จับตาจีนกระตุ้นเศรษฐกิจ-ผลพวงเฟดคงดอกเบี้ย
กรุงเทพฯ 15 มิ.ย.-บาทอ่อนค่าหลัง เฟดคงดอกเบี้ยและมีมุมมองปีนี้อาจขึ้นอีก 2รอบสกัดเงินเฟ้อ นักวิเคราะห์ ชี้วงจรดอกเบี้ยสหรัฐเป็นปลายทาง เศรษฐกิจสหรัฐ Soft Landing แนะจับตาจีนกระตุ้นเศรษฐกิจผลดีต่อหุ้นไทย
กรุงเทพฯ 15 มิ.ย.-บาทอ่อนค่าหลัง เฟดคงดอกเบี้ยและมีมุมมองปีนี้อาจขึ้นอีก 2รอบสกัดเงินเฟ้อ นักวิเคราะห์ ชี้วงจรดอกเบี้ยสหรัฐเป็นปลายทาง เศรษฐกิจสหรัฐ Soft Landing แนะจับตาจีนกระตุ้นเศรษฐกิจผลดีต่อหุ้นไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดประชุม กนง. วันที่ 31 พ.ค.66 จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2.00% จนถึงสิ้นปี 66
วอชิงตัน 30 เม.ย.- ตลาดคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่า ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด (Fed) จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 10 และอาจเป็นครั้งสุดท้ายในการประชุมวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐ แม้ว่ามีสัญญาณมากขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังชะลอตัว นักวิเคราะห์และนักลงทุนคาดว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 จากนั้นจะคงดอกเบี้ยสูงไว้ต่อไปเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อให้ได้ตามเป้าหมายระยะยาวที่ร้อยละ 2 โดยไม่ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารแบงก์ออฟอเมริกาแจ้งลูกค้าเมื่อวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ธนาคารคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ในสัปดาห์หน้า และส่งสัญญาณระงับการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ด้านซีเอ็มอี กรุ๊ป (CME Group) ซึ่งเป็นตลาดอนุพันธ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเผยว่า ผู้ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือฟิวเจอร์ส เทรดเดอร์มากกว่าร้อยละ 80 คาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดหรือเอฟโอเอ็มซี (FOMC) จะประชุมในวันที่ 2-3 พฤษภาคม ท่ามกลางสถานการณ์ที่แตกต่างอย่างมากจากการประชุมครั้งหลังสุดในเดือนมีนาคมที่เกิดวิกฤตภาคการธนาคารหลังจากธนาคารในสหรัฐต้องปิดกิจการหลายแห่ง ครั้งนั้นเฟดขึ้นดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเล็กน้อยในปลายปีนี้ หากที่ประชุมตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ก็จะเป็นการขึ้นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน และทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 5.00-5.25 สูงที่สุดนับจากปี 2550 ข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อไม่กี่วันก่อนระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาสแรกของปีนี้ชะลอการขยายตัวลงเหลือร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ […]
สาธารณรัฐเอสโตเนีย 30 มี.ค. -กรุงไทยชี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของที่ประชุมกนง. อีกร้อยละ 0.25 ต่อปีเป็นการส่งผ่านการขึ้นดอกเบี้ยไปสู่ระบบการเงิน เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาอยู่ในกรอบเป้าหมายในช่วงกลางปีนี้ตามแผน สำหรับกรุงไทยกำลังพิจารณาอัตราส่งผ่านตามสัญญาณของธปท. โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการด้านสภาพคล่องและการไหลเวียนของเงิน ที่สำคัญคือ การดูแลช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางซึ่งอาจจะซ่อนอยู่ในหลายsegment โดยเฉพาะรายย่อยและเอสเอ็มอี
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คงประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2566 ขยายตัวในกรอบ 3.0-3.5% ห่วงต้นทุนการผลิตที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ศูนย์วิจัยกรุงไทย คาด กนง.จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกในการประชุมครั้งหน้า เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ หลังเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องทั้งท่องเที่ยวและภาคบริการ
กนง.มีมติเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.50 ต่อปี มีผลทันที ประเมินจีนเปิดประเทศส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย แต่อาจกระทบเศรษฐกิจโลก
รัฐบาลให้ความมั่นใจ กนง.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไม่กระทบหนี้สาธารณะ สิ้นปีคาด 61.3% ต่อจีดีพี ธนาคารรัฐพร้อมตรึงดอกเบี้ยให้นานที่สุด
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ก.ค.65 ทิศทางขาขึ้นตามแนวทางผ่อนคลายภาครัฐ แต่ยังกังวลปัจจัยหลายด้านกระทบต้นทุนการผลิต แนะรัฐดูแลต้นทุนผลิต พร้อมมองดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสขึ้นอีก 2 ครั้งเพื่อดูแลเงินเฟ้อสูงส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายทั้งปีอยู่ที่ 1.25% ได้แน่
คณะกรรมการ กนง.มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 0.50 เป็นร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยให้มีผลทันที
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี ชี้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ยังต้องจับตาเงินเฟ้อ ห่วงสินค้าหมู-ไก่แพง ราคาพลังงานขยับขึ้น กระทบครัวเรือนรายได้น้อย ภาครัฐควรมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
บล.โนมูระ พัฒนสิน ประเมินผลกระทบ โควิด – 19 กดดัน คาดกนง. ลดดอกเบี้ยปีนี้สู่ระดับร้อยละ 0 ด้านGC ยอมรับมาร์จินหดแต่ปรับตัวลดต้นทุนแข่งขันได้พร้อมเดินหน้าลงทุนเพิ่มใน EEC