Sea Corridor – NWLSC) คลองขนส่งผิงลู่ มีระยะทาง 134.2 กิโลเมตร เชื่อมต่อพื้นที่ตั้งแต่อำเภอเหินโจว ในนครหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ยาวมาจนถึงเมืองชินโจว ซึ่งเป็นพื้นที่ปากอ่าวเป่ยปู้ หรืออ่าวตังเกี๋ย ตลอดเส้นทางคลองขนส่งมีประตูเรือสัญจร […]

ปากีสถานชี้กลุ่มติดอาวุธต้องการหยุดยั้งความร่วมมือกับจีน

นายกรัฐมนตรีเชห์บาซ ชารีฟ ของปากีสถาน ระบุว่า กลุ่มติดอาวุธที่ก่อเหตุหลายครั้งในแคว้นบาโลชิสถาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ต้องการหยุดยั้งโครงการพัฒนาที่เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกับจีน

เกาหลีเหนือจะจัดประชุมสำคัญของพรรครัฐบาลเดือนหน้า

เกาหลีเหนือตัดสินใจจัดการประชุมสำคัญของพรรครัฐบาลในเดือนหน้าเพื่อทบทวนความคืบหน้าของโครงการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้

เชฟรอนยืนยันถอนตัวจากโครงการยาดานาในเมียนมา

วอชิงตัน 9 เม.ย.- เชฟรอน บริษัทพลังงานใหญ่ของสหรัฐแจ้งว่า ได้ถอนการลงทุนในโครงการแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา (Yadana) ในเมียนมาแล้ว หลังจากประณามการใช้ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมาและประกาศจะถอนตัวจากเมียนมาเมื่อกว่า 2 ปีก่อน โฆษกของเชฟรอนแถลงเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า เชฟรอนไม่ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ร้อยละ 41.1 ในโครงการนี้ แต่ได้โอนให้แก่ผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่คือ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.ของไทย และวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซเมียนมา (MOGE) การถอนการลงทุนเป็นไปตามที่บริษัทมีความตั้งใจจะถอนตัวออกจากเมียนมาอย่างมีการกำกับดูแลและเป็นระเบียบ หลังจากเมียนมาเกิดการรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ยังคงดำเนินอยู่ในขณะนี้ เชฟรอนเคยแถลงเมื่อเดือนมกราคม 2565 ว่า จะถอนตัวออกจากเมียนมา ต่อมาประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ว่า ตกลงจะขายสินทรัพย์ทั้งหมดที่อยู่ในเมียนมา รวมถึงหุ้นที่ถืออยู่ในโครงการยาดานา เชฟรอนและโททาลเอเนอร์ยีส์ บริษัทพลังงานของฝรั่งเศสเคยสั่งระงับการชำระเงินจากโครงการนี้ในปี 2564 เพราะเงินจะไปถึงมือรัฐบาลทหารเมียนมา เรียกเสียงชื่นชมจากกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมา จากนั้นโททาลได้ถอนตัวออกจากเมียนมาในปี 2565 โครงการแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานาตั้งอยู่ในอ่าวเมาะตะมะ ผลิตก๊าซได้ประมาณ 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 ส่งออกมาไทย และอีกร้อยละ 30 เป็นของ MOGE […]

อิหร่านดำเนินโครงการปิโตรเคมีกว่า 100 โครงการ

เตหะราน 15 พ.ย.- ผู้บริหารบริษัทปิโตรเคมีของอิหร่านเผยว่า  อิหร่านมีการเตรียมและดำเนินโครงการปิโตรเคมีมากกว่า 110 โครงการ ตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ นายมอร์เตซา ชาห์ มีร์ซาอี ผู้บริหารบริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติหรือเอ็นพีซี (NPC) ของอิหร่านเผยว่า อิหร่านมีศูนย์ปิโตรเคมี 72 แห่ง และมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมนี้ปีละ 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 567,580 ล้านบาท) ปัจจุบันศักยภาพด้านการติดตั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของอิหร่านอยู่ที่ 92 ล้านตัน และจะเพิ่มเป็น 130 ล้านตันในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เอ็นพีซีระบุว่า ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในด้านปิโตรเคมีได้รับการปฏิบัติตามในหลายด้าน ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ความสมบูรณ์และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันได้ใช้ความรู้ความสามารถด้านการผลิตภายในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด กลยุทธ์อีกประการหนึ่งคือ การเปิดใช้โครงการในเมืองต่าง ๆ ที่เคยหยุดชะงักไป หรือล่าช้าเมื่อหลายปีก่อน หรือเสนอโครงการเข้ามาแทนที่โครงการที่ไม่สามารถดำเนินการได้.-สำนักข่าวไทย

