“ทักษิณ” ชี้ปัญหาการเมืองหนักกว่าเศรษฐกิจ เพราะทำนายไม่ได้

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 17 ก.ค.- “ทักษิณ” ชี้ปัญหาการเมืองหนักกว่าเศรษฐกิจ เพราะทำนายไม่ได้ บอกจิตใจมนุษย์เต็มไปด้วยกิเลส-ความโลภ ยันกลับบ้านไม่มีดีลลับ ส่วนลูกสาวถ้าอาสาทำงานแล้ว เขาไม่ให้ทำ ก็กลับไปเลี้ยงลูก นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในรายการ “ฟังหูไว้หู” ของสำนักข่าวไทย โดยมีนายวีระ ธีรภัทร และนางสาวชุติมา พึ่งความสุข เป็นผู้ดำเนินรายการสด ในงานปลดล็อกอนาคตประเทศไทย สู้วิกฤตโลก นายทักษิณตอบคำถามถึงประเด็น ปัญหาการเมืองหรือปัญหาเศรษฐกิจหนักหนากว่ากัน ว่าปัญหาเศรษฐกิจคาดการณ์ได้ อาจต้องใช้เวลา แต่ปัญหาการเมือง ทำนายยาก จิตใจมนุษย์เต็มไปด้วยความโลภกิเลส เป็นสิ่งที่เดาได้ยาก ยิ่งกว่าเศรษฐกิจที่เป็นไปตามภาวะของโลก ที่คาดเดาได้ ส่วนดีลลับ มีจริงหรือไม่ นายทักษิณ ยืนยันว่าไม่มีหรอกครับ มีการสร้างมาเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น ไม่มีดีลอะไรเลย แต่ดีลที่แน่นอนคือดีลกับทรัมป์ เมื่อถามย้ำว่าในตอนที่ตัดสินใจ ในปี 2566 ทุกคนเชื่อว่าต้องมี อย่างน้อยอะไรสักอย่างให้เกิดความมั่นใจ นายทักษิณระบุว่า ทางการเมืองไม่มี ไม่มีดีลการเมืองกับใครเลย กลับมาตามระบบ และทูลขอพระราชทานพระเมตตา ซึ่งก็ได้รับพระราชทาน แค่นั้นเอง นายทักษิณ ระบุหากรัฐบาลนี้อยากเข้ามาทำธุรการกับธุธุรกิจ […]

“ทักษิณ” ชี้ภาษีทรัมป์ทำเศรษฐกิจไทยสะดุด

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 17 ก.ค. – “ทักษิณ”ชี้ภาษีทรัมป์ทำเศรษฐกิจไทยสะดุด บอกเหตุทั่วโลกมอง GDP ไทยต่ำ เพราะการบริหารผิดพลาดในอดีตขาดกลยุทธ์แข่งขัน เตรียมดัน AMC แก้หนี้ครัวเรือน นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย สู้วิกฤติโลก พลิกเกมเศรษฐกิจไทย” และ “พลิกเกมเศรษฐกิจไทย สู่อนาคต” จัดโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ตอนหนึ่งว่า เรื่องที่เราสะดุด คือเรื่องภาษีทรัมป์ ที่เรากำลังเจรจาอยู่ ทีมไทยแลนด์กำลังเจรจาอยู่ โดยได้ยื่นข้อเสนอใหม่ๆ ซึ่งนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีก็นั่งกำกับ ไม่ให้เราเสียเปรียบ ไม่ให้เราถูกเบียดเบียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้าเกษตร อย่างที่ตนเคยบอกว่ามี3 ก้อน ก้อนหนึ่งคือเราเอาของเข้ามาจากจีน แล้วประกอบและส่งไป เป็นผลิตในประเทศไทย อีกสองคือส่งไปในอเมริกา โดยเทคโนโลยีและบริษัทอเมริกัน มาตั้งในประเทศไทย สองตัวนี้จะไม่กระทบอะไรกับเรามาก แต่ที่กระทบมากคือตัวที่เกี่ยวข้อง กับสินค้าที่เราส่งไป เช่นสินค้าเกษตร สินค้าSMEs หรือพวกอัญมณี ซึ่งเรากำลังแก้ไข […]

