fbpx

ออมสิน จับมือตำรวจร่วมแก้ไขหนี้นอกระบบ

กรุงเทพฯ 9 เม.ย. – ออมสิน จับมือตำรวจร่วมแก้ไขหนี้นอกระบบ ตามนโยบายรัฐ คิดดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 1 ต่อเดือน ปลอดชำระเงินต้น 6 เดือนแรก นางจันทนา พุทธชัยยงค์ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 2 นำทีมธนาคารออมสินในพื้นที่ร่วมออกบูธในกิจกรรม “ตลาดนัดแก้หนี้ กองบังคับการตำรวจนครบาล 5” สถานีตำรวจนครบาลลุมพินีจัดขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบสถานีตำรวจแห่งแรกในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการตามนโยบายรัฐบาล โดยมี พล.ต.ต.พงศ์อานันต์ คล้ายคลึง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม และมีผู้แทนคณะทำงานกำกับการแก้ไขหนี้สินประชาชนรายย่อย ผู้แทนจากสำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตปทุมวัน คลองเตย วัฒนา ร่วมด้วย โดยธนาคารออมสินได้ออกบูธให้ความช่วยเหลือทางการเงินผ่านมาตรการสินเชื่อต่างๆ ประกอบด้วย สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนเพื่อช่วยเหลือและรองรับลูกหนี้นอกระบบที่ไกล่เกลี่ยหนี้ในโครงการแก้หนี้นอกระบบของรัฐบาล วงเงินกู้ตามความจำเป็นสูงสุดไม่เกินรายละ 20,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 1 ต่อเดือน ปลอดชำระเงินต้น 6 เดือนแรก ผ่อนชำระ 36 งวด ไม่ต้องใช้หลักประกัน และสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนเพื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ ที่เกิดจากการประกอบอาชีพ หรือหนี้ที่เกิดจากการอุปโภคบริโภค แต่ต้องไม่เป็นการนำไปรีไฟแนนซ์หนี้ในระบบ […]

นายกฯ อยากให้ลดดอกเบี้ยอีก ช่วยแก้หนี้บุคลากรภาครัฐ

นายกฯ ขอทุกหน่วยงานพยายามมากขึ้น หาแนวทางช่วยแก้ปัญหาหนี้สินบุคลากรภาครัฐ ย้ำข้าราชการเป็นส่วนสำคัญขับเคลื่อนประเทศติ หากมีหนี้สินล้นพ้นตัว ถือเป็นสารตั้งต้นของหายนะ แม้ ธปท. จะยังไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่หน่วยงานออกเงินกู้ปรับลดให้ จึงขอขอบคุณ กำชับดึงข้าราชการกู้ในระบบมากขึ้น

ดีเดย์ 1 เม.ย.67 มาตรการช่วยลูกหนี้เรื้อรังกลุ่มเปราะบางปิดจบหนี้ใน 5 ปี

ธปท. เผยมาตรการช่วยลูกหนี้เรื้อรังกลุ่มเปราะบาง ที่ไม่เป็น NPL ปิดจบหนี้เร็วขึ้น ภายใน 5 ปี และลดภาระดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี เริ่ม 1 เม.ย.67 ชี้หากแบงก์-นอนแบงก์ในกำกับไม่แจ้งลูกหนี้ ถือว่ามีความผิด

