fbpx

แพทย์เตือนกิน “น้ำซุป” โซเดียมสูง เสี่ยงป่วยไตวาย

แพทย์เตือนกินน้ำซุปโซเดียมสูง เสี่ยงป่วยไตวาย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร สสส.สานพลังเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ปลุกกระแสสังคม ผุดโครงการรณรงค์ “ลดเค็ม ลดโรค” ขยายชุมชน-มหาวิทยาลัย ชวนปรับพฤติกรรม “ลดซด ลดปรุง ลดอาหารแช่แข็ง” ตัดตอนโรค NCDs

สั่งเด้งครูฝึก หลังนักศึกษาวิชาทหารไตวาย

สั่งเด้งครูฝึกฯ ศูนย์ฝึกย่อยวิชาทหารนราธิวาส หลัง นศท. ไตวายเฉียบพลัน ด้านรอง ผบช.นรด. เยี่ยมอาการบาดเจ็บ มอบของปลอบขวัญให้กำลังใจ ยันดูแลค่าใช้จ่ายทุกบาทจนหาย

1 ก.พ. เพิ่มสิทธิ ผู้ป่วยไตวายฟอกไตทางเส้นเลือด

สำนักข่าวไทย 28 ม.ค.- สธ.ประกาศ 1 ก.พ. ขยายสิทธิ หลักประกันสุขภาพในผู้ป่วยไตวาย เพิ่มฟอกไตทางเส้นเลือด หลังจากเดิมแค่ฟอกผ่านช่องท้อง ช่วยให้คุณภาพขีวิตผู้ป่วยดีขึ้น และลดค่าใช้จ่าย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ประกาศ 1 ก.พ. นี้ขยายสิทธิประโยชน์ ผู้ป่วยบัตรทอง ป่วยไตวาย ฟอกไตทางเส้นเลือดได้  ว่า หลังจากที่ผ่านมาสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยหลักประกันสุขภาพครอบคลุมในการให้บริการล้างไตผ่านช่องท้อง  ทำให้มีผู้ป่วยบางส่วนที่อยากฟอกไตทางเส้นทางไม่ได้มารับบริการและต้องเสียค่าใช้จ่ายเองประมาณ 1,000-1,500 บาท ทำให้เป็นภาระค่าใช้จ่าย จึงให้ขยายการรักษาให้ครอบคลุมเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ประสงค์ฟอกไต สามารถรับบริการได้ที่สถานพยาบาลทุกแห่ง  ที่มีความพร้อม  รศ.นพ. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประสิทธิภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตผ่านช่องท้องกับฟอกไตผ่านเส้นเลือดไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยที่มีการฟอกไตผ่านช่องท้องควรรับบริการแบบเดิม ไม่ควรเปลี่ยนมาฟอกเลือด  ส่วนคนที่ฟอกไตผ่านเส้นเลือด ต้องเดินทางมารพ. 3  ครั้งต่อสัปดาห์  ทั้งนี้การฟอกไตผ่านช่องท้องผู้ป่วยต้องไม่มีโรคแทรกซ้อน  ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไต ประมาณ 170,000 คน และมีแนวโน้มป่วยมากถึง จากอายุของผู้ป่วยที่มากขึ้น และโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ด้าน นพ.จเด็จ […]

เผยอดีตผู้นำฟิลิปปินส์ถึงแก่อสัญกรรมจากไตวาย

นายเบนิกโน อาคีโน ที่ 3 อดีตประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ถึงแก่อสัญกรรมที่โรงพยาบาลในกรุงมะนิลาในวันนี้ ด้วยสาเหตุจากภาวะไตวาย ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับโรคเบาหวาน

ลูกสาว “น้าค่อม” ร่ำไห้ พ่ออาการทรุด ปอดอักเสบ-ไตวาย

“ไอซ์ ณพัชรินทร์” ลูกสาว “น้าค่อม” เล่าทั้งน้ำตา พ่ออาการทรุด หลังติดเชื้อโควิด-19 ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ปอดอักเสบ ไตวาย

