ศาล รธน.รับคำร้องยุบพรรคก้าวไกลเสนอแก้ ม.112

ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องยุบพรรคก้าวไกลไว้พิจารณา เหตุเสนอแก้ ม.112 ล้มล้างการปกครอง ให้โอกาสยื่นแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน

สานต่อภารกิจร้องกกต.-ป.ป.ช.ฟันก้าวไกล

สานต่อภารกิจร้องกกต.-ป.ป.ช.ฟันก้าวไกล
สำนักงานกกต. 1 ก.พ.-“ธีรยุทธ” ร้องกกต.ส่งศาล รธน.ยุบก้าวไกล บอกคำวินิจฉัยผูกพันเพราะเป็นคนร้องตั้งแต่แรก ไม่หวั่นสร้างขัดแย้ง พรุ่งนี้ไปป.ป.ช.ต่อ จี้ฟันจริยธรรม “พิธา-44 สส.” ยื่นแก้ม.112
นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและพรรคก้าวไกลกระทำการล้มล้างการปกครอง มายื่นคำร้องต่อประธานกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) และกกต.เพื่อขอให้พิจารณาดำเนินการกับพรรคก้าวไกล ตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญวานนี้(31 ม.ค.)
นายธีรยุทธ กล่าวว่า จากการศึกษารายละเอียดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองคือ นายพิธา ในฐานะหัวหน้าพรรคก้าวไกล รวมถึงพรรคก้าวไกล เป็นการกระทำใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งคำวินิจฉัยนี้มีผลผูกพันกกต.ด้วย เนื่องจากตนเป็นคนหลักที่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าว จึงมองว่าเป็นเรื่องผูกพันที่ตนจะต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามสิทธิที่พึงมีตามรัฐธรรมนูญ จึงได้ทำคำร้องเพื่อนำเสนอต่อกกต.พร้อมเอกสารกว่า 100 หน้ามายื่นกกต.เพื่อบังคับกับพรรคก้าวไกลให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามพยานหลักฐาน ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของนายพิธาและพรรคก้าวไกลเอง
“ให้เป็นไปตาม พ.ร.ป.ว่า ด้วยพรรคการเมือง 2562 มาตรา 92 วรรค 1 ซึ่งบัญญัติว่าเมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมือง โดย ( 1 ) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้นตนเห็นว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต.ที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ โดยยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้ศาลพิจารณาสั่งยุคพรรคก้าวไกล ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2562 มาตรา 92 วรรค 1” นายธีรยุทธ กล่าว
เมื่อถามถึงจุดประสงค์ที่ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดเส้นทางให้ยื่นคำร้องยุบพรรคก้าวไกลหรือเพียงต้องการให้ยุติการกระทำ นายธีรยุทธ กล่าวว่า เบื้องต้นที่ยื่นคำร้องต่อศาล คิดว่าขอให้ศาลเมตตาพิจารณาสั่งการเพื่อให้หยุดการกระทำเหล่านั้น แต่เนื่องด้วยหลายปัจจัย อีกทั้งเมื่อคืนที่ผ่านมา ตนอ่านคำวินิจฉัยของศาลอย่างละเอียด เห็นว่าเมื่อศาลได้โปรดพิจารณาวินิจฉัยให้แล้ว ขณะที่ตนเองอยู่ในฐานะผู้ร้อง เห็นว่า มีความผูกพันตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นโดยตรง จึงต้องดำเนินการตามกระบวนการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัย จึงทำหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ผู้ใดทราบเหตุให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง วันนี้จึงมายื่นต่อกกต.
เมื่อถามย้ำว่าหากอนาคตกกต.ส่งศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณายุบพรรคก้าวไกล กังวลหรือไม่ว่าจะทำให้เกิดความวุ่นวายอีกครั้ง นายธีรยุทธ กล่าวว่า ไม่กังวล เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวานนี้(31 ม.ค.) เป็นการวางบรรทัดฐานการเมืองการปกครองของประเทศ เมื่อพรรคก้าวไกลหรือสมาชิกพรรคหรือผู้สนับสนุน หรือผู้นิยมชื่นชอบพรรคก้าวไกล อยู่ในฐานะที่ต้องปฏิบัติและยึดถือบรรทัดฐานการเมืองการปกครองของไทย ซึ่งแม้ว่าจะเกิดขึ้นจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าหลักการนี้ปรากฏอยู่ในข้อบังคับของพรรคก้าวไกลด้วยอยู่แล้ว การจะมีผลกระทบหรือจะกระทบกระทั่งกันอย่างไร เป็นเรื่องปัจเจกบุคคลที่คนนั้นควรจะพิจารณาระลึกถึง
ส่วนที่นักวิชาการบางคนมองว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญสร้างบรรทัดฐานใหม่ว่าแก้ไขมาตรา 112 ไม่ได้ทั้งในและนอกสภาฯ นายธีรยุทธ กล่าวว่า แสดงว่านักวิชาการท่านนั้นไม่ได้อ่าน หรือไม่ได้ฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญโดยละเอียด อาจจะฟังแบบผิวเผิน ได้แต่บอกว่าขอให้กลับไปฟังให้หลาย ๆ รอบ เพราะบรรทัดสุดท้ายห้วงก่อนจะจบ ศาลบอกว่าไม่ได้ปิดประตู แต่การจะแก้ไขต้องเป็นไปตามครรลองนิติบัญญัติโดยชอบ ซึ่งคำว่านิติบัญญัติโดยชอบคือต้องเป็นฉันทามติ
“แต่คนที่คิดจะแก้ไขมาตรา 112 ศาลท่านก็วินิจฉัยชัดเจนอยู่ว่ามีเจตนาซ่อนเร้นอย่างอื่นมีนัยสำคัญ ซึ่งประชาชนโดยทั่วไปอาจจะยังไม่ทราบ ผมคิดว่าการที่ศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นครูบาอาจารย์ เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญหลักนิติ อีกทั้งก่อนจะทำคำวินิจฉัยเช่นนี้ ทราบจากเนื้อหาคำวินิจฉัยว่าได้ประชุมเพื่อพิจารณาคำร้องของผมถึง 62 ครั้ง ซึ่งถือว่าจำนวนมาก แสดงว่าศาลพิจารณาโดยละเอียด รอบด้าน มีข้อมูลจากหลายหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรมหรือศาลยุติธรรมก็ส่งเข้ามา ศาลท่านหยิบยกขึ้นมาพิจารณาโดยละเอียด” นายธีรยุทธ กล่าว
นายธีรยุทธ กล่าวว่า พรุ่งนี้ (2 ก.พ. ) เวลา 10.00 น. จะไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อให้ตรวจสอบและเอาผิดจริยธรรมของพรรคก้าวไกล และสส.พรรคก้าวไกล 44 คนที่ร่วมเสนอชื่อแก้ไขกฎหมาย 112 รวมถึงนายพิธาด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำเข้าข่ายฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง เชื่อว่าผลจะออกมาเหมือนกับกรณีน.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ที่ใช้เวลาพิจารณาไม่นาน.-314.-สำนักข่าวไทย

