ชี้การค้นหายานใต้น้ำเวิ้งว้างราวกับอยู่ในอวกาศ

ลอสแอนเจลิส 21 มิ.ย.- ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การค้นหายานใต้น้ำที่สูญหายไปขณะพาคนไปชมซากเรือไททานิคใต้มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือมีความยากลำบากและเวิ้งว้างราวกับอยู่ในอวกาศ ทีมค้นหาจากหลายประเทศกำลังเร่งแข่งกับเวลาในการหาทางระบุตำแหน่งของยานใต้น้ำไททัน (Titan) ที่มีขนาดพอ ๆ กับวาฬเพชรฆาต เนื่องจากออกซิเจนในยานซึ่งใช้ได้ 96 ชั่วโมงสำหรับคน 5 คน มีแนวโน้มจะหมดในอีก 1 วันครึ่ง ยานเริ่มลงไปในใต้น้ำตั้งแต่วันอาทิตย์ตามเวลาสหรัฐ และขาดการติดต่อไปในอีก 2 ชั่วโมงถัดมา นายทิม มัลติน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเรือไททานิคให้สัมภาษณ์เอ็นบีซี นิวส์ นาว ว่า การค้นหาอย่างละเอียดในน่านน้ำเป้าหมาย 20,000 ตารางกิโลเมตรของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือที่ระดับความลึกกว่า 3.2 กิโลเมตร ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะก้นมหาสมุทรมีแต่ความมืดและหนาวเย็น เต็มไปด้วยโคลนและมีสภาพเป็นลอนคลื่น มองไม่เห็นแม้กระทั่งมือที่อยู่ตรงหน้า เป็นความเวิ้งว้างราวกับอยู่ในอวกาศ หัวหน้าหน่วยยามฝั่งสหรัฐที่ประสานงานปฏิบัติการค้นหาเผยว่า เป็นภารกิจที่ยากอย่างเหลือเชื่อและเกินกว่าที่หน่วยยามฝั่งเคยรับมือมาก่อน เนื่องจากหน่วยยามฝั่งซึ่งปกติทำหน้าที่ประสานงานในการค้นหาและกู้ภัย ไม่มีความชำนาญและอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการค้นหาที่มีความซับซ้อนในลักษณะนี้ ต้องอาศัยหลายหน่วยงานที่มีความชำนาญด้านนี้และอุปกรณ์พิเศษ ทีมค้นหาได้ใช้เครื่องบินลำเลียงซี-130 ค้นหาบนผิวน้ำด้วยสายตาและเรดาร์ ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องบินพี3 ค้นหาใต้ผิวน้ำด้วยทุ่นโซนาร์ที่หย่อนลงไป แต่จนถึงขณะนี้ยังคงไม่เป็นผล นักวิชาการด้านนิติธรณีวิทยาของอังกฤษชี้ว่า หากยานใต้น้ำจมอยู่บนก้นมหาสมุทรก็จะสังเกตเห็นได้ยากมาก เนื่องจากก้นมหาสมุทรไม่ใช่พื้นที่ราบ แต่เต็มไปด้วยเนินเขาและหุบเขา นอกจากนี้ก้นมหาสมุทรที่ระดับความลึก 4 กิโลเมตรยังมีแรงกดดันมหาศาลมากถึง […]

ประมวลบรรยากาศพิธีส่ง “นักบินอวกาศจีน” ปฏิบัติภารกิจเสินโจว-16

จิ่วเฉวียน, 30 พ.ค. (ซินหัว) — ชมบรรยากาศพิธีส่งตัวทีมนักบินอวกาศจีนประจำภารกิจอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมเสินโจว-16 (Shenzhou-16) จำนวน 3 คน ได้แก่ จิ่งไห่เผิง จูหยางจู้ และกุ้ยไห่เฉา ณ ศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียนทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ในช่วงเช้าของวันอังคาร (30 พ.ค.) – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230530/b675b3f87cec410f90f628570d071545/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/360930_20230530ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนเล็งสร้าง “ยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์” แบบมีคนขับคันแรก