จีนกล่าวหายูเอ็นอ้าง “ไร้มูล” เรื่องจีนบังคับใช้แรงงานชาวทิเบต

ปักกิ่ง 28 เม.ย.- จีนกล่าวหาคณะผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) ว่า กล่าวอ้างโดยไม่มีมูลความจริงจากการกล่าวหารัฐบาลจีนว่าบังคับชาวทิเบตจำนวนมากไปเข้าโครงการที่คุกคามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวทิเบต และอาจนำมาซึ่งการบังคับใช้แรงงาน โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนแถลงในวันนี้ว่า ทิเบตมีเสถียรภาพทางสังคม มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ มีเอกภาพทางชาติพันธุ์ มีความกลมกลืนทางศาสนา ประชาชนใช้ชีวิตอย่างสันติ ความกังวลของคณะผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นจึงไร้มูลอย่างสิ้นเชิง ขอให้คณะผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เคารพข้อเท็จจริงพื้นฐาน และอย่าตกเป็นเครื่องมือหรือผู้สมรู้ร่วมคิดกับกลุ่มต่อต้านจีน คณะผู้รายงานพิเศษของยูเอ็น 6 คนออกแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสบดีแสดงความกังวลต่อโครงการฝึกอาชีพและเคลื่อนย้ายแรงงานในจีนว่า กำลังถูกใช้เป็นเครื่องบังหน้าเพื่อบ่อนทำลายอัตลักษณ์ทางศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมของชาวทิเบต และเพื่อเฝ้าจับตาและล้างสมองชาวทิเบต แถลงการณ์ระบุว่า มีรายงานว่าชาวทิเบตหลายแสนคนถูกทำให้เปลี่ยนจากการมีชีวิตชนบทแบบดั้งเดิม ไปเป็นแรงงานไร้ทักษะค่าจ้างต่ำตั้งแต่ปี 2558 ผ่านโครงการที่ระบุว่าเป็นความสมัครใจ แต่แท้จริงแล้วเป็นการบังคับให้ทำงาน.-สำนักข่าวไทย

จีนเล็งเดินหน้าโครงการ “สำรวจดวงจันทร์” ระยะ 4 ในปี 2023

ปักกิ่ง, 7 ก.พ. (ซินหัว) — เมื่อวันจันทร์ (6 ก.พ.) อู๋เหว่ยเหริน หัวหน้าทีมออกแบบโครงการสำรวจดวงจันทร์ของจีน เปิดเผยว่าจีนจะเดินหน้าผลักดันโครงการสำรวจดวงจันทร์ระยะที่ 4 ในปี 2023 ซึ่งรวมถึงภารกิจการนำตัวอย่างหนัก 2 กิโลกรัมที่เก็บรวบรวมจากด้านไกลของดวงจันทร์กลับมายังโลก อู๋กล่าวว่าจีนจะดำเนินการวิจัยดวงจันทร์อย่างต่อเนื่องผ่านภารกิจฉางเอ๋อ-6 ฉางเอ๋อ-7 และฉางเอ๋อ-8 โดยภารกิจฉางเอ๋อ-6 มีกำหนดปฏิบัติงานส่งกลับตัวอย่างสู่โลกให้เสร็จสิ้น ส่วนภารกิจฉางเอ๋อ-7 จะเกี่ยวข้องกับการลงจอดบนขั้วใต้ของดวงจันทร์และตรวจหาแหล่งน้ำ อู๋เผยว่าภารกิจฉางเอ๋อ-8 จะเปิดตัวประมาณปี 2028 และจะทำงานร่วมกับฉางเอ๋อ-7 เพื่อสร้างแบบจำลองพื้นฐานของสถานีวิจัยทางวิทยาศาสตร์บนขั้วใต้ของดวงจันทร์ รวมถึงเครื่องมือสำรวจหลายรายการ อาทิ ยานโคจร ยานลงจอด ยานสำรวจ และยานบิน อนึ่ง ฉางเอ๋อ-5 ซึ่งเปิดตัวในปี 2020 เป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งล่าสุดของจีน โดยยานสำรวจสามารถเก็บตัวอย่างดินจากด้านใกล้ของดวงจันทร์ทั้งหมด 1,731 กรัม – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230206/10408e89573d4ca5bd8db3d84054fab1/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/337218_20230207ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จี 7 เปิดตัวโครงการคู่แข่งเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน

มิวนิก 27 มิ.ย.- ผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือจี 7 (G7) เปิดเผยรายละเอียดการระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการที่ถูกมองว่า เป็นคู่แข่งโครงการเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 หรือเบลต์แอนด์โรด (BRI) ของจีน โครงการความเป็นหุ้นส่วนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนโลก (PGII) พัฒนามาจากแนวคิดที่ผู้นำจี 7 แถลงในการประชุมสุดยอดที่อังกฤษเมื่อเดือนมิถุนายนปีก่อน ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐกล่าวว่า โครงการนี้ไม่ใช่โครงการความช่วยเหลือหรือการกุศล แต่เป็นโครงการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนกับทุกคน เปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ ได้เห็นถึงประโยชน์อย่างรูปธรรมของการเป็นหุ้นส่วนกับประเทศประชาธิปไตย ผู้นำจี 7 จะระดมทุน 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 21.2 ล้านล้านบาท) ภายใน 5 ปี เพื่อสนับสนุนการริเริ่มโครงการโครงสร้างพื้นฐานในประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ สหรัฐรับปากจะระดมทุนให้ได้ 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 7.06 ล้านล้านบาท) ผ่านการให้เปล่า งบรัฐบาลกลาง และการลงทุนภาคเอกชน ส่วนสหภาพยุโรปหรืออียูประกาศจะระดมทุนให้ได้ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10.6 ล้านล้านบาท) โครงการนี้จะมุ่งให้ความสำคัญกับการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับปรุงระบบสาธารณสุขโลก […]

