fbpx

กมธ.ดีอีเอสถกนาซ่าหารือแนวทางพัฒนากิจการอวกาศ

“กมธ.ดีอีเอส” ถก “นาซ่า” หารือแนวทางพัฒนากิจการอวกาศ พร้อมเชิญเยือนไทย 25 ม.ค. ลงพื้นที่สำรวจห้องปฏิบัติการเวียงป่าเป้า แลกเปลี่ยนความรู้ทางโทคโนโลยี-วิชาการ นำไปทำแผนสู่อนาคต

ทีมนักบินอวกาศจีน ‘รวมตัวในอวกาศ’ ครั้งประวัติศาสตร์

ปักกิ่ง, 30 พ.ย. (ซินหัว) — วันพุธ (30 พ.ย.) ทีมนักบินอวกาศจีนสามคนประจำภารกิจยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมเสินโจว-15 (Shenzhou-15) ได้เข้าสู่สถานีอวกาศจีน และพบปะกับทีมนักบินอวกาศอีกสามคน ซึ่งนับเป็นการรวมตัวครั้งประวัติศาสตร์ที่เพิ่มบุคลากรประจำห้องปฏิบัติการอวกาศในวงโคจรเป็น 6 คนครั้งแรก เฉินตง ผู้บัญชาการภารกิจเสินโจว-14 เปิดประตูสถานีอวกาศตอน 07.33 น. ตามเวลาปักกิ่ง โดยนักบินอวกาศทั้งสามบนสถานีอวกาศทักทายและมอบกอดอันอบอุ่นแก่นักบินที่เพิ่งเดินทางมาถึง พร้อมถ่ายรูปหมู่ชูนิ้วโป้งและตะโกนพร้อมกันว่า “สถานีอวกาศจีนคุ้มค่าแก่การรอคอยเสมอ” องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน ระบุว่าการพบปะรวมตัวกันครั้งนี้ได้เปิดฉากการผลัดเปลี่ยนนักบินในวงโคจรบนสถานีอวกาศจีนเป็นครั้งแรก โดยคาดว่านักบินอวกาศทั้งหกจะใช้ชีวิตและทำงานร่วมกันราว 5 วัน เพื่อปฏิบัติพันธกิจที่กำหนดและส่งต่องาน- สำนักข่าวซินหัว 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://www.news.cn/photo/2022-11/30/c_1129172760.htmคลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20221130/3b3032b3a7f7443e91b4e153f453c3e8/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/323495_20221130ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเผยโฉมทีมนักบินอวกาศ ‘เสินโจว-15’ สร้างสถานีอวกาศขั้นสุดท้าย

วันจันทร์ (28 พ.ย.) องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน เปิดเผยทีมนักบินอวกาศประจำภารกิจเสินโจว-15 (Shenzhou-15) ได้แก่ เฟ่ยจวิ้นหลง เติ้งชิงหมิง และจางลู่ โดยเฟ่ยจะรับหน้าที่ผู้บัญชาการ

จีนเผย 10 ความท้าทายวิทยาศาสตร์ด้าน ‘การบินในอวกาศ’

ไห่โข่ว, 22 พ.ย. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรด้านอวกาศของจีน เผยแพร่ความท้าทายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10 ประการ สำหรับสาขาการบินในอวกาศ ประจำปี 2022 ที่การประชุมว่าด้วยอวกาศของจีน (China Space Conference) ซึ่งจัดขึ้นนาน 4 วัน ณ นครไห่โข่ว เมืองเอกของมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน รายการความท้าทายดังกล่าว ประกอบด้วยพลังงานจากพลวัตของจักรวาล (cosmic dynamics) การค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่อาศัยอยู่ได้และสัญญาณของสิ่งมีชีวิต เทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับระบบขนส่งอวกาศแบบกระสวย การสังเกตการณ์และการป้องกันดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก และการพัฒนาวัสดุสังเคราะห์แสงประดิษฐ์สำหรับการยังชีพนอกโลก เทคโนโลยีการถ่ายโอนพลังงานสูงแบบไร้สายระยะไกล การก่อสร้างบนพื้นผิวดวงจันทร์โดยใช้ตะกอนฝุ่นหิน (regolith) การควบคุมเครื่องบินข้ามสื่อ การทำงานร่วมบนกลุ่มดาวในอวกาศแบบอัตโนมัติและใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการคาดการณ์วิวัฒนาการสนามการไหลของบรรยากาศชั้นบนโลกที่มีความแม่นยำสูง ถูกรวมเป็นความท้าทายในการสำรวจอวกาศเช่นกัน หวังเวย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศแห่งประเทศจีน ประกาศรายการความท้าทายดังกล่าวผ่านทางระบบวิดีโอระหว่างการประชุมฯ ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันจันทร์ (21 พ.ย.) หวังกล่าวว่า การปฏิวัติเทคโนโลยีรอบใหม่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานใหม่ วัสดุใหม่ และความฉลาดทางดิจิทัล กำลังยกระดับการขับเคลื่อนในภูมิทัศน์อวกาศระดับโลก โดยรายการความท้าทายเหล่านี้จะมีบทบาทสนับสนุนการวิจัยของจีนด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และความก้าวหน้าต่างๆ ในโครงการด้านวิศวกรรม -สำนักข่าวซินหัว […]