ขอเวลา 1 คืน ศึกษาคำวินิจฉัยศาล ก่อนตัดสินใจต่อ

“ธีรยุทธ” ขอเวลา 1 คืน ศึกษาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญแก้ไข ม.112 ล้มล้างการปกครอง ก่อนตัดสินใจต่อ ชี้คำวินิจฉัย กกต.ก่อนหน้านี้คลาดเคลื่อนจากมติศาล

ศาลนัดไต่สวนหุ้นไอทีวี “พิธา” 20 ธ.ค.-แก้ ม.112 วันที่ 25 ธ.ค.

ศาลรัฐธรรมนูญ 22 พ.ย.-ศาลรัฐธรรมนูญ นัดไต่สวนพยานบุคคลคดีสถานะ  “พิธา” ถือหุ้นไอทีวี 20 ธ.ค. และคดีพรรคก้าวไกลหาเสียงแก้กฎหมาย ม.112 วันที่  25  ธ.ค.

ไม่หนุนถ้าเพื่อไทยอุ้มก้าวไกล

“อนุทิน” ยันไม่โหวตให้เพื่อไทย ถ้ายังอุ้มก้าวไกล ย้ำจุดยืนไม่เอาพรรคแก้ม.112 ไม่ตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย บอกแคนดิเดตนายกฯ ทุกพรรคเหมาะสมหลังมีชื่อ “เศรษฐา” แทน “พิธา”

