เนเธอร์แลนด์พบไมโครพลาสติกในเนื้อวัว-เนื้อหมูครั้งแรก

อัมสเตอร์ดัม 8 ก.ค. – คณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเสรีอัมสเตอร์ดัม (VUA) ของเนเธอร์แลนด์ พบไมโครพลาสติกปนเปื้อนในเนื้อวัวและเนื้อหมูเป็นครั้งแรก รวมถึงพบไมโครพลาสติกปนอยู่ในตัวอย่างเลือดวัวและหมูในฟาร์มเลี้ยงสัตว์อีกด้วย คณะนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเสรีอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ เผยผลการศึกษานำร่องที่ระบุว่า พบไมโครพลาสติกในเนื้อวัว เนื้อหมู และผลิตภัณฑ์นมสูงถึงร้อยละ 75 จากตัวอย่างทั้งหมด และพบไมโครพลาสติกในทุกตัวอย่างเลือดวัวและหมูที่นำมาใช้ทดสอบ ขณะนี้ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับอันตรายของไมโครพลาสติกที่ส่งผลต่อร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ในฟาร์ม แต่คณะนักวิจัยรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับประเด็นนี้ เนื่องจากผลทดลองในห้องปฏิบัติการชี้ว่า ไมโครพลาสติกสามารถทำลายเซลล์ในร่างกายมนุษย์ ขณะที่มลภาวะไมโครพลาสติกในอากาศอาจเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ และทำให้ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตเร็วขึ้นปีละหลายล้านคน ส่วนสัตว์ป่าก็ตกอยู่ในภาวะอันตรายจากไมโครพลาสติกเช่นกัน ดร. ฮีทเธอร์ เลสลี นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเสรีอัมสเตอร์ดัม กล่าวว่า เมื่อคณะนักวิจัยได้ทดสอบตัวอย่างเลือดเหล่านี้ ก็ทำให้ทราบถึงที่มาของไมโครพลาสติกในเลือด เช่น อากาศ น้ำ อาหาร และอื่น ๆ ทั้งยังระบุว่า การศึกษานำร่องในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบว่ามีไมโครพลาสติกอยู่ในสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์นมหรือไม่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการศึกษาวิจัยอย่างเต็มรูปแบบเกี่ยวกับผลกระทบหรือความเสี่ยงใด ๆ ที่อาจเชื่อมโยงกับไมโครพลาสติก.-สำนักข่าวไทย

นักวิจัยพบไมโครพลาสติกในหิมะทวีปแอนตาร์กติกาครั้งแรก

แอนตาร์กติกา 9 มิ.ย. – คณะนักวิจัยของนิวซีแลนด์พบไมโครพลาสติกเป็นครั้งแรกในหิมะที่เพิ่งตกบนทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลก คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรีของนิวซีแลนด์ได้เก็บตัวอย่างหิมะจากพื้นที่ 19 แห่งในทวีปแอนตาร์กติกาและพบไมโครพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ในทุกตัวอย่างหิมะโดยเฉลี่ย 29 ชิ้นต่อปริมาณหิมะที่ละลาย 1 ลิตร อีกทั้งยังพบไมโครพลาสติกที่แตกต่างกันมากถึง 13 ชนิด และพบพลาสติกจำพวกโพลีเอทิลีนเทอพาทาเลต หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า เพต (PET) ซึ่งนิยมนำมาใช้ผลิตขวดน้ำอัดลมและเครื่องนุ่งห่ม โดยพบมากถึงร้อยละ 79 จากตัวอย่างหิมะทั้งหมด นายอเล็กซ์ อาเวส หนึ่งในคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรีระบุในวารสารวิชาการ ‘ไครโอสเฟียร์’ ซึ่งเผยแพร่ผลการศึกษาดังกล่าวว่า ไมโครพลาสติกในหิมะที่เพิ่งตกอาจมีแหล่งที่มาจากสถานีวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ในทวีปแอนตาร์กติกามากที่สุด แต่แบบจำลองชี้ว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้อาจมีที่มาจากสถานที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปสูงสุดถึง 6,000 กิโลเมตร ขณะที่ ผศ. ลอรา เรเวลล์ จากมหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรี กล่าวว่า ไมโครพลาสติกอาจทำให้มีสารอันตรายติดอยู่บนพื้นผิวของโลหะหนักและสาหร่ายได้ ก่อนหน้านี้ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า พบไมโครพลาสติกในทะเลน้ำแข็งและน้ำทะเลเท่านั้น จึงทำให้ผลการศึกษาในครั้งนี้กลายเป็นครั้งแรกที่พบไมโครพลาสติกในหิมะที่เพิ่งตก นอกจากนี้ ผลวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐเมื่อปีก่อนระบุว่า ไมโครพลาสติกกำลังแพร่กระจายไปทั่วโลกผ่านการเดินทางของฝุ่น ลม และคลื่นทะเล.-สำนักข่าวไทย

