กลุ่มธุรกิจวิจารณ์ร่าง ก.ม.ไซเบอร์เมียนมา

ย่างกุ้ง 13 ก.พ.- กลุ่มธุรกิจ 50 รายในเมียนมาวิจารณ์ร่างกฎหมายไซเบอร์ฉบับใหม่ที่รัฐบาลทหารเมียนมาเสนอว่า เป็นการแทรกแซงสิทธิมนุษยชน ละเมิดความเป็นส่วนตัวทางข้อมูล และจำกัดการสร้างสรรค์นวัตกรรม กลุ่มธุรกิจซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทเทคโนโลยีออกแถลงการณ์ว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวมีมาตราปลายเปิดที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง จำกัดสิทธิการสร้างนวัตกรรมในภาคธุรกิจ ภาคเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาคอื่น ๆ รอยเตอร์รายงานอ้างสำเนาร่างกฎหมายว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสาธารณชน ป้องกันการก่ออาชญากรรมและการทำอันตรายต่อรัฐ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องสกัดหรือลบเนื้อหาที่เห็นว่าสร้างความเกลียดชัง ทำลายความสามัคคี และความสงบสุข เนื้อหาที่เป็นข่าวเท็จหรือข่าวลือหรือไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมเมียนมา ก่อนหน้านี้องค์กรภาคประชาสังคมกว่า 160 แห่งและพันธมิตรอินเทอร์เน็ตเอเชียที่มีแอปเปิล เฟซบุ๊ก กูเกิล และแอมะซอนเป็นสมาชิก ได้วิจารณ์ร่างกฎหมายนี้ ตามที่ทางการส่งหนังสือเวียนไปยังบริษัทโทรคมนาคมในสัปดาห์นี้ หลังจากกองทัพทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ รัฐบาลยังได้ห้ามการเข้าถึงเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ที่กลายเป็นช่องทางวิพากษ์วิจารณ์ แต่ไม่สามารถหยุดยั้งกระแสประท้วงต่อต้านได้.-สำนักข่าวไทย

เกษตรกรอินเดียอดข้าวค้านกฎหมายใหม่

นิวเดลี 14 ธ.ค. – แกนนำเกษตรกรอินเดียเริ่มต้นการอดอาหารเป็นเวลา 1 วันในวันนี้ เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดียยกเลิกกฎหมายปฏิรูปการค้าผลผลิตทางการเกษตร แกนนำผู้ประท้วงคนหนึ่งจากรัฐปัญจาบทางตอนเหนือของอินเดียกล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรต้องการให้ยกเลิกกฎหมายปฏิรูปการค้าผลผลิตทางการเกษตร เขาและแกนนำคนอื่น ๆ เริ่มต้นอดอาหารเป็นเวลา 1 วันที่บริเวณจุดชุมนุมหลัก การชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรอินเดียมีขึ้นเกือบ 3 สัปดาห์แล้ว เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายดังกล่าวที่จะอนุญาตให้ภาคการเกษตรขายผลผลิตให้กับผู้ซื้อรายอื่นได้ นอกเหนือไปจากการขายในตลาดค้าส่งที่ควบคุมโดยรัฐบาล ซึ่งมีการประกันราคาขั้นต่ำ เกษตรการรายย่อยเกรงว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนปฏิรูปเศรษฐกิจเสรีของนายกรัฐมนตรีโมดีจะทำให้การสนับสนุนราคาวัตถุดิบหลัก เช่น แป้งและข้าวสิ้นสุดลง รวมถึงเปิดช่องให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามากดราคารับซื้อให้ต่ำลง ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีโมดีได้ให้คำมั่นกับกลุ่มเกษตรกรว่า พวกเขาจะได้รับสิทธิและโอกาสใหม่ ๆ จากการปฏิรูปในกฎหมาย 3 ฉบับที่บังคับใช้เมื่อเดือนกันยายน เพราะมีการผ่อนคลายระเบียบการขาย การกำหนดราคา และการจัดเก็บผลผลิตทางการเกษตร อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่รัฐบาลและผู้นำสหภาพแรงงานกลุ่มเกษตรกรได้ตั้งโต๊ะเจรจาร่วมกันมาแล้วถึง 6 ครั้ง แต่ก็ยังไม่บรรลุผลจนถึงขณะนี้. -สำนักข่าวไทย

“พรเพชร” ชี้เปิดโควตาผู้ทรงคุณวุฒิ-เยาวชน ร่วมวง ส.ส.ร.

“พรเพชร” ย้ำ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งได้ แต่ต้องไม่ใช่ทั้งหมด ควรเปิดโควตาผู้ทรงคุณวุฒิ-เยาวชน ร่วมวง เผยวุฒิสภาได้ชื่อตัวแทนนั่งกรรมการสมานฉันท์ครบแล้ว มั่นใจส่งชื่อให้ “ชวน” ไม่เกินปีนี้

กฎหมายควบคุมการส่งออกของจีนมีผลบังคับใช้แล้ว

กฎหมายควบคุมการส่งออกฉบับใหม่ของจีนมีผลบังคับใช้แล้ว โดยเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมการส่งออกสินค้า และบริการ ที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง หรือผลประโยชน์ของชาติ

เคาะแล้ว! 135 หมู่บ้าน เสพกระท่อมไม่ผิดกฎหมาย

เคาะแล้ว! 135 หมู่บ้าน เสพกระท่อมไม่ผิดกฎหมาย ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ส. พิจารณาเห็นชอบให้พื้นที่นำร่อง เปิดรายชื่อ 135 หมู่บ้าน/ชุมชน เป็นท้องที่ที่ให้เสพพืชกระท่อมได้โดยไม่เป็นความผิด

