ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตื่นกลางดึก

27 ตุลาคม 2566 – ทำไมเราต้องตื่นกลางดึก ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ควรทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 3 ตุลาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จัก โปรตีนเกษตร

29 ตุลาคม 2566 – ทำไมอาหารชนิดนี้ จึงเรียกว่า โปรตีนเกษตร ที่มาเป็นอย่างไร มีส่วนผสมอะไรบ้าง และควรกินอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.หทัยชนก กันตรง นักวิจัยชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โปรตีนเกษตรมีที่มาอย่างไร ? โปรตีนเกษตร เป็นแหล่งโปรตีนที่ได้จากพืช ส่วนใหญ่เป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง ผ่านการสกัดเอาน้ำมันออก ผลิตขึ้นรูปโดยกระบวนการ เอกซ์ทรูชัน (extrusion) ผลิตและค้นคว้าโดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ พ.ศ.2512  โดยในช่วงแรก ใช้ชื่อเรียกว่า “เกษตรโปรตีน” จากนั้น มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนสูตร วัตถุดิบหลักและกรรมวิธีการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาเป็นตัวช่วยให้มีรสชาติ สี กลิ่นให้น่ากินมากขึ้น ระยะเวลาการเตรียมและนำไปประกอบอาหารได้สะดวกขึ้น  โปรตีนเกษตร ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้หรือไม่ ? โปรตีนเกษตรจากถั่วเหลืองถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย การกินโปรตีนเกษตร เพื่อทดแทนโปรตีนจากสัตว์สามารถทำได้ แต่ไม่แนะนำให้กินติดต่อกันเป็นเวลานาน แม้ว่าโปรตีนเกษตรจะสามารถทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ แต่โปรตีนเกษตรไม่ได้มีโปรตีนเพียงอย่างเดียว ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่ให้พลังงาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนกลางวัน

26 ตุลาคม 2566 – การง่วงกลางวันมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง และการนอนกลางวันที่ดีเป็นแบบไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ข้อพึงตระหนัก เมื่อกินโปรตีนเกษตร

22 ตุลาคม 2566 – โปรตีนเกษตร อาหารทางเลือกที่หลายคนนิยมกิน เพื่อทดแทนการกินเนื้อสัตว์ โปรตีนเกษตร กินเพื่อลดน้ำหนัก ลดไขมันได้หรือไม่ และบุคคลใดควรระวัง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.หทัยชนก กันตรง นักวิจัยชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 19 กันยายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิธีช่วยชีวิตคนถูกไฟไหม้

23 ตุลาคม 2566 – เมื่อพบผู้บาดเจ็บจากเหตุเพลิงไหม้ ช่วยอย่างไร ให้ปลอดภัยทั้งเขาและเรา สิ่งใดควรทำ และสิ่งใดห้ามทำ ก่อนเจ้าหน้าที่กู้ภัยกู้ชีพจะมาถึง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. นพ.พรพรหม เมืองแมน ผู้ช่วยคณบดี / รองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หมายเหตุ: เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการ “สิงห์อาสา” การจำลองเหตุการณ์และบาดแผลตกแต่งเพื่อการเรียนรู้ ในโครงการอบรม “กู้ภัยและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไฟไหม้” สัมภาษณ์เมื่อ : 16 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : กะดึก เปลี่ยนไทม์โซน นอนอย่างไร

19 ตุลาคม 2566 – เตรียมนอนยังไง เมื่อเปลี่ยนไทม์โซน และการทำงานเป็นกะ ควรนอนอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิธีรักษา ตับคั่งไขมัน

16 ตุลาคม 2566 – ตับคั่งไขมัน มีกี่ระยะ หายเองได้หรือไม่ หากเป็นแล้วจะรักษาอย่างไร หายขาดหรือไม่ ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย โรคตับคั่งไขมัน สาเหตุหลักมักเกิดจากความอ้วน มีไขมันสะสมมาก และส่วนหนึ่งของไขมันได้เข้าไปอยู่ในตับ ทำให้ ตับอักเสบจนเกิดพังผืดตับ ในระยะแรก ๆ ของโรค มักไม่แสดงอาการ โดยเฉลี่ยเมื่อเกิน 10 ปีขึ้นไป ตับจะเริ่มอักเสบ เซลล์ตับถูกแทนที่ด้วยพังผืด นำไปสู่โรคตับแข็ง ตับคั่งไขมันระยะเริ่มมีพังผืดแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 และ 2 ระยะพังผืดเริ่มต้น เป็นโรคนี้มา 1-2 ปี ระยะนี้หายได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการรักษาของแพทย์ ระยะที่ 3 และ 4 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สูญเสียการนอน หรือการอดนอน