บ.พลังงานใหญ่ญี่ปุ่นจะถอนตัวจากโครงการก๊าซเมียนมา

โตเกียว 2 พ.ค.- เอเนออส (Eneos) บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเผยว่า จะถอนตัวออกจากโครงการก๊าซธรรมชาติในเมียนมา เพราะสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในเมียนมา เอเนออสแถลงว่า บรรษัทสำรวจน้ำมันและก๊าซเจเอ็กซ์นิปปอนที่เป็นบริษัทในเครือได้แจ้งให้หุ้นส่วนทางธุรกิจในโครงการแหล่งก๊าซเยตากุนในเมียนมาทราบถึงการตัดสินใจแล้วเมื่อวันศุกร์ บรรษัทซึ่งถือหุ้นร้อยละ 19.3 ในโครงการนี้ตัดสินใจตามที่ได้พิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบันของเมียนมารวมถึงประเด็นทางสังคม และพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจของโครงการโดยอ้างอิงตามการประเมินทางเทคนิค เอเนออสระบุว่า การถอนตัวจะมีผลหลังจากรัฐบาลเมียนมาอนุมัติแล้ว และคาดว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทเพียงเล็กน้อย ก่อนหน้านี้คิริน โฮลดิงส์ บริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเพิ่งประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์เรื่องจะถอนตัวจากตลาดเมียนมา เพื่อยุติความเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับองค์กรที่โยงกับกองทัพเมียนมาโดยทันที หลังจากกองทัพเมียนมารัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางออง ซาน ซู จี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564.-สำนักข่าวไทย

นักดำน้ำหาของเก่าขอจุดจอดเรือ

หนึ่งในโครงการของกรุงเทพมหานคร ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2559 คือโครงการพัฒนาสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา 57 กิโลเมตร ซึ่งหนึ่งในกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบเป็นนักประดาน้ำหาของเก่า ที่ต้องย้ายออกจากชุมชนเดิม เพื่อหลีกทางให้โครงการ

อังกฤษเปิดโครงการให้ที่พักผู้ลี้ภัยยูเครน

ลอนดอน 15 มี.ค.- รัฐบาลอังกฤษเปิดให้ประชาชนลงชื่อเข้าร่วมในโครงการให้ที่พักแก่ผู้ลี้ภัยชาวยูเครน (Homes for Ukraine) และมีคนสนใจลงชื่อมากถึง 43,800 รายในช่วง 5 ชั่วโมงแรกเท่านั้น นายไมเคิล โกฟ รัฐมนตรีกระทรวงการเคหะและชุมชนของอังกฤษเผยว่า ทางการจะไม่จำกัดจำนวนชาวยูเครนที่จะเดินทางเข้าประเทศตามโครงการนี้ ครัวเรือนในอังกฤษที่ต้องการให้ที่พักฟรีแก่ผู้ลี้ภัยชาวยูเครนอย่างน้อย 6 เดือนสามารถเข้าไปลงทะเบียนแสดงความจำนงในเว็บไซต์ https://homesforukraine.campaign.gov.uk/  และจะเริ่มรับชาวยูเครนที่มีวีซ่าเข้าอังกฤษได้ตั้งแต่วันศุกร์นี้ เบื้องต้นทางการจะอนุมัติให้เฉพาะผู้ที่รู้จักชาวยูเครนที่ต้องการช่วยเหลือ เพื่อให้โครงการดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับเงินสนับสนุนเดือนละ 350 ปอนด์ (ราว 15,250 บาท) โดยไม่คิดภาษี และไม่จำเป็นต้องจัดหาอาหารและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ลี้ภัย  แต่สามารถทำได้โดยสมัครใจ หลังจากนั้นทางการจะให้องค์กรการกุศล กลุ่มชุมชนและกลุ่มศาสนาเข้ามาช่วยจับคู่ผู้ลี้ภัยและผู้ต้องการให้ที่พัก รัฐบาลอังกฤษถูกวิจารณ์เรื่องความล่าช้าในการตอบสนองต่อวิกฤตผู้ลี้ภัยชาวยูเครนที่หนีการรุกรานของรัสเซีย คาดว่ามีคนอพยพออกจากยูเครนแล้วเกือบ 3 ล้านคนนับตั้งแต่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียสั่งให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารพิเศษกับยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์.-สำนักข่าวไทย

เปิดคลิปนั่งร้านก่อสร้างโครงการโรงแรมหรูถล่ม

ไซต์งานก่อสร้างโครงการโรงแรมหรู ถนนพระราม 4 ยังปิดเงียบ หลังเกิดเหตุโครงสร้างค้ำยันพังถล่ม มีคนงานเสียชีวิต 3 คน ด้านผู้อำนวยการเขตปทุมวัน สั่งเจ้าของโครงการปิดล้อมพื้นที่ แก้ไขภายใน 30 วัน

1 2 3 6
...