Vietnam media meet MCOT executives

คณะผู้บริหารสมาคมนักหนังสือพิมพ์เวียดนามเยี่ยมคารวะคณะผู้บริหาร บมจ.อสมท

กรุงเทพฯ 26 พ.ย.​- นายเลอ ก๊วก มินห์ ประธานสมาคมนักหนังสือพิมพ์เวียดนาม และคณะสื่อมวลชนจากเวียดนาม พบหารือกับคณะผู้บริหาร บมจ.อสมท และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับวงการสื่อข่าวในยุคปัจจุบัน นายเลอ ก๊วก มินห์ ประธานสมาคมนักหนังสือพิมพ์เวียดนาม และหัวหน้าบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Nhan Dan ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์อันดับ 1 ของเวียดนาม นำคณะสื่อมวลชนเวียดนาม เข้าเยี่ยมคารวะนายผาติยุทธ ใจสว่าง รองกรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานผลิตภัณฑ์ และรักษาการในตำแหน่งผู้อํานวยการใหญ่ และคณะผู้บริหาร บมจ. อสมท นายเลอ ก๊วก มินห์ ระบุว่า ปัจจุบันบริบทของสื่อหลัก เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ เปลี่ยนไปจากเดิม เนื่องจากเทคโนโลยีทำให้สื่อออนไลน์และสื่อโซเชียลเข้าถึงผู้บริโภคข่าวสารและข้อมูลได้ง่ายขึ้น ซึ่งนับเป็นความท้าทายของสื่อมวลชนซึ่งเป็นสื่อกระแสหลัก ขณะเดียวกัน ยังได้แสดงความกังวลถึงปัญหาเฟกนิวส์ หรือ ข้อมูลข่าวปลอม ที่จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของ 2 ประเทศ ดังนั้น จึงมีความเห็นว่า สื่อหลักจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีความร่วมมือกัน และบริหารจัดการโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเผยแพร่ข่าวและข้อมูลที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังเห็นว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วัคซีนป้องกันไอกรน

25 พฤศจิกายน 2567 – โรคไอกรน มีส่วนป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน แต่วัคซีนป้องกันไอกรนมีกี่ชนิด เคยฉีดแล้ว ต้องฉีดอีกหรือไม่ เมื่อใด และใครบ้างที่ควรฉีด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วัคซีนป้องกันไอกรน วัคซีนป้องกันไอกรนเป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคไอกรน ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก วัคซีนป้องกันไอกรนมี 2 ชนิด คือ แบบเชื้อตายทั้งตัว และแบบ Subunit Vaccine ซึ่งมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน แต่แบบเชื้อตายทั้งตัวอาจมีผลข้างเคียงมากกว่า วัคซีนไอกรนอยู่ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้ฉีดในเด็กตั้งแต่อายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน และกระตุ้นเข็มที่เมื่ออายุ 1 ขวบครึ่ง และ 4 ขวบ ภูมิคุ้มกันไอกรนไม่คงอยู่ตลอดชีวิต ต้องกระตุ้นอีกครั้งตอนอายุ 11-12 ปี และทุก ๆ 10 ปีหลังจากนั้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วางจานจองโต๊ะ เสี่ยงโดนวางยา จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือน อย่าวางจานอาหารและเครื่องดื่มที่ศูนย์อาหาร อาจโดนใส่ยา นั้น บทสรุป : เรื่องเก่า วนซ้ำ ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเมื่อเดือนมีนาคม 2562 กับ พ.ต.อ.อลงกรณ์ ศิริสงคราม ผกก.สน.ประเวศในขณะนั้น ได้รับการยืนยันว่า จากการตรวจสอบการรับแจ้งความย้อนหลังของ สน.ประเวศ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่พบว่ามีผู้เสียหายมาแจ้งความว่าประสบเหตุในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นจริง ตำรวจสามารถตรวจสอบกล้องวงจรปิดในห้างเพื่อติดตามคนร้ายได้ ผกก.สน.ประเวศ ยังระบุด้วยว่า หากค้นในอินเทอร์เน็ต จะพบว่าข้อความดังกล่าว มีการแชร์ผ่านโซเชียลมาตั้งแต่ปี 2560 โดยมีผู้โพสต์ข้อความเตือนบน Facebook ให้ระวังการวางจานอาหารและเครื่องดื่มทิ้งไว้ที่ศูนย์อาหาร เพราะอาจโดนใส่ยา ทำให้ไม่รู้สึกตัวจนทรัพย์สินสูญหาย และต่อมาได้มีการตั้งกระทู้สอบถามในเว็บไซต์ Pantip ซึ่งความคิดเห็นของผู้ตอบกระทู้เกือบทั้งหมดไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นเรื่องที่ไม่มีหลักฐานและไม่มีน้ำหนักมากเพียงพอ https://m.pantip.com/topic/36225130? ส่วนกรณีที่มีการเชื่อมโยงกับ คุณไก่-วรายุฑ มิลินทจินดา ผู้จัดละครชื่อดัง สืบเนื่องจากคุณไก่ ได้โพสต์ข้อความเตือนภัยดังกล่าวผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว ทำให้เกิดความเข้าใจกันว่าคุณไก่เป็นผู้ประสบเหตุดังกล่าว แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2562 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 สัญญาณโรคไอกรน จริงหรือ ?