15 ตุลาคม 2566 – สูญเสียการนอนหรือ Sleep loss มีอาการเป็นอย่างไร เหมือนกับการนอนไม่หลับหรือไม่ และเราควรนอนวันละกี่ชั่วโมงจึงจะไม่ถือว่าอดนอน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สูญเสียการนอนหรือ Sleep loss มีอาการเป็นอย่างไร ? สูญเสียการนอนหรือ Sleep loss หมายถึง การที่เรามีเวลานอน มีโอกาสนอนเพียงพอ แต่เราไม่ได้นอนหลับอย่างเพียงพอและเหมาะสม เช่น ทำงานดึก ดูซีรี่ส์ และตอนเช้าต้องตื่นมาทำงาน ทำให้ระยะการนอนนั้นสั้น เรียกว่า สูญเสียการนอน การนอนไม่หลับ คือ มีโอกาสที่จะนอนให้เพียงพอได้ แต่นอนไม่หลับ ซึ่งต้องหาสาเหตุว่านอนไม่หลับเพราะเหตุใด อาจจะกังวล ความเครียด หรือโรคทางกาย อันตรายจากนอนดึก “การนอนหลับที่ดีนั้น” พฤติกรรมการนอนควรต้องหลับสนิทไม่ตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง โดยภายในคืนนึงต้องมีระยะเวลาในการนอนสะสมให้เพียงพอถึง 6-9 ชั่วโมงโดยประมาณ  การอดนอนจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้ได้อย่างไร ตับคั่งไขมัน

13 ตุลาคม 2566 – ตับคั่งไขมัน หรือที่หลายคนเรียกว่า ไขมันพอกตับ เมื่อโภชนาการเกิน ทำให้เกิดพังผืดในตับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคนี้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 22 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุโรคตับคั่งไขมัน

2 ตุลาคม 2566 – ไขมันพอกตับ หรือ ตับคั่งไขมัน โรคที่หลายคนอาจเป็น แต่อาจไม่รู้ตัว โรคนี้เป็นอย่างไร และมีสาเหตุมาจากอะไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย สาเหตุของโรคตับคั่งไขมัน 1.กลุ่มโภชนาการเกิน โรคอ้วน ส่วนมากผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันมักมีรูปร่างอ้วนและมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน ทำให้เกิดการสะสมไขมันที่ตับ 2.กลุ่มสัมพันธ์โดยตรงกับโรคเบาหวาน ภาวะนี้มักเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพราะร่างกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการอักเสบของตับสูง ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของตับ นำไปสู่โรคตับคั่งไขมันได้ 3.กลุ่มซ่อนรูป คนที่มีรูปร่างผอมเพรียวก็อาจตรวจพบโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดมาจากพันธุกรรมเป็นเบาหวาน โรคตับคั่งไขมันอาการมักค่อยเป็นค่อยไป ทำให้หลายคนไม่ทราบว่ากำลังมีภาวะดังกล่าว ถึงแม้ว่าคนที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคตับคั่งไขมัน แต่ถ้าหากพูดถึงอาหารในแง่ของการเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคด้วยที่มีปัญหาเรื่องโรคตับคั่งไขมัน มักมีไขมันสะสมในเลือดสูง หลักการรักษาทำได้โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง ในกรณีผู้ป่วยเบาหวานให้ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สัมภาษณ์เมื่อ : 22 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนไม่หลับ

8 ตุลาคม 2566 – การนอนไม่หลับทางการแพทย์เป็นยังไง เราจะต้องรักษาและปรับวิธีพฤติกรรมอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาเป็นหนอง

28 กันยายน 2566 – ตาเป็นหนองเกิดจากสาเหตุใด เกิดได้ที่บริเวณไหน และมีวิธีการป้องกันอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การเป็นหนองบริเวณดวงตา แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1.บริเวณเปลือกตา ที่พบบ่อยจะเป็น โรคตากุ้งยิง โดยมักเกิดบริเวณเปลือกตา เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณรอบ ๆ เปลือกตา การรักษาแพทย์จะขูดหนองที่อยู่บริเวณเปลือกตาออก เป็นอีกวิธีที่ทำให้การอักเสบหายได้เร็วขึ้น 2.บริเวณเยื่อบุตา พบบ่อยในโรคตาแดงหรือเยี่อบุตาอักเสบ คือ ภาวะที่เยื่อบุตาเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งเยื่อบุตาเป็นเยื่อเมือกใสที่คลุมตาขาวและบุด้านในของเปลือกตา ติดต่อกันได้ง่ายผ่านการสัมผัสโดยตรงผ่านทางขี้ตาหรือมือสัมผัสโดยตรง 3.บริเวณกระจกตาดำ กลุ่มนี้ถือว่ามีความรุนแรงต่อการมองเห็น สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา เช่น ถูกใบหญ้าหรือพืชผักบาดกระจกตาดำ หรือ การใส่คอนแทคเลนส์ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรค 4.ลูกตาหรือดวงตาเป็นหนอง มักเกิดตามหลังจากการเกิดอุบัติเหตุในดวงตา หรือจากการผ่าตัดดวงตาแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อนมีการติดเชื้อตามมา เป็นภาวะอันตรายสูงมาก มีความสำคัญยิ่งต่อการมองเห็นหากได้รับการรักษาช้า  อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการติดเชื้อที่ตาควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของการติดเชื้อที่ตา สัมภาษณ์เมื่อ : 19 กันยายน […]

1 5 6 7 8 9
...