กทม.พบค่าฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน 19 พื้นที่
กรุงเทพฯ ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เวลา 07.00 น. พบมีค่าเกินมาตรฐาน 19 พื้นที่
กรุงเทพฯ ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เวลา 07.00 น. พบมีค่าเกินมาตรฐาน 19 พื้นที่
กรมอนามัย แนะนำประชาชนหมั่นเช็กค่าฝุ่น PM2.5 เป็นประจำ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือเมื่อค่าฝุ่นสูงขึ้น รวมถึงเลือกและสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อลดการสูดฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย
สสส.ร่วมกับ กทม.สานพลังภาคีเครือข่าย ขยายห้องเรียนสู้ฝุ่น ปั้น 34 โรงเรียนต้นแบบ เตรียมพร้อมรับมือฝุ่น PM2.5 ในเมืองกรุง
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เผย 16 แผนสู้ฝุ่น PM 2.5 ตั้งทีมร่วม ทส.-กทม. คาดปีหน้าเห็นผล เล็งเพิ่มค่าตอบแทนครูอาสาศูนย์เด็กเล็ก-กรรมการชุมชน พร้อมเฝ้าระวังฝีดาษวานรในพื้นที่
รมอนามัย เผยค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เกินมาตรฐานสูงระดับสีแดง แนะช่วงปิดเทอม พ่อแม่ ผู้ปกครอง ดูแลเด็กให้เลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพ
กรมอนามัย คาดการณ์หลังปีใหม่ แนวโน้มฝุ่น PM2.5 เมืองกรุงสูงขึ้น แนะเช็กค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้าน สวมหน้ากากป้องกัน ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นด้วย
โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ ห่วงใยประชาชน กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคุมเข้มมาตรการควบคุมฝุ่นละออง PM2.5 โดยเฉพาะในส่วนของรถส่วนบุคคล และรถโดยสารสาธารณะ
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษระบุ ปี 2565 จะตรวจรถควันดำอย่างเข้มงวดขึ้น ตามแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง เฉพาะไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ห้ามใช้รถควันดำแล้วเกือบ 600 คัน
โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ ตามสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่มาพร้อมลมหนาวใกล้ชิด แนะประชาชนดูแลสุขภาพ ขณะหลายหน่วยงานบูรณาการตรวจวัดฝุ่นละออง ตรวจวัดรถควันดำ
กรมควบคุมมลพิษและกรมอุตุนิยมวิทยา (อต.) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการบูรณาการความร่วมมือทางวิชาการ เครื่องมือตรวจวัดระบบประมวลผล และพัฒนาการพยากรณ์ฝุ่น PM2.5 ใช้วางแผนบริหารจัดการ รวมถึงการแจ้งเตือนประชาชน
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จี้รัฐเร่งหาเจ้าภาพรับมือฝุ่น PM2.5 แนวโน้มน่าห่วงตั้งแต่กลางเดือน พ.ย.นี้ ชี้ปัญหาผสมโรง ทั้งจราจร ฝุ่นพิษ บวกด้วยโควิด เป็นโจทย์ท้าทายความสามารถของภาครัฐจะเอาอยู่หรือไม่
เจนีวา 23 ก.ย. – องค์การอนามัยโลกปรับระดับเกณฑ์คุณภาพอากาศใหม่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2548 เพื่อกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ หันมาใช้พลังงานสะอาดและป้องกันการเสียชีวิตหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศ โดยพบว่ามลพิษทางอากาศคร่าชีวิตผู้คนถึงปีละกว่า 7 ล้านราย องค์การอนามัยโลกได้ประกาศปรับระดับเกณฑ์คุณภาพอากาศครั้งใหม่ เช่น ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือพีเอ็ม และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ที่เป็นผลมาจากการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อช่วยรักษาชีวิตผู้คนหลายล้านคน เกณฑ์ดังกล่าวกำหนดให้ค่ามาตรฐานในบรรยากาศของฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือพีเอ็ม 2.5 เฉลี่ยรายปีไม่ควรเกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งปรับลดลงจากเกณฑ์เดิมที่ไม่ควรเกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าการสูดอากาศที่มีค่าฝุ่นพีเอ็มระดับต่ำในระยะยาวยังคงมีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคปอด โรคหลอดเลือดสมอง และส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพ ในขณะเดียวกัน ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เผยว่า มลพิษทางอากาศได้คร่าชีวิตผู้คนปีละกว่า 7 ล้านรายทั่วโลก และมีผลวิจัยที่ชี้ว่า แม้มลพิษทางอากาศจะอยู่ในระดับต่ำมาก แต่ก็ส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่ระบบสมองไปจนถึงทารกที่กำลังเติบโตอยู่ในครรภ์มารดา องค์การอนามัยโลกหวังว่าการปรับระดับเกณฑ์คุณภาพอากาศในครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้ประเทศสมาชิก 194 ประเทศดำเนินการเพื่อลดการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ยังส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย ขณะนี้ ประเทศต่าง ๆ กำลังเผชิญกับแรงกดดันในการให้คำมั่นเกี่ยวกับแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนเปิดฉากการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เมืองกลาสโกว์ของสกอตแลนด์ในเดือนพฤศจิกายนนี้.-สำนักข่าวไทย