22 พฤศจิกายน 2567 – บนโซเชียลแชร์ 5 อาการสัญญาณโรคไอกรน มีทั้งไอแห้งรุนแรง 2-3 สัปดาห์ ไข้ต่ำ 38 องศา มีน้ำมูกและอาเจียน มีเลือดออกบริเวณตาขาว และหายใจเข้ามีเสียง “วู้ฟ” สรุป : ✅ แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : Watering Hole — การโจมตี เสมือนกับดักล่าเหยื่อ

23 พฤศจิกายน 2567 สิ่งนี้…เป็นการโจมตีทางไซเบอร์ที่เปรียบเสมือนพฤติกรรมของสัตว์นักล่า ที่ดักรอเหยื่ออยู่ และ สิ่งนี้ …ถูกใช้เป็นเครื่องมีสำหรับโจมตีระดับองค์กร หรือประเทศ ที่มีอัตราความสำเร็จสูง คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน 🎯 ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ Watering Hole คืออะไร? Watering Hole เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่แฮกเกอร์จะเจาะระบบเว็บไซต์ที่คนนิยมเข้าใช้งาน เมื่อเหยื่อเข้าเว็บไซต์นั้น ก็จะติดมัลแวร์ หรือถูกขโมยข้อมูล โดยไม่รู้ตัว เปรียบเหมือนสัตว์นักล่าที่วางยาพิษไว้ที่แหล่งน้ำ ซึ่งสัตว์ต่างๆ ต้องมากินน้ำ ตัวอย่าง Watering Hole วิธีป้องกัน สรุป : Watering Hole เป็นภัยคุกคามที่อันตราย เพราะแฝงตัวอยู่ในเว็บไซต์ที่เราใช้งานเป็นประจำ ดังนั้น เราควรระมัดระวัง และป้องกันตัวเองอยู่เสมอ สัมภาษณ์เมื่อ 5 กันยายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อุบัติเหตุกับดวงตา

24 พฤศจิกายน 2567 – อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับดวงจากการทำงานมีอะไรบ้าง และจะมีวิธีการป้องกันลดความเสี่ยงอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ทำไมต้องระวังอุบัติเหตุทางตา? ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญ แต่ก็บอบบางมาก แม้จะมีเบ้าตาคอยปกป้อง แต่ก็ยังเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น อุบัติเหตุทางตาแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ กิจกรรมที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุทางตา วิธีป้องกัน ข้อควรจำ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีที่สุด ดูแลดวงตาของคุณให้ปลอดภัยนะคะ ทำไมต้องระวังอุบัติเหตุทางตา? ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญ แต่ก็บอบบางมาก แม้จะมีเบ้าตาคอยปกป้อง แต่ก็ยังเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น อุบัติเหตุทางตาแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ กิจกรรมที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุทางตา เช่น วิธีป้องกัน ข้อควรจำ อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีที่สุด ดูแลดวงตาของคุณให้ปลอดภัยนะคะ สัมภาษณ์เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แมลงวัน

21 พฤศจิกายน 2567 – ทำไมแมลงวันเข้ามาในบ้าน เมื่อแมลงวันตอมอาหารยังกินต่อได้หรือไม่ แมลงวันจะแพร่เชื้อสู่คนได้อย่างไร และจะมีวิธีการจัดการกับแมลงวันด้วยวิธีไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.รัชฎาวรรณ เงินกลั่น รองหัวหน้าศูนย์วิจัยและเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านกีฏวิทยาชุมชนและสิ่งแวดล้อม และ อาจารย์ประจำ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำไมแมลงวันถึงเข้าบ้าน? แมลงวันเลือกตอมอาหารที่สกปรกหรือไม่? แมลงวันแพร่เชื้อสู่คนได้อย่างไร? วิธีจัดการกับแมลงวัน ข้อควรจำ รักษาความสะอาด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากแมลงวัน สัมภาษณ์เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : HURDLESO IFRUNGS ? — เทคนิคคนร้าย อันตรายเพียงแอบมอง !