ปักกิ่ง, 29 พ.ค. (ซินหัว) — วันจันทร์ (29 พ.ค.) องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน ประกาศการเปิดรับข้อเสนอเกี่ยวกับยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมคันแรกของประเทศ ซึ่งจะขับเคลื่อนโดยนักบินอวกาศ 2 คน ที่เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจเยือนดวงจันทร์ภายในปี 2030 การออกแบบภารกิจปัจจุบันบ่งชี้ว่ายานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมจะมีหลายหน้าที่ เช่น การขับเคลื่อนแบบมีมนุษย์ควบคุม การเคลื่อนที่บนพื้นผิวดวงจันทร์ การสนับสนุนด้านการระบุตำแหน่ง รวมถึงความช่วยเหลือด้านความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยทีมนักบินอวกาศด้านการเคลื่อนไหว การสื่อสาร การสำรวจ และอื่นๆ องค์การฯ เปิดรับข้อเสนอจากสาธารณชนและจะคัดเลือกทีมที่ดีที่สุดเพื่อพัฒนาต้นแบบยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์แบบมีมนุษย์ควบคุมคันแรกของประเทศ เพื่อรวบรวมทรัพยากรคุณภาพสูงจากภาคสังคม สำรวจวิธีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เหมาะสม และปรับปรุงประสิทธิภาพของยานดังกล่าว อนึ่ง ข้อเสนอควรครอบคลุมการสาธิตตามข้อกำหนดของพันธกิจ การออกแบบแผนการโดยรวม เทคโนโลยีหลักที่สำคัญ การออกแบบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ กระบวนการพัฒนา การรับประกันคุณภาพและกำหนดการ รูปแบบธุรกิจ ตลอดจนการยื่นขอเงินทุน-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230529/df2086f044354b6b9c8d4137b4008356/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/360873_20230529ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนส่งพลเรือนคนแรกขึ้นสู่อวกาศแล้ว

จิ่วเฉวียน 30 พ.ค.- จีนส่งนักบินอวกาศ 3 คน ขึ้นสู่อวกาศเพื่อมุ่งหน้าไปยังสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong) ของจีนแล้วในเช้าวันนี้ หนึ่งในนั้นเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้เดินทางไปยังอวกาศ อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ภายในสิ้นคริสต์ทศวรรษนี้ จวดลองมาร์ช ทูเอฟ (Long March 2F) นำยานอวกาศเสินโจว-16 (Shenzhou-16) ทะยานขึ้นจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเมื่อเวลา 09:31 น.วันนี้ตามเวลาจีน ตรงกับเวลา 08:31 น.วันนี้ตามเวลาไทย ผู้อำนวยการศูนย์ฯ แจ้งว่า การปล่อยจรวดประสบความสำเร็จด้วยดี นักบินอวกาศทั้งหมดปลอดภัยดี ประกอบด้วยนายจิ่ง ไห่เผิง ผู้บัญชาการภารกิจที่ปฏิบัติภารกิจเป็นครั้งที่ 4 นายจู หยางจู้ วิศวกรที่เป็นลูกเรือคนที่ 3 และนายกุ้ย ไห่เฉา อาจารย์มหาวิทยาลัยการบินและอวกาศปักกิ่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้ขึ้นสู่อวกาศ ยานอวกาศเสินโจวจะเชื่อมต่อกับเทียนเหอ (Tianhe) ซึ่งเป็นโมดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนกง เพื่อนำนักบินอวกาศทั้ง 3 คนไปปฏิบัติภารกิจเสินโจว-16 ต่อจากนักบินอวกาศ 3 คนที่จะเดินทางกลับโลกในอีกไม่กี่วัน หลังจากปฏิบัติภารกิจเสินโจว-15 อยู่นาน 6 เดือน นักบินอวกาศชุดใหม่จะทำการทดลองขนาดใหญ่ในวงโคจร […]

จีนจะส่งพลเรือนขึ้นอวกาศเป็นคนแรก

ปักกิ่ง 29 พ.ค.- องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีนจะส่งนักบินอวกาศที่เป็นพลเรือนขึ้นสู่อวกาศเป็นคนแรก โดยร่วมไปกับคณะที่จะไปปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong) โฆษกสำนักงานอวกาศจีนเผยกับสื่อในวันนี้ว่า นายกุ้ย ไห่เฉา ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยการบินและอวกาศปักกิ่ง เขามีหน้าที่รับผิดชอบหลักเรื่องการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในอวกาศขณะอยู่ในวงโคจร ถือเป็นพลเรือนคนแรกที่จะได้ขึ้นสู่อวกาศ เพราะที่ผ่านมานักบินอวกาศจีนล้วนเป็นทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ส่วนผู้บัญชาการภารกิจคือ นายจิ่ง ไห่เผิง และลูกเรือคนที่ 3 คือ นายจู หยางจู้ ทั้งหมดจะเดินทางขึ้นจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน (Jiuquan Satellite Launch Centre) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนไปพร้อมกับยานเสินโจว-16 (Shenzhou-16) ในเวลา 09:31 น.วันที่ 30 พฤษภาคมตามเวลาจีน ตรงกับเวลา 08:31 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนเดินหน้าผลักดันโครงการด้านอวกาศอย่างจริงจัง โดยได้ทุ่มลงทุนให้แก่โครงการอวกาศที่กองทัพเป็นผู้ดำเนินการ และคาดหวังว่าจะสามารถส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ได้ในที่สุด ซึ่งจะทำให้จีนเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ต่อจากสหรัฐและรัสเซีย นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายจะสร้างฐานบนดวงจันทร์ และคาดว่าจะเริ่มส่งนักบินอวกาศไปปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับดวงจันทร์ได้ภายในปี 2572.-สำนักข่าวไทย

