วอชิงตัน 29 ส.ค.- ผลการศึกษาในสหรัฐระบุว่า มลภาวะทางอากาศเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนทั่วไปมากกว่าการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียใต้ สถาบันนโยบายพลังงาน มหาวิทยาลัยชิคาโกออกรายงานดัชนีชีวิตคุณภาพอากาศ (AQLI) ประจำปีในวันนี้ว่า มลภาวะฝุ่นละอองที่ปล่อยมาจากยวดยาน โรงงาน ไฟป่า และอีกหลายสาเหตุ ยังคงเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด หากโลกสามารถลดฝุ่นละอองให้เหลือ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกได้เป็นการถาวร คนทั่วไปจะมีอายุขัยเพิ่มขึ้น 2.3 ปี เพราะฝุ่นละอองเป็นสาเหตุของโรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ว ขณะที่การสูบบุหรี่จะลดอายุขัยลง 2.2 ปี ส่วนภาวะทุพโภชนาการในวัยเด็กและมารดาจะลดอายุขัยลง 1.6 ปี รายงานระบุว่า เอเชียใต้เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศมากที่สุดในโลก โดยมีบังกลาเทศ อินเดีย เนปาล และปากีสถานเป็นอันดับ 1 ถึง 4 ของประเทศที่มีมลภาวะมากที่สุดในโลก บังกลาเทศมีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือพีเอ็ม 2.5 (PM2.5) 74 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กรุงนิวเดลีของอินเดียมี 126.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นมหานครที่มีมลภาวะมากที่สุดในโลก ขณะเดียวกันไฟป่าที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่กำลังทำให้มลภาวะทางอากาศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ภาคตะวันตกของสหรัฐไปจนถึงลาตินอเมริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฤดูไฟป่าครั้งประวัติศาสตร์ของรัฐแคลิฟอร์เนียปี 2565 […]