รมว.ดีอีเอสย้ำบังคับใช้กฎหมายต้านข่าวปลอม

กรุงเทพฯ 2 พ.ย. พุทธิพงษ์ ขอทุกภาคส่วนร่วมมือสร้างการรับรู้เท่าทันข่าวปลอม ยืนยัน บังคับใช้กฎหมายกับผู้ใช้โซเชียล ที่สร้างข่าวบิดเบือนส่งผลกระทบกับสังคม ย้ำใช้สื่อออนไลน์ด้วยความระมัดระวัง นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า การสัมมนา “สร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ครั้งที่ 3”ที่จ.พังงาครั้งนี้ จัดภายใต้โครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม มีกลุ่มเป้าหมายที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคใต้ บุคลากรด้านสาธารณสุข ภาคสังคม สื่อมวลชน และภาคประชาชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการตรวจสอบข่าวปลอมได้ด้วยตนเอง วิธีเช็คแหล่งที่มา วิธีสังเกตหัวข้อพาดหัวข่าว และได้ทราบถึงการแจ้งเบาะแสให้กับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม  สำหรับผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตั้งแต่วันจัดตั้งศูนย์ฯ ถึงช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา (1 พ.ย.62-28 ต.ค.63) จากการรวบรวมข้อมูลทั้งจากที่มีผู้แจ้งเบาะแสเข้ามา และระบบติดตามการสนทนาทางโซเชียล (Social listening) พบว่า มีจำนวนข้อความข่าวที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 25,835,350 ข้อความ ข้อความข่าวที่เข้าเกณฑ์ดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 19,466 ข้อความ โดยมีจำนวนเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 6,826 เรื่อง ในจำนวนนี้ร้อยละ 56 เป็นข่าวในหมวดสุขภาพ ตามมาด้วยหมวดนโยบายรัฐ 2,620 เรื่อง ร้อยละ38 ,  หมวดเศรษฐกิจ 251 เรื่องร้อยละ 4 และหมวดภัยพิบัติ 143 เรื่อง ร้อยละ 2 ทั้งนี้ กระทรวงฯ มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าการทำงานเชิงรุก เพื่อเร่งทำการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ผ่านกลไกการทำงานทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทำให้เกิดแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม และให้ข้อมูลที่ถูกต้องเข้าถึงประชาชนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น  “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม จริงๆ แล้ว ผมเป็นคนแรกที่ได้คิดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เนื่องจากพบว่าในต่างประเทศมีการจัดตั้งแล้ว แต่ไทยยังไม่มี จึงเริ่มให้เกิดขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ ไม่สร้างความตื่นตระหนกหรือสร้างความเสียหายให้แก่สังคมในวงกว้าง  แต่ข่าวที่เกิดขึ้น กระทรวงดิจิทัลฯ ไม่สามารถจะตอบข้อสงสัยได้ทั้งหมดว่าข่าวไหนจริง ข่าวไหนปลอม จำเป็นต้องประสานข้อมูลจากหน่วยงาน และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ช่วยยืนยันข้อเท็จจริง ให้ทันเวลาในการชี้แจงให้ประชาชนรู้เท่าทัน เพื่อลดความตื่นตระหนกของประชาชนให้ได้ทันท่วงที ภายใน 2 ชั่วโมง  นอกจากนี้ ยังมีช่องทางเพจ “อาสา จับตา ออนไลน์” ในการให้ประชาชนแจ้งข้อมูลข้อความที่ไม่เหมาะสมเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง และเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบ รวบรวมหลักฐานส่งศาลให้พิจารณาปิดกั้น หรือ ลบข้อมูลนั้น ภายใน 48 ชั่วโมง  จากนั้นหากแพลตฟอร์มไม่ดำเนินการปิดกั้น หรือลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ภายใน 15 วัน  กระทรวง และเจ้าหน้าที่จึงดำเนินการนำคำสั่งศาลยื่นฟ้องแพลตฟอร์มต่างประเทศ ที่ถือเป็นครั้งแรกของไทย ที่จริงจังในการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิด   ทั้งนี้ แม้ว่าแพลตฟอร์มต่างประเทศใช้ระบบทำงานในประเทศไทย  ก็ต้องยอมรับ เคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายของไทยด้วย” นายพุทธิพงษ์กล่าว ขณะที่ นายภุชพงค์  โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กล่าวว่าการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ฯ ในภาคใต้ครั้งนี้ จะเป็นอีกกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหา และข่าวสารที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่พบว่ามีทั้งข่าวจริง ข่าวปลอม และข่าวบิดเบือน จึงต้องให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนให้รู้เท่าทัน ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ช่วยสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มวัยรุ่นนักศึกษา วัยทำงาน ผู้สูงอายุ หน่วยงานต่างจังหวัดและประชาชนทั่วไป ตลอดจนหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทำให้การบูรณาการการทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ทำงานตามข้อเท็จจริง ไม่เลือกฝ่าย เลือกข้าง  ทั้งนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเป็นหน่วยเฉพาะกิจ ในการดำเนินงานเชิงรุกป้องกันข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและปัญหาข่าวปลอมอันจะทำให้ภาครัฐสามารถชี้แจงทำความเข้าใจ และเผยแพร่ความรู้ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดความมั่นคงและความไว้วางใจในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ-สำนักข่าวไทย.

ทช. รอเคลียร์ปมกฎหมาย ก่อนรับโอนคืนถนน 12,000 กม.

กรมทางหลวงชนบท พร้อมรับโอนถนน กว่า 1.2 หมื่นกิโลเมตร จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลับมาดูแลเอง โดยล่าสุด รอเคลียร์ประเด็นข้อกฎหมาย จากคณะกรรมการการกระจายอำนาจที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

1 12 13 14 15 16 28
...