ชัวร์ก่อนแชร์: สายการบินไม่รับคนฉีดวัคซีนโควิด หวั่นลิ่มเลือดอุดตัน จริงหรือ?

1. หน่วยงานด้านการบินของยุโรปทั้ง IATA, EASA และ A4E ต่างสนับสนุนให้ผู้โดยสารและพนักงานของบริษัทฉีดวัคซีนโควิด 19
2. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันชนิด Economy Class Syndrome ที่เกิดกับผู้โดยสารบนเครื่องบิน แตกต่างจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด 19

ชัวร์ก่อนแชร์: การสวมแว่นตา ช่วยลดโอกาสติดโควิด 19 จริงหรือ?

21 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vistinomer (นอร์ท มาซิโดเนีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นคำกล่าวอ้างจากงานวิจัยที่ไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากใช้วิธีวิจัยที่น่ากังขาและยังไม่ได้รับการประเมินความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review) ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ผลวิจัยของประเทศอินเดียที่อ้างว่า ผู้ที่สวมแว่นตามีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 น้อยกว่าคนทั่วไป 2 ถึง 3 เท่า FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานของ อามิต คูมาร์ จักษุแพทย์ชาวอินเดีย ที่เผยแพร่งานวิจัยผ่านทางเว็บไซต์ MedRxiv เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย อามิต คูมาร์ ตั้งสมติฐานว่าการใส่แว่นตาช่วยลดความถี่ของเอามือไปสัมผัสและขยี้ดวงตา และน่าจะลดโอกาสการรับเชื้อโควิด 19 ได้ อามิต คูมาร์ ได้สัมภาษณ์พฤติกรรมการสวมแว่นสายตาในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโควิด 19 ในโรงพยาบาลจำนวน 304 คน โดยพบว่ามีเพียง 58 คนในกลุ่มผู้ป่วยที่สวมแว่นสายตาเป็นประจำ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดวัคซีนโควิด 19 เสี่ยงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว จริงหรือ?

20 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Ukraine (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO ยืนยันว่าไม่พบวัคซีนชนิดใดๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว มีวัคซีนหลายชนิดที่ช่วยป้องกันการป่วยเป็นมะเร็ง เช่น วัคซีนโรคมะเร็งปากมดลูก และ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครน โดย อเล็กซานเดอร์ โปเลตาเอฟ แพทย์ชาวรัสเซียอ้างว่า การฉีดวัคซีนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว คลิปสัมภาษณ์ดังกล่าว นำมาจากงานเสวนาในรายการโทรทัศน์ของประเทศรัสเซีย ที่ออกอากาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดย อเล็กซานเดอร์ โปเลตาเอฟ อ้างว่าจำนวนผู้ป่วยมะเร็งและโรคภูมิต้านตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1960s และ 1970s ซึ่งเป็นยุคที่มีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนอย่างแพร่หลาย โปเลตาเอฟย้ำว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอกต่างลงความเห็นว่า หากการฉีดวัคซีนทุกชนิดถูกยกเลิก การเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยเฉพาะในเด็กจะลดลงถึง 2 ใน 3 และการป่วยด้วยมะเร็งจะลดลงถึงครึ่งหนึ่ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Vox Ukraine ยืนยันว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนไม่ได้ผล เพราะไข้หวัดใหญ่ยังระบาดทุกปี จริงหรือ?

