
ผู้เลี้ยงหมูจ่อยื่น รมว.คลัง วอนปกป้องเกษตรกร
ผู้เลี้ยงหมูทั่วประเทศ เตรียมยื่นหนังสือ รมว.คลัง วอนปกป้องเกษตรกร ไม่นำเข้าเนื้อหมูและเครื่องในจากสหรัฐ
ผู้เลี้ยงหมูทั่วประเทศ เตรียมยื่นหนังสือ รมว.คลัง วอนปกป้องเกษตรกร ไม่นำเข้าเนื้อหมูและเครื่องในจากสหรัฐ
กรุงเทพฯ 8 เม.ย. – สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ นำผู้แทนเกษตรกร 100 คน ยื่นหนังสือต่อรัฐบาล ยืนยันคัดค้านการนำเข้าสินค้าสุกรทั้งเนื้อและเครื่องในจากสหรัฐอเมริกา โดยเสนอให้ไทยนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งจำเป็นต่อภาคปศุสัตว์และไม่กระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชภายในประเทศ เชื่อจะเพิ่มมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกาได้ 25,000 ล้านดอลลาร์/ปี ย้ำหากเปิดนำเข้าสินค้าสุกร จะเป็นวิกฤติร้ายแรงต่อเกษตรกรและตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติกล่าวว่า เช้านี้จะนำกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งอยู่ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล จากนั้นจะรอรับฟังผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับมาตรการการค้าสหรัฐอเมริกาซึ่งช่วงบ่ายหลังประชุมครม. นายกรัฐมนตรีเรียกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าส่วนราชการทั้งหมดหารือเกี่ยวกับการที่สหรัฐอเมริกาประกาศมาตรการภาษีนำเข้าต่างตอบแทน (Reciprocal Tariffs) ต่อประเทศไทยในอัตรา 36% โดยมีผลบังคับใช้ในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 9 เมษายน 2568) สำหรับหนังสือร้องเรียนจะส่งถึงนายกรัฐมนตรี รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วยโดยเนื้อหายืนยันถึงจุดยืนและข้อเสนอของ “สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” ซึ่งประกอบด้วยผู้เลี้ยงสุกร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ และภาคธุรกิจอาหารสัตว์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติย้ำว่า การนำเข้าสุกรจากสหรัฐอเมริกาจะซ้ำเติมอุตสาหกรรมสุกรไทยที่เพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤติโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ช่วงปี 2563–2565 และการลักลอบนำเข้าสุกร (หมูเถื่อน) ที่ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564โดยจะทำลายอาชีพเกษตรกและตลอดห่วงโซ่อุปทาน สำหรับสุกรเป็นหนึ่งในอาหารโปรตีนหลักของคนไทยและเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างห่วงโซ่เศรษฐกิจสำคัญให้กับประเทศ โดยไทยผลิตสุกรกว่า 23 ล้านตัวต่อปี สร้างมูลค่าสุกรมีชีวิตถึง 202,400 ล้านบาท […]
กรุงเทพฯ 6 เม.ย. – สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการเปิดนำเข้าสินค้าเนื้อหมูและเครื่องใน เพื่อลดการเกินดุลการค้าสหรัฐ ย้ำจะกระทบอุตสาหกรรมสุกรทั้งประเทศ ทำเกษตรกรไทยหมดอาชีพ และบั่นทอนความมั่นคงทางอาหาร นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่ปรึกษารัฐมนตรี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะเจรจาของรัฐบาลไทย มีแนวคิดนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และเนื้อหมูจากสหรัฐ เพื่อลดดุลการค้า หลังสหรัฐประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 37% โดยระบุว่า สมาคมฯ เห็นด้วยกับการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง ข้าวสาลี และวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ ซึ่งประเทศไทยขาดแคลน