เสวนา “ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย สู้วิกฤติโลก”

17 ก.ค. – หลายหน่วยงานรวมพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในงานเสวนา “ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย สู้วิกฤติโลก” โดย บมจ.อสมท นายสุชาติ ตันเจริญ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานสัมมนา “ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย…สู้วิกฤติโลก” ยอมรับว่า นับว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกกระทบมายังไทย จากภาษีศุลกากรของสหรัฐกระทบมายังประชาชน ผู้ผลิต เอสเอ็มอีรายย่อย ความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน ประชาชน จึงต้องร่วมมือกันปลดล็อกอนาคตประเทศไทย…สู้วิกฤติโลก” โดยได้จัดเวทีใหญ่ให้ผู้กำหนดนโยบายและทิศทางของประเทศ และภาคเอกชน มาร่วมแสดงความเห็น ด้านเศรษฐกิจ นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในหัวข้อ เกาะติดมาตรการกระทรวงการเงินการคลัง พลิกฟื้นกำลังซื้อในประเทศ และแนวโน้มเศรษฐกิจ และสงครามการค้า ภาษีนำเข้าของสหรัฐ ว่าทีมไทยแลนด์ นำโดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง กำหนดเจรจากับผู้แทนการค้าสหรัฐช่วงค่ำวันนี้ ต้องชั่งน้ำหนัก ทั้ง 2 มิติ คือ ผลกระทบที่ผู้ส่งออก และผู้ผลิตในประเทศทั้งภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกร รัฐบาลไม่มอง เพียงจะเจรจาภาษีได้เท่าไหร่ ยอมรับไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ แต่จะสานประโยชน์ให้ตกกับทุกฝ่าย […]

สนค. ผลักดัน Twin Transition ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

กรุงเทพฯ 17 ก.ค. – สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ จัดงานสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาและร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ภายใต้โครงการศึกษาการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ หรือ Twin Transition พัฒนาเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transition) ควบคู่กับการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Transition) นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า แนวทางดังกล่าว เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน และเป็นความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งภายในงานสัมมนามีการนำเสนอผลการศึกษาและร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานภาครัฐ เช่น สร้างคลัสเตอร์อุตสาหกรรมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ การสนับสนุนการปรับปรุงและพัฒนาเครื่องจักรหนัก การจัดตั้งศูนย์โลจิสติกส์ และการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม, พัฒนาทักษะแรงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและการฝึกอบรม การพัฒนามาตรฐานการรับรองสินค้าด้านสิ่งแวดล้อม ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาดและผู้บริโภคยุคใหม่ที่สนใจสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และกำหนดนโยบายจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ “การผลักดันการเปลี่ยนผ่านแบบควบคู่ (Twin Transition) ทั้งในมิติเทคโนโลยีดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมไทย ในการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต การค้า การบริหารจัดการ และการกำจัดของเสีย ตอบสนองต่อความต้องการของคู่ค้าและผู้บริโภคยุคใหม่” นายพูนพงษ์ กล่าว.-511- สำนักข่าวไทย