19 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Ukraine (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: ประสิทธิผลของวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่ที่ 40-60% เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถลดการป่วยในสหรัฐฯ ได้ถึง 7.5 ล้านครั้ง ลดการเข้าห้อง ICU ได้ถึง 82% และช่วยชีวิตคนได้กว่า 6,300 คน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนบนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครนเพื่อบั่นทอนความเชื่อมั่นในวัคซีนโควิด 19 โดยอ้างว่าแม้จะมีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่มากว่า 80 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถยับยั้งการระบาดของไข้หวัดใหญ่ได้ แสดงว่าการป้องกันโรคด้วยวัคซีนไม่ได้ผล FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ไวรัสไข้หวัดใหญ่ประกอบด้วยสายพันธุ์ A B C และ D โดยเฉพาะสายพันธุ์ A ซึ่งมีซีโรไทป์หลากหลายชนิด คือสาเหตุของการระบาดไข้หวัดใหญ่หลายครั้ง เช่น H1N1 และ H5N1 เป็นต้น ในแต่ละปี ผู้ผลิตวัคซีนจะคาดการณ์ล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือนว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใดจะกลับมาแพร่ระบาด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อาการข้างเคียงของวัคซีนที่พบบ่อยที่สุดคือ “อัมพาต” จริงหรือ?

18 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Ukraine (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: VICP ระบุว่าอาการข้างเคียงจากวัคซีนที่พบมากที่สุดคือการเจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีนที่ 60% อาการอัมพาตจากวัคซีนพบได้ส่วนน้อย VICP ยืนยันว่าครึ่งหนึ่งของการจ่ายค่าชดเชยผลกระทบจากวัคซีน มีการพิสูจน์ในภายหลังว่าสาเหตุไม่ได้มาจากวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อกล่าวอ้างที่เผยแพร่ผ่านทาง Facebook ของผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีนในประเทศยูเครน โดยอ้างว่าอาการข้างเคียงของวัคซีนที่พบบ่อยที่สุดได้แก่อาการอัมพาต ทั้งจากโรคไขสันหลังอักเสบ, กล้ามเนื้ออัมพาตเฉียบพลัน และอาการแขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน พร้อมอ้างว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ป่วยอัมพาตจากวัคซีนปีละหลายร้อยคน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Vox Ukraine พบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวถูกนำมาเผยแพร่ในช่วงที่ผู้หญิงในกรุงเคียฟรายหนึ่งเกิดอาการอัมพาตหลังจากฉีดวัคซันโควิด 19 โครงการชดเชยการบาดเจ็บจากวัคซีนแห่งชาติสหรัฐ (VICP) จัดตั้งเมื่อปี 1988 เพื่อเยียวยาผู้มีอาการข้างเคียงจากวัคซีน ระหว่างปี 2006 ถึง 2019 มีการฉีดวัคซีนให้กับชาวอเมริกันมากกว่า 4 พันล้านโดส โดยช่วงเวลาดังกล่าวมีการพิจารณาคดีเงินชดเชยจากการฉีดวัคซีน 8,161 คดี และมีการจ่ายเงินชดเชยไปทั้งสิ้น 5,755 ครั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โปรตีนหนามจากวัคซีนเป็นอันตรายและปนเปื้อนในน้ำนมแม่ จริงหรือ?

16 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: โปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 ส่วนใหญ่จะอยู่ที่กล้ามเนื้อต้นแขนที่ฉีดยา โปรตีนหนามพบในกระแสเลือดน้อยมากและไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน งานวิจัยไม่พบส่วนประกอบของวัคซีนปนเปื้อนในน้ำนมแม่ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศจอร์เจีย โดยอ้างว่าโปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 เป็นอันตรายต่อร่างกายไม่ต่างจากโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 สามารถก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและภาวะข้อต่ออักเสบ โปรตีนหนามเหล่านี้จะไม่อยู่เฉพาะบริเวณที่ฉีดยา แต่จะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย เข้าไปในเซลล์ไข่ทำให้ระบบสืบพันธุ์บกพร่อง และยังอยู่ในน้ำนมของแม่ที่ให้นมบุตรอีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้ออ้างดังกล่าวมาจากความเห็นของ ไบแรม บรีเดิล นักวิทยาภูมิคุ้มกันชาวแคนาดา ที่ยกตัวอย่างผลการชันสูตรศพผู้ป่วยโควิด 19 จำนวน 13 ราย ซึ่งพบโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 ในสมองของผู้เสียชีวิต รวมถึงการฉีดโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 ในสัตว์ทดลอง ก็พบว่าสมองและปอดของสัตว์ทดลองถูกทำลายด้วยเช่นกัน การตรวจสอบของ Myth Detector ระบุว่า ผลกระทบจากโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 และโปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เด็กเสี่ยงหัวใจอักเสบจากวัคซีน mRNA มากกว่าตายจากโควิด จริงหรือ?