16 พฤศจิกายน 2567 – สิ่งนี้…เป็นกลอุบายการขโมยข้อมูลส่วนตัวทุกรูปแบบ ผ่านการสังเกตโดยตรง และ สิ่งนี้ …มักเกิดขึ้นในที่สาธารณะ ที่ใกล้ตัวจนอาจคาดไม่ถึง คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน 🎯 ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สัมภาษณ์เมื่อ : 28 สิงหาคม 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อันตรายและการป้องกันไข้เลือดออก

17 พฤศจิกายน 2567 – ไข้เลือดออกเป็นซ้ำแล้วเสี่ยงเสียชีวิตจริงหรือไม่ และเราควรป้องกันไข้เลือดออกด้วยวิธีใดจึงจะดีที่สุด ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โรคไข้เลือดออก ใคร ๆ ก็เป็นได้ ไข้เลือดออกเป็นซ้ำ อันตรายกว่าเดิม? ป้องกันอย่างไร? ข้อควรระวัง สัมภาษณ์เมื่อ : 22 ตุลาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดสูตรล้างลำไส้ จริงหรือ ?

20 พฤศจิกายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดสูตรล้างลำไส้ ทั้งการกินน้ำส้มสาย ผสมด้วยน้ำอัดลมและโยเกิร์ต ช่วยให้ลำไส้สะอาด และหากท้องผูก ให้ดื่มน้ำผึ้ง น้ำมะขาม ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ ?! 🎯 ตรวจสอบกับ อชิรญา คำจันทร์ศุภสิน นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ นายแพทย์ ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช หน่วยโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.อมรรัตน์ อรุณนวล ภาควิชาโภชนศาสตร์เขตร้อนและวิทยาศาสตร์อาหาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม หลักสูตรพิษวิทยาฯ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก ระบบเบรกรถยนต์

19 พฤศจิกายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบเบรกของรถยนต์ว่า มีหน้าที่อย่างไร แบ่งเป็นกี่รูปแบบ และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 25 ตุลาคม 2567 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังขนมเค้กยัดยาทำให้เป็นอัมพาต จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ระวังขนมเค้กที่ผลิตในอิสราเอลและส่งออกไปยังประเทศอาหรับ มียาเม็ดทำให้เป็นอัมพาต นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของตุรกี Teyit ได้ตรวจสอบ พบคลิปวิดีโอต้นฉบับเผยแพร่บน youtube ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2562 และคาดว่าวิดีโอดังกล่าวน่าจะถ่ายทำที่เคอร์ดิสถานทางตอนเหนือของอิรัก เนื่องจากตอนท้ายคลิปมีการใช้ภาษาโซรานี ซึ่งเป็นภาษาเคิร์ด และยี่ห้อไก่ “As Piliç” ที่อยู่ในตู้เย็น จำหน่ายอย่างแพร่หลายในภูมิภาคนั้น รวมถึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า ขนมเค้กในวิดีโอมีร่องรอยของการถูกเจาะ สำหรับคลิปวิดิโอที่แชร์กันนั้น แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีความเป็นจริงมากเพียงใด หรือมีการหลอกลวงมากเพียงใด แต่หากมองในแง่โอกาสการจงใจสร้างวิดีโอเพื่อให้เกิดความตื่นตระหนก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำ อาจจะใช้วิธีเปิดห่อขนมอีกด้านหนึ่ง เพื่อกดเม็ดยาเข้าไปในขนม จากนั้นปิดห่อกลับให้คล้ายเดิมแล้ววางไว้ใต้ขนมห่ออื่น และเมื่อถ่ายทำ ก็จงใจหยิบห่อที่ได้ดัดแปลงนั้นมาฉีกดู นอกจากนั้น หากมียาเม็ดในขนมเค้กที่มีลักษณะนุ่ม และวางขายเป็นอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวางระดับประเทศ เป็นไปได้ยากที่จะมีคลิปวิดีโอเพียงคลิปเดียว หรือขนมห่อเดียวถูกค้นพบ ขณะที่เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่าง snopes และ factly.in ก็ยืนยันในทางเดียวกันว่า ไม่จริงและไม่มีหลักฐานยืนยันว่ายาที่อยู่ในขนมนั้นทำให้เป็นอัมพาตได้ ในทางการแพทย์ ยาไม่สามารถทำให้เกิดโรคสมองพิการในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง ด้านโฆษกบริษัทผู้ผลิตขนมเค้ก Luppo ได้ออกประกาศยืนยันว่า โรงงานมีกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัย ใช้เครื่องจักรทุกขั้นตอน ปราศจากการสัมผัสด้วยมือของมนุษย์ […]

1 2 3 4 5 202
...