คาดโรฮีนจาหลายหมื่นคนติดอยู่ในการสู้รบที่เมียนมา

ย่างกุ้ง 17 มิ.ย.- รัฐบาลเงาของเมียนมาคาดว่า มีชาวโรฮีนจามากถึง 70,000 คน ติดอยู่ในการสู้รบทางภาคตะวันตกของเมียนมา รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นรัฐบาลเงาของเมียนมาเผยกับรอยเตอร์ว่า ขณะนี้มีชาวโรฮีนจาประมาณ 70,000 คน ติดอยู่ในเมืองมองดอ (Maungdaw) เนื่องจากไม่มีสถานที่ให้หลบหนีจากการสู้รบที่กำลังเข้ามาใกล้ เดือนที่แล้วชาวโรฮีนจาหลายหมื่นคนได้หนีไปยังบังกลาเทศที่มีพรมแดนติดกันเพื่อหลบหนีการสู้รบ แม้ว่าบังกลาเทศไม่เต็มใจที่จะรับผู้ลี้ภัยเพิ่ม เมืองมองดออยู่ห่างจากเมืองบูตีต่อง (Buthidaung) ไปทางตะวันตกเพียง 25 กิโลเมตร เมืองบูตีต่องเกิดการสู้รบทั้งในและรอบ หลังจากกองทัพอาระกันหรือเอเอ (AA) ยึดได้ด้วยการสู้รบอย่างหนักหน่วง เอเอซึ่งต่อสู้เพื่อเรียกร้องอำนาจปกครองตนเองรัฐยะไข่ปฏิเสธว่า ไม่ได้มุ่งเล่นงานชุมชนชาวโรฮีนจาตามที่ถูกกล่าวหา และประกาศให้ชาวโรฮีนจาออกจากเมืองมองดอภายในเวลา 21:00 น.วันอาทิตย์ เพราะเตรียมจะโจมตีเมืองนี้.-814.-สำนักข่าวไทย  

เมียนมา-จีนเดินหน้าเขตเศรษฐกิจพิเศษ-ท่าเรือน้ำลึกในยะไข่

ย่างกุ้ง 8 เม.ย.- เว็บไซต์ข่าวของกลุ่มชาวเมียนมาลี้ภัยในไทยรายงานว่า  รัฐบาลทหารเมียนมาและบริษัทของทางการจีนเร่งเดินหน้าการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและโครงการท่าเรือน้ำลึกในรัฐยะไข่ แม้ว่าสถานการณ์การสู้รบในรัฐนี้ทวีความรุนแรง เว็บไซต์เดอะอิรวดี (The Irrawaddy) รายงานว่า นายออง เนียง อู ประธานคณะทำงานกลางเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาเรียกร้องเมื่อวันที่ 2 เมษายนให้เร่งเตรียมการให้แล้วเสร็จสำหรับข้อตกลงสัมปทานและภาคผนวกเรื่องการสร้างท่าเรือน้ำลึกในเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ (Kyaukphyu) และเมื่อวันที่ 4 เมษายนคณะตัวแทนของซิติก (CITIC) บริษัทลงทุนของทางการจีนได้เข้าพบนายเมียว ถั่นต์ รัฐมนตรีการก่อสร้างของเมียนมาที่กรุงเนปิดอว์ เพื่อหารือเรื่องการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในโครงการท่าเรือน้ำลึกที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ รัฐยะไข่ ทางตะวันตกสุดของเมียนมา โครงการนี้จะเปิดทางให้มณฑลยูนนานของจีนที่ไม่มีทางออกทางทะเลมีช่องทางเข้าออกมหาสมุทรอินเดีย และเป็นส่วนหนึ่งของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางหรือบีอาร์ไอ (BRI) ของจีน กองทัพอาระกันหรือเอเอ (AA) สู้รบกับกองทัพเมียนมามาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 หวังยึดครองรัฐยะไข่ให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยในขณะนี้ยึดได้แล้วหลายเมือง และเมื่อต้นเดือนมีนาคม เอเอประกาศขอร่วมมือกับนักลงทุนต่างชาติที่ยังดำเนินการอยู่ในรัฐยะไข่ โดยรับปากว่าเรื่องการรับประกันความปลอดภัย และเมื่อวันที่ 1 เมษายน นายเติ้ง สีจุน ทูตพิเศษเรื่องเมียนมาของจีนได้เข้าพบ พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่ายของเมียนมาหารือเรื่องความเป็นไปได้ที่จะมีการหยุดยิงในรัฐยะไข่ เดอะอิรวดีชี้ว่า การที่จีนเริ่มกังวลต่อสถานการณ์ในรัฐยะไข่มากขึ้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะนอกจากเขตเศรษฐกิจและท่าเรือน้ำลึกแล้ว จีนยังมีท่อส่งน้ำมันและก๊าซที่วางจากเมืองรุ่ยลี่ของจีน ตัดผ่านรัฐฉาน ภาคมัณฑะเลย์ […]

