fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต ประโยชน์และโทษของการดื่มชา จริงหรือ ?

22 สิงหาคม 2566 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับการดื่มชาเอาไว้มากมาย บ้างก็ว่าชาเขียวแช่เย็นอันตราย กรมอนามัยประกาศห้ามไม่ให้ดื่ม และถุงชาปล่อยพลาสติกพันล้านในน้ำชาอีกด้วย?!  เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ชามีกาเฟอีนมากกว่ากาแฟ จริงหรือ ? มีการแชร์ว่า ชาร้อน 1 แก้ว มีกาเฟอีนมากกว่ากาแฟ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.ปรัญรัชต์ ธนวิยุทธ์ภัคดี อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “ชาและกาแฟมีกาเฟอีนมากน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ซึ่งชา 1 ถุง เทียบกาแฟที่ตักและชงประมาณ 2 ช้อนชาจะมีกาเฟอีนเต็มที่ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม” อันดับที่ 2 : ชาใบหม่อน ลดความดัน ตาใสแจ๋ว  จริงหรือ ? มีการแชร์คำแนะนำ ให้กินชาใบหม่อน 3-5 ใบ ต้มนาน 5 นาที ลดความดัน ถ้าบีบมะนาว ยิ่งทำให้ตาใสแจ๋ว ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : แพทย์แผนไทยคมสัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต อันตรายของน้ำอัดลม จริงหรือ ?

16 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับน้ำอัดลมเอาไว้มากมาย บ้างก็ว่าอันตราย ดื่มแล้วจะกัดกระเพาะ บ้างก็ว่า ดื่มน้ำอัดลมผสมกับนม กลายเป็นหินปูนเกาะลำไส้ ?!  เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ห้ามดื่มน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลัง จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปเตือนว่าห้ามดื่มน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังเพราะอาจมีอันตรายถึงชีวิต โดยมีคลิปการทดลองผสมเครื่องดื่มทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน แล้วเกิดเป็นฟองสีขาวฟูขึ้นมาอย่างน่าตกใจ เมื่อทิ้งไว้สักครู่ฟองสีขาวนั้นจะเกิดการแข็งตัว ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “การกินน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังสามารถทำได้ ไม่เป็นอันตราย ส่วนประกอบของเครื่องดื่มทั้งสองชนิด ไม่มีส่วนประกอบใดที่ทำให้เกิดลักษณะดังกล่าว ส่วนภาพในคลิปนั้นอาจจะเป็นการทดลองทำ Polyurethane Foam ซึ่งใช้สารที่มีสีน้ำตาลคล้ายกันกับน้ำอัดลม ในความเป็นจริงผลเสียที่จะเกิดขึ้นเมื่อกินน้ำอัดลมผสมเครื่องดื่มชูกำลังก็คือ การที่ร่างกายของเราจะได้รับน้ำตาลมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคอ้วนนั่นเอง” อันดับที่ 2 : น้ำอัดลมอันตราย จริงหรือ ? มีการแชร์อินโฟกราฟิกเตือนให้ระวังภัยหลายอย่างจากการดื่มน้ำอัดลม เช่น ฟันผุ กระดูกบาง ตับถูกทำลาย เบาหวาน รวมไปถึงมะเร็ง ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ดร.สืบพงษ์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ก้มหน้าดูมือถือมากไป ทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ จริงหรือ ?

