หนุนเปิดรัฐสภาวิสามัญแก้ปัญหาม็อบ

กรุงเทพฯ 17 ต.ค.-  นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า  แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ตนหยุดปฎิบัติหน้าที่ชั่วคราว  แต่ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง  ขอสนับสนุนการใช้เวทีรัฐสภาเป็นที่แก้ปัญหาของชาติบ้านเมือง เพราะรัฐสภามี ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั่วทั้งประเทศ เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง การเปิดประชุมรัฐสภา สมัยวิสามัญ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนของประชาชน เป็นสิ่งที่พึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเรียกร้องมายังสมาชิกวุฒิสภาทุกคน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากทุกพรรคการเมือง  ใช้สิทธิตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 123 ลงชื่อในญัตติขอเปิดประชุมรัฐสภา สมัยวิสามัญ ยื่นต่อประธานรัฐสภาโดยเร็วที่สุด ก่อนที่สถานการณ์การเมืองจะวิกฤตไปมากกว่านี้    .- สำนักข่าวไทย

คำสั่งเรียกขัด รธน.ลดทอนอำนาจ กมธ.

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า พ.ร.บ.คำสั่งเรียก ขัดรัฐธรรมนูญ เรื่องนี้มีผลผูกพันรัฐสภา แต่กรรมาธิการชุดต่างๆ ยังคงสามารถเรียกบุคคลเข้าชี้แจงได้

มกุฎราชกุมารใหม่คูเวตจะยึดมั่นประชาธิปไตย

คูเวตซิตี 8 ต.ค.- เชค เมชาล อัลอาหมัด อัลซาบาห์ มกุฎราชกุมารพระองค์ใหม่ของคูเวตทรงสาบานตนต่อรัฐสภาในวันนี้ รับปากจะยึดมั่นประชาธิปไตยและสันติภาพ พร้อมกับทรงขอให้ชาวคูเวตไม่ยอมรับความแตกแยก เชค เมชาล พระชนมพรรษา 79-80 พรรษา ทรงเป็นพระอนุชาต่างมารดาในสมเด็จพระราชาธิบดีเชค นาวาฟ อัลอาหมัด อัลจาเบอร์ อัลซาบาห์ พระชนมพรรษา 83 พรรษา ที่เพิ่งเสด็จขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองรัฐคูเวตเมื่อวันที่ 29 กันยายน เนื่องจากเชค ซาบาห์ อัลอาหมัด อัลจาเบอร์ อัลซาบาห์ สวรรคตหลังครองบัลลังก์มาตั้งแต่ปี 2549 รัฐสภาลงมติรับรองมกุฎราชกุมารพระองค์ใหม่ด้วยมติเอกฉันท์ เป็นการสืบทอดตำแหน่งภายในราชวงศ์อย่างราบรื่นในขณะที่คูเวตกำลังเผชิญปัญหาสภาพคล่อง เพราะราคาน้ำมันตกต่ำ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แพร่ระบาด และความตึงเครียดระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิหร่านที่ยังยืดเยื้อ มกุฎราชกุมารพระองค์ใหม่กล่าวทางโทรทัศน์ว่า คูเวตจะยึดมั่นในพันธกรณีต่อภูมิภาคและสากล จะยึดมั่นในแนวทางสันติและประชาธิปไตย จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น และจะส่งเสริมขันติเพื่อหลีกเลี่ยงความแตกแยก นักการทูตและนักวิเคราะห์คาดว่า สมเด็จพระราชาธิบดีเชค นาวาฟที่ทรงมีพระชนมพรรษามากและเก็บพระองค์อาจมอบหมายพระราชภารกิจสำคัญให้แก่มกุฎราชกุมารที่ทรงดำรงตำแหน่งด้านความมั่นคงมานาน คาดว่าทั้งสองพระองค์จะทรงสนพระทัยปัญหาในประเทศเป็นหลัก เพราะเตรียมจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาในปีนี้ ขณะที่รัฐบาลหาทางประคับประคองฐานะทางการเงิน ส่วนนโยบายน้ำมันและต่างประเทศคงจะสานต่อแนวทางสร้างความเป็นเอกภาพในภูมิภาคตามที่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ก่อนทรงวางไว้.-สำนักข่าวไทย

ชี้ พ.ร.บ.คำสั่งเรียกขัด รธน. มีผลผูกพันรัฐสภา

รัฐสภา 8 ต.ค. – นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา  ยังไม่เห็นรายละเอียดคำวินิจฉัยเต็ม กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ว่า พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ.2545 มาตรา 5  ที่บัญญัติอำนาจของคณะกรรมาธิการในการออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด   หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำ หรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาอยู่นั้นได้  มาตรา  8  ที่บัญญัติขั้นตอน การออกคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ  และมาตรา  13 ที่กำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ขัดหรือแย้งและมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา  129  อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันกับรัฐสภาแล้ว จากนี้ขอรอดูว่าจะมีผลต่อการทำงานกรรมาธิการอย่างไรบ้าง และต้องไปดูว่ามีกรรมาธิการกี่ชุดที่ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. คำสั่งเรียก .- สำนักข่าวไทย 

