เกาหลีใต้หารือการเข้าร่วมเป็นภาคีข้อตกลงออคัส

เกาหลีใต้เข้าร่วมการเจรจาเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกติกาสัญญาความมั่นคงไตรภาคีระหว่างประเทศออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ หรือ ออคัส (AUKUS) หลังจากไม่กี่สัปดาห์ก่อนออคัสกล่าวว่า กำลังพิจารณาให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมเป็นภาคีข้อตกลงนี้ด้วย

กลุ่มออคัสเล็งเพิ่มสมาชิกหวังยับยั้งจีน

ลอนดอน 7 เม.ย.- หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ในอังกฤษรายงานว่า กลุ่มออคัส (AUKUS) ซึ่งเป็นความเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคงไตรภาคีระหว่างสหรัฐ อังกฤษ และออสเตรเลียจะประกาศเรื่องรับสมาชิกใหม่ หวังเพิ่มแนวร่วมในการยับยั้งต้านทานจีน ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานวันนี้อ้างแหล่งข่าวว่า รัฐมนตรีกลาโหมของออคัสจะประกาศในวันจันทร์นี้เรื่องเพิ่มความเป็นหุ้นส่วนในเสาที่ 2 ว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยี แต่ไม่แตะต้องเสาที่ 1 ที่ว่าด้วยการจัดสรรเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ให้แก่ออสเตรเลีย เสาที่ 2 กำหนดให้สมาชิกร่วมกันพัฒนาเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีไซเบอร์ เรื่องขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงและการต่อต้านขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง และเรื่องศักยภาพเรดาร์อวกาศห้วงลึกล้ำสมัย ไฟแนนเชียลไทมส์ระบุว่า สหรัฐต้องการผลักดันให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมออคัสเพื่อเป็นแนวร่วมยับยั้งต้านทานจีน ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐต้องการเพิ่มสมาชิกที่อยู่ในเอเชียอย่างญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ ขณะที่นายราห์ม เอมานูเอล เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำญี่ปุ่นเขียนบทความลงในวอลล์สตรีทเจอร์นัลฉบับวันที่ 6 เมษายนว่า ญี่ปุ่นจะเป็นหุ้นส่วนเพิ่มเติมประเทศแรกของเสาที่ 2 แหล่งข่าวเผยว่า ไบเดนคงจะหารือเรื่องนี้ในวันพุธหน้า กับนายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่นที่จะไปเยือนกรุงวอชิงตัน สหรัฐ อังกฤษ และออสเตรเลียออคัสตั้งขึ้นในปี 2566 เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต้านทานอำนาจของจีนที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ขณะที่จีนระบุว่า ออคัสเป็นข้อตกลงอันตราย และอาจกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันกันสั่งสมอาวุธขึ้นในภูมิภาค.-814.-สำนักข่าวไทย

จีนเตือนอย่าตั้งพันธมิตรแบบนาโตขึ้นในเอเชีย-แปซิฟิก

สิงคโปร์ 4 มิ.ย.- รัฐมนตรีกลาโหมจีนเตือนว่า อย่าตั้งพันธมิตรทางทหารแบบองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโตขึ้นในเอเชีย-แปซิฟิก เพราะจะทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็น “วังวนแห่งความขัดแย้ง” นายพลหลี่ ซ่างฝู รัฐมนตรีกลาโหมจีนกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสุดยอดการเจรจาแชงกรี-ลาครั้งที่ 20 ที่สิงคโปร์ในวันนี้ว่า ความพยายามผลักดันให้เกิดพันธมิตรแบบนาโตขึ้นในเอเชีย-แปซิฟิกเป็นวิธีการจับประเทศในภูมิภาคนี้เป็นตัวประกัน และขยายความขัดแย้งและการเผชิญหน้า ซึ่งรังแต่จะทำให้เอเชีย-แปซิฟิกตกเข้าสู่วังวนแห่งความขัดแย้ง ปัจจุบันภูมิภาคนี้ต้องการความร่วมมือที่เปิดกว้างและครอบคลุม ไม่ใช่การจับกลุ่มกันเป็นก๊กเป็นเหล่าเล็ก ๆ ทุกคนต้องไม่ลืมภัยพิบัติร้ายแรงที่สงครามโลกทั้ง 2 ครั้งก่อไว้กับคนทุกประเทศ และต้องไม่ปล่อยให้ประวัติศาสตร์ที่น่าเศร้าใจนี้เกิดขึ้นซ้ำรอยอีก รัฐมนตรีกลาโหมจีนไม่ได้ระบุชื่อประเทศใด แต่ดูเหมือนต้องการพาดพิงถึงสหรัฐที่พยายามสร้างพันธมิตรและความเป็นหุ้นส่วนกับหลายประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก เช่น การตั้งกลุ่มออคัส (AUKUS) ที่เป็นความร่วมมือด้านความมั่นคงไตรภาคกับออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร การตั้งกลุ่มควอด (Quad) ที่เป็นการเจรจาความมั่นคงจตุภาคีกับออสเตรเลีย อินเดียและญี่ปุ่น.-สำนักข่าวไทย

