หนุ่มซิ่งกระบะชนเสาไฟฟ้าพังยับ คนขับรอดปาฏิหาริย์

หนุ่มขับรถกระบะเสียหลักพุ่งลงข้างทางบนถนนสายสงขลา-นาทวี กวาดเรียบกระถางต้นไม้หน้าบ้านของชาวบ้านกระจาย ชนเสาไฟส่องทางขาดติดไปกับตัวรถ ก่อนจะฟาดกับเสาไฟฟ้า รถพังยับ แต่คนขับรอดปาฏิหาริย์

ภาคใต้ยังน่าห่วง น้ำท่วมตรัง ขยายวงกว้าง

น้ำท่วมภาคใต้หลายพื้นที่ยังน่าเป็นห่วง จ.ตรัง น้ำในแม่น้ำตรังเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนสองฝั่ง ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แม้ฝนจะหยุดตกมาเป็นวันที่ 2 แล้ว ประกอบกับมีน้ำทะเลหนุน ทำให้น้ำท่วมขยายวงกว้าง ส่วน จ.สงขลา น้ำยังท่วมพื้นที่โดยรอบทะเลสาบสงขลา ทั้ง 5 อำเภอ

“อนุชา”ไปสงขลาตามงานช่วยน้ำท่วมพรุ่งนี้

“อนุชา” ลงพื้นที่สงขลาพรุ่งนี้ ตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจประชาชนและเจ้าหน้าที่ ประเมินสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ภาคใต้เผชิญฝนตกหนักน้ำท่วมขยายวงกว้าง

ภาคใต้เผชิญฝนตกหนัก ทำให้น้ำท่วมขยายวงกว้างหลายพื้นที่ ขณะที่กรมอุตุฯ เตือนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง คลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร

ปิดตำนานร้านน้ำชาเก่าแก่คู่หาดใหญ่

ร้านน้ำชาเก่าแก่คู่เมืองหาดใหญ่ เตรียมปิดตัวถาวรในวันพรุ่งนี้ ลูกค้าแห่อุดหนุนเต็มร้าน เก็บภาพความประทับใจเป็นที่ระลึกครั้งสุดท้าย

เร่งแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งสงขลา

สงขลา 29 พ.ย. 63 – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ วาง 3 มาตรการช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลสงขลาหวังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่ติดตามสถานการณ์ และแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณแหลมสมิหลา และหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา เพื่อรักษาระบบนิเวศชายฝั่ง และลดผลกระทบประชาชนพื้นที่ในอนาคต ทั้งนี้นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายจตุพร​ บุรุษพัฒน์​ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​​ ,อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง​ ,อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี​ ,อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ​ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือบูรณาการทำงานแก้ปัญหาร่วมกัน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวด้ลอม กล่าวว่า สิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหา​การกัดเซาะชายฝั่ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจธรรมชาติ​ให้มากที่สุด แล้วนำมาปรับใช้แก้ปัญหาอย่างเหมาะสม โดยทุกหน่วยงานจะต้องบูรณาการร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืน ทั้งการแก้ไขเฉพาะหน้า​ และในระยะยาว ​ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญและห่วงใยผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน​ โดยการแก้ไขปัญหา​จุดหนึ่งจะต้องไม่กระทบอีกจุดหนึ่ง​ ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ให้ความสำคัญและเข้าใจในเรื่องนี้​  โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน​ ​มอบหมายกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง​ แบ่งกลุ่มหาดในประเทศไทยออกเป็น​ 8​ กลุ่มหาด  และกำหนด 3 มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่น ประกอบด้วย​ 1.มาตรการสีขาว​ เช่น​ การกำหนดพื้นที่ถอยร่นให้พื้นที่ชุมชนที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง 2.มาตรการสีเขียว เป็นการใช้โครงสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม​ เช่น​ การปลูกป่าช่วยชายฝั่งทะเลถูกคลื่นกัดเซาะ การปักเสาไม้ไผ่ดักตะกอนป่าชายเลน​ และ 3.มาตรการสีเทา​ เป็นการใช้โครงสร้างแข็งช่วยในการป้องกันคลื่น​ เช่น​ การสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันคลื่นชายฝั่ง เป็นต้น​  อย่างไรก็ตามกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ จะเป็นหน่วยงานหลักประสานกับทุกหน่วยงาน​ ร่วมกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะให้มีประสิทธิภาพ และไม่เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง ระบบนิเวศทางทะเล ที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตของประชาชน​อย่างยั่งยืน .-สำนักข่าวไทย

ตรัง-สงขลาอ่วม! อ.รัตภูมิ น้ำท่วมหนักสุดรอบ 10 ปี

น้ำท่วมตรังน่าห่วง โดยเฉพาะชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำเดือดร้อนหนัก พื้นที่การเกษตรเสียหายจำนวนมาก ขณะที่ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา น้ำท่วมหนักสุดในรอบ 10 ปี

น้ำท่วมหลายอำเภอใน จ.พัทลุง

หลายจังหวัดภาคใต้กำลังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วม ที่พัทลุงน้ำป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดพัทลุงบวกกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าหลากท่วมบ้านเรือนประชาชน

1 36 37 38 39 40 121
...