fbpx

แพทย์ย้ำจ่ายยารักษาโควิดตามหลักวิชาการ

อธิบดีกรมการแพทย์ ย้ำแนวทางการจ่ายยาต้านไวรัสรักษาโควิด อิงตามหลักวิชาการ และวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่มาจากความเห็น และพร้อมเผย บ.เมอร์ค ผู้ผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ห่วงหลังเห็นยาเกลื่อนตลาด มีบางชนิดไม่ได้รับลิขสิทธิ์

อภ.จัดหายาโมลนูพิราเวียร์-ยาฟาวิพิราเวียร์ต่อเนื่อง

องค์การเภสัชกรรม (จีพีโอ) จัดหายาต้านโควิด โมลนูพิราเวียร์ ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข (PHEOC) เพื่อใช้รักษาโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

เตือนอย่าหลงเชื่อซื้อยาโควิดกินเอง หวั่นดื้อยา-เกิดผลข้างเคียง

โฆษกรัฐบาล เผยนายกฯ เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อยาโควิด-19 กินเอง หวั่นดื้อยา เกิดผลข้างเคียง สธ. ย้ำผู้ป่วยโรคโควิด-19 อาการรุนแรง ใช้สิทธิ UCEP Plus ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

“อนุทิน” สั่งตรวจสอบกรณีจัดแพ็กเกจรักษาโควิด

“อนุทิน” ย้ำ “ฟาวิพิราเวียร์-โมลนูพิราเวียร์” เป็นยาที่รัฐสนับสนุน ให้โรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน สั่ง สบส. ตรวจสอบโรงพยาบาลเอกชน จัดแพ็กเกจรักษาโควิด ด้านอธิบดี สบส. ย้ำ รักษาตามสิทธิ ไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้ เตรียมหารือโรงพยาบาลเอกชน สัปดาห์นี้

อภ.เร่งหายา ‘โมลนูพิราเวียร์’ เพื่อการเข้าถึงยาผู้ป่วยโควิด-19

องค์การเภสัชกรรม เร่งจัดหายาต้านโควิด ‘โมลนูพิราเวียร์’ เพื่อการเข้าถึงยาของผู้ป่วยโควิด-19

สธ.ขออย่าด้อยค่ายาฟาวิพิราเวียร์ ผลศึกษากินแล้วอาการดีขึ้น 79%

สธ.ขอประชาชนมั่นใจยาฟาวิพิราเวียร์ ไม่ด้อยค่า โชว์ผลศึกษาเทียบประสิทธิภาพกลุ่มผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง ที่รับยาฟาวิพิราเวียร์ พบอาการดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ 79%

เริ่มใช้ยาต้านโควิดตัวใหม่ “โมลนูพิราเวียร์” สัปดาห์หน้า

กรุงเทพฯ 15 มี.ค. – กระทรวงสาธารณสุข เตรียมกระจายยาต้านโควิดตัวใหม่ “โมลนูพิราเวียร์” 50,000 คอร์สการรักษา ให้ รพ.ศูนย์ทั่วประเทศ เริ่มใช้รักษาผู้ป่วยโควิดอาการรุนแรงได้ตั้งแต่สัปดาห์หน้า หลังมีผลวิจัยรองรับ และมีการใช้ยามาแล้วในหลายประเทศ ช่วยลดอัตราป่วยนอนโรงพยาบาลและการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 30. – สำนักข่าวไทย

อินเดียอนุมัติใช้ยาต้านโควิดของเมอร์คเป็นกรณีฉุกเฉิน

เบงกาลูรู 28 ธ.ค.- อินเดียอนุมัติให้ใช้โมลนูพิราเวียร์ ซึ่งเป็นยาต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของเมอร์ค บริษัทข้ามชาติของเยอรมนีเป็นกรณีฉุกเฉิน รวมทั้งอนุมัติให้ใช้วัคซีนที่ผลิตในประเทศอีก 2 ขนานเป็นกรณีฉุกเฉินด้วย กระทรวงสาธารณสุขอินเดียแจ้งว่า ยาโมลนูพิราเวียร์จะผลิตโดยบริษัทในอินเดีย 13 แห่ง และจำกัดให้ใช้เป็นการฉุกเฉินสำหรับรักษาผู้ป่วยโควิดที่เป็นผู้ใหญ่ ตามที่บริษัทยาหลายแห่งในอินเดียได้ลงนามข้อตกลงใบอนุญาตโดยสมัครใจที่ไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียวกับเมอร์ค เพื่อผลิตและจัดหาให้ในอินเดีย ยาขนานนี้เพิ่งได้รับอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาสหรัฐหรือเอฟดีเอ (FDA) ให้ใช้รักษาผู้ติดเชื้อวัยผู้ใหญ่ที่มีอาการไม่รุนแรงเป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อสัปดาห์ก่อน นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขอินเดียยังอนุมัติให้ใช้วัคซีนโคโวแว็กซ์ (Covovax) ที่สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียผลิตโดยได้รับใบอนุญาตจากโนวาแว็กซ์ของสหรัฐ และวัคซีนโคบีแว็กซ์ (Cobevax) ที่พัฒนาโดยไบโอโลจิคัล อีของอินเดีย เป็นกรณีฉุกเฉินด้วย อินเดียฉีดวัคซีนแล้ว 1,430 ล้านโดส โดยมีผู้ใหญ่มากกว่า 839 ล้านคนรับวัคซีนเข็มแรกแล้ว และจะเริ่มฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แก่คนวัย 15-18 ปี ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2565 ตามด้วยบุคลากรทางการแพทย์และผู้ทำงานแนวหน้าตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2565 ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า อินเดียจำเป็นต้องรณรงค์ฉีดวัคซีนให้มากยิ่งขึ้น ขณะที่บางรัฐได้ใช้มาตรการห้ามออกนอกเคหสถานยามวิกาลและมาตรการจำกัดอื่น ๆ แล้ว เป็นการป้องกันล่วงหน้าในช่วงที่ผู้คนจะเฉลิมฉลองปีใหม่ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยสถานการณ์การระบาดหนักช่วงฤดูร้อนปีนี้ที่เกิดจากสายพันธุ์เดลตา.-สำนักข่าวไทย

