หูหนานพบหลุมศพโบราณ ก่ออิฐทรงอักษรจีน ก่อดินปากแคบก้นกว้าง

ฉางซา, 19 ธ.ค. (ซินหัว) — สถาบันวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดีมณฑลหูหนานทางตอนกลางของจีน เปิดเผยการขุดพบโบราณวัตถุมากกว่า 150 รายการ ทั้งเครื่องปั้นดินเผา เครื่องโลหะ และเครื่องสัมฤทธิ์ ระหว่างการขุดค้นกลุ่มหลุมศพโบราณ บริเวณสุสานโบราณเหมียวจู๋ซาน อำเภออันเหริน เมืองเชินโจว ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่ากลุ่มหลุมศพโบราณข้างต้น จำนวน 14 หลุม มาจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจนถึงยุคราชวงศ์หมิง โดยแบ่งเป็นจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตอนกลางและตอนปลาย 11 หลุม ยุคหกราชวงศ์ 1 หลุม ยุคราชวงศ์ซ่ง 1 หลุม และยุคราชวงศ์หมิง 1 หลุม เฉินปิน หัวหน้าโครงการสำรวจสุสานฯ สังกัดสถาบันฯ ระบุว่าหลุมศพที่ขุดค้นแบ่งเป็นหลุมดินและหลุมก่ออิฐ โดยหลุมก่ออิฐมีลักษณะเป็นหลุมเดี่ยวรูปทรงตัวอักษร 凸ในภาษาจีน ประกอบด้วยช่องทางเข้า ประตูปิด ระเบียงทางเดิน และโถงกลาง เฉินอธิบายว่าหลุมก่ออิฐมาจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ส่วนผนังหลุมสร้างด้วยวิธีก่ออิฐเซาะร่อง ซึ่งเป็นลักษณะหลุมศพจากยุคเดียวกันที่ค้นพบในอำเภอเหิงตงและเมืองเหล่ยหยางที่อยู่ข้างเคียง โดยการค้นพบนี้มีคุณค่าต่อการศึกษาธรรมเนียมประเพณีการฝังศพและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สำหรับหลุมก่อจากดินเป็นหลุมศพจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งมีลักษณะเป็นแนวตั้งแบบปากหลุมแคบก้นหลุมกว้างที่มีความลึก 3.5-5 เมตร และมีการเททรายเป็นชั้นบางๆ ภายในหลุม ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับเพศของศพ นอกจากนั้นนักโบราณคดียังค้นพบร่องรอยการสลายตัวของโลงศพในหลุมศพจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก […]

จีนพบซาก ‘บ้าน’ เก่าแก่กว่า 5,000 ปี พร้อมคูน้ำ-โบราณวัตถุ

เจิ้งโจว, 29 พ.ย. (ซินหัว) — เมื่อไม่นานนี้ คณะนักโบราณคดีได้ขุดค้นซากฐานของบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งมีอายุมากกว่า 5,000 ปี ในหมู่บ้านหย่างเสา มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน หลี่ซื่อเหว่ย เจ้าหน้าที่สถาบันมรดกวัฒนธรรมและโบราณคดีมณฑลเหอหนาน ระบุว่าบ้านหลังนี้อาจเคยเป็นอาคารขนาดใหญ่ที่มีกำแพงดินอัด และอาจมีพื้นที่มากกว่า 130 ตารางเมตร โดยสันนิษฐานว่ามาจากยุควัฒนธรรมหย่างเสาตอนปลาย “นับเป็นการค้นพบซากบ้านขนาดใหญ่ครั้งแรก หลังจากมีการขุดค้นแหล่งโบราณคดีหมู่บ้านหย่างเสาในปี 1921 โดยการค้นพบนี้มอบข้อมูลใหม่สำหรับการศึกษาประเภท รูปทรง และเทคนิคการสร้างบ้านในยุคดังกล่าว” หลี่กล่าว คณะนักโบราณคดียังขุดพบคูระบายน้ำ 4 แห่ง และโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมจำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงขวานหยกที่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางการทหาร หลี่ระบุว่าการค้นพบซากบ้านโบราณแสดงให้เห็นว่าชุมชนยุควัฒนธรรมหย่างเสามีประชากรจำนวนมาก การพัฒนาที่รุ่งเรือง และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการป้องกันที่สมบูรณ์ ซึ่งมีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาความซับซ้อนและกระบวนการกำเนิดอารยธรรมในลุ่มแม่น้ำเหลืองช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ อนึ่ง จีนขุดค้นแหล่งโบราณคดีหมู่บ้านหย่างเสาในอำเภอเหมี่ยนฉือครั้งแรกในปี 1921 ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของโบราณคดีจีนสมัยใหม่ ขณะการขุดค้นทางโบราณคดี ครั้งที่ 4 ซึ่งเริ่มต้นวันที่ 22 ส.ค. 2020 ยังคงดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน สำหรับวัฒนธรรมหย่างเสา มีต้นกำเนิดบริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลือง ถือเป็นต้นธารสำคัญของอารยธรรมจีน และเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากเทคโนโลยีทำเครื่องปั้นดินเผาขั้นสูง-สำนักข่าวซินหัว 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://www.news.cn/local/2022-11/28/c_1129168004.htmคลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20221129/f1932355263d46308a31693ba7efc22f/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง […]