จีนเตือนออคัสอยู่ในเส้นทางของความผิดพลาด-อันตราย

จีนกล่าววันนี้เตือนว่า ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ กำลังก้างย่างไปในเส้นทางของความผิดพลาดและอันตราย หลังจากที่เผยโฉมข้อตกลงเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์

ออสเตรเลียตกลงซื้อเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของสหรัฐ

แซนดีเอโก 14 มี.ค.- ออสเตรเลียประกาศแผนการซื้อเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์จากสหรัฐจำนวนสูงสุด 5 ลำ จากนั้นจะต่อเรือดำน้ำรุ่นใหม่ด้วยเทคโนโลยีจากสหรัฐและอังกฤษ ตามแผนการสร้างเสริมอิทธิพลของชาติตะวันตกในเอเชีย-แปซิฟิกเพื่อคานอิทธิพลของจีน นายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบาเนซีของออสเตรเลียประกาศเรื่องนี้ในงานที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐจัดต้อนรับเขาและนายกรัฐมนตรีริชี ซูนักของอังกฤษที่ฐานทัพเรือสหรัฐในเมืองแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น ผู้นำออสเตรเลียกล่าวว่า ข้อตกลงนี้เป็นการลงทุนในศักยภาพการป้องกันประเทศครั้งเดียวและครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศ เรือดำน้ำล่องหนขับเคลื่อนด้วยเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะติดขีปนาวุธร่อนที่สามารถโจมตีศัตรูได้จากระยะไกล ทำให้สามารถป้องปรามผู้ประสงค์ร้ายได้ ขณะเดียวกันจะสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างเหมือนเมื่อครั้งที่ออสเตรเลียริเริ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลออสเตรเลียประเมินว่า โครงการเรือดำน้ำจะทำให้เกิดการจ้างงานประมาณ 20,000 ตำแหน่ง นายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีไบเดนกล่าวว่า สหรัฐจะจำหน่ายเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ชั้นเวอร์จิเนียที่สามารถติดอาวุธทั่วไปจำนวน 3 ลำให้แก่ออสเตรเลียในช่วงคริสต์ทศวรรษปี 2030 และอาจจำหน่ายให้สูงสุด 5 ลำหากจำเป็น หลังจากนั้นออสเตรเลียและอังกฤษจะร่วมกันต่อเรือดำน้ำรุ่นใหม่ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์และสามารถติดอาวุธทั่วไป เรือรุ่นใหม่นี้มีชื่อว่า เอสเอสเอ็น-ออคัส (SSN-AUKUS) ออกแบบโดยอังกฤษ และใช้เทคโนโลยีของสหรัฐ เดิมออสเตรเลียสั่งซื้อเรือดำน้ำพลังงานดีเซลจากฝรั่งเศสมูลค่า 66,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.27 ล้านล้านบาท) เพื่อทดแทนกองเรือดำน้ำพลังงานดีเซลที่ใช้งานมานาน แต่ออสเตรเลียได้ประกาศฉีกข้อตกลงดังกล่าวขณะเข้าร่วมกติกาสัญญาความมั่นคงไตรภาคีระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและสหรัฐ หรือออคัส (AUKUS) เมื่อเดือนกันยายน 2564 ด้านจีนเตือนว่า การตั้งกลุ่มนี้เสี่ยงเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันกันสั่งสมอาวุธ และขัดขวางความพยายามห้ามแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์.-สำนักข่าวไทย

อังกฤษปกป้องข้อตกลงความมั่นคงสหรัฐ-ออสเตรเลีย

รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษกล่าวปกป้องข้อตกลงความมั่นคงไตรภาคีกับสหรัฐและออสเตรเลียว่า จะช่วยให้อังกฤษปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และอาจช่วยสร้างงานใหม่อีกมากมาย

ออสเตรเลียเคยคุยกับฝรั่งเศสแล้วว่ากังวลข้อตกลงเรือดำน้ำ

ออสเตรเลียเผยว่า เคยหยิบยกความกังวลเกี่ยวกับข้อตกลงซื้อเรือดำน้ำจากฝรั่งเศสขึ้นหารือกับฝรั่งเศสมาหลายปีแล้ว ก่อนที่จะประกาศยกเลิกข้อตกลงไปเมื่อสัปดาห์ก่อน

...