ญี่ปุ่นสั่งทำลายจรวดหลังไม่สามารถบินได้อย่างปลอดภัย

โตเกียว 12 ต.ค. – องค์การสำรวจอวกาศของญี่ปุ่น (JAXA) ระบุว่า ได้ตัดสินใจใช้คำสั่งระเบิดทำลายตัวเองของจรวด ‘เอปซิลอน’ (Epsilon) หลังประสบความล้มเหลวในการปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศในวันนี้ เนื่องจากพบปัญหาที่ทำให้จรวดไม่สามารถทำการบินได้อย่างปลอดภัย เจ้าหน้าที่องค์การสำรวจอวกาศของญี่ปุ่นกล่าวผ่านโทรทัศน์ในวันนี้ว่า องค์การสำรวจอวกาศของญี่ปุ่นได้ตัดสินใจใช้คำสั่งระเบิดทำลายตัวเองของจรวดเอปซิลอน เนื่องจากจรวดดังกล่าวไม่สามารถทำการบินได้อย่างปลอดภัย และอาจทำให้เกิดอันตรายได้ในกรณีที่ตกลงสู่พื้นโลก แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวในตอนนี้ จรวดเอปซิลอน ซึ่งไม่มีนักบินประจำการและอยู่ในระหว่างปฏิบัติภารกิจครั้งที่ 6 ทำหน้าที่ส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรโลกเพื่อทดสอบเทคโนโลยีด้านนวัตกรรม ทั้งนี้ องค์การสำรวจอวกาศของญี่ปุ่นตัดสินใจใช้คำสั่งระเบิดทำลายจรวดเอปซิลอนหลังจากที่ยิงจรวดขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ราว 10 นาที บรรษัทกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งญี่ปุ่น หรือเอ็นเอชเค รายงานว่า การตัดสินใจทำลายจรวดเอปซิลอนถือเป็นความล้มเหลวในการยิงจรวดของญี่ปุ่นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งเป็นครั้งที่ญี่ปุ่นตัดสินใจยกเลิกการส่งดาวเทียมสอดแนมคู่เพื่อจับตาดูเกาหลีเหนือ.-สำนักข่าวไทย

เกาหลีใต้ปล่อยยานโคจรรอบดวงจันทร์ลำแรกสู่อวกาศ

โซล 5 ส.ค. – เกาหลีใต้ปล่อยยานโคจรรอบดวงจันทร์ลำแรกขึ้นสู่อวกาศจากสถานีอวกาศแหลมคะแนเวอรัลในรัฐฟลอริดาของสหรัฐเมื่อวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาในเกาหลีใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของเกาหลีใต้ระบุในแถลงการณ์ว่า เกาหลีใต้ได้ปล่อยยานโคจรรอบดวงจันทร์ชื่อ ‘ทานูรี’ (Danuri) ซึ่งมีความหมายว่า ‘เพลิดเพลินกับดวงจันทร์’ ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ ยานลำนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยสถาบันวิจัยการบินและอวกาศของเกาหลีใต้ (KARI) และมีน้ำหนัก 678 กิโลกรัม กระทรวงฯ คาดว่ายานดังกล่าวจะเดินทางถึงวงโคจรของดวงจันทร์ในเดือนธันวาคมนี้ และจะปฏิบัติภารกิจสำรวจดวงจันทร์เป็นเวลา 1 ปีเกี่ยวกับการหาจุดลงจอดที่เป็นไปได้สำหรับภารกิจสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต ศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของดวงจันทร์ และทดสอบการใช้เทคโนโลยีระบบอินเทอร์เน็ตในอวกาศ ทั้งนี้ หากภารกิจในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ 7 ของโลกที่ส่งยานโคจรรอบดวงจันทร์ และเป็นประเทศที่ 4 ของทวีปเอเชียต่อจากจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า การปล่อยยานโคจรรอบดวงจันทร์ดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่เกาหลีใต้กำลังเร่งพัฒนาโครงการอวกาศและตั้งเป้าส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ให้ได้ภายในปี 2573 ก่อนหน้านี้ เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการส่งจรวด ‘นูรี’ (Nuri) ที่พัฒนาเอง ขึ้นสู่อวกาศในเดือนมิถุนายน ซึ่งนับเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ด้านโครงการอวกาศของเกาหลีใต้. -สำนักข่าวไทย

เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดและดาวเทียม

เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้กล่าววันนี้ว่า การทดสอบปล่อยจรวดอวกาศ “นูรี” ที่เกาหลีใต้พัฒนาขึ้นเอง ครั้งที่ 2 ประสบความสำเร็จด้วยดีและยังสามารถบรรลุเป้าหมายในการปล่อยดาวเทียมหลายดวงในวงโคจรได้ด้วย ถือเป็นก้าวสำคัญของเกาหลีในการเดินหน้าโครงการอวกาศหลังจากการทดสอบครั้งก่อนหน้าเมื่อปีที่แล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ

เกาหลีใต้เตรียมปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศครั้งที่ 2

เกาหลีใต้เตรียมทดสอบปล่อยจรวดที่ผลิตขึ้นเองในประเทศที่ชื่อ “นูรี” ขึ้นสู่อวกาศในวันนี้ หลังจากที่เมื่อ 8 เดือนก่อน เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการทดสอบปล่อยจรวดอวกาศ แต่สำเร็จไม่เต็ม 100 เนื่องจากไม่สามารถปล่อยดาวเทียมจำลองเข้าสู่วงโคจรในอวกาศ

จีนส่งนักบินอวกาศขึ้นไปสถานีอวกาศที่จะสร้างเสร็จสิ้นปีนี้

ปักกิ่ง 5 มิ.ย.- จีนส่งนักบินอวกาศ 3 คนขึ้นไปยังสถานีอวกาศเพื่อปฏิบัติภารกิจเป็นเวลา 6 เดือนเพื่อดูแลการก่อสร้างสถานีอวกาศในช่วงเวลาสำคัญ ก่อนที่จะสร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปีนี้ สถานีโทรทัศน์ทางการจีนถ่ายทอดสดภาพจรวดลองมาร์ช-2เอฟทะยานขึ้นจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียนในทะเลทรายโกบี เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเมื่อเวลา 10:44 น.วันนี้ตามเวลาในจีน ตรงกับเวลา 09:44 น.วันนี้ตามเวลาในไทย พร้อมกับยานอวกาศเสินโจว-14 และนักบินอวกาศ 3 คน เพื่อปฏิบัติภารกิจในสถานีอวกาศเป็นเวลา 180 วัน โดยจะดูแลการเชื่อมต่อโมดูลห้องทดลองปฏิบัติการ 2 โมดูลกับโมดูลหลัก ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งในและนอกสถานีอวกาศ และทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ นักบินอวกาศชุดนี้แถลงเมื่อวานนี้ว่า ยานเสินโจว-14 มีภารกิจสำคัญต่อการสร้างสถานีอวกาศจีน ซึ่งจะยากเย็นและท้าทายมากกว่าที่เคย มีกำหนดกลับถึงโลกในเดือนธันวาคมเมื่อนักบินอวกาศชุดใหม่เดินทางมาสลับเปลี่ยนพร้อมกับยานอวกาศเสินโจว-15 สถานีอวกาศจีนมีขนาดเพียง 1 ใน 5 ของสถานีอวกาศนานาชาติหรือไอเอสเอส (ISS) เริ่มการก่อสร้างในเดือนเมษายนปี 2564 ด้วยการส่งเทียนเหอ ซึ่งเป็นโมดูลหลักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา 3 โมดูลขึ้นไปก่อน ส่วนเวิ่นเทียน ซึ่งเป็นโมดูลห้องทดลองปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งมีชีวิต และเมิ่งเทียน ซึ่งเป็นโมดูลห้องทดลองปฏิบัติการด้านสภาวะไร้น้ำหนักจะส่งขึ้นไปในเดือนกรกฎาคมและตุลาคมปีนี้ตามลำดับ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จสถานีอวกาศจีนจะมีรูปทรงเป็นตัวอักษรที (T) ในภาษาอังกฤษ มีห้องทดลองปฏิบัติการขนาดเล็กมากถึง 25 […]

