ชทพ.กำชับสมาชิกปฎิบัติตามกรอบกกต.
“วราวุธ” ยันแยกแยะงานรมต.กับหัวหน้าพรรคชัดเจน ไม่ฉวยโอกาสใช้อำนาจเอาเปรียบทางการเมือง พร้อมกำชับสมาชิกพรรคปฏิบัติตามกรอบกกต.เคร่งครัด
“วราวุธ” ยันแยกแยะงานรมต.กับหัวหน้าพรรคชัดเจน ไม่ฉวยโอกาสใช้อำนาจเอาเปรียบทางการเมือง พร้อมกำชับสมาชิกพรรคปฏิบัติตามกรอบกกต.เคร่งครัด
“บิ๊กป้อม” นำทีมผู้บริหาร-สมาชิกพรรค พปชร. ถ่ายรูปใช้ในกิจกรรมเลือกตั้ง วางคอนเซปต์ครอบครัวอบอุ่น ปรับลุคเข้าถึงประชาชน
โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ 21 มี.ค.- “นายกสมาคมทีวีดิจิทัลฯ” เตรียมหารือ กกต. แนวทางนับคะแนนเลือกตั้ง บอกสื่อต้องเป็น “หมาเฝ้าบ้าน” เพราะเข้าคูหาครั้งนี้สำคัญ ชี้ เป็นการล้างไพ่ใหม่ เชื่อต่อให้มี ส.ว. ก็ต้านไม่อยู่
ชัวร์ก่อนแชร์ เลือกตั้ง 66 โดย ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ | กัญญาลักษณ์ ยอดเยี่ยมแกร, ปพิชยา นัยเนตร, พีรพล อนุตรโสตถิ์ การยุบสภาในวันที่ 20 มีนาคม 2566 นับเป็นการยุบสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งการยุบสภาในแต่ละครั้ง มีสาเหตุและบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ดังข้อมูลและข้อเท็จจริงที่รวบรวมมานำเสนอในบทความนี้ รู้จัก “ยุบสภา” “ยุบสภา” หรือคำเต็มคือ การยุบสภาผู้แทนราษฎร ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Dissolution of Parliament หมายถึง การทำให้การดำรงสภาพของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงพร้อมกันก่อนครบกำหนดตามวาระ โดยพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกาตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรี มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภาพ้นจากตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อนำไปสู่จัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ ประเทศไทย เคยมีการประกาศ “ยุบสภา” มาแล้ว 15 ครั้ง โดยแบ่งเป็น การยุบสภาผู้แทนราษฎร 14 ครั้ง และ การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 1 ครั้ง การยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ […]
นับถอยหลังการเลือกตั้งบรรดาพรรคการเมืองลงพื้นที่หาเสียง เปิดตัวว่าที่ผู้สมัครทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ เลือกตั้ง 66 รอบนี้มีคนบันเทิง ผันตัวมาลงสนามการเมืองกันหลายพรรค ความมีชื่อเสียงจะเป็นแต้มต่อหรือไม่ ติดตามจากรายงาน
“พล.อ.ประยุทธ์” เมินข่าวแกนนำภูมิใจไทย กินข้าวกับ “พล.อ.ประวิตร” ลั่นไม่ได้คิดอะไรทั้งนั้น พยายามทำให้ดีที่สุด อยู่ที่ความต้องการของประชาชน
ทำเนียบรัฐบาล 20 มี.ค.- โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภาแล้ว ให้จัดเลือกตั้งใหม่ภายใน 45-60 วัน
โจฮันเนสเบิร์ก 20 มี.ค.- แอฟริกาใต้เตรียมตัวรับมือกับการประท้วงทั่วประเทศที่จะเกิดขึ้นในวันนี้ หลังจากพรรคฝ่ายซ้ายชักชวนคนปิดประเทศ จุดกระแสวิตกว่าจะเกิดเหตุไม่สงบที่มีคนเสียชีวิตเหมือนเมื่อ 2 ปีก่อน โฆษกประธานาธิบดีซีริล รามาโฟซาของแอฟริกาใต้แถลงข่าวเมื่อวันอาทิตย์ว่า ประธานาธิบดีได้สั่งการให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสร้างความมั่นใจว่า จะไม่เกิดเหตุซ้ำรอยเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งหมายถึงเหตุประท้วงกรณีอดีตประธานาธิบดีจาคอบ ซูมาถูกจำคุกที่ลุกลามเป็นเหตุจลาจลและปล้นชิง มีคนเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 350 คน ทางการแอฟริกาใต้แจ้งว่า จะส่งตำรวจจำนวนมากไปรับมือกับเหตุรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น หลังจากพรรคนักรบเสรีภาพเศรษฐกิจหรืออีเอฟเอฟ (EFF) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหญ่อันดับ 3 ขอให้ชาวแอฟริกาใต้ออกมาชุมนุมตามท้องถนนและผละงานเพื่อทำไห้ประเทศหยุดนิ่ง พรรคอีเอฟเอฟเรียกร้องให้ประธานาธิบดีรามาโฟซาลาออก เพื่อรับผิดชอบที่บริหารเศรษฐกิจล้มเหลว ประเทศขาดแคลนไฟฟ้า และอัตราว่างงานพุ่งทะยาน โดยออกแถลงการณ์เมื่อวันเสาร์ว่า ผู้ประท้วงจะต้องมีความพร้อมรบและถึงขีดสุด แต่ต้องเป็นไปอย่างสันติ และขอให้ระวังมือที่ 3 เข้ามาแทรกแซง เป้าหมายหลักของการประท้วงจะอยู่ที่ท่าเรือ รัฐสภา ด่านข้ามพรมแดน และตลาดหลักทรัพย์โจฮันเนสเบิร์ก ขณะที่ประธานาธิบดีรามาโฟซากล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า พรรคอีเอฟเอฟต้องการเรียกคะแนนทางการเมืองก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า เพราะมีคะแนนไม่ถึงร้อยละ 15 ของทั้งประเทศ.-สำนักข่าวไทย
นายกฯ ขอให้รอราชกิจจานุเบกษาประกาศเรื่องยุบสภา เผยเลขาฯ ครม. จะชี้แจงขั้นตอนปฏิบัติหาเสียงเลือกตั้ง พรุ่งนี้ (21 มี.ค.)
“อนุทิน” เตรียมถอยบทบาท รมว.สธ.หลังยุบสภา ชี้ เป็นมารยาททางการเมือง ระบุ ไม่กังวลคะแนนเสียง หลังกัญชา ถูกด้อยค่า ยัน ภูมิใจไทย เสนอกฎหมายควบคุม ไม่เคยตั้งเป้าให้ใช้นันทนาการ
“วิษณุ”คาด วันศุกร์นี้ กกต.ประกาศวันเลือกตั้ง 14 พ.ค. เชื่อแบ่งเขตไม่มีปัญหา กำชับข้าราชการห้ามยุ่งเกี่ยวกับการหาเสียง เผยงบเลือกตั้ง ส.ส.เขตคนละ 1.9 ล้านบาท บัญชีรายชื่อ รวม 100 คน 44 ล้านบาท ย้ำ แต่งตั้งโยกย้าย ผู้บริหารระดับสูง-ของบกลาง ต้องเข้า กกต.
“ชวน” เตรียมลงพื้นที่ช่วยปชป.หาเสียงหลังยุบสภา เผยคุย “อภิสิมธิ์” ให้ช่วยพรรคหาเสียง แต่ต้องแล้วแต่เจ้าตัว คาดหลังเลือกตั้งพรรคการเมืองเหลือน้อยลง