7 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เรื่องเล่าเตือนว่า ผู้สูงวัยรายหนึ่ง ปวดศีรษะรุนแรง หมอสอบประวัติ พบสาเหตุว่าเป็นเพราะนั่งก้มหน้าเล่นมือถือมากเกินไป จนกดทับกระดูกต้นคอ ยิ่งก้มมาก ก้มนาน เสี่ยงอัมพฤกษ์อัมพาตได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ -การปวดศีรษะรุนแรง เป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง-การก้มหน้าเล่นมือถือทำให้ปวดต้นคอ เป็นอาการของกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม ดังนั้น อาการดังกล่าวข้างต้นไม่ใช่โรคเดียวกัน จึงไม่ควรแชร์ต่อให้เกิดความเข้าใจผิด ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ประจักษ์ ศรีรพีพัฒน์ หัวหน้าสาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จากเรื่องราวที่แชร์มามีสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กัน อาการกระดูกคอเสื่อม หรือกล้ามเนื้อหลังไม่ดี ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวดหัวรุนแรง และหมดสติเฉียบพลัน แต่อาการปวดคอ มึนศีรษะนั้นมีความเป็นไปได้ Q : ตามที่แชร์กัน ผู้สูงอายุมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แพทย์ต้องตรวจ MRI เพื่อสแกนหาผลผิดปกติ ?A : อาการแบบนี้จะไม่ใช่อาการกลุ่มออฟฟิศซินโดรม แพทย์ต้องทำ MRI เพื่อหาตำแหน่งเลือดออกในสมองหรือบริเวณที่สมองว่าได้รับความเสียหายหรือไม่ หากมีเลือดออกแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและแยกโรคเพื่อเป็นแนวทางในการหาสาเหตุของภาวะเลือดออกในสมองได้ทันท่วงที Q : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : กินหมูกระทะเสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี จริงหรือ ?

ตามที่มีแชร์ว่ากินหมูกระทะที่เกรียมๆ สีดำ เสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดีนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช หน่วยโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  “ถุงน้ำดี” เป็นที่ที่น้ำดีสะสมรวมกันเพื่อขับออกมาย่อยอาหารที่กินเข้าไปแต่ละมื้อ การกินอาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียมอาจได้รับสารทำให้เกิดมะเร็ง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ส่วนอาหารที่มีสีดำหรือไหม้เกรียมจะถูกย่อย ดูดซึมบางส่วนจะถูกขับออกมากับอุจจาระ ไม่ได้ตกตะกอนในถุงน้ำดีกรณีที่ผ่านิ่วในถุงน้ำดีพบว่าเป็นสีดำ ควรตรวจว่าเป็นธาลัสซีเมียหรือไม่ แม้จะยังไม่มีวิธีป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี แต่ควรไปพบแพทย์หากปวดท้องรุนแรงโดยหาสาเหตุไม่ได้

ชัวร์ก่อนแชร์ : บอระเพ็ดแช่โซดา บรรเทาชาปลายประสาทได้ จริงหรือ ?

6 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์สูตรบอระเพ็ดแช่โซดา ดื่มหลังอาหารทุกวัน ช่วบรรเทาอาการชาปลายมือปลายเท้า เส้นตึงเส้นยึดและแก้ปวดได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พล.ต. รศ.นพ. สามารถ นิธินันทน์ อายุรแพทย์ สาขาประสาทวิทยา กรรมการสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย กล่าวว่า “ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าสูตรนี้ใช้ได้ผล บอระเพ็ดและโซดาไม่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการชา อาการเส้นตึง เส้นยึด และชา มาจากพฤติกรรมการทำงาน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ มือถือ ไอแพด ภาษาแพทย์เรียกว่า กลุ่มออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ถ้าอาการน้อย ๆ จะมีอาการปวดที่บริเวณ คอ บ่า ไหล่ แต่หากมีอาการมากก็ที่มือ” แพทย์กล่าวต่อว่า “ถ้าเรารู้ว่าสาเหตุการปวดมาจากการทำงาน ควรปรับพฤติกรรมใหม่ แต่ก็มีบางงานที่เราเลี่ยงไม่ได้ หากมีอาการปวด หรือ ตึง ก็ให้ยืดกล้ามเนื้อ หรือประคบอุ่น มาประคบที่บ่า ไหล่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สมุนไพรและโรคมะเร็ง จริงหรือ ?