พลเรือนเมียนมาเสียชีวิต 12 รายจากกระสุนปืนใหญ่

พลเรือนอย่างน้อย 12 รายเสียชีวิตในเมียนมา หลังจากกระสุนปืนใหญ่หลายลูกถูกยิงมาตกในตลาดที่มีประชาชนหนาแน่นในรัฐยะไข่ทางตะวันตกของประเทศ ในขณะที่รัฐบาลทหารและกองกำลังต่อต้านรัฐบาลกล่าวโทษกันไปมาในเหตุรุนแรงล่าสุดที่เกิดขึ้น

กลุ่มชาติพันธุ์ในยะไข่อ้างยึดเมืองท่าติดอินเดีย-บังกลาเทศ

ซิตตเว 15 ม.ค.- กลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของเมียนมาอ้างว่า สามารถยึดเมืองชายแดนที่เป็นเมืองท่าติดกับอินเดียและบังกลาเทศ ถือเป็นการสูญเสียครั้งล่าสุดของรัฐบาลเมียนมาที่กำลังสู้รบกับกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มในหลายพื้นที่ โฆษกกองทัพอาระกันหรือเอเอ (AA) เผยเมื่อค่ำวันอาทิตย์ว่า สามารถยึดเมืองปะและวะ (Paletwa) ในรัฐชินที่อยู่ถัดขึ้นไปทางเหนือของรัฐยะไข่ เป็นเมืองท่าริมแม่น้ำคาลาดาน (Kaladan) ที่เป็นเส้นทางหลักในการทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เอเอจะร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเต็มที่ในประเด็นที่เกี่ยวกับความมั่นคงพรมแดน และจะดูแลด้านการบริหารและการบังคับใช้กฎหมายในเมืองนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนมกราคม รัฐบาลเมียนมาเพิ่งเสียเมืองเล่าก์ก่ายในรัฐฉานที่มีพรมแดนติดกับจีนให้แก่พันธมิตร 3 ภราดรภาพ (Three Brotherhood Alliance) และเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอางหรือทีเอ็นแอลเอ (TNLA) ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรเผยว่า ตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลในการเจรจาที่จีนเป็นคนกลางจัดขึ้นที่เมืองคุนหมิง แต่เมื่อวานนี้พันธมิตรเผยว่า กองทัพเมียนมาได้ละเมิดข้อตกลงหยุดยิง ด้วยการโจมตีหลายเมืองในรัฐฉาน.-814.-สำนักข่าวไทย

กลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมาโจมตีด่านความมั่นคงของรัฐบาล

กลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธในเมียนมาโจมตีด่านของกองกำลังความมั่นคงทางตะวันตกของประเทศ ในขณะที่รัฐบาลทหารเมียนมายังคงประสบความยากลำบากในการรับมือกับการโจมตี

เรือโรฮีนจาแตกกลางทะเล ตาย 17 คน

มูลนิธิในเมียนมา เผยว่ามีผู้เสียชีวิต 17 คน จากเหตุเรือบรรทุกผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาหนีออกจากรัฐยะไข่ของเมียนมา แตกกลางทะเลเมื่อไม่กี่วันก่อน

ยูเอ็นระบุ 8 แสนคนในเมียนมาได้รับผลกระทบจากไซโคลน “โมคา”

สหประชาชาติกล่าววันนี้ว่า ประชาชนอย่างน้อย 800,000 คน ในเมียนมา มีความต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉินด้านอาหารและความช่วยเหลืออื่น ๆ หลังจากพายุไซโคลน “โมคา” พัดกระหน่ำสร้างความเสียหายให้กับรัฐยะไข่ เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