เด็กดื่มนมขวดอาจกินไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย

ปารีส 20 ต.ค.- ผลการวิจัยใหม่เตือนว่า ทารกที่ดื่มนมจากขวดอาจได้รับไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย ตอกย้ำอันตรายของผลิตภัณฑ์พลาสติกจำนวนมหาศาลที่ปะปนในอาหาร มีหลักฐานชัดเจนมากขึ้นว่าคนรับประทานไมโครพลาสติกที่แตกตัวจากพลาสติกชิ้นใหญ่ แต่ยังไม่มีงานวิจัยเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก คณะนักวิจัยในไอร์แลนด์เผยผลการศึกษาในวารสารเนเจอร์ฟูด วิเคราะห์อัตราที่ไมโครพลาสติกปล่อยออกมาจากขวดนมทารกหรือภาชนะผลิตจากโพลีโพรไพลีน หรือพีพี (PP) 10 ประเภทเป็นเวลา 21 วัน พบว่าขวดนมปล่อยไมโครพลาสติก 1.3-16.2 ล้านไมโครพาร์ติเคิลต่อลิตร จากนั้นนำไปสร้างแบบจำลองที่ทารกทั่วโลกจะได้รับไมโครพลาสติกจากการดื่มนมจากขวด อ้างอิงจากอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเฉลี่ยในระดับประเทศ ประเมินได้ว่า ทารกที่ดื่มนมจากขวดอาจได้รับไมโครพลาสติก 1.6 ล้านไมโครพาร์ติเคิลทุกวันในช่วง 12 เดือนแรกเกิด ผลการศึกษาพบด้วยว่า การฆ่าเชื้อและอุ่นด้วยน้ำร้อนมีผลต่อการปล่อยไมโครพลาสติกมากที่สุด จาก 0.6 ล้านพาร์ติเคิลต่อลิตรที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสเป็น 55 ล้านพาร์ติเคิลต่อลิตรที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส และพบว่าทารกในประเทศพัฒนาแล้วเสี่ยงได้รับมากที่สุดคือ 2.3 ล้านพาร์ติเคิลต่อวันในอเมริกาเหนือ และ 2.6 ล้านพาร์ติเคิลต่อวันในยุโรป เนื่องจากมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนา คณะนักวิจัยยืนยันว่า ไม่ได้ต้องการทำให้พ่อแม่กังวลเรื่องไมโครพลาสติกจากขวดนม เพราะยังไม่ทราบผลกระทบทางสุขภาพและเป็นสิ่งที่กำลังเดินหน้าศึกษาอยู่ พร้อมกับแนะนำวิธีที่จะช่วยลดการปล่อยไมโครพลาสติกจากภาชนะพลาสติก เช่น ใช้น้ำเย็นฆ่าเชื้อแล้วล้างขวดนม เตรียมนมผงในภาชนะที่ไม่ใช่พลาสติกก่อนเทลงขวด.-สำนักข่าวไทย

ผลวิจัยพบไมโครพลาสติก 14 ล้านตันใต้ท้องทะเล

สำนักงานวิทยาศาสตร์แห่งชาติของออสเตรเลียเผยว่า พื้นมหาสมุทรของโลกเต็มไปด้วยไมโครพลาสติกราว 14 ล้านตันที่แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากขยะพลาสติกขนาดใหญ่ที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเล

กินอยู่ปลอดภัย : การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค-สิ่งแวดล้อม หลังโควิด-19

รายงานพิเศษกินอยู่ปลอดภัย วันนี้ไปดูเรื่องของขยะพลาสติกจากธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เพิ่มขึ้น หากไม่บริหารจัดการ ขยะเหล่านี้จะกลายเป็นไมโครพลาสติก ย้อนกลับมาทำร้ายถึงตัวเรา

ชัวร์ก่อนแชร์ : ถุงสปันบอนด์ไม่ใช่ถุงผ้า ทำจากพลาสติก จริงหรือ ?