สธ.ลงนามจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ 5 หมื่นคอร์ส

สธ.25 พ.ย.-สธ.ลงนามจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ 5 หมื่นคอร์สการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยโควิด-19 เข้าถึงยาใหม่ชนิดรับประทาน เน้นกลุ่มที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางและมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง คือผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว พบประสิทธิผลช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตหรือเข้ารักษาใน รพ.ได้ ร้อยละ50 อยู่ระหว่างขึ้นทะเบียน อย. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมพิธีลงนามสัญญาการจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ระหว่างรัฐบาลไทย โดย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และ ดร.แมรี เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด นายอนุทิน กล่าวว่า โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกประกาศให้เป็นการระบาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีมาตรการควบคุมโรคโควิด คือ 1.ป้องกันการติดเชื้อ โดยสวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง 2.เสริมสร้างภูมิต้านทานด้วยการให้วัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด และ 3.รักษาผู้ติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพตามความรุนแรงของโรค โดยใช้สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรในผู้ที่ไม่มีอาการ และใช้ยาฟาร์วิพิราเวียร์ในผู้ที่มีอาการแต่ไม่มีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง กรณีที่ผู้ติดเชื้อที่มีอาการและมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง […]

“อนุทิน” แจงยาแพกซ์โลวิด เป็นทางเลือกเสริม

สธ.17 พ.ย.-“อนุทิน”ยืนยันยาและเวชภัณฑ์ มีพร้อมรับสถานการณ์โควิด ส่วนยาแพกซ์โลวิดจะใช้เป็นทางเลือกเสริมหลังได้รับการขึ้นทะเบียน เตรียมประสานต่างประเทศแจ้งข้อมูลสูตรไขว้ซิโนแวค–แอสตราฯ ให้ภูมิคุ้มกันสูง ส่วนการจัดลอยกระทงให้เข้มป้องกันตนเอง นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ใน 95 ประเทศที่ได้รับการถ่ายทอดสูตรการผลิต “ยาแพกซ์โลวิด” ว่า การถ่ายทอดสูตรยาขึ้นกับบริษัทผู้ผลิต แม้ประเทศไทยไม่ได้รับถ่ายทอดสูตร แต่ขอให้ความมั่นใจว่ากระทรวงสาธารณสุขมีแผนจัดเตรียมยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ รองรับสถานการณ์โควิด 19 พร้อมแล้ว โดยยาฟาวิพิราเวียร์ที่ใช้เป็นหลักในขณะนี้มีสรรพคุณในการรักษาได้ดี ยิ่งได้รับในช่วงแรกของการติดเชื้อจะช่วยให้ใช้เวลาในการรักษาน้อยลง ส่วนการซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ หรือแผนจัดซื้อยาแพกซ์โลวิด เป็นการตอบรับต่อสถานการณ์ เพื่อเป็นทางเลือกในผู้ป่วยบางรายที่อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่แตกต่างออกไป ซึ่งยาแพกซ์โลวิดยังอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนที่สหรัฐอเมริกา และยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนในไทย นายอนุทิน กล่าวต่อว่า สำหรับการศึกษาวัคซีนสูตรไขว้ ซิโนแวคตามด้วยแอสตราเซเนกา อธิบดีกรมควบคุมโรครายงานว่า ให้ภูมิคุ้มกันสูงมากกว่าที่คาด ถือเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ประชาชนมั่นใจมากขึ้น ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้กับสถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดผลดีที่สุดต่อคนในประเทศ ส่วนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไทย มั่นใจว่าจะฉีดได้ตามเป้าหมาย100 ล้านโดส โดยไม่จำเป็นต้องออกมาตรการบังคับหรือมาตรการจูงใจ เนื่องจากเป็นเรื่องของการสร้างความปลอดภัยให้แก่ตัวเองและคนรอบข้างในสังคม ซึ่งสุดท้ายจะเป็นกติกาสังคมที่ทุกคนต้องทำ เนื่องจากหากไม่ฉีดวัคซีนอาจไม่สามารถเข้าใช้บริการในร้านต่างๆ หรือสมัครงานได้ และแม้จะฉีดวัคซีนได้ถึงร้อยละ 70 แล้ว ก็ยังจะฉีดให้แก่ผู้ที่ต้องการวัคซีนต่อไป เพราะยิ่งฉีดได้มากยิ่งเพิ่มความปลอดภัย […]

สถานการณ์เตียงโควิด กทม.-ปริมณฑล ไม่น่าห่วง

อธิบดีการแพทย์ แจงสถานการณ์เตียงโควิด กทม.-ปริมณฑล ไม่หนัก เชื่อสถานการณ์จากนี้ดีขึ้น ส่วนคืบหน้ายาโมลนูพิราเวียร์ เรื่องค้างกรมบัญชีกลาง คาดสั่งซื้อทัน และยามาปีหน้า ส่วนแพ็กซ์โลวิด ร่างสัญญาจะซื้อจะขายเสร็จแล้ว

1 2
...