แพทย์แนะคัดกรองไตวาย ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

กรุงเทพฯ15ก.ย.-ผู้เชี่ยวชาญโรคไต ชี้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปี ต้องคัดกรองให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อรักษาและชะลอการเสื่อมของไตให้นานขึ้น พร้อมเผยกำลังพัฒนาชุดตรวจคัดกรอง หวังกระจายใช้ตาม รพ.สต.เพื่อให้ตรวจคัดกรองได้ครอบคลุมมากขึ้น รศ.นพ.ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคไตในภาวะวิกฤติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันโรคไตวายเรื้อรังเป็นปัญหาของประเทศไทย โดยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 8 ล้านคนและเพิ่มขึ้นทุกปี แม้รัฐบาลจะสนับสนุนค่าฟอกไตให้คนไทยทุกคน แต่ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นถ้าสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก็จะช่วยลดผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไตในอนาคตได้ “ปกติโรคไตในระยะแรกๆ จะยังไม่ค่อยมีอาการ ไม่บวม ปัสสาวะปกติออกดี จะมีอาการก็ต่อเมื่อเป็นเยอะแล้ว เช่น ไตทำงานลดลงจนต่ำกว่า 30% จนกระทั่งไตทำงานน้อยลงจนต้องฟอกไต แต่หากตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและเข้าสู่กระบวนการรักษาได้เร็ว มีโอกาสชะลอการเสื่อม ของไตได้ดีขึ้น” รศ.นพ.ณัฐชัย รศ.นพ.ณัฐชัย กล่าวต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้ จึงได้ร่วมกับ นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.กิตตินันท์ โกมลภิส สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาชุดตรวจระดับโปรตีนในปัสสาวะหรืออาจจะเรียกว่าเป็นแถบตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรัง คล้ายๆ แถบตรวจการตั้งครรภ์ เน้นการออกแบบให้ใช้งานง่าย กระจายไปตามชุมชนหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ เพื่อให้การคัดกรองมีความครอบคลุมมากขึ้น เจอผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นเร็วขึ้น รศ.นพ.ณัฐชัย กล่าวด้วยว่า การทำงานของแถบตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังจะเคลือบด้วยแอนตี้บอดีที่มีความจำเพาะต่อไข่ขาวในปัสสาวะ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โรคเกาต์กำเริบห้ามบีบนวด จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนผู้ที่เป็นโรคเกาต์ หากมีอาการปวดกำเริบ ห้ามบีบนวดเด็ดขาด เรื่องนี้จริงหรือไม่ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิวัฒนาการของโรคเกาต์ นำไปสู่โรคอื่น จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ว่า โรคเกาต์ก็มีวิวัฒนาการที่นำไปสู่โรคอื่นๆ ได้ ตั้งแต่ข้อเสื่อม เบาหวาน ความดัน นิ่วในไต ไปจนถึงทำให้เสียชีวิตได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : พาราเซตามอลอันตรายกับสุนัขและแมวจริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ว่ายาพาราเซตามอลอันตรายกับสุนัขและแมว หากพวกมันป่วยหรือไม่สบายเจ้าของไม่ควรซื้อมาให้กินเอง เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 ผลเสียของการดื่มน้ำน้อย จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ 5 ผลเสียของการดื่มน้ำน้อย เช่น หัวใจทำงานหนักขึ้น ริมฝีปากแห้ง เป็นร้อนใน ท้องผูก รวมถึงปัสสาวะติดขัด เสี่ยงไตพิการ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

แนะคนไทยตื่นตัวโรคความดันโลหิตสูง

กรมการแพทย์ เผยโรคความดันโลหิตสูงเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย และโรคหัวใจ ส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ ชวนประชาชนใส่ใจสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

1 2
...