พปชร. ห่วงภาษีสหรัฐ 36% กระทบแรงงาน เศรษฐกิจไทย

พรรคพลังประชารัฐ 15 ก.ค.-พปชร. เตือนรัฐบาลช้า-เจรจาผิดทิศ ห่วงภาษีสหรัฐ 36% กระทบแรงงาน เศรษฐกิจไทย ชี้ห้ามแลกผลประโยชน์ทางความมั่นคงกับสิทธิทางการค้า แนะรัฐเร่งความโปร่งใส เร่งเยียวยาอุตสาหกรรมส่งออกก่อนสายเกินไป นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายเศรษฐกิจ พปชร. อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงจุดยืนพรรคถึงกรณีที่ประธานาธิบดีทรัมป์ส่งหนังสือกำหนดอัตราภาษีอากรสำหรับสินค้าไทยร้อยละ 36 ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. นั้น นายธีระชัยมีความเป็นห่วงว่าทีมเจรจาจะไม่ทันการ นายธีระชัยเกรงว่ากรณีเกิดความล้มเหลวจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจไทยอย่างหนัก เพราะในปี 2567 ไทยส่งออกสินค้าไปสหรัฐเป็นตลาดอันดับหนึ่งมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยไป สหรัฐ ราว 1.93 ล้านบาทหรือ 10.38% GDP กรณีถ้าหากโรงงานยอดส่งออกลดลง ก็จะต้องปลดคนงาน และจะลามไปถึงคนงานของซัพพลายเออร์ด้วย และไทยจะมีอุปสรรคในการแสวงหาตลาดใหม่ทดแทน เพราะไทยส่งออกไปสหรัฐคิดเป็นสัดส่วนต่อมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทยที่สูงมากถึงเกือบหนึ่งในห้า และรูปแบบลักษณะสินค้าที่ผลิตเพื่อตลาดสหรัฐซึ่งมีราคาแพงนั้นก็ไม่สามารถจะหาตลาดทดแทนได้ง่ายในประเทศที่รายได้ต่ำกว่า ไม่ว่าในเอเซีย แอฟริกา หรืออเมริกาใต้ ทั้งนี้ กรณีสินค้าใดที่เหมือนหรือคล้ายกับสินค้าที่ผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าสินค้าไทยโดนภาษีในอัตราที่สูงกว่าเพื่อนบ้าน ปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่แค่ยอดขายลดลงเพียงบางส่วน แต่อาจจะถึงขั้นเหลือศูนย์ คือจะขายไม่ได้เลย เพราะผู้ซื้อในสหรัฐจะไม่มีเหตุผลความจำเป็นใดที่จะต้องซื้อจากไทยที่ราคาแพงกว่า นายธีระชัย ตำหนิทีมเจรจาที่ไม่เปิดเผยแนวข้อเสนอของไทยและข้อเรียกร้องของสหรัฐเพื่อให้นักวิชาการในประเทศช่วยกันวิจารณ์เสนอแนะ เพราะเท่าที่เห็นข้อมูลที่เผยแพร่ในสื่อนั้น ชัดเจนว่าทีมเจรจาเสนอผิดทาง เช่น ไปเสนอว่าไทยจะตั้งเป้าลดยอดขาดดุลการค้ากับสหรัฐลง […]

ม.หอการค้าฯ ประเมินภาษี 36% ฉุดเศรษฐกิจไทยโตไม่ถึง 1%

กรุงเทพฯ 9 ก.ค. – ม.หอการค้าฯ ประเมินภาษี 36% ฉุดเศรษฐกิจไทยโตไม่ถึง 1% คนไทยอาจตกงานเพียบ แนะรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม-เยียวยาผู้ประกอบการ มองสหรัฐยืดเส้นตายให้ยื่นข้อเสนอใหม่เป็นประโยชน์กับไทย เชื่อทีมไทยแลนด์เจรจาได้ นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การที่สินค้าส่งออกไทยถูกสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีในอัตรา 36% ผลที่เกิดขึ้นคือสินค้าไทยที่ถูกส่งไปสหรัฐฯ จะแพงขึ้นทันที ผลกระทบผู้ประกอบการไทยที่แน่นอนคือขายสินค้าได้น้อยลง หรือ หากต้องการแข่งขันได้ก็ต้องลดราคาสินค้า เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้นำเข้า ผลที่จะตามมาหลังจากนั้นคือการลดกำลังผลิต ลดการจ้างงานแรงงาน หรือ อาจปลดแรงงาน คนไทยอาจตกงานเพิ่ม ส่วนประเทศคู่ค้าสหรัฐฯอื่นๆ หากโดนเรียกเก็บภาษีในอัตรสูงก็จะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับประเทศไทย คือ ส่งผลไปถึงการจ้างงานและรายได้ของคนในประเทศ สิ่งที่ตามมาคือ ประชาชนในประเทศนั้นๆต่างก็ต้องอยู่ในสภาวะรัดเข็มขัด อาจจะไม่มีเงินมาเที่ยวประเทศไทย ภาคท่องเที่ยวและบริการไทยก็มีรายได้น้อยลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การเรียกเก็บภาษี 36% ของสหรัฐจึงไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะผู้ส่งออกเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศไทยด้วย เรียกได้ว่าเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการ ซึ่งทีมไทยแลน์ต้องฟังเสียงจากผู้ประกอบการ และภาคเอกชน เนื่องจากจะทำให้เราสูญเสียรายได้ถาวรในทุกๆ ปี ปีละหลายแสนล้านบาท ซึ่งจะฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างน้อย 0.5-1% ต่อปี […]

ยอดใช้ดีเซล 5 เดือนแรกปีนี้ลดลง ฉายภาพเศรษฐกิจไทย

กรุงเทพฯ 9 ก.ค. – กรมธุรกิจพลังงาน เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 5 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.68 ) ยอดใช้ดีเซลลดลง ฉายภาพเศรษฐกิจไทย ส่วนการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเริ่มเห็นสัญญาณของการชะลอตัวลงมาจากยอดใช้อีวีและการเดินทางระบบรางพุ่งขึ้น นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2568 อยู่ที่ 158.44 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยที่น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 และการใช้น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ขณะที่กลุ่มเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 การใช้ LPG ลดลงร้อยละ 2.3 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ สถานีบริการลดลงร้อยละ 1.5 และ NGV ลดลงร้อยละ 16.1 ทั้งนี้ แบ่งเป็นน้ำมันแต่ละประเภทดังนี้ การใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ณ สถานีบริการ เฉลี่ยอยู่ที่ 68.53 […]

รมว.คลัง ส่งเอกสารให้สหรัฐฯ แล้ว เชื่อปิดดีลได้ก่อน ส.ค.นี้

ทำเนียบ 8 ก.ค.-รมว.คลัง ส่งเอกสารให้สหรัฐฯ แล้ว เชื่อปิดดีลได้ก่อน ส.ค.นี้ หวังถูกลดอยู่ในอัตราที่แข่งขันได้ ยืนยันมีแผนสำรอง พร้อมเยียวยาผู้ประกอบการ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่สหรัฐอเมริกา ออกหนังสือสินค้านำเข้าจาก 14 ประเทศจะต้องเผชิญกับภาษีนำเข้าแบบเหมารวม เริ่ม 1 ส.ค. โดยสำหรับประเทศไทยจะถูกเก็บภาษีศุลากรในอัตราสูง 36% ว่า ทางสหรัฐฯ ได้ส่งหนังสือแจ้งอัตราภาษีก่อน โดยจะต้องเร่งเจรจาก่อนวันที่ 1 สิงหาคมนี้ ก่อนที่อัตราภาษีจะมีผลใช้บังคับ จึงเท่ากับว่า เลื่อนการเก็บอัตราภาษีจาก 9 กรกฎาคม เป็น 1 สิงหาคมนี้ เนื่องจากการเจรจา ต้องใช้เวลาสหรัฐฯ จึงขยายเวลาการจัดเก็บภาษี ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2-3 ลักษณะ ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ไม่เจรจาและยืนยันตามเดิม และกลุ่มประเทศที่เสนอปรับไปแล้ว เช่น เกาหลีใต้ เป็นต้น โดยยืนยันว่า หลังจากนี้คณะทำงานฝ่ายไทย จะต้องทำงานให้หนักขึ้น และมั่นใจว่าข้อมูลที่ฝ่ายไทยส่งให้สหรัฐฯ ไปเมื่อวันที่ 6-7 กรกฎาคมที่ผ่านมา […]