คาดไหโบราณในโคกหนองนา จ. สุรินทร์ มีอายุมากกว่าพันปี

ชาวบ้านในจ.สุรินทร์ ขุดดินทำโคกหนองนาโมเดล พบไหโบราณ จำนวน 16 ใบ ล่าสุดเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรลงพื้นที่ตรวจสอบ ระบุว่าไหที่พบเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์คาดมีอายุมากกว่าพันปี

สทน. จับมือกรมศิลฯ ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่องานโบราณคดี

กรมศิลปากร 8 ส.ค. 63 – สทน. จับมือกรมศิลปากร ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์สนับสนุนงานด้านโบราณคดีของชาติต่อเนื่องอีก 5 ปี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ร่วมกับกรมศิลปากร ลงนามความร่วมมือ ต่ออายุความร่วมมือทางวิชาการอีก 5 ปี เพื่อร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ มาใช้สนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า ฟื้นฟูอนุรักษ์โบราณวัตถุและศิลปวัตถุของชาติ ณ กรมศิลปากร (เทเวศร์) รศ. ดร. ธวัชชัย  อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า เทคโนโลยีนิวเคลียร์ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการตรวจสอบหาอายุของโบราณวัตถุ  เพราะเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ที่ไม่ทำลายตัวอย่าง หรือใช้ตัวอย่างในปริมาณที่น้อยมาก  สทน. มีห้องปฏิบัติการไอโซโทปรังสี และใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ สำหรับใช้ตรวจวิเคราะห์หาอายุโบราณวัตถุมากว่า 10 ปี  โดยใช้เทคนิคในการวิเคราะห์ 2 แบบ คือ การวิเคราะห์โดยอาศัยคาร์บอน -14 (C-14dating) และการวิเคราะห์อายุโดยการเรืองแสงความร้อน (TL/OSL dating) ซึ่งจากการขยายความร่วมมือของ 2 หน่วยงานในอีก […]

ดันสู่ระดับโลก “อุทยานธรณี ผาชัน สามพันโบก” อุบลราชธานี

กรมทรัพยากรธรณีจับมือนักวิชาการ ม.อุบลฯ ร่วมพัฒนาศึกษางานวิจัยทางธรณีและธรรมชาติวิทยา หวังดันอุทยานธรณี ผาชัน สามพันโบก ขึ้นเป็นอุทยานธรณีระดับโลก เช่นเดียวกับอุทยานธรณีสตูลที่ยูเนสโกรับรองแล้ว

กรมศิลป์ ส่งข้อมูลยันทับหลังปราสาทเขาโล้น-หนองหงส์ ของไทยให้สหรัฐฯ

อธิบดีกรมศิลปากร เผย ไทยส่งรายละเอียดทับหลังปราสาทเขาโล้นและหนองหงส์ให้ทางการสหรัฐฯแล้ว ยืนยันมาจากไทย ขณะที่การขุดแต่งทางโบราณคดีปราสาทเขาโล้นมีความคืบหน้า

1 2
...