ผู้นำอินโดนีเซียเผยส่งสารจาก “เซเลนสกี” ถึง “ปูติน” แล้ว

มอสโก 1 ก.ค. – ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย เผยว่า เขาได้ส่งสารจากประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ไปถึงประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ในขณะที่เดินทางเยือนกรุงมอสโกและพบกับผู้นำรัสเซียเมื่อวันพฤหัสบดี ประธานาธิบดีวิโดโด กล่าวหลังเสร็จสิ้นการหารือกับประธานาธิบดีปูตินว่า เขาได้ส่งสารจากประธานาธิบดีเซเลนสกีไปถึงประธานาธิบดีปูตินแล้ว และพร้อมเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้นำรัสเซียกับยูเครน แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารดังกล่าว ผู้นำอินโดนีเซียยังระบุว่า แม้สถานการณ์ของรัสเซียกับยูเครนยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรค แต่เขามองว่าการทำข้อตกลงและการเปิดเจรจาเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง อินโดนีเซียต้องการให้สงครามยุติลงโดยเร็ว และขอเรียกร้องให้ผู้นำทั่วโลกร่วมมือกันเพื่อยุติสงครามครั้งนี้เช่นกัน ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีปูตินกล่าวว่า การหารือกับประธานาธิบดีวิโดโดมีความคืบหน้าในข้อตกลงร่วมกันหลายประเด็น และจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับอินโดนีเซียให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ผู้นำรัสเซียปฏิเสธว่า รัฐบาลรัสเซียไม่ได้ขัดขวางการส่งออกธัญพืชของยูเครน และตั้งคำถามเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากผลผลิตทางการเกษตรของยูเครนที่ขาดหายไปในตลาดโลก ทั้งยังเน้นย้ำว่า ปัญหาตลาดอาหารโลกและราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้นเป็นผลมาจากการใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียของชาติตะวันตก นอกจากนี้ ประธานาธิบดีปูตินระบุว่า เขาต้องการให้รัสเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดของโลกดังเดิม ขณะนี้ รัสเซียส่งออกข้าวสาลีคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ในตลาดโลก.-สำนักข่าวไทย

ผู้นำอินโดนีเซียเสนอส่งสารจาก “เซเลนสกี” ถึง “ปูติน”

เคียฟ 30 มิ.ย. – ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย เสนอตัวเป็นผู้ส่งสารจากประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ไปถึงประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เพื่อหวังสร้างสันติภาพระหว่างรัสเซียกับยูเครน ประธานาธิบดีวิโดโดกล่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมกับประธานาธิบดีเซเลนสกีในขณะที่เดินทางเยือนยูเครนเมื่อวันพุธว่า แม้การประกาศหยุดยิงเป็นเรื่องยากที่จะสำเร็จ แต่เขาเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาเพื่อสันติภาพ เขาได้เสนอตัวเป็นผู้ส่งสารจากประธานาธิบดีเซเลนสกีไปยังประธานาธิบดีปูติน ซึ่งจะมีกำหนดพบกันในขณะที่เขาเดินทางเยือนรัสเซียเป็นลำดับต่อไป ทั้งยังระบุว่า ทั่วโลกต้องช่วยกันทำให้ยูเครนกลับมาส่งออกอาหารได้อีกครั้ง และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องรับประกันความปลอดภัยในการจัดส่งอาหารของยูเครน โดยเฉพาะการขนส่งทางทะเล ประธานาธิบดีวิโดโด ซึ่งขณะนี้เป็นประธานกลุ่มจี 20 ยังได้เชิญให้ประธานาธิบดีเซเลนสกีเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี 20 ที่อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพและมีกำหนดจัดขึ้นที่เกาะบาหลีในเดือนพฤศจิกายนนี้ ขณะที่ประธานาธิบดีเซเลนสกีได้ตอบรับคำเชิญดังกล่าว แต่ระบุว่า เขาจะเข้าร่วมการประชุมผ่านระบบออนไลน์แบบเสมือนจริง หากยูเครนยังคงตกอยู่ในภาวะสงคราม ทั้งนี้ ประธานาธิบดีวิโดโดมีกำหนดเดินทางเยือนกรุงมอสโกเพื่อพบกับประธานาธิบดีปูตินเป็นลำดับต่อไป และเคยระบุก่อนหน้านี้ว่า เขาจะเรียกร้องให้ผู้นำรัสเซียประกาศหยุดยิงในยูเครน.-สำนักข่าวไทย

