บราซิลแล้งจัดจนโลมาตาย
บราซิลกำลังเผชิญกับปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำแอมะซอนที่เวลานี้ลำน้ำสาขาสายต่างๆ มีระดับน้ำลดลงต่ำเป็นประวัติการณ์จนทำให้โลมาน้ำจืดต้องล้มตายเป็นจำนวนมาก
บราซิลกำลังเผชิญกับปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำแอมะซอนที่เวลานี้ลำน้ำสาขาสายต่างๆ มีระดับน้ำลดลงต่ำเป็นประวัติการณ์จนทำให้โลมาน้ำจืดต้องล้มตายเป็นจำนวนมาก
บราซิเลีย 3 ต.ค.- โลมาน้ำจืดมากกว่า 100 ตัวตายในบราซิลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า อาจมีโลมาตายเพิ่มอีก หากอุณหภูมิน้ำยังคงสูงต่อเนื่อง สถาบันมามีเราอา (Mamiraua Institute) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของบราซิลแจ้งว่า พบโลมาตายอีก 2 ตัวเมื่อวันจันทร์ในพื้นที่รอบทะเลสาบเตเฟ ซึ่งมีความสำคัญต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์น้ำในพื้นที่ พร้อมกับเผยแพร่คลิปฝูงแร้งกำลังจิกกินซากโลมาริมทะเลสาบ สถาบันฯ เผยว่า มีโลมาน้ำจืดอาศัยอยู่ในทะเลสาบเตเฟประมาณ 1,400 ตัว และได้ตายไปแล้ว 120 ตัวใน 1 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 5-10 ของประชากรโลมาทั้งหมด สื่อท้องถิ่นรายงานว่า มีปลาจำนวนมากตายเช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า อุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ในทะเลสาบตาย โดยได้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียสมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ด้านสถาบันชีโก เมนเดสเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของรัฐบาลบราซิลเผยเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ได้ส่งทีมสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมไปสอบสวนหาสาเหตุแล้ว ผู้ว่าการรัฐอามาโซนัส ทางตะวันตกเฉียงเหนือของบราซิล ซึ่งเป็นที่ตั้งของทะเลสาบเตเฟ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินภัยแล้งเมื่อวันศุกร์ ขณะที่นายกเทศมนตรีเมืองเตเฟที่มีประชากร 60,000 คน เผยว่า ไม่สามารถนำอาหารไปยังชุมชนที่ถูกตัดขาดได้ เนื่องจากแม่น้ำหลายสายซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมเหือดแห้ง.-สำนักข่าวไทย
หน่วยข่าวกรองของกองทัพอังกฤษกล่าววันนี้ว่า รัสเซียดูเหมือนกำลังฝึกนักรบโลมาในบริเวณคาบสมุทรไครเมียที่รัสเซียผนวกเข้าเป็นดินแดนของตน เพื่อใช้รับมือกับกองกำลังของยูเครน
ศาลปกครองสูงสุดของฝรั่งเศสมีคำสั่งให้รัฐบาลห้ามทำการประมงในบางพื้นที่ของมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่ออนุรักษ์โลมาที่เกยตื้นตายหลายร้อยตัว
ปักกิ่ง, 28 ก.พ. (ซินหัว) —วันอังคาร (28 ก.พ.) กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีน แถลงผลการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ของกระทรวงฯ ในปี 2022 พบจำนวนโลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซีอยู่ที่ 1,249 ตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.42 จากเมื่อ 5 ปีก่อน หม่าอี เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีน ระบุว่าจำนวนโลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซีที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากคำสั่งห้ามจับปลาตามน่านน้ำสำคัญของลุ่มแม่น้ำแยงซี ระยะ 10 ปี ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2021 ด้วยเป้าหมายอนุรักษ์ระบบนิเวศวิทยา โดยโลมาชนิดนี้หรือที่รู้จักในชื่อ “แพนด้ายักษ์แห่งผืนน้ำ” เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาในลุ่มแม่น้ำแยงซี ขณะเดียวกันทรัพยากรชีวภาพสัตว์น้ำสายพันธุ์อื่นๆ ตามน่านน้ำสำคัญของลุ่มแม่น้ำแยงซีมีการฟื้นตัวขึ้นเช่นกัน โดยมีการตรวจพบปลาในลุ่มแม่น้ำแยงซีในปี 2022 จำนวน 193 สายพันธุ์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2020 ราว 25 สายพันธุ์ หม่ากล่าวว่าความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำในลุ่มแม่น้ำแยงซียังคงค่อนข้างต่ำ จึงเน้นย้ำความจำเป็นของการเพิ่มความพยายามบังคับใช้คำสั่งห้ามจับปลา และดำเนินมาตรการคุ้มครองสายพันธุ์สัตว์น้ำในลุ่มแม่น้ำแยงซีอย่างเป็นระบบ-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230228/7f62a5b5e3e94b18a4946a8abb7eef8c/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/342347_20230301ขอบคุณภาพจาก Xinhua