และจำเป็นต้องใช้เพิ่มมากขึ้นเมื่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เติบโตขึ้น แต่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อเสนอในการนำเข้าเนื้อหมู ซึ่งเป็นการทำลายอุตสาหกรรมหมูของไทย เพราะทำให้เกษตรกรไทยไม่สามารถแข่งขันได้และจำต้องเลิกอาชีพในที่สุด เมื่อนั้นจะไม่มีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อีกต่อไป เกษตรกรพืชไร่จะหมดอาชีพ และในที่สุดก็จะไม่มีการนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐอีก “การเปิดรับเนื้อหมูนำเข้าจากสหรัฐ ไม่เพียงกระทบอย่างรุนแรงต่ออาชีพเกษตรกรตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ แต่ยังกระทบสุขอนามัยของผู้บริโภค ตลอดจนทำลายอุตสาหกรรมการผลิตหมูของไทยทั้งระบบ” นายสิทธิพันธ์ กล่าว ทั้งนี้ ระบบการผลิตหมูในประเทศมีห่วงโซ่การผลิตที่ยาวมาก ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ เช่น เกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ พ่อค้าพืชไร่ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ เกษตรกรผู้เลี้ยง โรงชำแหละ เขียง ผู้ค้าในตลาดสด รวมถึงผู้ประกอบการแปรรูปหมู การนำเข้าหมูจะกระทบทุกขั้นตอนในห่วงโซ่การผลิต […]
พิษณุโลก 7 มี.ค.- พาณิชย์ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ข้าวปรัง จ.พิษณุโลก ให้กำลังใจชาวนาช่วยแก้ปัญหาราคาข้าว ย้ำปัญหาสินค้าเกษตรเป็นภารกิจหลัก ด้านเกษตรร้องถามหาคนให้ปลูกกล้วย ก่อนรับฟังคำชี้แจงระบุเป็นทางเลือก เพื่อปรับเปลี่ยนผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด นายวรวงศ์ รามางกูร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงพาณิชย์ นายคุณากร ปรีชาชนะชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยผู้บริหารกรมการค้าภายใน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ข้าวเปลือกนาปรังในพื้นที่ จังหวัดพิษณุโลก จุดแรกลงพื้นที่ สหกรณ์การเกษตรนิคมฯ บางระกำ (สาขาคุยม่วง) พบว่าเกษตรกรทยอยนำข้าวที่เกี่ยวเสร็จแล้วมาขายหลายคันรถบรรทุก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้มีการตรวจสอบเครื่องชั่งรถบรรทุกข้าว ทำการสอบเทียบความเที่ยงตรง รวมถึงเครื่องวัดความชื้น ที่จะช่วยให้พี่น้องเกษตรมั่นใจเรื่องน้ำหนักครบถ้วน นอกจากนี้ยังมีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานราชการ โดยมีกรมการข้าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และผู้แทนเกษตรกรในพื้นที่บางระกำ โดยที่ประชุมได้มีการบูรณาการโดยให้กรมการค้าภายในกำกับดูแลราคาปุ๋ย ยา ให้มีความเหมาะสม ในส่วนของกรมการข้าวให้จัดหาเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพแจกจ่ายเกษตรกรในพื้นที่เพื่อปลูกในฤดูกาลผลิตต่อไป หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่บางระกำ เกี่ยวข้าวมาขายที่สหกรณ์ ทั้งหมด 12 ไร่ ได้ข้าวที่ความชื้น 26% ราคาที่ขายได้ 7,480 บาทต่อตัน ซึ่งเกษตรกรดีใจที่ได้ราคาดี และดีใจที่รัฐบาลได้มีนโยบายช่วยเหลือชาวนาผู้ปลูกข้าวนาปรัง ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีการช่วยเหลือมาก่อน ระหว่างการพบปะพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกร […]
“พิชัย” รมว.พาณิชย์ ชี้แจงแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรและชาวนา พร้อมยืนยันไม่มีนโยบายให้เปลี่ยนจากปลูกข้าวเป็นปลูกกล้วยทั้งหมด เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในตลาดต่างประเทศ