หอการค้าเตือนเศรษฐกิจไทยเสี่ยง จี้พาณิชย์เร่งเครื่องส่งออก

กรุงเทพฯ 1 ก.ค. – ประธานหอการค้าไทย ระบุรัฐมนตรีพาณิชย์คนใหม่ต้องเร่งขับเคลื่อนนโยบายการส่งออก แก้ปัญหาเศรษฐกิจทั้งระบบ โดยคำนึงถึงการรักษาอธิปไตยทางเศรษฐกิจและความมั่นคงการค้าชายแดน นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงจากหลายปัจจัย ทั้งปัญหาการส่งออกที่ชะลอตัว ความไม่แน่นอนในความสัมพันธ์ทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา และสถานการณ์ตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา ดังนั้นจึงเห็นว่า นายจตุพร บุรุษพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์คนใหม่ ต้องเร่งขับเคลื่อนนโยบายการค้าทั้งในประเทศและการส่งออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สำหรับปัญหาทางการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำลังจะเดินทางไปเจรจานั้น เป็นการทำงานอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลซึ่งภาคเอกชนรอคอยด้วยความหวังว่า จะมีข้อยุติที่เหมาะสมโดยเร็ว ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้จะส่งผลกระทบการส่งออกรุนแรงมากกว่านี้ ขณะเดียวกันยังมีปัญหาการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งต้องเร่งแก้ไขให้กลับมาค้าขายกันได้ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กันไปทั้งการรักษาอธิปไตยและความมั่นคงทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน โดยไม่ยอมเสียเปรียบในการเจรจา พร้อมย้ำว่า การส่งออกต้องขับเคลื่อนอย่างเต็มที่ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เงินทุนไหลเข้า เกิดการจ้างงานและความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับคืนมา แต่ทั้งหมดต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย นายพจน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ความแข็งขันของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความเชื่อมั่นกลับคืนสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยซึ่งเผชิญความเสี่ยงหลายด้าน. -512-สำนักข่าวไทย

“จุลพันธ์” มั่นใจเจรจาภาษีสหรัฐฯ ทันกรอบเวลา ไม่ยืดเยื้อ

รัฐสภา 30มิ.ย.-“จุลพันธ์” เผยทีมเจรจาภาษีสหรัฐฯ เดินทางคืนนี้ มั่นใจทันกรอบเวลา ไม่ยืดเยื้อ ลั่นสร้างความมั่นใจคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน บอกถือเป็นการนับหนึ่ง แต่ไม่สามารถเปิดเผยข้อตกลงได้ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงความพร้อมการส่งทีมไทยแลนด์เดินทางเจรจาภาษีสหรัฐคืนนี้ ว่า ทีมเจรจาครั้งนี้มีนายพิชัย ชุณหวชิระ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปเจรจาเรื่องความคืบหน้าในการพูดคุยกับตัวแทนของทางสหรัฐอเมริกา และภาคเอกชน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการเจรจาของเราจะส่งผลที่ดีซึ่งจะเดือนทางคืนนี้ ส่วนเรื่องข้อตกลงหรือข้อเสนอนั้น นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ไม่กล้าที่จะเปิดให้ทราบก่อนเพราะการเจรจา มีการเริ่มต้นเซ็นสัญญาข้อตกลงที่จะไม่เปิดเผย เรื่องการเจรจาซึ่งทุกประเทศที่เข้าสู่การเจรจากับสหรัฐฯก็เซ็นทั้งหมดประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน การที่จะเอามาเล่าสู่กันฟังก่อนการมีข้อตกลงขึ้นมาคงเป็นไปได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามยืนยันได้ว่ากระบวนการในการเจรจาของนายพิชัยและรัฐบาลที่จะมีต่อสหรัฐอเมริกาเราคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนในเชิงบวกและเชิงลบว่าจะต้องแก้ไขปัญหาให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเปราะบาง เช่น ภาคการเกษตร เมื่อถามว่าจะทันกรอบระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ นายจุลพันธ์ ระบุว่า ตนไม่ได้กลัวปัญหานี้เลยเพราะ เราเข้าสู่กระบวนการเจรจาแล้วก็ถือว่าเริ่มนับหนึ่ง คงไม่มีเหตุการณ์ที่กระบวนการเจรจาถูกยืดเยื้อหรือนานเกินไป จนกระทั่งมีผลกระทบเรื่องการปรับอัตราภาษีตรงนี้ยังไม่เห็น และดูจากทีท่าของทางสหรัฐอเมริกาเอง ขณะนี้ไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีข้อเสนอที่เขาให้ความสนใจเป็นอย่างมากและแสดงความมั่นใจมาว่ากระบวนการคงจะเดินหน้าได้เรียบร้อย และเมื่อเข้าสู่กระบวนการเจรจาแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้น ก็เหมือนได้รับการชะลอ.-312.-สำนักข่าวไทย

แนะติดตามหลายปัจจัยกระทบธุรกิจ​ แต่​ยัง​มีสัญญาณ​บวกครึ่งปี​หลัง

กรุงเทพฯ 27 มิ.ย. – กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แนะภาคธุรกิจจับตาสถานการณ์โลกและปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง แม้มีแรงกดดันจากความไม่แน่นอนหลายด้าน แต่ยังคงมีสัญญาณบวกจากมาตรการรัฐ นักลงทุนต่างชาติยังเชื่อมั่น และธุรกิจนวัตกรรมชีวภาพเติบโตต่อเนื่อง นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งหลังของปี 2568 ยังต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ทั้งความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและการค้าโลก มาตรการทางภาษีของประเทศคู่ค้า สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา และความเคลื่อนไหวทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนและประกอบธุรกิจในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ยังมีสัญญาณบวกที่ช่วยเสริมความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจไทย เช่น มาตรการกระตุ้นของรัฐบาล อาทิ โครงการเที่ยวไทยคนละครึ่ง การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่าย การส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงการเจรจาข้อตกลงทางการค้ากับประเทศคู่ค้า ที่ช่วยขยายโอกาสให้ธุรกิจไทยในเวทีระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ภาพรวมการลงทุนจากต่างชาติยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2568 มีการลงทุนจากต่างชาติรวม 426 ราย เงินลงทุนรวม 88,943 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24 โดยญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน สิงคโปร์ และฮ่องกง เป็นกลุ่มหลักที่เข้ามาลงทุนในธุรกิจหลากหลาย ทั้งเทคโนโลยี วิศวกรรม […]

จับตาสงคราม ลุกลามปิด “ฮอร์มุซ” กระทบเศรษฐกิจไทย

กรุงเทพฯ 23 มิ.ย. – สนค.วิเคราะห์ขัดแย้งตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น จับตาช่องแคบฮอร์มุซ จะถูกปิดหรือไม่ กระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าไทยอย่างกว้างขวาง นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่อิสราเอลเปิดฉากปฏิบัติการ “Rising Lion” เมื่อ 13 มิ.ย. 68 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดทอนศักยภาพทางนิวเคลียร์ของอิหร่าน อิสราเอลยังคงเดินหน้าปฏิบัติการโจมตีเป้าหมายต่างๆ ในอิหร่านอย่างต่อเนื่อง ส่วนอิหร่านก็ยังคงตอบโต้ด้วยการยิงขีปนาวุธและโดรนเข้าไปในดินแดนอิสราเอล ล่าสุดสถานการณ์ความขัดแย้งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นมาก หลังจากเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 68 สหรัฐฯ ได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศต่อฐานนิวเคลียร์สำคัญของอิหร่าน 3 แห่ง ในเมืองฟอร์โดว์ นาทานซ์ และอิสฟาฮาน ขณะที่อิหร่านประกาศพร้อมตอบโต้เพื่อป้องกันตนเอง และยังคงยืนกรานว่าจะไม่ยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์ ในขณะเดียวกันรัฐสภาอิหร่านก็ได้ลงมติสนับสนุนให้ปิด ช่องแคบฮอร์มุซ (Strait of Hormuz) เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ แม้ว่ามติดังกล่าวยังต้องได้รับการอนุมัติจากสภาความมั่นคงสูงสุดแห่งชาติและผู้นำสูงสุดอิหร่านก่อนที่จะดำเนินการ แต่สัญญาณความตึงเครียดดังกล่าวทำให้ช่องแคบที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์นี้กลายเป็นจุดที่ทั่วโลกจับตาอย่างใกล้ชิด ช่องแคบฮอร์มุซเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยข้อมูลจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ระบุว่า ช่องแคบฮอร์มุซตั้งอยู่ระหว่างประเทศโอมานและอิหร่าน ซึ่งเชื่อมต่อระหว่า อ่าวเปอร์เซียกับทะเลอาหรับ […]

1 2 3 23
...