ผู้นำอินโดนีเซียจะเยือนยูเครน-รัสเซียสร้างสันติภาพ

จาการ์ตา 26 มิ.ย.- ประธานาธิบดีโจโก วิโดโดของอินโดนีเซียเผยว่า จะใช้ภารกิจเยือนยูเครนและรัสเซียเพื่อสร้างสันติภาพขอให้ผู้นำทั้งสองประเทศเปิดโอกาสให้มีการเจรจา และจะขอให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียสั่งให้หยุดยิงทันที ประธานาธิบดีวิโดโดกล่าววันนี้ก่อนออกเดินทางไปเยอรมนีเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือจี 7 (G7) ในวันจันทร์ว่า สงครามจะต้องยุติ และห่วงโซ่อาหารโลกจะต้องได้รับการฟื้นฟูกลับมาดังเดิม นอกจากนี้เขายังจะชักชวนให้จี 7 ร่วมกันสร้างสันติภาพในยูเครน และหาทางออกที่จะสามารถแก้ไขวิกฤตอาหารและพลังงานโลกได้ทันที ก่อนหน้านี้ผู้นำอินโดนีเซียเผยเมื่อเดือนเมษายนว่า เขาไม่ตอบรับคำขออาวุธจากประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกีของยูเครน ด้านนางเรตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียกล่าวว่า จะต้องสร้างเส้นทางนำธัญพืชออกมาจากยูเครน และเปิดทางให้มีการส่งออกอาหารและปุ๋ยจากรัสเซีย เพื่อนำสิ่งเหล่านี้กลับเข้าสู่ตลาดโลกอีกครั้งแม้ว่ายังมีสงครามอยู่ก็ตาม และทุกประเทศจะต้องงดการกระทำใด ๆ ที่จะทำให้วิกฤตอาหารเลวร้ายลงไปอีก.-สำนักข่าวไทย

ผู้นำอินโดนีเซียจะพบกับ “ปูติน” เดือนนี้

ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย ซึ่งขณะนี้ดำรงตำแหน่งประธานหมุนเวียนของกลุ่มจี 20 มีกำหนดจะเดินทางไปเยือนกรุงมอสโก ของรัสเซียในเดือนนี้เพื่อพบหารือกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน

อินโดนีเซียเปลี่ยน รมว.การค้า ที่ห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม

จาการ์ตา 15 มิ.ย.- ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซียประกาศปรับคณะรัฐมนตรีในวันนี้ หนึ่งในนั้นเป็นการแต่งตั้งรัฐมนตรีการค้าคนใหม่แทนคนเก่าที่ถูกกดดันอย่างหนักจากการออกนโยบายห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มจนเกิดผลกระทบใหญ่ ประธานาธิบดีวิโดโดซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ประกาศปรับคณะรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรีคนใหม่ที่ทำเนียบประธานาธิบดีในวันนี้ ประกอบด้วยรัฐมนตรีการค้า รัฐมนตรีกิจการการเกษตรและการวางแผนที่ดิน รัฐมนตรีช่วยกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกิจการการเกษตรและการวางแผนที่ดิน และรัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทย นายซูลกิฟลี ฮาซัน วัย 60 ปี ประธานพรรคอาณัติแห่งชาติที่เพิ่งลาออกจากตำแหน่งรองประธานสภาที่ปรึกษาประชาชนหรือรัฐสภาในวันนี้ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีการค้าคนใหม่ แทนนายมูฮัมหมัด ลุตฟี วัย 52 ปี ที่ถูกกดดันทางการเมืองอย่างหนักจากการดำเนินนโยบายควบคุมราคาน้ำมันปรุงอาหารในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น หนึ่งในนั้นคือการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มเมื่อปลายเดือนเมษายนก่อนยกเลิกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม คำสั่งดังกล่าวที่บังคับใช้นาน 3 สัปดาห์ส่งผลกระทบไปทั่วโลก เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลก และนำมาซึ่งการจับกุมกลุ่มผู้ถูกกล่าวหาว่าทุจริตรับสินบนในเรื่องนี้ นายลุตฟีกล่าวโทษ “มาเฟียน้ำมันปาล์ม” ว่า บ่อนทำลายความพยายามควบคุมราคาน้ำมันพืชสำหรับปรุงอาหาร หลังจากรัฐบาลประกาศห้ามส่งออก.-สำนักข่าวไทย

อินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์มลดลงช่วงอินโดนีเซียห้ามส่งออก

มุมไบ 14 มิ.ย.- อินเดียซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันพืชรายใหญ่ที่สุดในโลก นำเข้าน้ำมันปาล์มลดลงร้อยละ 10 ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากเป็นช่วงที่อินโดนีเซีย ผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มอันดับ 1 ของโลกห้ามการส่งออก สมาคมตัวทำละลายแห่งอินเดียแจ้งว่า เดือนพฤษภาคมปีนี้อินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์ม 514,022 ตัน ลดลงร้อยละ 10 จาก 572,508 ตันในเดือนเมษายน โดยต้องนำเข้าจากมาเลเซีย ไทย และปาปัวนิวกินีเพิ่มเติม เนื่องจากอินโดนีเซียมีคำสั่งห้ามส่งออกตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน นักค้ารายหนึ่งคาดว่า อินเดียจะนำเข้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นเป็นไม่ต่ำกว่า 600,000 ตันในเดือนมิถุนายน เพราะอินโดนีเซียได้ยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม แม้ว่ายังคงมีนโยบายปกป้องปริมาณน้ำมันปาล์มในประเทศอยู่ก็ตาม ขณะเดียวกันอินเดียได้นำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เป็น 373,043 ตัน และเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 เป็น 118,482 ตันตามลำดับ อินเดียซื้อน้ำมันถั่วเหลืองจากบราซิล และซื้อน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวันจากยูเครนและรัสเซีย คาดว่าอินเดียจะนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนหน้า เนื่องจากรัฐบาลอนุญาตให้นำเข้าโดยปลอดภาษีได้ในปริมาณ 2 ล้านตัน.-สำนักข่าวไทย

อินโดนีเซียเลิกห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มแต่นโยบายยังไม่ชัดเจน

จาการ์ตา 23 พ.ค.- อินโดนีเซียยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มในวันนี้ แต่ผู้ค้าและบริษัทต่าง ๆ ยังคงรอรายละเอียดที่ชัดเจนในการปฏิบัติตามระเบียบการควบคุมปริมาณน้ำมันปาล์มปรุงอาหารให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศภายใต้ราคาควบคุม ประธานาธิบดีโจโก วิโดโดของอินโดนีเซียประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อนเรื่องยกเลิกคำสั่งห้ามออกส่งน้ำมันปาล์มดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูปบางอย่าง เพราะมั่นใจว่าราคาน้ำมันปรุงอาหารในประเทศจะลดลงสู่ระดับเป้าหมายที่ลิตรละ 14,000 รูเปียห์ (ราว 32.72 บาท) แม้ว่าราคาเมื่อวันศุกร์ยังอยู่ที่ลิตรละ 17,000 รูเปียห์ (ราว 39.73 บาท) โดยใช้นโยบายข้อบังคับตลาดในประเทศหรือดีเอ็มโอ (DMO) ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์จำนวนหนึ่งภายในประเทศในราคาที่กำหนดไว้ นายไอร์ลังกา ฮาร์ตาร์โต รัฐมนตรีกระทรวงประสานงานเศรษฐกิจเผยว่า รัฐบาลกำหนดให้ต้องมีน้ำมันปรุงอาหารในประเทศ 10 ล้านตัน โดยให้กระทรวงการค้าเป็นผู้กำกับดูแล อย่างไรก็ดี ผู้ค้ายังคงรอทางการประกาศรายละเอียดดีเอ็มโอและระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในวันนี้ น้ำมันปาล์มเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์หลายอย่าง และเป็นน้ำมันปรุงอาหารถึง 1 ใน 3 ของโลก อินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดราวร้อยละ 60 ของโลก งดส่งออกตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน หวังดึงราคาในประเทศให้ลดลง แต่กระทบต่อราคาในตลาดโลกที่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันเมล็ดทานตะวันขาดแคลนเพราะสงครามยูเครน.-สำนักข่าวไทย

อินโดนีเซียจะเลิกการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มในวันจันทร์

ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซียประกาศว่า อินโดนีเซียจะยกเลิกมาตรการห้ามการส่งออกน้ำมันปาล์มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป หลังจากใช้นโยบายนี้มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 เมษายน เพื่อควบคุมราคาน้ำมันพืชสำหรับปรุงอาหารที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น แต่จะประกาศใช้ข้อกำหนดในการจำหน่ายน้ำมันปาล์มในประเทศ

ไทย เฉือน อินโดนีเซีย 1-0 ลุ้นแชมป์สมัยที่ 17

“วีระเทพ ป้อมพันธุ์” ฮีโร่ซัดประตูชัยในช่วงต่อเวลาพิเศษ ช่วยให้ขุนพลช้างศึกทีมชาติไทย เฉือนชนะ อินโดนีเซีย 1-0 ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศฟุตบอลชายไปลุ้นแชมป์สมัยที่ 17

เกษตรกรอินโดนีเซียร้อง รบ. เลิกสั่งระงับส่งออกน้ำมันปาล์ม

จาการ์ตา 17 พ.ค. – เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันอินโดนีเซียหลายร้อยคนออกมาชุมนุมในกรุงจาการ์ตาและอีกหลายเมือง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกคำสั่งระงับส่งออกน้ำมันปาล์มไปต่างประเทศ ซึ่งทำให้เกษตรกรมีรายได้น้อยลง สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานวันนี้ว่า เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันอินโดนีเซียหลายร้อยคนได้มาชุมนุมหน้ากระทรวงประสานงานกิจการเศรษฐกิจของอินโดนีเซียพร้อมด้วยรถกระบะบรรทุกทะลายปาล์ม ผู้ชุมนุมถือป้ายประท้วงที่มีข้อความว่า “เกษตรกรมาเลเซียได้ผลประโยชน์ในขณะที่เกษตรกรอินโดนีเซียต้องทุกข์ทรมาน” เนื่องจากมาเลเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่อันดับสองของโลก รองจากอินโดนีเซีย และตั้งเป้าส่งออกน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยสัดส่วนที่หายไปหลังอินโดนีเซียประกาศระงับส่งออกน้ำมันปาล์มตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน สมาคมเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันของชาวอินโดนีเซีย (APKASINDO) ระบุในแถลงการณ์ว่า ราคาปาล์มน้ำมันในประเทศร่วงกว่าร้อยละ 70 และต่ำกว่าราคาขั้นต่ำที่ทางการท้องถิ่นกำหนดไว้ สมาคมฯ ยังคาดการณ์ว่า โรงงานรับซื้อปาล์มน้ำมันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ได้หยุดซื้อปาล์มน้ำมันจากเกษตรกรรายย่อยแล้ว นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังวางแผนเดินทางไปชุมนุมหน้าทำเนียบประธานาธิบดีอินโดนีเซีย รวมถึงจัดการชุมนุมในอีก 22 จังหวัดทั่วประเทศ ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย ประกาศระงับส่งออกน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด หลังจากล้มเหลวในการใช้นโยบายต่าง ๆ เพื่อควบคุมปัญหาราคาสินค้าครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ผลสำรวจล่าสุดของ Indikator Politik Indonesia พบว่า ประธานาธิบดีวิโดโดมีคะแนนนิยมลดเหลือเพียงร้อยละ 58.1 ในเดือนนี้หลังเผชิญกับปัญหาสินค้าราคาแพง ต่ำที่สุดนับจากเดือนธันวาคม 2558 ที่มีคะแนนนิยมเพียงร้อยละ 53 ด้านรัฐมนตรีกระทรวงประสานงานกิจการเศรษฐกิจของอินโดนีเซียเผยว่า รัฐบาลจะใช้คำสั่งห้ามส่งออกปาล์มน้ำมัน […]

1 27 28 29 30 31 139
...