ภูมิใจไทยยันไม่เอาก้าวไกล

ภูมิใจไทยยันไม่เอาก้าวไกล
พรรคภูมิใจไทย 18 ก.ค.-ภูมิใจไทยยันไม่เอาพรรคก้าวไกลหลังยึดหลักแก้ 112 ย้ำจะทำทุกวิถีทางปิดกั้นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดนี้ ไม่เห็นด้วยตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย
นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทองและโฆษกพรรคภูมิใจไทย แถลงผลภายหลังการประชุมส.ส.ของพรรคภูมิใจไทย ที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เป็นประธานการประชุมว่า ในที่ประชุมได้หารือหลากหลายประเด็นก่อนที่การประชุมรัฐสภาวาระโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี พรุ่งนี้(19 ก.ค.) ซึ่งย้ำ 2 จุดยืนของพรรคภูมิใจไทย คือ ไม่เห็นด้วยกับพรรคการเมืองที่มีนโยบายแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 และไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย
โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นสำคัญจากที่มีการประชุมวิป 3 ฝ่าย ได้แก่ วุฒิสภา(ส.ว.) 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล แล ะ10 พรรคทางขั้วรัฐบาลปัจจุบัน มีการถกเถียงเรื่องข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 จะสามารถเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ ซ้ำได้หรือไม่ พรรคภูมิใจไทยจึงมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ไม่สามารถเสนอชื่อนายกฯ ซ้ำได้ ให้เป็นไปตามข้อบังคับฯ ข้อที่ 41 เราจะยืนยันมติที่จะไม่กระทำการขัดข้อบังคับฯ ดังกล่าว
“หากในวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค.) ที่ประชุมรัฐสภา หรือ 8 พรรคร่วม จัดตั้งรัฐบาลยังมีความเห็นที่จะเสนอชื่อนายกฯ คนเดิมซ้ำ ทางพรรคภูมิใจไทยได้เตรียมผู้อภิปรายแสดงความเห็นในเรื่องนี้ไว้แล้วแน่นอน พวกเรามีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่มีความเป็นห่วงกับแนวคิดการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 เราเป็นห่วงสังคม เราไม่เห็นด้วย และจะทำทุกวิถีทางเพื่อปิดกั้นพรรคการเมืองที่มีแนวคิดแบบนี้ นั่นก็คือพรรคก้าวไกล” นายภราดร กล่าว
เมื่อถามว่าช่วงโค้งสุดท้ายคิดว่าจะมีใครมาเสนอชื่อนายกฯ แข่งกับนายพิธาหรือไม่ โฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า เป็นไปตามจุดยืนของพรรคคือไม่เห็นด้วยกับการตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย แต่พรรคอื่นตนไม่ทราบว่าจะมีใครเสนอชื่อแข่งกับนายพิธาหรือไม่.-สำนักข่าวไทย

ภูมิใจไทยย้ำจุดยืนค้านแก้ ม.112 ไม่เปลี่ยน

“ชาดา” ย้ำไม่หนุนรัฐบาลที่มีพรรคแก้ ม.112 ชี้ 13 ก.ค.ให้โอกาสแล้วแต่ไม่รับ ถือว่าจบ ส่วนปมถือหุ้น คนละกรณี “พิธา” เป็นหุ้นใน ตปท.

แนะก้าวไกลเลิกอ้าง 14 ล้านเสียงแล้วถอย

“ธนกร” ย้ำจะโหวตกี่ครั้งแต่เงื่อนไขแก้ ม.112 ทำ “พิธา” ไม่ได้เป็นนายกฯ เลิกอ้าง 14 ล้านเสียง ถ้าไม่ถอย อีกฝั่งก็ไม่ถอย แนะให้พรรคอันดับ 2 เสนอชื่อ ถ้า 2 ไม่ได้ก็ 3 ระบุโอกาสทุกพรรคจับมือดันก้าวไกลเป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวก็มี

“ปิยบุตร” โต้อย่าอ้าง ม.112 เพื่อไม่โหวต “พิธา”

“ปิยบุตร” ไลฟ์เฟซบุ๊กโต้ “ชาดา-วิทยา-สมชาย” อภิปราย ยกแก้ ม.112 เป็นข้ออ้างไม่โหวต “พิธา” เป็นนายกฯ ชี้คนละเรื่อง ถ้าไม่เห็นด้วยให้ไปคว่ำในขั้นตอนพิจารณากฎหมายของรัฐสภา

เคารพเสียง ปชช. แต่ต้องป้องสถาบันหลักชาติ

“เสรี” ยัน ไม่เลือก “พิธา” ต่อให้บอกไม่แก้ม.112 ตอนนี้ก็ไม่เชื่อ โอดส.ว. ทนเสียงก่นด่าตลอด 4 ปี ย้ำเคารพเสียงของประชาชน แต่ต้องทำหน้าที่ปกป้อง 3 เสาหลักของชาติ  พร้อมดักทาง ถ้าไม่ได้อย่ายุยง-ปลุกม็อบ

1 2
...