พนมเปญ 26 ธ.ค.- กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในกัมพูชาแสดงความกังวล หลังจากโลมาอิรวดีหรือโลมาหัวบาตรที่เป็นสัตว์อยู่ในสถานะถูกคุกคาม ตายติดกัน 3 ตัว ในเวลาไม่ถึง 10 วัน องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือดับเบิลยู ดับเบิลยูเอฟ (WWF) แถลงแจ้งข่าวในวันนี้ว่า การที่โลมาสุขภาพแข็งแรงตายลงเป็นตัวที่ 3 ในช่วงเวลาอันสั้นบ่งชี้ว่า สถานการณ์น่าเป็นห่วงมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องมีการบังคับใช้กฎหมายเข้มงวดอย่างเร่งด่วนในถิ่นที่อยู่ของโลมา เพื่ออนุรักษ์โลมาสายพันธุ์นี้ที่รู้จักกันในชื่อโลมาแม่น้ำโขง โลมาตัวที่ตายล่าสุดเป็นโลมาเพศเมีย อายุราว 7-10 ปี ลำตัวยาว 196 เซนติเมตร หนัก 93 กิโลกรัม ซากลอยอยู่ในแม่น้ำโขงบริเวณจังหวัดกระแจะ ทางตะวันออกของกัมพูชา ผลการตรวจซากทำให้สันนิษฐานว่า โลมาตายเพราะเข้าไปติดอวนที่มีคนลอบวางอย่างผิดกฎหมาย ผู้อำนวยการดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟประจำกัมพูชาระบุว่า หากไม่เร่งดำเนินการโดยทันที การลอบทำประมงที่กำลังเพิ่มมากขึ้นในแหล่งอนุรักษ์โลมาจะทำลายประชากรโลมาแม่น้ำโขงในกัมพูชา พร้อมกับขอให้เพิ่มการลาดตระเวนทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อปกป้องโลมาที่เหลืออยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ การจัดทำสำมะโนประชากรโลมาในกัมพูชาครั้งแรกเมื่อปี 2540 ประเมินจำนวนทั้งหมดไว้ที่ 200 ตัว ส่วนการจัดทำในปี 2563 ประเมินว่าเหลือเพียง 89 ตัว โลมาตัวที่ตายล่าสุดเป็นตัวที่ 11 ของปีนี้ และตัวที่ 29 […]
พบโลมาถูกเศษเชือกรัดโคนหางเป็นแผลเหวอะในทะเลตรัง เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งต้องไปช่วยตัดเชือกกันกลางทะเล
อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุ สัตวแพทย์ผ่าชันสูตรซากเต่าและโลมา ในพื้นที่เกิดน้ำมันดิบรั่วไหลจากท่อกลางทะเลบริเวณมาบตาพุด จ.ระยอง พบตายหลายวันแล้ว ซากเน่าจนไม่สามารถระบุสาเหตุการตายได้ แต่ไม่พบคราบน้ำมันในทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ
โลมาเกยตื้นชายหาดเกาะทุ่งนางดำ 5 ตัว ว่ายน้ำกลับท้องทะเลได้แล้ว ส่วนอีก 8 ตัวที่ตาย จนท.เตรียมผ่าซากพิสูจน์ในวันนี้
พังงา 8 มิ.ย. – โลมาฟราเซอร์ ซึ่งเป็นโลมาพันธุ์หายาก ถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นบริเวณชายหาดเขาปิหลาย จ.พังงา เจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือ นายสุริยะ สอนเสริม ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 10 (ตะกั่วป่า พังงา) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ลงพื้นที่หาดเขาปิหลาย หมู่ 12 ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา หลังได้รับแจ้งจากนายสุนัย ยะเด็น ผู้ใหญ่บ้าน ว่า ชาวบ้านพบโลมาขนาดใหญ่ 1 ตัว ถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นบริเวณชายหาด เจ้าหน้าที่จึงรีบให้การช่วยเหลือ พบว่าเป็นโลมาฟราเซอร์ เพศเมีย ขนาดโตเต็มวัย มีความยาว 2.2 เมตร ตามลำตัวไม่พบบาดแผล คาดว่าน่าจะหลงทิศ หรือป่วยจนถูกคลื่นลมแรงซัดขึ้นมาเกยตื้นดังกล่าว จึงส่งไปอนุบาลต่อที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จ.ภูเก็ต โลมาฟราเซอร์ หรือปลาโลมาซาราวัก (Lagenodelphis hosei) เป็นสัตว์จำพวกวาฬในครอบครัว Delphinidae ที่พบในน่านน้ำลึกลงไปในมหาสมุทรแปซิฟิก และในระดับน้อยในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นโลมาพันธุ์ที่ไม่ค่อยได้พบเห็น เนื่องจากอาศัยอยู่ในน้ำลึก ซึ่งที่ผ่านมาพบขึ้นมาเกยตื้นเพียงไม่กี่ครั้ง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม […]
เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รับแจ้งจากประชาชนในพื้นที่ว่าพบซากโลมา บริเวณอ่าวไสคู ในเขตอุทยานฯ หลังรับแจ้งเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เร่งลงพื้นที่ตรวจสอบ
ตื่นตา ฝูงโลมานับสิบตัว โผล่ว่ายโชว์นักท่องเที่ยว บริเวณเกาะไม้ท่อน อ.เมืองภูเก็ต