ชาวบ้านที่ประสบภัยไซโคลนในเมียนมารอรับความช่วยเหลือ

ประชาชนในเมืองชิตตเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ของเมียนมาที่ประสบภัยจากพายุไซโคลน “โมคา” เข้าคิวรอรับแจกอาหารและน้ำดื่มเมื่อวานนี้ ในขณะที่สหประชาชาติพยายามเจรจากับรัฐบาลทหารเมียนมา เพื่อเปิดทางให้เข้าไปให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากพายุไซโคลน

ยอดผู้เสียชีวิตจากไซโคลนในรัฐยะไข่ในเมียนมาเพิ่มเป็น 41 ราย

ผู้นำท้องถิ่นในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน “โมคา” กล่าวว่า ยอดผู้เสียชีวิตในรัฐยะไข่ เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 41 รายแล้วในวันอังคาร

ยอดผู้เสียชีวิตในเมียนมาจากไซโคลน “โมคา” เพิ่มเป็น 29 ราย

ยอดผู้เสียชีวิตจากพายุไซโคลน “โมคา” ที่พัดกระหน่ำพื้นที่บริเวณอ่าวเบงกอล เพิ่มขึ้นเป็น 29 รายแล้ว ในขณะที่ระบบการสื่อสารเริ่มค่อย ๆ กลับมาใช้งานได้อย่างช้า ๆ หลังจากพายุทำให้ต้องตัดการติดต่อสื่อสารและเส้นทางคมนาคม

เมืองในเมียนมาถูกตัดขาดหลังโดนถล่มด้วยไซโคลน “โมคา”

ประชาชนนับแสนคนในเมืองซิตตเว เมืองท่าและเมืองหลักของรัฐยะไข่ของเมียนมา ถูกตัดขาดจากการติดต่อในวันนี้หลังจากที่พายุไซโคลน “โมคา” พัดถล่มทางตะวันตกของเมียนมาและบังกลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดต่อกัน

คาดไซโคลน “โมคา” จะขึ้นฝั่งบังกลาเทศ-เมียนมา 13:30 น.วันนี้

ค็อกซ์บาซาร์ 14 พ.ค.- เจ้าหน้าที่พยากรณ์ว่า ไซโคลนโมคา (Mocha) จะขึ้นฝั่งพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเมืองค็อกซ์บาซาร์ของบังกลาเทศกับเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ของเมียนมาราวเวลา 13:30 น.วันนี้ตามเวลาไทย เว็บไซต์ซูมเอิร์ธ (Zoom Earth) รายงานว่า ไซโคลนโมคามีความเร็วลมสูงสุด 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดเป็นซูเปอร์ไซโคลน ทางการบังกลาเทศอพยพคน 190,000 คนในเมืองค็อกซ์บาซาร์และอีก 100,000 คนในเมืองจิตตะกองไปยังพื้นที่ปลอดภัย เมืองค็อกซ์บาซาร์เป็นที่ตั้งของค่ายผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่มีชาวโรฮีนจาลี้ภัยอยู่ร่วมล้านคน ค่ายเหล่านี้ตั้งอยู่ตามเชิงเขาที่เสี่ยงเกิดดินถล่ม และสร้างขึ้นอย่างลวก ๆ ด้วยผ้าใบกันน้ำและไม้ไผ่ เพราะทางการเกรงว่าหากสร้างถาวรผู้ลี้ภัยจะไม่เดินทางกลับเมียนมา หลังจากหนีมาตั้งแต่ 5 ปีก่อน ด้านชาวโรฮีนจาที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นในเมืองซิตตเว รัฐยะไข่ ทางตะวันตกสุดของเมียนมาก็เสี่ยงภัยจากไซโคลนโมคาเช่นกัน แกนนำในค่ายเผยว่า ทางการไม่ได้อพยพพวกเขาไปยังสถานที่ปลอดภัย โดยจัดหาให้เพียงอาหารและสิ่งจำเป็นเท่านั้น พวกเขากังวลว่าจะตกอยู่ในอันตรายหากระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ชาวเมืองซิตตเวพากันอพยพขึ้นสู่ที่สูงตั้งแต่วันเสาร์ เพราะมีคำพยากรณ์เตือนว่า อาจเกิดคลื่นพายุซัดฝั่งหรือสตอร์มเซิร์จสูงถึง 3.5 เมตร ด้านนครย่างกุ้งที่อยู่ห่างออกไป 500 กิโลเมตรมีฝนตกและลมแรงแล้วในวันนี้ ไซโคลนเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดียด้านทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล เทียบเท่ากับไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และเฮอริเคนที่เกิดขึ้นทางเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 6
...