ออมสินแก้หนี้ NPLs 630,000 ราย

กรุงเทพฯ 5 ม.ค. – ธ.ออมสินช่วยลูกหนี้อาชีพอิสระ จากโควิด-19 กว่า 630,000 ราย หลุดพ้นสถานะ NPLs ไม่เสียประวัติเครดิต ดีเดย์เริ่ม 6 ม.ค. 67 รัฐควักกระเป๋าชดเชย 1 หมื่นล้านบาท หลังจากรัฐบาลกำหนดนโยบายการแก้หนี้ทั้งระบบเป็นวาระแห่งชาติ มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการภารกิจและแนวทางดำเนินงานเพื่อแก้ไขหนี้ให้ประชาชนทุกกลุ่ม กระทรวงการคลัง จึงกำหนดให้แบงก์รัฐทยอยออกมาตรการแก้หนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ และนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายและสนับสนุนธนาคารออมสิน เสนอ ครม. ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระ ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ธนาคารได้ปล่อยกู้ให้รายละ 10,000 บาท เมื่อปี 2563 เพื่อช่วยเหลือเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ธนาคารออมสินช่วยเหลือลูกหนี้ ผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระ ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ก่อน หากลูกหนี้รายใด ยังประสบความเดือดร้อนต่อเนื่อง ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติ ให้ธนาคารนำงบประมาณที่รัฐจัดสรรสำหรับชดเชยความเสียหาย มาช่วยเหลือลูกหนี้ให้หลุดพ้นจากสถานะหนี้เสีย (NPLs) และไม่เสียประวัติเครดิต ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบได้อีก ธ.ออมสิน […]

“ธนกร” มั่นใจมาตรการแก้หนี้ บรรเทาความเดือดร้อน

“ธนกร” มั่นใจ มาตรการแก้หนี้ทั้งในและนอกระบบ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน สร้างความเป็นธรรมให้เจ้าหนี้-ลูกหนี้ได้จริง แนะ เร่งประชาสัมพันธ์ เหตุ ปชช.ไม่รู้รายละเอียด

ธอส. ออกมาตรการแก้หนี้ ดอกเบี้ย 0% นาน 10 เดือน

กรุงเทพฯ 17 มี.ค. -ธอส. จัดทำมาตรการแก้หนี้ ดอกเบี้ย 0% นาน 10 เดือน  ที่งานมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย 4 ภูมิภาค ครั้งที่ 3 จ.พิษณุโลก 18-19 มี.ค. 2566 

นายแบงก์-นักเศรษฐศาสตร์ แนะแผนฟื้นเศรษฐกิจ

กรุงเทพฯ 24 พ.ย.-นายแบงก์ เผย ธปท.ผ่อนปรนมาตรการแก้หนี้ยั่งยืน 2 ล้านล้านบาท ผ่านธนาคารถึงสิ้นปี 66 ช่วยฟื้นธุรกิจ นักเศรษฐศาสตร์ แนะพึ่งไทยเที่ยวไทย เพราะต่างชาติยังไม่เข้าไทย คาดเฟดขยับดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 65 เพื่อคุมเงินเฟ้อ หวั่นลุกลามไทย หนี้ครัวเรือนยังสูง นายพยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย ปาฐกถาพิเศษ ในงานเสวนา “Unlock Value ก้าวสู่ เส้นทางใหม่ ไร้ขีดจำกัด” ว่า เมื่อเกิดปัญหาแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 รัฐบาลได้ออกมาตรการเชิงรุกแก้ปัญหา ทั้งการพักชำระหนี้ การออกเครื่องมือยืดหยุ่น ขยายอายุการชำระหนี้ เพื่อประคองไม่ให้ธุรกิจล้ม มองว่าการออกมาตรการสุดท้ายของ ธปท. มาใช้แก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนยาวไปถึงสิ้นปี 2566 วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ผ่านสถาบันการเงิน ช่วง 2 ปีข้างหน้า นับเป็นเครื่องมือประคองธุรกิจแบบฟื้นตัว หวังให้ผู้ต้องการสภาพคล่องกลับมาดำเนินกิจการแล้วหันชำระหนี้ได้เหมือนเดิม เพื่อให้ธุรกิจหยุดชะงักกระทบเสถียรภาพสถาบันการเงิน ความเชื่อมั่นจากการฉีดวัคซีนกระจายครอบคลุมมากขึ้น  แต่อย่าประมาทในการใช้ชีวิต  เพื่อไม่ให้มีปัญหาแพร่ระบาดโควิด-19 ต้องกลับมาล็อคดาวน์อีก เมื่อความเชื่อมั่นกลับมา กิจกรรมเศรษฐกิจจะกลับมา การส่งออกยังเป็นพลังหลัก แต่ประสิทธิภาพการผลิต ต้องปรับตัวรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล หันมาเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ […]

...