14 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: หัวใจอักเสบในเด็กจากวัคซีน mRNA ยังอยู่ระหว่างสอบสวน อาการส่วนใหญ่ไม่รุนแรง การติดเชื้อโควิด 19 ทำให้หัวใจอักเสบได้เช่นกัน โควิด 19 อาจทำให้เกิดอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (MIS-C) ซึ่งมีความรุนแรงมาก ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความโจมตีความปลอดภัยของวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA เผยแพร่ผ่าน Twitter ในสหรัฐอเมริกา โดย เคลลี วิคตอรี แพทย์ชาวอเมริกันที่อ้างว่า ในจำนวนผู้รับวัคซีนโควิด 19 ทั้งหมดในสหรัฐฯ มีสัดส่วนเยาวชนอายุ 12 ถึง 24 ปีเพียงแค่ 8.8% แต่เยาวชนกลับเป็นกลุ่มที่ป่วยด้วยโรคหัวใจอักเสบหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 ถึง 52.5% ทั้งๆ ที่โอกาสหายป่วยจากโควิด 19 ของเยาวชนสูงถึง 99.99% […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Pfizer ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ จริงหรือ?

13 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Agencia Lupa (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: บริษัท Pfizer ระบุว่าไม่พบปัญหาการตั้งครรภ์, ความผิดปกติของทารกแรกเกิด หรือปัญหาต่อระบบสืบพันธุ์ในอาสาสมัครที่เข้ารับการทดลองวัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer แต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านทาง WhatsApp ในประเทศบราซิล โดยอ้างว่าวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ ผู้โพสต์อ้างว่าข้อมูลดังกล่าวมีอยู่ในคู่มือการทดลองวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer โดยเนื้อหาโดยสรุปกล่าวถึงข้อแนะนำให้อาสาสมัครชายและหญิงงดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 28 วันหลังจากรับวัคซีน เพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกที่เกิดจากพ่อแม่ที่รหัสพันธุกรรมถูกดัดแปลงจากวัคซีนชนิด mRNA จะมีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: คู่มือการทดลองวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer ในหน้า 132 มีคำแนะนำให้อาสาสมัครชายหญิงงดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 28 วันหลังจากรับวัคซีนจริง แต่ไม่มีข้อความไหนที่ระบุว่าทารกที่เกิดจากผู้รับวัคซีนจะมีความผิดปกติอย่างที่กล่าวอ้าง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อียูวางแผนใช้วัคซีนพาสปอร์ตตั้งแต่ก่อนโควิด 19 ระบาด จริงหรือ?

11 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vistinomer (นอร์ธ มาซิโดเนีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนพาสปอร์ตสากลที่อียูพิจารณาก่อนการระบาดของโควิด 19 แตกต่างจากวัคซีนพาสปอร์ตสำหรับโควิด 19 วัคซีนพาสปอร์ตสากลไม่ได้บันทึกประวัติการฉีดวัคซีนโควิด 19 อย่างเดียว แต่มีข้อมูลการฉีดวัคซีนชนิดอื่นๆ ด้วย ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศนอร์ธ มาซิโดเนีย โดยอ้างว่าวัคซีนพาสปอร์ตที่สหภาพยุโรป (EU) จะประกาศใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีการวางแผนมาก่อนการระบาดของไวรัสโควิด 19 ถึง 20 เดือน โดยอ้างอิงจากเอกสารที่คณะกรรมาธิการยุโรปยื่นต่อคณะมนตรียุโรปเมื่อปี 2018 เนื้อหากล่าวถึงความจำเป็นของการใช้วัคซีนพาสปอร์ต และอ้างว่างานประชุม Global Vaccination Summit ของคณะกรรมาธิการยุโรปในปี 2019 คือการทำนายการแพร่ระบาดของโควิด 19 พร้อมนโยบายจัดหาฉีดวัคซีนที่จะผลิตในอนาคต FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: เอกสารของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ถูกกล่าวอ้าง เป็นการเรียกร้องให้สหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับการยับยั้งโรคระบาดที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน โดยอธิบายถึงสถานการณ์วัคซีนในแต่ละประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข หนึ่งในข้อเสนอแนะคือการเสนอให้อนุมัติวัคซีนพาสปอร์ตสากล […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การหายใจลึกๆ ช่วยรักษา Happy Hypoxia ในผู้ป่วยโควิด จริงหรือ?

