จับตาแนวทางระบายน้ำลง 7 ทุ่งอยุธยา
ชาวบ้านกุ่ม และชาวผักไห่ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ร้องให้กรมชลประทานเปิดประตูระบายน้ำ ผันน้ำลงทุ่ง หลังต้องทนอยู่กับน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร เข้าเดือนที่ 2 ล่าสุดกรมชลประทานได้ข้อสรุปการผันน้ำเข้าทุ่งแล้ว
ชาวบ้านกุ่ม และชาวผักไห่ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ร้องให้กรมชลประทานเปิดประตูระบายน้ำ ผันน้ำลงทุ่ง หลังต้องทนอยู่กับน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร เข้าเดือนที่ 2 ล่าสุดกรมชลประทานได้ข้อสรุปการผันน้ำเข้าทุ่งแล้ว
อธิบดีกรมชลประทานระบุ เสริมศักยภาพการระบายน้ำท่วมกทม. ฝั่งตะวันออกเพื่อให้ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา-นครนายก-บางปะกง-อ่าวไทยอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้เป็นวันที่ 7 แล้วที่ปริมาณการระบายสูงกว่าปริมาณน้ำท่าจากฝนที่ตกลงมา คงเหลือปริมาณน้ำส่วนเกิน 118 ล้านลบ.ม. หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม จะระบายได้หมดใน 3 วัน
กรมชลประทานเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในแม่น้ำมูลที่ไหลผ่านอำเภอเมือง จ. อุบลราชธานี เร่งระบายน้ำแม่น้ำมูลออกสู่แม่น้ำโขง หลัง กอนช. คาดฝนตกหนักบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบนระหว่าง 18-24 ก.ย.นี้ เตรียมเครื่องสูบน้ำช่วยลดผลกระทบจุดฟันหลอที่พนังกั้นน้ำต่ำ
กรมชลประทาน เพิ่มศักยภาพการระบายน้ำฝั่งตะวันออกของ กทม. ที่ระบายผ่านคลองรังสิตประยูรศักดิ์ โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฮโดรโฟลเพิ่มแล้ว 2 เครื่อง และกำลังวางแผนติดตั้งเพิ่มอีก 3-4 จุด เพื่อแบ่งการระบายจากที่ระบายออกแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งขณะนี้มีระดับน้ำสูง ให้มาออกแม่น้ำบางปะกงเพิ่มขึ้น ส่วนฝั่งตะวันตกให้สถานีสูบน้ำต่างๆ เร่งสูบเต็มกำลัง เพื่อระบายออกแม่น้ำท่าจีน
อธิบดีกรมชลประทานระบุ ปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาเพื่อพร่องน้ำหน้าเขื่อนรองรับน้ำเหนือ พร้อมกันนี้ลดปริมาณการระบายผ่านเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อไม่ให้น้ำปริมาณมากไหลลงมายังจุดบรรจบของแม่น้ำทั้ง 2 สายพร้อมกัน แล้วเร่งผลักดันออกทะเล
กรมชลประทานเร่งระบายน้ำแม่น้ำมูลตอนบนลงสู่ตอนล่างทำให้ระดับน้ำแม่น้ำมูลที่ไหลผ่านจ. อุบลราชธานีสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงต้องเร่งผลักดันออกสู่แม่น้ำโขง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วมใน 5 จังหวัดและเป็นการพร่องน้ำในลำน้ำสำหรับรับน้ำจากฝนที่จะตกลงมาเพิ่มระยะนี้
อธิบดีกรมชลประทาน สั่งลดการระบายน้ำจากเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง เพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชนจากภาวะน้ำแม่น้ำวังล้นตลิ่งใน 2 อำเภอของ จ.ตาก ล่าสุดระดับน้ำลดลงต่อเนื่อง พร้อมให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อระบายน้ำจากจุดน้ำท่วมขัง
