แยกแยะ : “Care the Whale” ผู้ประกอบการ ถ.รัชดาฯ ร่วมลดขยะพลาสติก

ร่วมกันแยกแยะขยะจัดการให้ถูกวิธี เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ ได้ประโยชน์หลากหลายทั้งร่วมลดก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะภูมิอากาศ

จับมือชาวตรังลดขยะพลาสติก ฟื้นความสมบูรณ์ทะเล

ตรัง 26 พ.ย.63 – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ รณรงค์ชาวจังหวัดตรง ลดการใช้พลาสติก กำจัดขยะพลาสติกให้เป็นศูนย์ หวังเป็นส่สนช่วยฟื้นฟูทะเลตรัง แหล่งขยายพันธุ์พะยูนไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานนำหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ระหว่าง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมควบคุมมลพิษ จังหวัดตรัง องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลิบง สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง มูลนิธิอันดามัน และชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังลงนามบันทึกข้อตกลง “ขับเคลื่อนตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาขยะทะเลและอนุรักษ์พะยูน” เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะทะเลและอนุรักษ์พะยูน รวมทั้งเดินหน้าจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง พร้อมอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเล ปลุกคนไทยอย่าลืมบทเรียน “น้องมาเรียม” ตายจากขยะพลาสติก อีกทั้งยังส่งผลให้ปัจจุบันยังมีสัตว์ต้องตายจากขยะพลาสติกอีกมาก โดยยังได้เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนทะเลตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่บริเวณหาดยาว บ้านเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อชีวิตของประชาชนและระบบนิเวศ โดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่งซึ่งมีขยะจำนวนมากถูกพัดพาลงไปสู่ทะเลจนเกิดผลกระทบและความสูญเสียตามมาอย่างมากมาย เช่นกรณี น้องมาเรียม ลูกพะยูนขวัญใจคนไทยที่ต้องมาเสียชีวิตจากการกินเศษขยะพลาสติกในทะเล ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่คนไทยจะต้องตื่นรู้และให้ความสนใจกับการจัดการขยะให้มากยิ่งขึ้น  โดยที่ผ่านมาแม้จะมีสัญญาณดีหลายอย่างเกี่ยวกับการจัดการปัญหาขยะในประเทศไทย เช่น ผลจากมาตรการงดใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ต และร้านสะดวกซื้อ ที่ทำให้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 สามารถลดปริมาณการใช้ถุงหูหิ้วพลาสติกได้ถึง 11,958 ล้านใบ หรือคิดเป็น 108,220 ตัน และเมื่อรวมกับการดำเนินโครงการอื่น ๆ สามารถลดอันดับของประเทศไทยจากประเทศที่มีขยะสูงสุดเป็นอันดับ 6 ของโลก ให้มาอยู่ที่อันดับ 10 แต่ถือเป็นเพียงก้าวแรกของการทำงานเท่านั้น เพราะข้อเท็จจริงแล้วปัญหาจากขยะและขยะทะเลยังไม่จบ วันนี้เรายังคงได้ยินข่าวการสูญเสียสัตว์จากการกินขยะพลาสติกเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องร่วมมือกันสู้ต่อไป เชื่อมั่นว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้น จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีในอนาคต เพราะหากเราไม่ร่วมมือกันวันนี้ก็ไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะต้องมีเพื่อนของน้องมาเรียม หรือสัตว์อื่น ๆ ที่ต้องตายจากไปจากปัญหาขยะ  ซึ่งหลังจากนี้ผู้เกี่ยวข้องจะต้องไปคิดกันต่อว่าจะขยายผลความร่วมมือในลักษณะนี้ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปได้อย่างไร ที่สำคัญขอความร่วมมือจากคนไทยทุกคนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเพื่อลดขยะที่ไม่จำเป็นและขยะพลาสติกลงให้มากที่สุด เช่น การนำหลัก 3R Reduce, Reuse, Recycle มาใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ที่ตัวเราว่าจะยอมปล่อยให้พลาสติกเป็นปัญหาที่จะทำให้สภาพแวดล้อมโลกเลวร้ายลงต่อไปหรือไม่ ด้านนายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า หัวใจสำคัญของความร่วมมือทุกภาคส่วนครั้งนี้ จะทำให้เกิดความร่วมมือดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะทะเลจากต้นทาง ทั้งกิจกรรมการท่องเที่ยวปลอดขยะพลาสติกและโฟม ขับเคลื่อนครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ การนำขยะจากกิจกรรมในทะเลกลับคืนสู่ฝั่ง  มีการพัฒนาระบบการคัดแยกขยะ จัดเก็บ และการขนส่งขยะ ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล รวมทั้งสนับสนุนธุรกิจซื้อขายขยะรีไซเคิล รวมทั้งการพัฒนามาตรการด้านการเงินการคลัง เช่น ระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียม หรือภาษีท้องถิ่นหรือภาษีสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย  ขณะที่จะต้องพัฒนาการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำบรรจุภัณฑ์กลับสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยประสานความร่วมมืออนุรักษ์พะยูน คุ้มครองแหล่งที่อยู่อาศัย หญ้าทะเล และระบบนิเวศทะเล  รวมทั้งพัฒนาและสนับสนุนกลไกความร่วมมือ อาสาสมัคร เครื่องมือ หรือกระบวนการในการจัดการ การติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อแก้ไขปัญหาขยะทะเลและอนุรักษ์พะยูน ขับเคลื่อนตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากประชาชนในจังหวัดตรัง มีกลไกการทำงานที่สำคัญ คือคณะทำงานขับเคลื่อนตรังยั่งยืนฯ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังมาเป็นประธานด้วยตัวเอง และมีตัวแทนจากภาคีความร่วมมือต่าง ๆ เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหาขยะโดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่ง 5 อำเภอประกอบด้วย อ.สิเกา อ.กันตัง อ.ปะเหลียน อ.หาดสำราญ และ อ.ย่านตาขาว ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกิดการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเลให้เกิดความยั่งยืนต่อไป .-สำนักข่าวไทย

กทม.ให้บริการปักชื่อบนถุงผ้าฟรีที่ รร.ฝึกอาชีพ 7 แห่ง

กทม.ให้บริการปักชื่อนามสกุลบนถุงผ้าฟรี เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ถุงผ้าที่มีเอกลักษณ์แทนการใช้ถุงพลาสติก เริ่มวันแรก 6 ม.ค.นี้ ที่โรงเรียนฝึกอาชีพของกทม.7 แห่ง

ส.อ.ท.ดันเศรษฐกิจหมุนเวียน หวังลดขยะพลาสติก

วันนี้จะพาไปชมตัวอย่างโรงงานที่ดำเนินงานภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ที่เน้นผลิตสินค้าและวัสดุภัณฑ์ต่างๆ อย่าง “ถนอม” ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หวังแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน” ด้าน ส.อ.ท.ตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะลดปัญหาขยะพลาสติกในทะเลกว่าร้อยละ 50

ทีมผู้ดูแลแถลงผลการเสียชีวิตของ “มาเรียม” พะยูนน้อยขวัญใจคนไทย

ทีมผู้ดูแล “มาเรียม” ร่วมแถลงผลการพิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิตระบุว่า มาเรียมเสียชีวิตจากอาการช็อก พบพลาสติกชิ้นเล็กๆ ขวางลำไส้จนมีอาการอุดตันและอักเสบบางส่วน ทำให้มีแก๊สสะสมเต็มทางเดินอาหารและติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดเป็นหนอง

แถลงการตายพะยูน “มาเรียม” จ่อสตัฟฟ์ เริ่ม #มาเรียมแอคชั่น ลดขยะพลาสติกในทะเล

“วราวุธ ศิลปอาชา” รมว.ทรัพยากรฯ แถลงข่าวการตายของพะยูน “มาเรียม” หลังชันสูตรพบเศษพลาสติกในลำไส้ จ่อสตัฟฟ์ร่างน้องศึกษา ขอลดใช้พลาสติกเริ่ม #มาเรียมแอคชั่น

จี 20 จะย้ำเรื่องปกป้องสิ่งแวดล้อมทั้งที่เจ้าภาพอย่างญี่ปุ่นประวัติด่างพร้อย

ผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือจี 20 (G20) จะรับรองข้อตกลงเรื่องการลดขยะพลาสติกในทะเลและหาจุดยืนร่วมกันเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไม่สร้างภาพทำได้จริง!! 4 ประเทศต้นแบบลดขยะพลาสติก

ทั่วโลกต่างตื่นตัว “ลดขยะพลาสติก” อังกฤษ, แคนาดา, ญี่ปุ่น และไต้หวัน 4 ชาติแม่แบบ ลด-ละ-เลิก พลาสติก ทำได้จริง ไม่สร้างภาพ

สารคดีโลก : ขวดพลาสติกแลกตั๋วรถเมล์

​เมืองสุราบายา เมืองใหญ่อันดับสองของอินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในอีกหลายเมืองของอินโดนีเซียที่ตั้งเป้าจะลดขยะพลาสติก เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จึงมีการเปิดตัวโครงการรถโดยสารซึ่งมีชื่อว่า ซูโรโบโย บัส

...