จีนวางแผนใช้ระบบป้องกันดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก

ปักกิ่ง 25 เม.ย.-จีนวางแผนพัฒนาระบบเฝ้าระวังดาวเคราะห์น้อยที่เป็นภัยคุกคามต่อโลกเพื่อป้องกันดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก โดยคาดว่าจะส่งยานอวกาศขึ้นไปสกัดดาวเคราะห์น้อยได้ในปี 2568 หรือ 2569 เพื่อศึกษาและเปลี่ยนวงโคจรของดาวเหล่านี้ สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานอ้างบทสัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ของนายหวู่ หยานหัว รองผู้อำนวยการองค์การอวกาศแห่งชาติของจีนว่า จีนกำลังศึกษาหาวิธีกำจัดดาวเคราะห์น้อยที่เป็นภัยคุกคามต่อโลก และคาดว่าจะทดสอบระบบป้องกันดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกด้วยการส่งยานอวกาศขึ้นไปสกัดดาวเคราะห์น้อยได้ในปี 2568 หรือ 2569 เพื่อศึกษาและเปลี่ยนวงโคจรของดาวเหล่านี้ แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเปลี่ยนวงโคจร ขณะนี้ จีนได้เดินหน้าแผนการเกี่ยวกับโครงการด้านอวกาศจำนวนมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นายหวู่ยังระบุว่า จีนได้ลงนามในข้อตกลงกับรัสเซียเมื่อเดือนมกราคมเพื่อสร้างสถานีวิจัยบนดวงจันทร์ร่วมกัน ส่วนเมื่อปีที่แล้วภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของจีนได้เดินทางกลับสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัยพร้อมด้วยตัวอย่างวัตถุที่เก็บมาจากดวงจันทร์ อย่างไรก็ดี โครงการด้านอวกาศที่ก้าวหน้าของจีนได้ทำให้ความสัมพันธ์ของจีนกับสหรัฐตึงเครียดมากขึ้น โดยที่จีนเคยกล่าวหาว่า ฝูงดาวเทียมของบริษัทสเปซเอ็กซ์ของอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน มีวงโคจรเข้าใกล้สถานีอวกาศของจีนจนทำให้จีนต้องปรับตำแหน่งของสถานีอวกาศเพื่อหลบการชนกับฝูงดาวเทียมดังกล่าว ขณะที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐเผยเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ว่า จีนกับรัสเซียยังคงพยายามใช้อาวุธโจมตีฝูงดาวเทียมของสหรัฐอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซา ได้ติดตั้งระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยดาวเคราะห์น้อยด้วยกล้องโทรทรรศน์ไว้ที่รัฐฮาวายของสหรัฐ ชิลี และแอฟริกาใต้ และเพิ่งได้รับการปรับปรุงระบบใหม่ในช่วงต้นปีนี้เพื่อให้สามารถตรวจสอบท้องฟ้าสำเร็จทุก ๆ 24 ชั่วโมง. -สำนักข่าวไทย

รัสเซียว่าความร่วมมือด้านอวกาศจะเกิดขึ้นเมื่อเลิกลงโทษ

นายดิมิทรี โรโกซิน ผู้อำนวยการองค์การด้านอวกาศ “รอสคอสมอส” ของรัสเซียกล่าววันนี้ว่า การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ฉันท์ปกติระหว่างหุ้นส่วนในสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ไอเอสเอสและโครงการร่วมด้าอวกาศอื่น ๆ จะกลับมาเป็นไปได้อีกครั้งเมื่อชาติตะวันตกยกเลิกมาตรการลงโทษรัสเซียแล้วเท่านั้น

1 2 3 4 5 6
...