สุโขทัย 16 ก.ย.- กรมชลประทานเฝ้าระวังพื้นที่ลุ่มน้ำยมจากฝนที่จะตกลงมาอีกระลอก 17-21 ก.ย. นี้ เร่งผันน้ำแม่น้ำยมเพื่อตัดยอดน้ำก่อนไหลเข้าสู่เขตอ. เมือง จ.สุโขทัยที่ลำน้ำแคบ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำในจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจอย่างเต็มที่
รองอธิบดีกรมชลประทาน เผยฝนที่ตกหนักต่อเนื่องบริเวณคลองรังสิตประยูรศักดิ์ จ.ปทุมธานี และ กทม.ฝั่งตะวันออก ระหว่าง 1-15 ก.ย. ทำให้มีปริมาณน้ำท่ามากถึง 764 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่ปริมาณการระบายน้ำที่ดำเนินการเต็มกำลัง 576 ล้าน ลบ.ม. จึงมีน้ำส่วนเกินที่รอระบาย 188 ล้าน ลบ.ม. หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม คาดว่าจะระบายน้ำที่ท่วมขังพื้นที่ต่างๆ ได้หมด และทำให้ระดับน้ำที่ล้นคลองกลับสู่ระดับตลิ่งในอีก 4 วัน
กรุงเทพฯ 15 ก.ย. – กรมชลประทานทยอยปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาถึงอัตรา 1,950 ลบ.ม./วินาทีในเวลา 15.00 น. วันนี้ จากนั้นจะคงการระบายต่อเนื่อง ขณะที่เขื่อนป่าสัก ยังไม่ปรับเพิ่มการระบาย พร้อมทั้งเร่งระบายน้ำพื้นที่ด้านท้ายลุ่มน้ำออกสู่ทะเลลดผลกระทบของชาวกทม. และปทุมธานีที่ประสบภาวะน้ำท่วมขังจากฝนตกต่อเนื่อง นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า สั่งการให้สำนักงานชลประทานที่ 12 ทยอยปรับเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาจาก 1,898 ลบ.ม./วินาทีตั้งแต่ 10.00 น. เป็น 1,950 ลบ.ม./วินาทีในเวลา 15.00 น. จากนั้นให้คงอัตราดังกล่าวไว้ ทั้งนี้น้ำจากพื้นที่ตอนบนไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 16.76 ม.รทก. ซึ่งสูงเกณฑ์เก็บกักปกติที่ 16.50 ม.รทก. และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องปรับเพิ่มการระบายเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพน้ำฝน – น้ำท่า จากนั้นจะคงอัตราการระบายไม่เกิน 1,950 ลบ.ม./วินาทีต่อเนื่อง ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ยังคงระบายที่อัตรา 320 ลบ.ม./วินาที ไม่ปรับเพิ่มเนื่องจากจะให้น้ำเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเลไปก่อน ปัจจุบันเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำ 372 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 38% […]
กรมชลประทานเร่งระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ 9 แห่งในจ. นครราชสีมาที่เกินความจุระดับเก็บกักเพื่อพร่องน้ำรองรับฝนที่จะตกลงมาเพิ่ม โดยน้ำส่วนเกินไหลออกทางระบายน้ำล้น อีกส่วนหนึ่งระบายออกตามระบบ แต่ยืนยันน้ำที่ระบายออกมาก ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ รวมถึงไม่ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งหรือน้ำท่วมฉับพลันตามที่ทางจังหวัดนครราชสีมากังวล
กรมชลประทาน เดินเครื่องสูบน้ำขับเคลื่อนด้วยระบบไฮดรอลิก 4 เครื่อง ซึ่งติดตั้งเพิ่มที่สถานีสูบน้ำท่าถั่วในคลองประเวศน์บุรีรมย์ ตลอดจนขุดร่องน้ำ เร่งระบายน้ำที่รับมาจากพื้นที่ฝั่งตะวันออกของ กทม. ออกทะเล ส่วนที่คลองรังสิตประยูรศักดิ์ ระดมสูบจนระดับน้ำทยอยลดลง