“อนุทิน” ติดตามสถานการณ์ไฟป่าต่อเนื่อง ขอบคุณเกษตรกรและประชาชนให้ความร่วมมือลดการเผาซากวัชพืช ย้ำปีนี้บังคับกฎหมายอย่างเข้มข้น พร้อมหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร เร่งเสนอให้นายกฯ พิจารณา พร้อมเผยยังไม่ได้รับรายงานทหารยิงปืนใหญ่จนเกิดไฟป่า เชื่อผู้ว่าฯ-ฝ่ายทหาร หารือกันแล้ว
ชาวบ้าน จ.สตูล ใช้พื้นที่เพียง 1 งาน ปลูกแตงไทยตามออเดอร์ของแม่ค้า ลดปัญหาล้นตลาด ผลผลิตเน่าเสีย ทำให้ได้ผลผลิตคุณภาพ และมีตลาดรองรับแน่นอน
กมธ.เกษตรฯ สภาผู้แทนราษฎร ขอรัฐบาลทบทวนมาตรการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 เหตุตัดสิทธินานเกินไป-ระบุโครงการไม่ชัดเจน ชี้ สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกรในระยะยาว
อดีตครูผันตัวสู่เกษตรกรเจ้าของสวนองุ่น ศึกษาพัฒนาสายพันธุ์เอง ใช้เวลา 5 ปี จนได้สายพันธุ์ที่ดี ตั้งชื่อว่า “นิลน่าน-ควีนนิลน่าน” ลูกใหญ่ หวานกรอบ พร้อมเปิดสวนให้เยี่ยมชม เก็บชิมสดๆ หวังให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้การเกษตร
ทำเนียบ 15 ม.ค.- “อนุกูล” เผย “หอมแดง” ราคาขยับสูงขึ้น หลังรัฐบาลขับเคลื่อนมาตรการเชื่อมโยงผู้ประกอบการ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้สูง 72,000 ต่อไร่ นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลขับเคลื่อนมาตรการสร้างรายได้และขยายโอกาสภาคการเกษตรผ่านมาตรการเชื่อมโยงประสานผู้ประกอบการและผู้รับซื้อภายในและภายนอกช่วงฤดูกาลหอมแดง ในเดือนธันวาคม 2567 โดยให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรมและคุ้มต้นทุนผ่านการดำเนินการประสานผู้ประกอบการนอกพื้นที่ เปิดตลาดการค้าเชื่อมโยงผู้ประกอบการและซูเปอร์มาร์เก็ตให้เข้ามารับซื้อสินค้าหอมแดงถึงในไร่ปลูกหอมแดง พร้อมด้วยจัดโครงการภายใต้แคมเปญ “รักใครให้หอม” ผ่านช่องทางร้านธงฟ้า ตลอดจนการเชื่อมโยงผ่านช่องทางพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ นายอนุกูล กล่าวต่อไปว่า ไม่เพียงแค่มาตรการในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการค้าภายในเพียงเท่านั้น กระทรวงพาณิชย์ยังได้เปิดตลาดการค้าประสานและเชื่อมโยงผู้รับซื้อจากต่างประเทศเข้ามารับซื้อ ซึ่งจากมาตรการดังกล่าวทำให้หอมแดงมีราคาปรับตัวที่ดีขึ้น โดยหอมแดงสด เกรดกลาง มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 11-12 บาท/กิโลกรัม (กก.) เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.2567 ที่ราคา 8-9 บาท/กก. และเกรดสวย ราคา 12-14 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจาก 10 บาท/กก. และคาดว่าแนวโน้มราคาจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องไปจนจบฤดูกาล เนื่องจากหอมแดงปีนี้มีคุณภาพดีมาก สำหรับภาพรวมข้อมูลตัวเลขผลผลิตหอมแดงทั้งประเทศคาดว่า จะอยู่ที่ปริมาณ 152,221 ตัน และในเฉพาะพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ผลผลิตคิดเป็น […]
ก.เกษตรฯ แจงเร่งเสนอ ครม. พิจารณาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก โดยจัดทำโครงการรักษาเสถียรภาพราคา 2 โครงการ ส่วน “ไร่ละ1,000” ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขที่ ครม. กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ที่ให้ทุกหน่วยงานหลีกเลี่ยงการดำเนินการในลักษณะการให้เงินอุดหนุน ช่วยเหลือ ชดเชย หรือประกันราคาสินค้าเกษตรโดยตรงแก่เกษตรกร
“นฤมล” รมว.เกษตรฯ มุ่งผลักดันสหกรณ์ให้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน