aerial view of damages from earthquake in Tibet

กู้ภัยช่วยชีวิตแผ่นดินไหวทิเบตได้กว่า 400 คน

ปักกิ่ง 9 ม.ค.-เจ้าหน้าที่กู้ภัยสามารถช่วยผู้คนจากซากปรักหักพังได้กว่า 400 คน จากเหตุแผ่นดินไหวในทิเบตซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 120 คน ด้านรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่นตำหนิรัฐบาลจีนว่า ไม่ได้ช่วยชีวิตความเป็นอยู่ของชาวทิเบตดีขึ้น  เหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ในเขตปกครองตนเองทิเบตหรือซีจ้างเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม จีนได้ระดมเจ้าหน้าที่กู้ภัย ทหารและตำรวจกว่า 14,000 นายเร่งเดินหน้าค้นหาผู้สูญหาย ในเขตอำเภอติ้งรื่อ ใกล้เมืองชิกัตเซ ที่เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของทิเบต จนถึงขณะนี้สามารถช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ในซากอาคารต่าง ๆ ได้มากกว่า 400 คน และยังมีอีกหลายคนที่สูญหายไปท่ามกลางสภาพอากาศหนาวจัด  จึงต้องเร่งดำเนินการค้นหา แม้โอกาสที่จะพบผู้รอดชีวิตเป็นไปได้ยาก เนื่องจากผ่านมาเกือบ 2 วันแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันแล้วยังคงอยู่ที่ 126 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 200 คน ขณะที่ผู้รอดชีวิตกว่า 30,000 คน ต้องอพยพเนื่องจากบ้านเรือนพังเสียหายทั้งหมด     ส่วนที่เมืองธรรมศาลาของอินเดีย รัฐบาลพลัดถิ่นของชาวทิเบตได้ร่วมกันจัดพิธีสวดมนต์ให้แก่เหยื่อและผู้ประสบภัย โดยมีทั้งพระสงฆ์ แม่ชีและนักการเมืองพลัดถิ่น พวกเขาต่างเศร้าเสียใจที่ไม่สามารถเดินทางเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ประสบภัย ทำได้แต่เพียงสวดมนต์และส่งกำลังใจไปให้ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเอกราชของทิเบตคนหนึ่งได้ประณามรัฐบาลจีนที่กล่าวอ้างว่า ได้ยกระดับความเป็นอยู่และขจัดความยากจนในทิเบต แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้เห็นบ้านเรือนอยู่ในสภาพที่เลวร้าย ส่วนใหญ่เป็นบ้านเก่าที่มีอายุหลายสิบปี.-812(814).-สำนักข่าวไทย

Bavarian Nordic's vaccine against mpox

ดีอาร์คองโกเริ่มฉีดวัคซีนเอ็มพ็อกซ์

กินชาซา 5 ต.ค.- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกหรือดีอาร์คองโก เริ่มโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษวานรหรือเอ็มพ็อกซ์ในวันนี้ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้สูงเกือบ 31,000 คนแล้ว รัฐมนตรีสาธารณสุขของดีอาร์คองโกเผยเมื่อวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า โครงการฉีดวัคซีนจะเริ่มที่เมืองโกมา จังหวัดนอร์ทคีวู ทางตะวันออกของประเทศเป็นจุดแรก โดยเน้นที่ประชากรวัยผู้ใหญ่ก่อน จากนั้นจะขยายลงไปยังจังหวัดเซาท์คีวู ซึ่งเป็นจุดที่พบการระบาดรุนแรงที่สุด รัฐมนตรีสาธารณสุขระบุว่า มีความท้าทายในการเข้าถึงพื้นที่ที่ยังเกิดความไม่สงบ และตามค่ายผู้พลัดถิ่นจากการสู้รบ พร้อมกับยอมรับว่า โครงการฉีดวัคซีนมีความล่าช้าเล็กน้อย เนื่องจากต้องฝึกฝนบุคลากร วางแผนเตรียมการ และพยายามเข้าถึงชุมชนต่าง ๆ ดีอาร์คองโกเผชิญกับการระบาดของเอ็มพ็อกซ์อย่างรุนแรง  มียอดผู้ติดเชื้อเกือบ 31,000 คน และ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 988 คน ตั้งแต่ต้นปี องค์กรบรรเทาทุกข์เตือนว่า การที่ประชาชนต้องกลายเป็นคนพลัดถิ่นและอาศัยกันอย่างแออัดตามค่ายที่ไม่มีสุขอนามัย เป็นสาเหตุที่ทำให้เอ็มพ็อกซ์แพร่ระบาดมากยิ่งขึ้น การฉีดวัคซีนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันชุมชนเปราะบางเหล่านี้.-820(814).-สำนักข่าวไทย

เขื่อนแตกในซูดาน ตายแล้ว 30 คน

คาร์ทูม 27 ส.ค.- ซูดานประสบวิกฤติเขื่อนแตกหลังมีฝนตกหนักต่อเนื่องตลอดหลายวัน กระแสน้ำได้ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านอย่างน้อย 20 แห่ง  และมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 30 คน แต่สหประชาชาติคาดว่า ตัวเลขที่แท้จริงน่าจะสูงกว่านี้มาก  เหตุการณ์เขื่อนแตกเกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาที่เขื่อนอาร์บัต ทางภาคตะวันออกของซูดาน บ้านเรือนประชาชนราว 50,000 คนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ตัวเลขดังกล่าวนับเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของเขื่อนเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของเขื่อนยังไม่สามารถเข้าถึงได้ น้ำท่วมในครั้งนี้ยังทำให้ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง เจ้าหน้าที่เผยว่า เขื่อนเริ่มแตกและมีดินโคลนสะสมในช่วงหลายวันที่ฝนตกหนัก โดยเป็นฝนที่มาเร็วกว่าปกติ เขื่อนแห่งนี้เป็นแหล่งน้ำหลักของเมืองพอร์ตซูดาน ซึ่งเป็นเมืองริมทะเลแดงที่กลายเป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยและเป็นฐานที่ตั้งของรัฐบาล หน่วยงานทางการทูต หน่วยงานบรรเทาทุกข์ และผู้พลัดถิ่นในประเทศจำนวนมาก นับตั้งแต่กองทัพและกองกำลังเคลื่อนที่เร็วที่เป็นกองกำลังกึ่งทหารเริ่มสู้รบกันในเดือนเมษายนปีนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายทุ่มสรรพกำลังไปกับการสู้รบ เป็นเหตุให้สาธารณูปโภคสำคัญอย่างเขื่อน ถนน สะพานไม่ได้รับการบูรณะทั้งที่มีสภาพย่ำแย่ตั้งแต่ยังไม่เกิดการสู้รบ.-816(814).-สำนักข่าวไทย

ประชาชนหลายพันคนในอินเดียพลัดถิ่นเพราะน้ำท่วม

ประชาชนหลายพันคนในรัฐอัสสัมทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียต้องพลัดจากถิ่นฐานที่อยู่อาศัยและอีกอย่างน้อย 37 ราย ต้องเสียชีวิตจากฝนตกหนัก น้ำท่วมและดินถล่มในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา

ปี 2566 โลกมีคนถูกบังคับพลัดถิ่นมากเป็นประวัติการณ์

เจนีวา 13 มิ.ย.- สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) เผยแพร่รายงานว่า นับจนถึงสิ้นปี 2566 ที่ผ่านมา ทั่วโลกมีคนถูกบังคับพลัดถิ่นมากเป็นประวัติการณ์ถึง 117.3 ล้านคน ยูเอ็นเอชซีอาร์ออกรายงานเรื่อง “แนวโน้มโลกเรื่องการพลัดถิ่น” ว่า ตัวเลขผู้ถูกบังคับพลัดถิ่นอาจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการแก้ไขทางการเมืองในระดับโลกครั้งใหญ่ โดยพบว่า จำนวนผู้ถูกบังคับพลัดถิ่นเพิ่มขึ้นทุกปีตลอด 12 ปีที่ผ่านมา รายงานประเมินว่า ตัวเลขผู้ถูกบังคับพลัดถิ่นทั่วโลกน่าจะเกิน 120 ล้านคนเมื่อถึงสิ้นเดือนเมษายนปีนี้ คนเหล่านี้มีทั้งผู้ลี้ภัย ผู้ขอลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นในประเทศ ผู้ถูกบังคับพลัดถิ่นเพราะความขัดแย้ง การข่มเหง และความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยูเอ็นเอชซีอาร์ระบุว่า สงครามในซูดานที่ดำเนินมาตั้งเดือนเมษายน 2566 เป็นหายนะที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง แต่ได้รับความสนใจน้อยกว่าเหตุการณ์อื่น ข้อมูลขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือไอโอเอ็ม (IOM) ระบุว่า สงครามระหว่างกองทัพซูดานกับกองกำลังสนับสนุนเคลื่อนที่เร็วได้ทำให้ประชาชนต้องอพยพจากบ้านเรือน 7.26 ล้านคน เพิ่มเติมจากที่พลัดถิ่นอยู่แล้ว 2.83 ล้านคนจากความขัดแย้งหลายครั้งที่ผ่านมา ส่วนที่กาซา สงครามที่ดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2566 ทำให้คน 1.7 ล้านคน […]

เผยกลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมายึดพื้นที่ได้เพิ่มมากขึ้น

เนปิดอว์ 30 พ.ค.- รายงานของกลุ่มนานาชาติ 2 กลุ่มระบุว่า รัฐบาลทหารเมียนมาเสียการควบคุมพื้นที่เป็นวงกว้าง รวมถึงการเข้าถึงพรมแดนระหว่างประเทศ เปิดทางให้กลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธหลายกลุ่มแผ่อิทธิพลควบคุมพื้นที่ได้มากขึ้น คณะกรรมการที่ปรึกษาพิเศษเพื่อเมียนมา (SAC-M) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญนานาชาติที่รวมตัวกันรายงานและวิเคราะห์สถานการณ์ในมียนมาหลังการรัฐประหารปี 2564 ออกรายงานประเมินในวันนี้ว่า รัฐบาลเมียนมาสูญเสียการควบคุมเมืองต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 86 ของพื้นที่ทั้งประเทศ และเป็นที่อาศัยของประชากรร้อยละ 67 ของประชากรทั้งประเทศ 55 ล้านคน โดยได้ละทิ้งพื้นที่สำคัญและถูกบีบให้ต้องเป็นฝ่ายตั้งรับในพื้นที่ที่รัฐบาลยังควบคุมอยู่ในเวลานี้ ขณะเดียวกันไครซิสกรุ๊ป ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรออกรายงานประเมินว่า กลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธที่มีชัยชนะทางทหารหลายครั้งกำลังรวบรวมการควบคุมพื้นที่ที่แผ่ขยายกว้างขึ้น และหลายกลุ่มกำลังเดินหน้าไปสู่การตั้งรัฐปกครองตนเอง การที่กองทัพสูญเสียพื้นที่มากขึ้นและกลุ่มผู้ปกครองชนชั้นนำไม่พอใจมากขึ้นได้ทำให้อนาคตทางการเมืองของพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำคนปัจจุบันตกอยู่ในความไม่แน่นอน แม้ว่าเขาได้ตั้งเจ้าหน้าที่ที่จงรักภักดีให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงก็ตาม รายงานของทั้ง 2 กลุ่มนี้เสนอแนะว่า เนื่องจากรัฐบาลเมียนมากำลังสูญเสียการควบคุมพรมแดนเกือบทั้งหมดของประเทศ และองค์การการปกครองที่ไม่ใช่รัฐมีแนวโน้มจะแผ่ขยายมากขึ้น ประเทศเพื่อนบ้านเมียนมา กลุ่มระดับภูมิภาค และประชาคมโลกจึงควรเพิ่มการติดต่อประสานงานกับกลุ่มต่อต้านและภาคประชาสังคม เพื่อเร่งจัดส่งความช่วยเหลือให้แก่ประชาชนชาวเมียนมา ข้อมูลของสหประชาชาติระบุว่า มีชาวเมียนมากลายเป็นคนพลัดถิ่นในประเทศมากเป็นประวัติการณ์ คนกว่า 3 ล้านคนต้องอพยพเพราะการสู้รบที่ทวีความรุนแรงขึ้น.-814.-สำนักข่าวไทย

ชาวกาซาพลัดถิ่นเตรียมฉลองรอมฎอนท่ามกลางสงคราม

ราฟาห์ 10 มี.ค.- ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองราฟาห์ ทางตอนใต้ของฉนวนกาซาเตรียมจัดงานฉลองเดือนรอมฎอนท่ามกลางบรรยากาศที่แตกต่างไปจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากกาซาตกอยู่ในภาวะสงครามมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2566 เด็ก สตรี และผู้ชายไร้บ้านในค่ายผู้ลี้ภัยช่วยกันประดับตกแต่งเต็นท์ที่พัก สตรีคนหนึ่งกล่าวว่า รอมฎอนเป็นเดือนศักดิ์สิทธิ์ แม้ว่าปีนี้ไม่เหมือนทุกปีที่ผ่านมา พวกเธอจะฉลองให้เหมือนปกติด้วยการประดับตกแต่งสถานที่พัก ร้องเพลง สวดภาวนา และขอบคุณพระเจ้า โดยหวังว่าในรอมฎอนปีหน้ากาซาจะดีขึ้น การทำลายล้างและการปิดล้อมทั้งหมดจะเปลี่ยนไป สตรีอีกคนกล่าวว่า รอมฎอนปีนี้ไม่มีอาหาร แตกต่างจากปีผ่าน ๆ ที่โต๊ะจะเต็มไปด้วยอาหารหลากหลายอย่าง ปีนี้หลายคนจะอดอาหารโดยไม่มีอาหารรับประทานช่วงหลังพระอาทิตย์ตกดินจนถึงก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เมืองราฟาห์เป็นที่ลี้ภัยของชาวกาซามากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด 2 ล้าน 3 แสนคนที่อพยพลงใต้หนีการสู้รบทางเหนือ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐขอให้นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลละเว้นการโจมตีครั้งใหญ่ในเมืองราฟาห์ หากยังไม่มีร่างแผนการอพยพชาวปาเลสไตน์จำนวนมากออกไปจากเมืองนี้ ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่อิสราเอลยังไม่ใช้ปฏิบัติการรุกภาคพื้นดิน.-814.-สำนักข่าวไทย

ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นเสี่ยงชีวิตอาศัยตามตึกเสียหาย

กาซา 4 ก.พ.- ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นเพราะสงครามในกาซาใช้อาคารที่ถูกอิสราเอลถล่มเสียหายเป็นที่พักอาศัย แม้ว่าเสี่ยงอันตรายจากการที่อาคารจะพังถล่ม สำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานของสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้หรือยูเอ็นอาร์ดับเบิลยูเอ (UNRWA) แจ้งว่า นับจนถึงวันที่ 31 มกราคม มีผู้พลัดถิ่นทั่วฉนวนกาซามากถึง 1 ล้าน 7 แสนคน คิดเป็นมากกว่าร้อยละ 75 ของประชากรทั้งหมด ก่อนหน้านี้ยูเอ็นอาร์ดับเบิลยูเอแจ้งว่า มีอาคารในกาซาถูกอิสราเอลถล่มเสียหายมากกว่าร้อยละ 60 ผู้พลัดถิ่นหลายครอบครัวพากันเข้าไปอาศัยในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในค่ายผู้ลี้ภัยจาบาเลีย ทางตอนเหนือของกาซา หลังจากกองทัพอิสราเอลถอนกำลังออกจากพื้นที่ โรงเรียนแห่งนี้ถูกอิสราเอลถล่มเสียหายหนักในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้พลัดถิ่นเผยว่า โรงเรียนที่ไม่เสียหายล้วนมีคนอาศัยจนเต็ม ขณะที่เต็นท์ก็มีไม่เพียงพอ พวกเขาจึงเหลือทางเลือกเดียวคือ พักอาศัยตามอาคารที่เสียหาย แม้รู้ดีว่าไม่ปลอดภัยก็ตาม.-814.-สำนักข่าวไทย