11 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: Happy Hypoxia เป็นภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง แต่ผู้ป่วยไม่รู้สึกเหนื่อยหอบซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ผู้ป่วย Happy Hypoxia ต้องได้รับออกซิเจนและยาในการรักษา การสูดหายใจลึกๆ ไม่เพียงพอต่อการรักษาอาการ Happy Hypoxia ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวัน โดยอ้างว่าการสูดหายใจลึกๆ จะช่วยป้องกันการเกิด Happy Hypoxia หรือภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจน โดยไม่มีอาการขาดอากาศหายใจ ซึ่งพบได้ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 การฝึกสูดหายใจลึกๆ ตลอดเวลา จะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดออกซิเจนจากภาวะ Happy Hypoxia FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Happy Hypoxia หรือ Silent Hypoxia เป็นภาวะที่ค่าออกซิเจนในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเหนื่อยหอบทั้งๆ ที่ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างมาก ซึ่งกว่าจะพบอาการ ร่างกายก็ขาดออกซิเจนเข้าขั้นวิกฤตและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หลีเจียงจาง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: WHO ไม่แนะนำให้เด็กฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

10 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการนำข้อมูลเก่าของ WHO มาบิดเบือนว่าเป็นข้อมูลอัพเดท WHO รับรองความปลอดภัยของการใช้วัคซีน Pfizer ให้กับเด็กที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป แต่ WHO ยังย้ำว่าเด็กมีความจำเป็นเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 น้อยกว่าประชากรกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา ก่อนจะถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม โดยอ้างว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนท่าทีที่มีต่อวัคซีนโควิด 19 ด้วยการแนะนำว่าเด็กไม่ควรรับวัคซีนโควิด 19 ในขณะนี้ (Children should not be vaccinated for the moment) เนื่องจากไม่มีข้อมูลการทดลองวัคซีนโควิด 19 ในเด็กที่เพียงพอ จนกลายเป็นข้อความที่มีการค้นหาอย่างแพร่หลาย จนติดอันดับ Google Trends […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไต้หวันได้วัคซีน AstraZeneca ใกล้หมดอายุจากเกาหลีใต้ จริงหรือ?

6 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO ระบุว่าวัคซีนโควิด 19 จะมีอายุใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนเมื่อเก็บรักษาอย่างถูกวิธี วัคซีนที่นำเข้าต้องผ่านการตรวจสอบจากประเทศต้นทางเป็นเวลา 2 เดือน การได้รับวัคซีนที่อายุการใช้งานเหลือ 3 เดือนจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีกระแสกดดันทางออนไลน์ต่อรัฐบาลไต้หวัน จากกรณีที่ไต้หวันซื้อวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca จำนวน 117,000 โดสจากผู้ผลิตในประเทศเกาหลีใต้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่าน แต่วัคซีนล็อตดังกล่าวเป็นของที่ไม่มีใครต้องการ เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีใต้มีคำสั่งให้จำหน่ายวัคซีนล็อตนั้นไปยังต่างประเทศ เนื่องจากเป็นล็อตที่ใกล้หมดอายุแล้ว โดยเหลืออายุการใช้งานเพียง 3 เดือน ซึ่งน้อยกว่าอายุการใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck […]

1 16 17 18 19 20 25
...