ชัวร์ก่อนแชร์ : กระเทียมไม่ควรแช่ตู้เย็น จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์แนะนำเกี่ยวกับการเก็บกระเทียมว่า “กระเทียมห้ามแช่ตู้เย็น” นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ไม่ควรเก็บกระเทียมในตู้เย็น เพราะอุณหภูมิและความชื้นในตู้เย็นอาจทำให้กระเทียมสูญเสียประโยชน์ และเกิดสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดเชื้อราบางชนิดได้ หากปอกเปลือกแล้ว แช่ตู้เย็นได้ แต่ควรใส่ในภาชนะปิดสนิท FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า “กระเทียมห้ามแช่ตู้เย็น” เป็นข้อมูลที่มักมีการส่งต่อและเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งในรูปแบบข้อความ อินโฟกราฟิก และคลิป ที่เป็นลักษณะการให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บรักษาผักและผลไม้ ซึ่ง “กระเทียม” เป็นหนึ่งสิ่งที่ได้รับการแนะนำว่า “ไม่ควรแช่ตู้เย็น” หากนำมารับประทานอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ รวมทั้งยังมีประชาชนสอบถามในประเด็นดังกล่าวเข้ามาที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ด้วย ทำไม ? กระเทียมไม่ควรแช่เย็นดร.ปัทนภา ศรีชมเชย นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ผู้จัดการศูนย์โภชนาการและกำหนดอาหาร รพ.เทพธารินทร์ ให้ข้อมูลผ่านรายการ 100.5 อาสาเตือนภัยไว้ว่า “กระเทียม” มีความชื้นค่อนข้างสูง จึงไม่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นในครัวเรือนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากอุณหภูมิในตู้เย็นอาจทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิดได้  กระเทียมที่ปอกเปลือกแล้วหากนำไปเก็บในตู้เย็นควรเก็บในภาชนะปิดสนิท เนื่องจากกระเทียมอาจดูดซับความชื้น โดยเฉพาะ เชื้อราแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus) ที่สามารถเจริญเติบโตได้บนกระเทียมจนส่งผลให้เกิดสารพิษอะฟลาทอกซิน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : King Power ปิดทุกสาขาสิ้นเดือนนี้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ คิง เพาเวอร์ประกาศปิดทุกสาขาภายในสิ้นเดือน นั้น  📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ บริษัท คิงเพาเวอร์ ยังเปิดให้บริการตามปกติ ทุกสาขา ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ บริษัทคิง เพาเวอร์ ยืนยันว่า ไม่จริง ทางบริษัท คิง เพาเวอร์ ยังเปิดให้บริการตามปกติ ทุกสาขา ดังนี้  – คิง เพาเวอร์ รางน้ำ เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 – 21.00 น. – คิง เพาเวอร์ ศรีวารี เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 11.00 – 20.00 น. – คิง เพาเวอร์ พัทยา เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 11.00 – […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำลดเยอะ สัญญาณภัยธรรมชาติ จริงหรือ?

ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ภาพและคลิปน้ำในแม่น้ำที่จังหวัดสมุทรปราการลดลงผิดปกติ จนทำให้ประชาชนเกิดความหวั่นใจว่าจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม เหตุการณ์ในคลิปเป็นน้ำขึ้น-น้ำลงตามปรากฏการณ์ธรรมชาติ สาเหตุที่น้ำลดลงต่ำมากเป็นเพราะแรงดึงดูดระหว่างโลกและดวงจันทร์เพิ่มขึ้น ไม่ใช่สัญญาณการเกิดภัยธรรมชาติดังที่มีการตั้งข้อสังเกตในช่องแสดงความคิดเห็น FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ภาพและคลิปที่ส่งต่อในไลน์ดังกล่าว มีการเผยแพร่ผ่านทางเพจเฟซบุ๊กสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 และวันที่ 2 เมษายน 2568 โดยต้นโพสต์เป็นการรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณท่าเรือข้ามฟากปากน้ำ-พระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ที่น้ำในแม่น้ำแห้ง ทำให้การสัญจรทางเรือระหว่างสองฝั่งต้องหยุดให้บริการชั่วคราว ทั้งนี้ ลักษณะข้อความที่โพสต์เป็นการบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ไม่ได้ชี้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าตกใจหรือเป็นสัญญาณการเกิดภัยธรรมชาติ  อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางส่วนเกิดกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณเตือนการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น “น้ำแห้งจนน่ากลัว” “แห้งแบบนี้น่ากลัวจัง ทำให้คิดถึงสึนามิ” จึงเป็นเหตุให้มีผู้อ่านเกิดความกังวลและได้สอบถามเข้ามาที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลผ่านเพจเฟซบุ๊ก มิตรเอิร์ธ – mitrearth ว่า สาเหตุที่น้ำลดลงเป็นจำนวนมากส่วนหนึ่งเป็นเพราะปรากฏการณ์ Perigee ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ใกล้โลกมากที่สุด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : LINE กำลังจะคิดเงิน จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ว่า LINE กำลังจะคิดเงินนั้น เรื่องนี้ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ตรวจสอบพบว่า ข้อความดังกล่าวเกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อน เกี่ยวกับการคิดค่าบริการ ของอีกบริการหนึ่งที่มีชื่อว่า Line Notify ซึ่งเป็นบริการสำหรับซึ่งเป็นบริการสำหรับนักพัฒนาโปรแกรม ไม่เกี่ยวข้องกับแอพ LINE ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำแต่อย่างใด ด้าน LINE ยืนยันว่า ไม่จริง การยุติบริการ LINE Notify ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทั่วไป สืบเนื่องจากการเผยแพร่ข่าวบนโลกโซเชียลว่าผู้ใช้ LINE จะต้องเสียค่าบริการในการส่งข้อความและรูปภาพบนแอป LINE จากกรณีการยกเลิกบริการ LINE Notify บริษัทฯ ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง โดย LINE เป็น แอปพลิเคชันสื่อสารที่ยังคงมุ่งมั่นให้บริการแก่คนไทยโดยผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาวน์โหลดและสื่อสารทั้งการส่งข้อความ ภาพ วิดีโอ โทรด้วยเสียง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ LINE Notify เป็นบริการสาหรับนักพัฒนา ในการสร้างข้อความแจ้งเตือนไปยัง LINE ส่วนตัวหรือกลุ่มแชท LINE ของนักพัฒนา ทีมงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องผ่าน LINE […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วางจานจองโต๊ะ เสี่ยงโดนวางยา จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความเตือน อย่าวางจานอาหารและเครื่องดื่มที่ศูนย์อาหาร อาจโดนใส่ยา นั้น บทสรุป : เรื่องเก่า วนซ้ำ ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเมื่อเดือนมีนาคม 2562 กับ พ.ต.อ.อลงกรณ์ ศิริสงคราม ผกก.สน.ประเวศในขณะนั้น ได้รับการยืนยันว่า จากการตรวจสอบการรับแจ้งความย้อนหลังของ สน.ประเวศ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่พบว่ามีผู้เสียหายมาแจ้งความว่าประสบเหตุในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นจริง ตำรวจสามารถตรวจสอบกล้องวงจรปิดในห้างเพื่อติดตามคนร้ายได้ ผกก.สน.