3 สิงหาคม 2023 – มีการแชร์เกี่ยวกับสมุนไพรและโรคมะเร็งเอาไว้มากมาย เช่น การนำใบมะละกอมาคั้นเป็นน้ำช่วยรักษามะเร็งให้หายขาด และการกินผักจิงจูฉ่าย ช่วยบำบัดผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : มีสมุนไพรที่รักษามะเร็งได้ จริงหรือ ? มีการแชร์สารพัดสูตรรักษามะเร็งที่ปลอดภัย ได้ผลและเป็นธรรมชาติ ด้วยการกินสมุนไพร ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “สมุนไพรกำจัดมะเร็งมีความเป็นไปได้จริง แต่อาจไม่ใช่การกินสด ๆ ตามที่แชร์กัน ต้องนำมาผ่านกระบวนการสกัดสารต้านมะเร็งให้มีความเข้มข้นสูงและร่างกายดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ หากผู้ป่วยจะนำสมุนไพรไปใช้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัย” อันดับที่ 2 : อังกาบหนูรักษามะเร็ง จริงหรือ ? มีการแชร์สรรพคุณของสมุนไพรชื่อ “อังกาบหนู” เพียงแค่ต้มกิน สามารถรักษามะเร็งได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และ นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย บทสรุป […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สมุนไพรและโรคเบาหวาน จริงหรือ ?

26 กรกฎาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับสมุนไพรและโรคเบาหวานเอาไว้มากมายทั้ง ใบยี่หร่า ช่วยรักษาแผลเบาหวาน และการดื่มน้ำรากใบเตยช่วยให้เบาหวานหายขาดใน 5 วัน ได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : สรรพคุณของใบหม่อน จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปแนะนำว่าใบหม่อนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในหลอดเลือด ไปจนถึงยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ  ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “ใบหม่อนมีสาร DNJ สารฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลระบุปริมาณการใช้ใบหม่อนที่แน่ชัด จึงไม่ควรแชร์” อันดับที่ 2 : น้ำรากใบเตยรักษาเบาหวาน 5 วัน จริงหรือ ? มีการแชร์สูตรรักษาเบาหวาน 5 วันหาย 100% ทำเองง่ายๆ แค่เอารากใบเตยมาล้างน้ำ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เลสิก

23 กรกฎาคม 2566 –  เลสิกคืออะไร แก้ปัญหาสายตาได้อย่างไร มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เลสิก คืออะไร ? เลสิก เป็นการแก้ปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงโดยกำเนิด ให้หายกลับมาเป็นปกติได้ หลักการคือเจียระไนกระจกตาให้ได้ความโค้งที่ต้องการเพื่อปรับให้ภาพคมชัด แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดว่าคนไข้จะเข้ารับการรักษาด้วยเลสิกได้หรือไม่ คือ ความหนาและความแข็งแรงของกระจกตา ช่วงอายุที่เหมาะสมกับการทำเลสิก แพทย์แนะนำให้ทำเลสิกได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป เพราะเป็นอายุที่ค่าสายตาคงที่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ ความนิ่งของค่าสายตา ผู้ที่จะทำเลสิกได้นั้น ควรมีค่าสายตาที่ไม่เปลี่ยนแปลงแล้วอย่างน้อย 1 ปี ข้อดีของการทำเลสิก ทำให้ชีวิตสะดวกมากขึ้น เช่น นักกีฬา คนออกกำลังกายหรือคนเล่นกีฬาบางชนิด หรือเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจ ภาวะแทรกซ้อนของคนทำเลสิก อย่างไรก็ตาม สำหรับคนอยากทำเลสิก ต้องหาข้อมูลและตรวจสภาพตาอย่างละเอียดก่อนเลือกประเภทของการปรับค่าสายตา การตรวจประเมินสภาพตา จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก คนไข้ควรปรึกษาและวางแผนการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม สัมภาษณ์เมื่อ : 11 กรกฎาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย :  พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : ยิ่งใส่แว่น สายตายิ่งแย่ลง จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความเรื่อง การยิ่งใส่แว่น จะยิ่งทำให้สายตาแย่ลง หรือตรงกันข้าม การไม่ใส่แว่น จะยิ่งทำให้สายตาแย่ลงด้วยนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “การใส่หรือไม่ใส่แว่นไม่ได้ทำให้ค่าสายตาแย่ลง แว่นสายตาเป็นเพียงตัวช่วยปรับให้แสงที่เข้าสู่ดวงตาไปตกที่จอประสาทตาพอดี จึงทำให้เห็นภาพชัดขึ้นถ้าสายตาผิดปกติแล้วรู้สึกว่ากระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น การเรียน การทำงาน การขับรถ ก็ควรจะไปตรวจเพื่อนำแว่นมาใส่”

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สมุนไพรและโรคไต จริงหรือ ?