อนุ กมธ.แก้ รธน.ประชุมนัดแรก วันนี้

รัฐสภา 6 ต.ค. –  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาเสนอความเห็นในประเด็นข้อกฎหมาย ที่กรรมาธิการพิจารณาญัตติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ก่อนรับหลักการ  มีนายวิเชียร ชวลิต เป็นประธาน ได้ประชุมนัดแรก เวลา 9.30 น. วันนี้ (6ต.ค.)   เพื่อกำหนดกรอบการทำงาน   นายนิกร จำนง โฆษกกรรมาธิการ กล่าวว่า การพิจารณาในข้อกฎหมายมี 2 ประเด็น เรื่องแรกคือการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 และการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มายกร่างฉบับใหม่ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และประเด็นที่ 2 คือหารือว่าการทำประชามติต้องทำเมื่อใด ทำก่อนหรือทำหลัง  หรือทำกี่ครั้ง โดยนำความเห็นจากการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา เมื่อวันที่ 23-24 กันยายน ที่ผ่านมา มาพิจารณาด้วย ก่อนสรุปความเห็นส่งที่ประชุมกรรมาธิการชุดใหญ่พิจารณา  ส่วนกฎหมายที่จะต้องนำมาเป็นกรอบการจัดทำประชามติเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ตั้งเรื่องมาแล้ว อาจมี 2 ทาง คือร่าง พ.ร.บ.ประชามติ หรือ […]

ยื้อเวลาแก้ รธน. เพิ่มอุณหภูมิการเมือง ต.ค.?

การที่รัฐสภาไม่ได้เดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ตั้งกรรมาธิการขึ้นมาศึกษาร่างแก้ไขทั้ง 6 ฉบับ ถูกมองว่าเป็นการยื้อเวลา ไปเช็กเสียงของสมาชิกกว่า 700 คนที่ลงมติเมื่อวานนี้ พร้อมความเห็นนักวิชาการที่เตือนว่าอุณหภูมิการเมืองจากนี้จะร้อนแรงขึ้น

รัฐสภาเร่งทำความสะอาด หลังม็อบบุก

รัฐสภา 25 ก.ย.-รัฐสภาเร่งทำความรัฐสภา แกะสติกเกอร์หมุดคณะราษฎรที่กลุ่มผู้ชุมนุมนำมาแปะออก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (25 ก.ย.) เจ้าหน้าที่รัฐสภากำลังเร่งทำความสะอาดบริเวณกำแพงและรั้วรัฐสภา หลังจากเมื่อวานนี้ (24 ก.ย.) คณะประชาชนปลดแอกและกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยที่เดินทางมาชุมนุมหน้ารัฐสภานำบล็อก ซึ่งเป็นรูปหมุดคณะราษฎร 2563 ไปพ่นสีสเปรย์ลงบนกำแพงรั้วหน้ารัฐสภาและแปะสติ๊กเกอร์ลงที่รั้ว รวมถึงถนนทางเข้ารัฐสภา โดยเจ้าหน้าที่นำมีดมาแกะสติ๊กเกอร์ดังกล่าวออกและเก็บริ้บบิ้นสีขาวที่ผูกติดอยู่ตามจุดต่าง ๆ ออก อีกทั้งจะเตรียมน้ำยามาล้างสีสเปรย์ที่ถูกพ่นลงกำแพงด้วย ขณะที่การจราจรบริเวณถนนสามเสนและถนนทหารเปิดให้สัญจรตามปกติ เช่นเดียวกับเปิดทางเข้า-ออกรัฐสภาทางถนนสามเสนตามปกติเช่นกัน อย่างไรก็ตาม มีการทยอยเก็บรั้วเหล็กที่นำมาวางกั้นพื้นที่ชุมนุมหน้ารัฐสภาออกไปและเร่งทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบรัฐสภาให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ.-สำนักข่าวไทย

ปิดประตูรั้วรัฐสภา ม็อบทยอยชุมนุมหน้ารัฐสภา ปิด ถ.สามเสน

เจ้าหน้าที่ปิดประตูรั้วอาคารรัฐสภาฝั่งขาเข้า ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมคณะประชาชนปลดแอกได้นำรถติดตั้งเครื่องขยายเสียงตั้งขวางทางเข้า เป็นเวทีปราศรัย

ผู้ชุมนุมทยอยรวมตัวหน้ารัฐสภา

บรรยากาศหน้าอาคารรัฐสภา ผู้ชุมนุมทยอยเดินทางมารวมตัวกันตั้งแต่ช่วงบ่าย ภาพรวมยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้ชุมนุมยังรอท่าทีของแกนนำว่าจะออกมาในทิศทางใด

1 37 38 39 40 41 57
...