ประเวศ ยังระบุด้วยว่า หากค้นในอินเทอร์เน็ต จะพบว่าข้อความดังกล่าว มีการแชร์ผ่านโซเชียลมาตั้งแต่ปี 2560 โดยมีผู้โพสต์ข้อความเตือนบน Facebook ให้ระวังการวางจานอาหารและเครื่องดื่มทิ้งไว้ที่ศูนย์อาหาร เพราะอาจโดนใส่ยา ทำให้ไม่รู้สึกตัวจนทรัพย์สินสูญหาย และต่อมาได้มีการตั้งกระทู้สอบถามในเว็บไซต์ Pantip ซึ่งความคิดเห็นของผู้ตอบกระทู้เกือบทั้งหมดไปในทิศทางเดียวกันว่า เป็นเรื่องที่ไม่มีหลักฐานและไม่มีน้ำหนักมากเพียงพอ https://m.pantip.com/topic/36225130? ส่วนกรณีที่มีการเชื่อมโยงกับ คุณไก่-วรายุฑ มิลินทจินดา ผู้จัดละครชื่อดัง สืบเนื่องจากคุณไก่ ได้โพสต์ข้อความเตือนภัยดังกล่าวผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว ทำให้เกิดความเข้าใจกันว่าคุณไก่เป็นผู้ประสบเหตุดังกล่าว แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2562 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : พายุไต้ฝุ่นจ่อถล่มไต้หวัน ก่อนเข้าไทย ทำกทม. น้ำท่วมหนักกว่าปี 54 จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ “พายุไต้ฝุ่นลูกใหญ่จ่อถล่มไต้หวัน ก่อนเคลื่อนเข้าไทย ทำให้กรุงเทพฯ น้ำท่วมหนักกว่าปี 54“ นั้น บทสรุป ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยัน เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงข่าวลือและเป็นข้อมูลคลาดเคลื่อน ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง และข้อมูลดังกล่าวไม่ได้มาจากกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แต่จากบุคคลที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ หรือหน่วยงานที่แจ้งเตือนภัยธรรมชาติโดยตรง อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากการติดตามและคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ในขณะนี้มีพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ 1 ลูก เป็นพายุหมุนเขตร้อนมีความรุนแรงอยู่ในระดับพายุโซนร้อน ชื่อ “ชีมารอน” (CIMARON) คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับต่อไป และจะมีการก่อตัวของความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นมาใหม่บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นและจะเคลื่อนตัวไปทางเกาะไต้หวัน ในขณะที่มี “ความกดอากาศสูง” หรือ “มวลอากาศเย็นกำลังแรง” จากสาธารณรัฐประชาชนจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 และแผ่ลงมาต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นในระยะแรกๆ หลังจากนั้นอากาศเย็นลงพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่ออากาศของประเทศไทยโดยตรง ถึงแม้ว่าความกดอากาศสูงจะอ่อนกำลังลง พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งสาธารณรัฐประชาชนจีนด้านตะวันออกมากขึ้น จะไม่เคลื่อนลงมาทางประเทศเวียดนาม และทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย หรือไม่พายุนี้ก็อาจจะอ่อนกำลังลงก่อนขึ้นฝั่ง จึงขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลการพยากรณ์อากาศในระยะนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นช่วงถ่ายฤดูกาล อากาศอาจจะมีความแปรปรวนในบางวัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวังข้าวสารถุง ผสมข้าว 10 ปี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ภาพและข้อความ “ข้าวเบญจรงค์ขายข้าว 10 ปี มีเมล็ดเหลืองปน บนถุงมีการคาดสีแดง” นั้น บทสรุป ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เพจเฟซบุ๊ก Benjarong Rice – ข้าวเบญจรงค์ ได้ออกจดหมายยืนยันว่า ข้อความที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยทางบริษัท เอเชีย อินเตอร์ ไรซ์ จำกัด ผู้ผลิตสินค้าข้าวสารบรรจุถุงตราข้าวเบญจรงค์ ไม่ได้เข้าร่วมประมูลข้าวรัฐบาลและไม่ได้มีการซื้อขาย รวมทั้ง ไม่มีการนำข้าวสารจากการประมูลดังกล่าวมาผลิตสินค้าข้าวสารบรรจุถุง และขอยืนยันว่า ทางบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลและมุ่งมั่นผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐานมาโดยตลอด “ทางบริษัทฯ ขอให้หยุดส่งต่อข้อความอันเป็นเท็จ และขอสงวนสิทธิ์ในการดำเนินคดีตามกฎหมายถึงที่สุดสำหรับผู้มีเจตนาสร้างและส่งต่อข้อความอันเป็นเท็จ เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้ สร้างความเสียหายต่อความเชื่อมั่นในสินค้าและภาพลักษณ์ของบริษัทฯ อย่างร้ายแรง” บริษัท เอเชีย อินเตอร์ ไรซ์ จำกัด ระบุในแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 ทั้งนี้ องค์การคลังสินค้า (อคส.) ได้รายงานผลการเปิดประมูลข้าวสารหอมมะลิปริมาณ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : จีนประกาศน้ำอัดลมดัง เป็นน้ำยาชำระสิ่งปฏิกูล จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ จีนประกาศ Coca-Cola ไม่ใช่เครื่องดื่มสำหรับบริโภค แต่เป็นน้ำยาชำระสิ่งปฏิกูล นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factcrescendo ได้ตรวจสอบและเผยแพร่ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ยืนยันว่า ไม่จริง โดยพบว่า บทความที่แชร์กัน มาจากเว็บไซต์ของรัสเซีย Panorama.pub ที่มีชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษว่า  “Coca-Cola จะขายเป็นน้ำยาทำความสะอาดท่อในจีน” ในปี 2561 โดยเนื้อหาของบทความมีความคล้ายคลึงกับข้อความที่แชร์กันในปัจจุบัน เว็บไซต์ Panorama.pub เป็นที่รู้จักในฐานะเว็บไซต์บทความเสียดสี รวมถึงในตอนท้ายของบทความ ยังมีป้ายกำกับระบุว่า  “ข้อความทั้งหมดในเว็บไซต์นี้เป็นการล้อเลียนและไม่ใช่ข่าวจริง ด้านบริษัท Coca-Cola เคยออกมายืนยันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า  เครื่องดื่มโค้กมีปริมาณกรดที่ปลอดภัยต่อการดื่ม เช่นเดียวกับอาหารและเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ซึ่งกรดในอาหารและเครื่องดื่ม ไม่เข้มข้นมากพอที่จะทำลายเนื้อเยื่อในร่างกาย และกรดในกระเพาะอาหารตามธรรมชาติ มีความเป็นกรดมากกว่าเครื่องดื่มน้ำอัดลมอีกด้วย  นอกจากนั้นยังพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง Snopes ได้ตรวจสอบบทความเกี่ยวกับเครื่องดื่มน้ำอัดลมในหลายประเด็น อาทิ  Coca-Cola  จะทำให้ลิ้นเสียการรับรส (ไม่จริง)  Coca-Cola  ป้องกันการตั้งครรค์ได้ (ไม่จริง)  Coca-Cola […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามนำแบตเตอรี่เข้าลิฟต์ เสี่ยงระเบิดได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ห้ามนำแบตเตอรี่ลิเธียมเข้าไปในลิฟต์ เพราะประจุไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็ก จนระเบิดได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง factly.in ได้ตรวจสอบและเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567 ยืนยันว่า ไม่จริง โดยเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้น ที่เขตไห่จู เมืองกว่างโจว ประเทศจีน ในปี 2564 ส่วนสาเหตุการระเบิด ไม่ได้เกิดจากการนำแบตเตอรี่เข้าไปในลิฟต์แต่อย่างใด เนื่องจากแบตเตอรี่ดังกล่าว ไม่ได้เชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟโดยตรง จึงไม่สามารถทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ โดยทั่วไปสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเกิดขึ้นเฉพาะในระหว่างการชาร์จหรือการคายประจุเท่านั้น ดังนั้น การระเบิดอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดัดแปลงแบตเตอรี่ หรือมีความร้อนสูงเกินไป นอกจากนั้น ยังพบรายงานเหตุการณ์ที่คล้ายกัน ที่ประเทศสิงคโปร์ จากการสืบสวน เจ้าหน้าที่ระบุว่า เกิดจากการดัดแปลงแบตเตอรี่ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการระเบิด ทั้งนี้ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าอาจลุกไหม้ได้ หากความร้อนสูงเกินไป ซึ่งมักเกิดขึ้นจากข้อบกพร่องในการผลิต การใช้งานผิดวิธี ความเสียหายจากภายนอก ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร จนทำให้เกิดการระเบิดภายในระยะเวลาอันสั้นได้ ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคลิปวิดีโอนั้น ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ อ้างอิง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ระวังอย่าเปิดภาพถ่ายแผ่นดินไหว จะโดนแฮกโทรศัพท์ใน 10 วินาที จริงหรือ ?

บทสรุป : ❌ ข้อความนี้เป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกัน แต่ไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหาย ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความเตือนดังกล่าวเป็นข่าวลือที่แชร์ต่อกันในหลายเวอร์ชัน และไม่พบหลักฐานว่าสร้างความเสียหายแต่อย่างใด โดยเมื่อนำข้อความที่แชร์กัน ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และตรวจเทียบกับเว็บไซต์ต่างประเทศ  ทั้ง News Checker Africa Check  และ NBC News  พบว่า มีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่พบหลักฐานว่ามีการแฮกในลักษณะดังกล่าว โดยปกติแล้วการรับส่งภาพ GIF หรือคลิปวิดีโอที่มองเห็นได้ทันที ผ่านทาง Line, Whatsapp, Facebook ไม่มีความเสี่ยงจากไวรัส แต่ที่มีความเสี่ยงไวรัส ฟิชชิง คือ ไฟล์ที่ไม่ใช่ภาพหรือคลิป เช่น .doc .pdf .exe มักส่งมากับอีเมล์ หรือ แอปพลิเคชัน โดยไม่มีที่มาที่ไป รวมถึงลิงก์เว็บไซต์ที่ต้องกดเข้าไปดูอีกที อาจมีการหลอกให้ดีใจ ตกใจ หรือทำให้เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง ดังนั้นควรพิจารณาให้แน่ใจ ก่อนกดไฟล์หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว  19 เมษายน 2567 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ห้ามใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อเหตุการณ์ในคลิป เป็นอุบัติเหตุไฟฟ้าช็อตที่ประเทศอินเดียไม่มีหลักฐานหรือการรายงานว่าเกี่ยวกับหูฟังบลูทูท ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เหตุการณ์ในคลิป มีการรายงานโดยหลายสื่อในประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วรถไฟ โดยมีสายไฟตกมาพาดโดนศีรษะ ก่อนจะเกิดประกายไฟ และทำให้เขาล้มตกไปที่รางรถไฟ เหตุการณ์ในคลิป เกิดขึ้นที่ สถานีรถไฟขรรคปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย โดยสำนักข่าว India Today รายงานบทสัมภาษณ์ของ Mohammad Sujat Hashmi ผู้จัดการการรถไฟในท้องถิ่น กล่าวว่า “เราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีสายไฟตกแต่งบางส่วนที่หล่นลงมา ทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้น” ซึ่งในรายงานไม่ได้กล่าวถึงอุปกรณ์หูฟังบลูทูทแต่อย่างใด สำนักข่าวรอยเตอร์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเผยแพร่เมื่อ 17 มกราคม 2566 ยังระบุรายงานถ้อยคำของตัวแทนคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน (ICNIRP) ว่า ยังไม่พบรายงานว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของอุปกรณ์บลูทูท (RF EMFs) สามารถรบกวนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากรถไฟ (EMFs) ได้ และทั้งสองต่างอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่ปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวังใบแจ้งค่าไฟปลอม หลอกสแกนดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนระวังใบแจ้งค่าไฟปลอม หลอกสแกนดูดเงินหมดบัญชี นั้น📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็นเอกสารจริงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับเพจเฟซบุ๊กทางการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ยืนยันว่า เอกสารที่มีการแชร์กัน เป็นเอกสารจริง โดยเป็นใบแจ้งเตือนให้ชำระค่าไฟฟ้า ตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 มีระยะเวลาในการชำระค่าไฟ นับตั้งแต่วันที่จดหน่วย รวม 21 วัน หากเกินระยะเวลาที่กำหนด เจ้าหน้าที่สามารถเข้างดจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งจะมีการส่งใบแจ้งเตือนให้กับทางผู้ใช้ไฟก่อนจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้า 18 มีนาคม 2567 – เพจเฟซบุ๊กทางการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ได้ลงรูปประชาสัมพันธ์ ความแตกต่างระหว่าง ใบแจ้งค่าไฟฟ้า กับ ใบแจ้งเตือนค่าไฟฟ้าค้างชำระ ใบแจ้งค่าไฟฟ้าและใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี รูปแบบใหม่ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้รับตามรอบการใช้ไฟฟ้า โดยมีระยะเวลาในการชำระเงินตามวันที่ระบุในใบแจ้งค่าไฟฟ้า 10 วัน ใบแจ้งเตือนค่าไฟฟ้าค้างชำระ เป็นการแจ้งเตือนกรณีมีค่าไฟฟ้าค้างชำระ จะจัดส่งให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าหลังจากวันครบกำหนดในใบแจ้งค่าไฟฟ้า มีกำหนดชำระเงิน 7 วัน 👉 จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

1 2 3 6
...