กรมวิทย์ฯ ให้บริการ “ตรวจแอลกอฮอล์ในเลือด” ช่วงเทศกาลปีใหม่

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้บริการตรวจวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เพื่อสนับสนุนการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยสถานพยาบาลและสถานีตำรวจ สามารถส่งตัวอย่างได้ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั่วประเทศ รายงานผลภายใน 24 ชม.

กรมวิทย์ฯ พัฒนาแลปสอบเทียบเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือด

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการขยายขีดความสามารถห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้กับเจ้าหน้าที่ทั้งจากส่วนกลาง และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อขยายขีดความสามารถห้องปฏิบัติการในการให้บริการการสอบเทียบเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจในส่วนภูมิภาคเพิ่มขึ้น

กรมวิทย์ฯ เปิดบริการตรวจวิเคราะห์สารก่อมะเร็งที่ตกค้างในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

กรมวิทย์ฯ เปิดให้บริการตรวจวิเคราะห์สารก่อมะเร็ง “เอทิลีนออกไซด์” ที่ตกค้างในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

กรมวิทย์ฯ ตั้งเป้าตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 1 ล้านคน ภายในปี 67

กรมวิทย์ฯ ร่วมเครือข่ายตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test ตั้งเป้าตรวจหญิงไทย 30-60 ปี 1 ล้านคน ภายในปี 67 เริ่ม ธ.ค.นี้ ทั่วประเทศ

กรมวิทย์ฯ เผยผลวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

กรมวิทย์ฯ เผยผลวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ด้านองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คัดเลือกสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ของไทย เพื่อใช้ผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2567 สำหรับประเทศทางซีกโลกใต้

กรมวิทย์ฯ หนุนนโยบายส่งเสริมการมีบุตร ให้บริการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หนุนนโยบายส่งเสริมการมีบุตร ให้บริการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด แบบเพิ่มจำนวนโรคในส่วนภูมิภาค หวังเด็กแรกเกิดไทยได้รับการวินิจฉัยทั่วถึง และรักษาทันท่วงที

กรมวิทย์ฯ เตรียมตั้งศูนย์ให้บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม มะเร็งปากมดลูก วัณโรค

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตรียมตั้งศูนย์ความเป็นเลิศให้บริการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม มะเร็งปากมดลูก วัณโรค ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 15 แห่งทั่วประเทศ หวังให้ประชาชนเข้าถึงบริการครอบคลุมทุกภูมิภาค

“ภญ.กฤษณา ไกรสินธุ์” คว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ ปี 66

กรมวิทย์ฯ ประกาศมอบรางวัล นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ ประจำปี 66 ให้ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เภสัชกรหญิงกฤษณา ไกรสินธุ์
ผู้พัฒนายาต้านเอดส์-มาลาเรีย

กรมวิทย์ฯ ชี้โควิด XBB.1.16 แค่แพร่เร็ว-ไม่แรงเท่าเดลตา

อธิบดีกรมวิทย์ฯ ชี้โควิด XBB.1.16 แค่แพร่เร็ว แต่ไม่แรงเท่าเดลตา คาดไม่นานเบียด XBB.1.5 ยัน ATK ใช้ตรวจหาเชื้อได้ตามปกติ เพราะเป็นการตรวจโปรตีนของไวรัส แจงอาการทางคลินิก ตาแดง คันตา ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ป่วยโควิด เพราะเจอแค่ที่อินเดีย พร้อมแจงทุกวัคซีนยังป้องกันแม้ประสิทธิภาพลดลง

กรมวิทย์ฯ ร่วมภาคีจีโนมิกส์ ถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 10,000 คน วินิจฉัยโรคหายาก แม่นยำมากขึ้น

กรมวิทย์ฯ ร่วมภาคีจีโนมิกส์ ถอดรหัสพันธุกรรมกว่า 10,000 คน จากทั่วประเทศ ปัจจุบันสามารถถอดรหัสได้ประมาณ 350 ตัวอย่าง ก่อให้เกิดประโยชน์การวินิจฉัยโรคหายาก แม่นยำมากขึ้น

ขอประชาชนอย่าวิตกไวรัสมาร์บวร์ก ย้ำการติดต่อไม่ง่าย

กรุงเทพฯ 20 ก.พ. – กรมวิทย์ฯ พร้อมตรวจไวรัสมาร์บวร์ก ด้วยวิธีการมาตรฐาน ผ่านการประเมินประสิทธิภาพแล้ว ย้ำการติดต่อไม่ง่าย ต้องสัมผัสใกล้ชิดอย่างมาก ยังไม่พบการติดต่อทางฝอยละอองหรือทางอากาศ ขอประชาชนอย่าวิตก นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ข้อมูลการระบาดของเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นการระบาดที่มีรายงานเป็นครั้งแรกในประเทศสาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี (Equatorial Guinea) มีผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว 9 ราย และมีผู้ป่วยยืนยันแล้วถึง 25 ราย ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีรายงานการระบาดครั้งใหญ่ในสาธารณรัฐคองโกและแองโกลา โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กมีอาการรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงใกล้เคียงกับโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังการระบาดครั้งนี้อย่างใกล้ชิด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข มีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดโรคติดต่อร้ายแรงมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา ในเดือนตุลาคม 2565 โดยเชื้อไวรัสมาร์บวร์กนี้อยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสอีโบลา และมีลักษณะการก่อโรคที่คล้ายกัน ในการดำเนินการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจึงมีความใกล้เคียงกัน โดยจะใช้การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยา ที่มีความไวและความจำเพาะสูง (RT PCR) สามารถทราบผลภายใน 8 ชั่วโมง หลังได้รับตัวอย่าง การดำเนินงานกับตัวอย่างจะใช้ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 (Biosafety level […]

ไทยยังไม่พบโอไมครอนสายพันธุ์ BQ.1.1-XBB

กรมวิทย์ฯ เผยไทยยังไม่พบสายพันธุ์ BQ.1.1 และ XBB รวมทั้งไม่มีสัญญาณการกลายพันธุ์ที่ต้องกังวล ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก ใช้ชีวิตโดยการป้องกันตนเองตามปกติ

1 2
...