จีนเผยชุดภาพสี “ดาวอังคาร” ทั้งดวงครั้งแรก

เหอเฝย, 25 เม.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันจันทร์ (24 เม.ย.) องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ร่วมกันเผยแพร่ชุดภาพดาวอังคารทั้งดวงที่ได้จากภารกิจสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีน ชุดภาพสีของดาวอังคารข้างต้นถูกเผยแพร่ ณ พิธีเปิดวันอวกาศจีน (Space Day of China) ในนครเหอเฝย เมืองเอกของมณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน ภาพเหล่านี้ประกอบด้วยการฉายภาพซีกตะวันออกและตะวันตกของดาวอังคาร เส้นโครงแผนที่แบบโรบินสันของดาวอังคาร รวมถึงเส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์และเส้นโครงแผนที่คงทิศทางของดาวอังคาร ซึ่งถูกประมวลผลตามมาตรฐานการจัดทำแผนที่ความละเอียดเชิงพื้นที่ 76 เมตร องค์การฯ ระบุว่าภาพเหล่านี้อ้างอิงจากข้อมูลภาพ 14,757 ภาพ ซึ่งได้มาจากกล้องบันทึกภาพการสำรวจระยะไกลบนยานโคจรเทียนเวิ่น-1 ระยะ 8 เดือน นับจากเดือนพฤศจิกายน 2021 จนถึงกรกฎาคม 2022 อนึ่ง ภารกิจเทียนเวิ่น-1 ประกอบด้วยยานโคจร ยานลงจอด และยานสำรวจพื้นผิว ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศวันที่ 23 ก.ค. 2020 และเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารหลังจากเดินทางนาน 202 วัน ยานลงจอดที่บรรทุกยานสำรวจพื้นผิวจู้หรงได้ลงจอดบนดาวอังคาร วันที่ 15 พ.ค. 2021 […]

จีนโชว์เทคโนโลยีปลูก “ผักจากอวกาศ” ในซานตง

โซ่วกวง, 22 เม.ย. (ซินหัว) — สวนผักจำลองสภาพแวดล้อมในอวกาศ เช่น การแผ่รังสีระดับรุนแรง สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ และสุญญากาศขั้นสูง ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพืชผักนานาชาติจีน ครั้งที่ 24 เมืองโซ่วกวง ฐานเพาะปลูกผักแห่งสำคัญในมณฑลซานตงทางตะวันออกของจีน เปิดม่านงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพืชผักนานาชาติจีน ครั้งที่ 24 เมื่อวันพฤหัสบดี (20 เม.ย.) ที่ผ่านมา ผู้คนที่แวะเวียนมาชมงานมหกรรมฯ ให้ความสนใจกับสวนผักที่จำลองสภาพแวดล้อมในอวกาศอย่างมาก หม่าจุนเจวียน เจ้าหน้าที่งานมหกรรมฯ ระบุว่า “แคปซูลอวกาศ” นี้ได้จำลองสภาพพิเศษในอวกาศ เช่น การแผ่รังสีระดับรุนแรง สภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ และสุญญากาศขั้นสูง โดยมีการนำพืชผักมาปลูกภายใต้สภาวะเหล่านี้ สวนผักนี้ยังใช้แสงแดดเทียม เทคโนโลยีการเพาะปลูกไร้ดิน การควบคุมสภาพแวดล้อมอัจฉริยะ และเทคโนโลยีอื่นๆ โดยมีการนำเมล็ดพันธุ์ผักที่ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเพื่อทดสอบการขยายพันธุ์มาปลูกที่สวนด้วย อนึ่ง จีนทำการทดลองขยายพันธุ์พืชในอวกาศครั้งแรกในปี 1987 โดยส่งเมล็ดพืชไปกับดาวเทียมและส่งกลับมายังโลกหลังจากได้รับรังสีคอสมิก นับตั้งแต่นั้นเมล็ดพันธุ์พืชหลายร้อยชนิดก็ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศพร้อมกับดาวเทียมและยานอวกาศเสินโจว (Shenzhou) ที่สามารถเก็บกู้ชิ้นส่วนได้ – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230421/f311468ab8b1489a9e98f0ddbf80ae08/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/353368_20230423ขอบคุณภาพจาก Xinhua

