fbpx

อุทัยธานีระดับน้ำกักเก็บน้อยมากในรอบ 30 ปี

ผอ.โครงการชลประทานอุทัยธานี เผยอ่างเก็บน้ำหลัก 2 แห่ง และตามแหล่งน้ำในพื้นที่ปีนี้น่าห่วงน้ำกักเก็บโดยรวมแค่ร้อยละ 19 น้อยมากในรอบ 30 ปี ต้องเก็บไว้ใช้อุปโภคบริโภค-รักษาโครงสร้างอ่างฯ-ระบบนิเวศน์ในฤดูแล้ง ส่วนภาคเกษตรแจ้งเตือนเพาะปลูกแล้วก่อนงดปล่อยน้ำ

วิกฤติน้ำน้อยเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

สถานการณ์น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เหลือน้ำใช้การได้ถึงต้นเดือนเมษายน และอาจถึงขั้นต้องดึงน้ำก้นอ่างมาใช้เหมือนปี 2559 ผลกระทบจากปัญหานี้เป็นอย่างไร

มหาสารคาม 13 อ่างเก็บน้ำน่าห่วงระดับน้ำต่ำกว่าครึ่ง

ผอ.ชลประทานมหาสารคามห่วงสถานการณ์น้ำในฤดูแล้งปีนี้ เตือนประหยัดการใช้น้ำ เผยอ่างเก็บน้ำ 17 แห่ง ภาพรวมมีน้ำเพียงร้อยละ 23 โดยเฉพาะ 13 แห่ง น้ำต่ำกว่าครึ่ง

กสิกรไทยประเมินภัยแล้งสร้างความเสียหายเศรษฐกิจ 15,300 ล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินภัยแล้งปี 62 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ 15,300 ล้านบาท ข้าว-อ้อยกระทบหนักสุด

จับตาภัยแล้ง..น้ำใช้ได้ “น้อย” กว่าปีก่อนทุกเขื่อน

เข้าสู่เดือนมีนาคม สิ่งที่ต้องจับตามองใกล้ชิด คือ นอกจากอากาศร้อนแล้ว เรื่องของภัยแล้งที่จะตามมา โดยเฉพาะปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ

นายกฯ สั่งทุกหน่วยงานเตรียมแผนรับมือภัยแล้ง

นายกฯ ยอมรับ ภัยแล้งปี 62 มาเร็วกว่าทุกปี สั่งทุกหน่วยงานเตรียมแผนรับมือ ระบุ ผลงานบริหารจัดการน้ำ ช่วยลดงบประมาณจากหมื่นล้าน เหลือหลักพันล้านบาท

สำรวจน้ำในเขื่อนใหญ่ แก้ปัญหาสถานการณ์ภัยแล้ง

รองแม่ทัพภาคที่ 2 ขึ้นเฮลิคอปเตอร์สำรวจเขื่อนลำปาวและพื้นที่กักเก็บน้ำ ก่อนประชุมหาแนวทางแก้ปัญหาปริมาณน้ำเหลือน้อย หวั่งสถานการณ์ภัยแล้งหลายพื้นที่

ภัยแล้งมาแล้ว!ลำน้ำมาศแห้งขอดในรอบ 10 ปี

นครราชสีมา 3 มี.ค.-พื้นที่อำเภอชุมพวงเริ่มประสบปัญหาจากภัยแล้ง ลำน้ำสายหลักแห้งขอด จนเดินข้ามได้ ชาวบ้านครวญรุนแรงสุดในรอบ 10 ปี หวั่นสถานการณ์จะยิ่งแย่หนัก ถ้าไม่มีฝนตกลงมาภายใน 1-2 เดือนนี้ ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดนครราชสีมารายงานว่า ลำน้ำมาศ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักหล่อเลี้ยงพื้นที่ ต.ประสุข อ.ชุมพวง มีสภาพเกือบแห้งขอด จากที่เคยมีระดับน้ำลึกกว่า 7-8 เมตร ปัจจุบันนี้มีสภาพไม่ต่างจากหนองน้ำขนาดเล็ก มองเห็นเป็นสันดอนดินขนาดใหญ่ และหญ้าขึ้นปกคลุมรกทึบ จนสามารถเดินข้ามไปมาได้ในบางจุด ชาวบ้านไม่สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำที่เหลือเพียงเล็กน้อยได้อย่างเต็มที่ ชาวบ้านในพื้นที่บอกว่า ปีนี้น้ำในลำน้ำมาศลดลงอย่างรวดเร็วจากสถานการณ์ภัยแล้ง และอากาศร้อนจัด ชาวบ้าน 12 หมู่บ้านเคยใช้ประโยชน์ทั้งอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรจากลำน้ำแห่งนี้มานานต่อเนื่องทุกปี ไม่เคยแห้งขอดถึงขนาดนี้ ครั้งนี้ถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี เนื่องจากหน้าฝนปีที่แล้วมีฝนตกน้อย ทำให้มีปริมาณน้ำเก็บกักสะสมน้อยกว่าทุกปี ตอนนี้ชาวบ้านเริ่มเดือดร้อน ไม่มีน้ำเพาะปลูกพืช และบางหมู่บ้านขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค หากไม่มีฝนตกลงมาภายใน 1-2 เดือน น่าเป็นห่วงว่าสถานการณ์จะรุนแรงกว่านี้.-สำนักข่าวไทย

1 34 35 36 37 38 41
...