20 กรกฎาคม 2566 – มีการแชร์เกี่ยวกับสมุนไพรและโรคไตเอาไว้มากมาย ทั้ง หญ้าพันงู หญ้าไผ่น้ำ ช่วยรักษาโรคไต และการดื่มน้ำผักชีช่วยล้างไตได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่  1 : กระชายโสมเมืองไทย ยาอายุวัฒนะ รักษาโรคไต จริงหรือ ? มีการแชร์แนะนำสรรพคุณของกระชาย เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงไต รักษาโรคไต บำรุงสมอง มีคุณค่าสูงกว่านมหลายเท่า ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : น.อ.นพ.พงศธร คชเสนี ประธานคณะอนุกรรมการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และ รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “ไม่มีงานวิจัยรองรับว่ากระชายปั่นรักษาโรคได้ การกินกระชายทำให้รู้สึกร้อน กระชุ่มกระชวย ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แต่ไม่ได้ช่วยบำรุงหรือรักษาโรคไตตามที่แชร์กัน ” อันดับที่ 2 : หญ้าไผ่น้ำแก้โรคไต จริงหรือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS

16 กรกฎาคม 2566 – โรค MS หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีวิธีการรักษาอย่างไร ผู้ป่วยสามารถหาซื้อยากินเองได้หรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โรค MS เป็นโรคที่ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด มีอาการกำเริบแบบเฉียบพลัน ได้แก่ ตามัว ไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น วิธีรักษาอาการกำเริบของโรคโดยการใช้ยา 1. การให้ยาสเตียรอยด์ เป็นการรักษาในระยะที่มีการกำเริบของโรค โดยสเตียรอยด์จะออกฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบที่กำลังเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ 2. การให้ยารักษาโรคซึมเศร้า ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีภาวะโรคซึมเศร้า หรือแพทย์อาจจะพิจารณาเป็นยาเสริมแก้อาการปวดจากระบบประสาทส่วนกลาง จึงควรสั่งใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น 3. การรักษาตามอาการ เช่น การใช้กัญชา ยังไม่มีข้อมูลว่ารักษาโรคได้ แต่ก็มีข้อมูลว่าสามารถรักษาอาการเกร็ง มีผลข้างเคียงคือ ทำให้ง่วงนอน การใช้กัญชาแนะนำให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม คนไข้ควรดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ดี ลดความวิตกกังวล หมั่นออกกำลังกาย งดอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทุกชนิด เน้นอาหารสุกสะอาด และไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ หากมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรรีบไปพบแพทย์ก่อน เพื่อรีบทำการรักษา หรือทำกายภาพบำบัด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET รู้จักโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS

13 กรกฎาคม 2566 – โรค MS หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร เกิดขึ้นได้ยังไงและอาการเป็นอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  โรค MS หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร ? โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า MS เป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังทางระบบประสาทที่พบได้ในคนวัยหนุ่มสาว ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนั้นไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการสำรวจพบว่าพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักพบในคนอายุน้อยมากกว่าคนอายุมาก อาการของโรค ได้แก่ ตามัว มองภาพเห็นไม่ชัด มีอาการชาร่วมด้วย โดยจะชาจากขาขึ้นมาถึงลำตัว หรืออาจชาครึ่งซีก หรือชาที่หน้าอย่างเดียว เวียนศีรษะ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะมีโรคอื่นที่อาการคล้ายกัน จึงต้องทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อคัดแยกโรค วิธีการรักษา แพทย์จะวินิจฉัยและให้ยารักษาโรคหรือกดโรคให้อยู่ในภาวะสงบอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป ทั้งนี้ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ หรืออาจเป็น ๆ หาย ๆ หากอาการกำเริบขึ้นมาควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อรับยาโดยการฉีดหรือการกินตามพิจารณาของแพทย์ อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถรักษาอาการให้อยู่ในภาวะสงบได้ หากได้รับการวินิจฉัยถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ […]

1 2 3 4 5
...