ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดจองฉีดวัคซีนบุคคลทั่วไป 18 ส.ค.นี้

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนหลัก AstraZeneca และ Sinovac พรุ่งนี้ (18 ส.ค.) สำหรับบุคคลธรรมดา 18 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด-19 มาก่อน

ขอบคุณญี่ปุ่น บริจาควัคซีนโควิด

นายกขอบคุณ รัฐบาลญี่ปุ่น พร้อมอนุมัติลงนามหนังสือแลกเปลี่ยน รับมอบวัคซีน AstraZeneca จากรัฐบาลญี่ปุ่น จำนวน 1.05 ล้านโดส ส่งถึงไทย ก.ค.นี้

ชัวร์ก่อนแชร์: อังกฤษเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีน AstraZeneca กว่าแสนครั้ง จริงหรือ?

17 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newtral (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากผู้รับวัคซีนที่ยังไม่ได้ตรวจสอบว่ามีสาเหตุจากวัคซีนหรือไม่ MHRA ย้ำว่า รายงานอาการไม่พึงประสงค์ไม่ใช่สิ่งชี้ชัดว่าวัคซีนไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากการตรวจสอบพบว่าอาการข้างเคียงส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากวัคซีนโดยตรง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อมูลว่าชาวอังกฤษได้รายงานอาการข้างเคียงจากการใช้วัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca กว่า 114,000 ครั้ง มีตั้งแต่อาการรุนแรงเช่น โรคระบบประสาท, โรคเกี่ยวกับดวงตา หรือแม้แต่รายงานผู้เสียชีวิต FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: สำนักงานกำกับดูแลด้านการแพทย์และสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร (MHRA) ยืนยันผลการตรวจสอบว่า อาการข้างเคียงร้ายแรงที่กล่าวมา ไม่ได้เกิดจากวัคซีนโควิด 19 แต่อย่างใด อาการข้างเคียงที่ได้รับรายงานกว่า 114,000 ครั้ง นำมาจาก Yellow Card แพลตฟอร์มที่ทางการอังกฤษเปิดให้ประชาชนแจ้งอาการไม่พึงประสงค์หลังจากรับวัคซีนโควิด 19 โดยระหว่างวันที่ 4 มกราคมถึง 14 กุมภาพันธ์ มีผู้รายงานอาการไม่พึงประสงค์ทั้งสิ้น 114,625 ครั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โอกาสเสียชีวิตจากวัคซีน AstraZeneca สูงกว่าโควิด 19 จริงหรือ?

16 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Animal Politico (เม็กซิโก)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการอ้างอิงคำแนะนำของสาธารณสุขจากประเทศนอร์เวย์ ชาติที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโควิด 19 ต่ำมาก คำแนะนำดังกล่าวจึงไม่อาจนำไปใช้กับประเทศอื่นๆ ได้ WHO ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความเผยแพร่ทาง Facebook ในประเทศเม็กซิโกที่ถูกแชร์หลายร้อยครั้ง โดยเนื้อหาโจมตีรัฐบาลเม็กซิโกที่สั่งซื้อวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca โดยอ้างว่าโอกาสการเสียชีวิตจากวัคซีน AstraZeneca มีมากกว่าการเสียชีวิตจากโควิด 19 โดยผู้โพสต์อ้างอิงตามคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุขนอร์เวย์ ที่แนะนำให้ประเทศนอร์เวย์ระงับการฉีดวัคซีน AstraZeneca หลังพบการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในกลุ่มผู้รับวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: นอร์เวย์ถือเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 น้อยกว่าหลายชาติในยุโรป ในจำนวนประชากรกว่า 5.4 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไต้หวันได้รับวัคซีน AstraZeneca ใกล้หมดอายุจากเกาหลีใต้ จริงหรือ?

14 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO ระบุว่าวัคซีนโควิด 19 จะมีอายุใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนเมื่อเก็บรักษาอย่างถูกวิธี วัคซีนต้องผ่านการตรวจสอบอีก 2 เดือน การได้รับวัคซีนที่อายุการใช้งานเหลือ 3 เดือนจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นกระแสกดดันรัฐบาลไต้หวันทางออนไลน์ จากการเผยแพร่ข้อความที่อ้างว่าไต้หวันซื้อวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca จำนวน 117,000 โดสจากประเทศเกาหลีใต้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่าน แต่วัคซีนล็อตดังกล่าวเป็นล็อตที่รัฐบาลเกาหลีใต้มีคำสั่งให้จำหน่ายออกนอกประเทศ เนื่องจากเป็นล็อตที่ใกล้หมดอายุแล้ว โดยเหลืออายุการใช้งานเพียง 3 เดือน ซึ่งน้อยกว่าอายุการใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck Center […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ไม่ป้องกันการตายจากโควิดกลายพันธุ์ จริงหรือ?

5 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stopfake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มีประสิทธิผลป้องกันการเจ็บป่วยเล็กน้อยถึงปานกลางต่อโควิด 19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ลดลง Oxford Research Group ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca ป้องกันการป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโควิด 19 กลายพันธุ์ได้ ผลการทดสอบพบว่า วัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มีประสิทธิผลป้องกันโควิด 19 ในกลุ่มผู้สูงอายุอย่างมาก ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความเผยแพร่บนโลกออนไลน์ในประเทศยูเครนว่า วัคซีนโควิด 19 ไม่สามารถป้องกันการป่วยหนักหรือการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ได้ โดยเฉพาะวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca ที่ไม่สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผู้โพสต์อ้างข้อมูลการศึกษาเมื่อวันที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ทำให้เกิดรอยช้ำทั้งแขน จริงหรือ?

3 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Mythdetector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้ บทสรุป: เป็นการสร้างความเข้าใจผิดด้วยรูปภาพที่ไม่สามารถระบุที่มาได้ นักภูมิคุ้มกันวิทยาลงความเห็นว่ารอยช้ำในภาพซึ่งมีจุดศูนย์กลางที่ข้อศอก ไม่ใช่อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน เพราะรอยช้ำจากวัคซีนจะอยู่บริเวณต้นแขนซึ่งเป็นจุดที่ใช้ฉีดยา ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลและรูปภาพจากผู้ใช้ Facebook ที่ชื่อว่า Katya Petrova โดยอ้างว่า Mayya Zankova ซึ่งอยู่ในรูปภาพเพิ่งจะผ่านการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มาได้ 7 ชั่วโมง และเกิดรอยช้ำรุนแรงไปทั่วทั้งแขน จนภาพและข้อมูลดังกล่าวถูกนำไปแชร์ต่อกันกว่า 7 หมื่นครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Mythdetector พบว่าภาพดังกล่าวถูกนำไปส่งต่ออีกหลายครั้งโดยกลุ่มผู้ที่มีแนวคิดต่อต้านการฉีดวัคซีน แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าบุคคลในรูปที่ระบุชื่อว่า Mayya Zankova มีตัวตนหรือไม่ ลาลี เพิร์ทชาลิสวิลลี นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากโรงพยาบาล Evex Hospitals อธิบายว่าการฉีดวัคซีนอาจก่อให้เกิดรอยช้ำบริเวณที่ฉีดยา หากเกิดอาการข้างเคียง รอยช้ำจะขยายตัวจากต้นแขนซึ่งเป็นจุดที่ฉีดยา แต่รอยช้ำที่ดูเหมือนมีการตกเลือดในรูปภาพที่เห็น […]

1 2
...