สังคมออนไลน์แชร์ข้อมูลว่า “ถุงสปันบอนด์” แท้จริงไม่ใช่ “ถุงผ้า” แต่ทำมาจากพลาสติก สามารถกลายเป็นไมโครพลาสติกลงสู่แหล่งน้ำ เป็นอันตรายต่อสุขภาพและธรรมชาติได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

อย่าตระหนก ไมโครพลาสติกในปลาทู

ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จ.ตรัง เผยผลวิจัยการพบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู หลังสำรวจจากปลาที่ชาวประมงพื้นบ้านจับได้ในพื้นที่ใกล้เขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม

องค์การอนามัยโลกระบุไมโครพลาสติกในน้ำดื่มยังไม่เป็นอันตราย

องค์การอนามัยโลกระบุ ระดับของไมโครพลาสติกในน้ำดื่มยังไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้มีการศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับแนวโน้มของอันตรายในอนาคต

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนเส้นใยจากเสื้อผ้าปนเปื้อนในอาหาร จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนว่า เส้นใยไมโครไฟเบอร์จากเสื้อผ้าที่เราใส่นั้น จะปนเปื้อนเข้าไปในอาหารที่เรากิน และก่ออันตรายได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ติดตามจากศูนยชัวร์ก่อนแชร์

ถกแก้ปัญหาขยะทะเลไทยก่อนวิกฤติ-สัตว์เสี่ยงตาย

สงขลา 20 เม.ย.- สถาบันทรัพยากรทะเลฯ มอ.ห่วงระบบนิเวศน์ท้องทะเลไทยหวั่นอนาคตวิกฤติ ระดมแก้ปัญหาขยะทะเลและไมโครพลาสติก ด้านนักวิชาการประมงเปิดข้อมูลสัตว์ทะเลตายส่วนใหญ่เป็นผลจากมนุษย์ มีทั้งขยะการท่องเที่ยว ชุมชน ครัวเรือน และประมง ดร.พลชาติ โชติการ รองผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ฝ่ายนวกรรมวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดเวทีสัมมนา “ขยะทะเลไทยและไมโครพลาสติกวิกฤติจริงหรือ” วันนี้ (20 เม.ย.) ที่โรงแรมบุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในโครงการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการบริหารงานวิจัยและจัดการความรู้จากการวิจัยในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเชิงบูรณาการปีงบประมาณ 2561 โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาขยะทะเล รวมทั้งการรับมือในอนาคต หลังจากสหประชาชาติพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศอันดับ 6 ของโลกที่มีการทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุด ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และเศรษฐกิจ นายสมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ข้อมูลปีที่ผ่านมาพบว่ามีสัตว์ทะเลตายจำนวน 518 ตัว ในจำนวนนี้กว่า 80 ตัว ได้รับผลกระทบจากขยะทะเลและไมโครพลาสติก โดยเฉพาะเต่าทะเลกินขยะทะเลเข้าไป รวมถึงถูกอวนหรือขยะพันตัว ส่วนไมโครพลาติกนั้นจะเข้าไปรวมอยู่กับห่วงโซ่อาหารของสัตว์ทะเล ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบในระยะยาว สำหรับขยะทะเลเกิดจากกิจกรรมบนบกถึงร้อยละ 80 และเกิดจากกิจกรรมในทะเลเพียงร้อยละ 20 แต่ทั้งหมดล้วนเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ […]

เตือนไมโครพลาสติกที่มองไม่เห็นเป็นภัยต่อมหาสมุทรและคน

องค์กรสิ่งแวดล้อมใหญ่เตือนว่า ไมโครพลาสติก ซึ่งเป็นชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีสัดส่วนมากถึง 1 ใน 3 ของขยะพลาสติก

...