fbpx

นายกฯต้องลงนามรับรองพ.ร.บ.ประชามติก่อนเข้าสภา

“วิษณุ” ชี้ ร่าง พ.ร.บ.ประชามติฉบับฝ่ายค้านต้อง ให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับรองก่อนถึงเข้าสภาได้ เหตุเป็นกฎหมายการเงิน

สมชัย ชี้ร่างพ.ร.บ.ประชามติไม่เห็นหัวประชาชน

สมชัย ชี้ ร่างฯประชามติของรัฐบาลที่เสนอสภาสะท้อนความไม่จริงใจ ไม่ทันการณ์ ไม่ทันสมัย ไม่เข้าใจหลักการการทำประชามติ และไม่เห็นหัวประชาชน เผยรับฟังความเห็นแบบไม่เปิดกว้าง

ชวนย้ำลงมติแก้รธน. 17-18 พ.ย. ไม่ห่วงม็อบบุก

ชวน ยันตรวจสอบแล้ว พ.ร.บ.ประชามติ เป็นกฎหมายปฏิรูป ต้องให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณา – ย้ำพร้อมลงมติแก้ รธน. 17-18 พ.ย.นี้ ไม่กังวลหากม็อบบุกสภา

พบพิรุธปชช.ไม่ได้ลงชื่อร่างไอลว์แต่มีชื่อร่วม

“ชวน” เผยครม.เสนอประชุมร่วมรัฐสภากฎหมายประชามติ บ่ายนี้คุยฝ่ายค้าน ระบุประชาชน 400 ตอบกลับไม่ได้ร่วมลงชื่อในร่างแก้ไขรธน.ฉบับไอลอว์หลังตรวจสอบพบชื่อ

เปิดร่าง พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ

เปิดร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่ถูกมองว่ายังไม่ทันสมัย พร้อมข้อเสนอให้ออก พ.ร.ก.ประชามติ เพื่อให้สามารถทำไปพร้อมการเลือกนายก อบจ. ทั่วประเทศ ติดตามจากรายงาน

พท.ชี้ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ แค่ซื้อเวลา

พรรคเพื่อไทย 6 พ.ย.-โฆษกพรรคเพื่อไทย ชี้รัฐบาลชงร่าง พ.ร.บ.ประชามติ แค่ซื้อเวลา เชื่อคณะกรรมการสมานฉันท์ไม่สามารถนำไปสู่การปรองดองได้ น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการเสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่่ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา นำเสนอให้ที่ประชุมร่วมพิจารณาโดยเร่งด่วน ว่า การเสนอเรื่องดังกล่าวเป็นการซื้อเวลา เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังไม่มีการกำหนดกรอบ หรือประเด็นที่ชัดเจนว่าจะแก้เรื่องใด เช่นเดียวกันกับการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ ที่มีการเสนอมา 2 รูปแบบ โดยสถาบันพระปกเกล้า มองว่าไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ก็ยังไม่มีความเป็นกลางและเป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้ง เพราะทั้งฝ่ายพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และฝ่ายผู้ชุมนุมก็ออกมาปฏิเสธไม่เห็นด้วย ซึ่งทำให้เป็นไปได้ยากที่จะประสบความสำเร็จ น.ส.อรุณี กล่าวอีกว่า พรรคเพื่อไทยมีข้อเสนอที่จะทำให้คณะกรรมการสมานฉันท์ประสบความสำเร็จได้ จะต้องกำหนดประเด็นหารือ กรอบเวลาที่ชัดเจน และมีประเด็นที่นำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันได้ ก็จะเป็นทางออกที่ดี.-สำนักข่าวไทย

ครม.เห็นชอบ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ

ทำเนียบฯ 8 ก.ย.-ครม.เห็นชอบ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ เพิ่มงบ 1,000 ล้านบาท ทำประชามติรัฐธรรมนูญช่วงโควิด น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกสียงประชามติ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกเสียงประชามติ ให้สอดคล้องกับมาตรา 166 และมาตรา 256(8) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว มีความใกล้เคียงกับหลักเกณฑ์วิธีการออกเสียงประชามติในปี 2552 แต่ปรับแก้ให้มีความชัดเจนและยึดโยงกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งการออกเสียงประชามติจะทำได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 166 คือ ในเรื่องที่ ครม.เห็นชอบแต่ต้องไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือนิติบุคคลรวมถึงเป็นไปตามมาตรา 256 (8) หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือคุณสมบัติต้องห้ามของบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองกำหนดให้ต้องมีการจัดทำประชามติ โดยวิธีการ ออกเสียงลงคะแนน จะต้องเป็นการกระทำโดยตรงและทางลับ กำหนดหลักการให้หน่วยงานของรัฐบาลจะต้องให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างเพียงพอ ผู้ที่มีคุณสมบัติจะต้องเป็นคนไทย อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีการกำหนดความผิดและโทษ สำหรับผู้ที่กระทำการลักษณะต้องห้ามมีโทษจำคุก 1-10 ปีหรือเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งและจะต้องชำระค่าใช้จ่ายประจำหน่วยเลือกตั้งนั้นด้วย น.ส.รัชดา กล่าวว่า สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการจัดทำประชามติเดิมจะมีงบประมาณทั้งสิ้น 3,150 […]

1 2
...