รัสเซียฉายรอบปฐมทัศน์ภาพยนตร์ถ่ายทำในอวกาศเรื่องแรก

มอสโก 20 เม.ย.- โรงภาพยนตร์ในรัสเซียเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในอวกาศเป็นเรื่องแรกแล้วในวันนี้ แซงหน้าวงการฮอลลีวูดของสหรัฐที่ประกาศเมื่อหลายปีก่อนว่าจะถ่ายทำภาพยนตร์ในอวกาศ ภาพยนตร์เรื่องเดอะชาเลนจ์ (The Challenge) เป็นเรื่องราวของศัลยแพทย์คนหนึ่งที่ถูกส่งขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติหรือไอเอสเอส (ISS) เพื่อรักษานักบินอวกาศบาดเจ็บคนหนึ่ง รัสเซียส่งนักแสดงหญิงและผู้กำกับภาพยนตร์ขึ้นไปถ่ายทำที่ไอเอสเอสเป็นเวลา 12 วันในเดือนตุลาคม 2564 และเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ในวันนี้ แซงหน้าโครงการที่ทอม ครูซ นักแสดงชาวอเมริกันจากภาพยนตร์หลายภาคเรื่องมิชชั่น อิมพอสซิเบิ้ล (Mission Impossible) องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซา และสเปซเอ็กซ์ของอีลอน มัสก์ ประกาศในปี 2563 ว่าจะถ่ายทำภาพยนตร์ในอวกาศ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียกล่าวว่า รัสเซียเป็นประเทศแรกที่ถ่ายทำภาพยนตร์ในอวกาศบนยานอวกาศ ถือเป็นการทำสิ่งที่เป็นครั้งแรกอีกแล้ว ซึ่งหมายถึงเรื่องที่รัสเซียบุกเบิกการเดินทางไปอวกาศตั้งแต่สมัยเป็นสหภาพโซเวียต ยูเลีย เปเรซิลด์ นักแสดงหญิงวัย 38 ปี และคลิม ชีเปนโก ผู้กำกับวัย 39 ปี ผ่านการฝึกนาน 4 เดือนก่อนขึ้นสู่อวกาศด้วยยานอวกาศโซยุซไปพร้อมกับนักบินอวกาศ 1 คน แคปซูลที่นำพวกเขากลับมาถึงพื้นโลกถูกนำมาจัดแสดงที่ใจกลางกรุงมอสโก ภาพยนตร์เรื่องนี้บันทึกภาพมาโดยมีความยาวทั้งหมด 30 ชั่วโมง แต่ตัดต่อเหลือความยาวสำหรับฉายเพียง 50 นาทีเท่านั้น.-สำนักข่าวไทย

จรวด “ลองมาร์ช-11” ฝีมือจีน ทะยานสู่อวกาศสำเร็จ

ปักกิ่ง, 16 มี.ค. (ซินหัว) — สถาบันเทคโนโลยีจรวดขนส่งแห่งชาติจีน สังกัดบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศแห่งประเทศจีน เปิดเผยว่าจรวดขนส่งลองมาร์ช-11 (Long March-11) ของประเทศ ประสบความสำเร็จในการเดินทางสู่อวกาศติดต่อกัน 16 ครั้ง เมื่อนับถึงวันพุธ (15 มี.ค.) ที่ผ่านมา สถาบันฯ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาจรวดของจีน ระบุว่าจรวดลองมาร์ช-11 ได้ขนส่งดาวเทียมทดลองซื่อเยี่ยน-19 (Shiyan-19) ขึ้นสู่อวกาศเมื่อช่วงค่ำวันพุธ (15 มี.ค.) นับเป็นความสำเร็จในการปล่อยจรวดลองมาร์ช-11 ครั้งที่ 16 ตั้งแต่จรวดรุ่นดังกล่าวเริ่มถูกใช้งานในปี 2015 อนึ่ง ลองมาร์ช-11 ซึ่งเป็นจรวดขนส่งเชื้อเพลิงแข็ง 4 ท่อน มีความยาวประมาณ 21 เมตร น้ำหนัก 57.7 ตัน และเส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด 2 เมตร โดยจรวดรุ่นนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อขนส่งยานอวกาศขนาดเล็กเข้าสู่วงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์และวงโคจรต่ำของโลก โดยมีน้ำหนักบรรทุกสู่วงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์อยู่ที่ 500 กิโลกรัม – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230316/99c5fcf5806647f595d7f58fab4b639b/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/345354_20230316ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนส่งดาวเทียมแฝด “เทียนฮุ่ย-6” ขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ

ไท่หยวน, 10 มี.ค. (ซินหัว) — จีนประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมแฝดเทียนฮุ่ย-6 (Tianhui-6) ขึ้นสู่ห้วงอวกาศจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมไท่หยวน มณฑลซานซีทางตอนเหนือของประเทศ ตอน 06.41 น. ของวันศุกร์ (10 มี.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น รายงานระบุว่าดาวเทียมเทียนฮุ่ย-6 เอ (Tianhui-6 A) และเทียนฮุ่ย-6 บี (Tianhui-6 B) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดขนส่งลองมาร์ช-4ซี (Long March-4C) และเข้าสู่วงโคจรที่กำหนดแล้ว ดาวเทียมแฝดดังกล่าวจะถูกใช้ในการสำรวจทางภูมิศาสตร์ การสำรวจทรัพยากรที่ดิน การทดลองทางวิทยาศาสตร์ และภารกิจอื่นๆ อนึ่ง การส่งดาวเทียมครั้งนี้นับเป็นภารกิจครั้งที่ 465 ของจรวดขนส่งตระกูลลองมาร์ช – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230310/95e61e694d2b4f11a4e6e3043bd7d027/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/344041_20230310ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนวางแผนส่ง “ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา” สู่อวกาศอีก 2 ดวง

ปักกิ่ง, 22 ก.พ. (ซินหัว) — สำนักบริหารอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศจีน เปิดเผยว่าจีนวางแผนปล่อยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาตระกูลเฟิงอวิ๋นสู่อวกาศเพิ่มอีก 2 ดวงในปี 2023 หนึ่งในดาวเทียมดังกล่าว ได้แก่ ดาวเทียมวงโคจรช่วงเช้าเฟิงอวิ๋น-3เอฟ (FY-3F) ซึ่งจะมาแทนที่ดาวเทียมเฟิงอวิ๋น-3ซี (FY-3C) เพื่อส่งมอบบริการหลากหลายด้าน อาทิ การพยากรณ์อากาศ และการเฝ้าติดตามสภาพแวดล้อมทางระบบนิเวศและภัยพิบัติ ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานบนดาวเทียมหรือระบบเพย์โหลด 10 รายการ และมีกำหนดปล่อยสู่อวกาศในเดือนสิงหาคม ส่วนดาวเทียมอีกดวงคือเฟิงอวิ๋น-3จี (FY-3G) เป็นดาวเทียมตรวจวัดหยาดน้ำฟ้า ซึ่งมีหน้าที่หลักในการตรวจวัดปริมาณหยาดน้ำฟ้าในระบบสภาพอากาศรุนแรง และส่งมอบข้อมูลโครงสร้าง 3 มิติของปริมาณหยาดน้ำฟ้าในละติจูดกลางและต่ำทั่วโลก โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ระบบเพย์โหลด 4 รายการ และจะถูกปล่อยในเดือนเมษายน เมื่อดาวเทียมทั้ง 2 ดวงขึ้นสู่วงโคจร จีนจะกลายเป็นประเทศเดียวในโลกที่ใช้งานดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาสำหรับบริการพลเรือนในวงโคจรช่วงเช้ามืด-ค่ำ วงโคจรช่วงเช้า วงโคจรช่วงบ่าย และวงโคจรเอียงในเวลาเดียวกัน จีนได้ปล่อยดาวเทียมตระกูลเฟิงอวิ๋นทั้งหมด 19 ดวงแล้ว ซึ่งในจำนวนนี้อยู่ในวงโคจร 7 ดวง โดยให้บริการผลิตภัณฑ์และข้อมูลแก่ 126 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230222/eea14d4f77c143399988fa929add56e5/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง […]

ญี่ปุ่นล้มเหลวในการส่งจรวดรุ่นใหม่ขึ้นสู่อวกาศ

สำนักงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ เจเอเอ็กซ์เอ กล่าววันนี้ว่า การส่งจรวดรุ่นใหม่ขึ้นสู่อวกาศในวันนี้ประสบความล้มเหลว หลังจากเกิดปัญหาที่ดูเหมือนจะมาจากระบบการจุดระเบิดเผาไหม้ของจรวด

1 2 3 4 6
...