เปิดปูมหน่วยงานยูเอ็นที่ถูกกล่าวหาว่า พนง.พัวพันฮามาส

สหประชาชาติ 28 ม.ค.- องค์กรบรรเทาทุกข์และจัดหางานแห่งสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้หรือยูเอ็นอาร์ดับเบิลยูเอ (UNRWA) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลคนในกาซา กำลังถูกหลายประเทศระงับการให้เงินสนับสนุน หลังจากอิสราเอลกล่าวหาว่า พนักงานขององค์กรพัวพันกับเหตุฮามาสบุกโจมตีอิสราเอล สหประชาชาติหรือยูเอ็น (UN) ก่อตั้งยูเอ็นอาร์ดับเบิลยูเอในปี 2492 หลังจากเกิดสงครามอาหรับ-อิสราเอลปี 2491 เพื่อจัดสรรความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้แก่ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่น องค์กรให้คำนิยามผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ว่า หมายถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นปาเลสไตน์ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2489 – 15 พฤษภาคม 2491 และผู้ที่สูญเสียทั้งบ้านและวิถีชีวิตอันเป็นผลจากสงครามปี 2491 ปัจจุบันจำนวนคนที่เข้าคำนิยามมีทั้งหมด 5 ล้าน 9 แสนคน ขณะที่อิสราเอลไม่ยอมให้ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นกลับมายังบ้านเกิด โดยอ้างว่าจะทำให้คุณลักษณะความเป็นยิวของอิสราเอลเปลี่ยนแปลงไป สมัชชายูเอ็นหรือยูเอ็นจีเอ (UNGA) ซึ่งเป็นที่ประชุมออกเสียงของสมาชิกยูเอ็นทุกประเทศ ได้ออกเสียงต่ออายุการทำงานของยูเอ็นอาร์ดับเบิลยูเอมาโดยตลอด องค์กรมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงอัมมานของจอร์แดนและกาซา ทำงานใน 5 พื้นที่คือ จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย ฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ที่รวมถึงเยรูซาเล็มตะวันออก ดูแลเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ที่ตั้งค่ายผู้ลี้ภัย บริการทางสังคม และความช่วยเหลือฉุกเฉิน ซึ่งรวมถึงช่วงเวลาที่เกิดความขัดแย้ง จ้างงานคนในกาซาประมาณ 13,000 คน […]

น้ำท่วมทำคนในโซมาเลียพลัดถิ่นกว่าครึ่งล้าน

ประธานาธิบดีโซมาเลียเผยว่า ประชาชนมากกว่า 500,000 คน ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นในประเทศ หลังจากประสบอุทกภัยเพราะฝนตกหนัก

ยูเอ็นระบุเหตุปะทะกันในรัฐยะไข่ทำให้มีผู้พลัดถิ่น 26,000 ราย

สหประชาชาติกล่าววันนี้ว่า การปะทะกันครั้งใหม่ในสัปดาห์นี้ระหว่างกองทัพรัฐบาลทหารเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ ทำให้ประชาชนในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของเมียนมา ต้องพลัดถิ่นฐานไปแล้วมากกว่า 26,000 ราย

จีนเผยช่วยหาที่พักให้คนหนีการสู้รบจากเมียนมา

จีนเผยว่า กำลังช่วยหาที่พักให้แก่ผู้ข้ามพรมแดนหนีการสู้รบจากเมียนมา ที่ซึ่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเผยว่า มีคนพลัดถิ่นมากกว่า 200,000 คน

1 2
...