Marco Rubio U.S. State Secretary

สหรัฐเพิ่มข้อยกเว้นเรื่องระงับความช่วยเหลือต่างชาติ

วอชิงตัน 29 ม.ค.- นายมาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเพิ่มข้อยกเว้นสำหรับมาตรการระงับการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างชาติเป็นเวลา 90 วัน ในช่วงที่รัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะประเมินว่า ความช่วยเหลือดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายอเมริกามาก่อน (America First) ของเขาหรือไม่ นายรูบิโอออกบันทึกเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น เพิ่มข้อยกเว้นให้แก่ความช่วยเหลือในการช่วยชีวิต หลังจากเมื่อวันศุกร์ออกข้อยกเว้นให้แก่ความช่วยเหลือด้านอาหารฉุกเฉินและข้อยกเว้นให้แก่ความช่วยเหลือทางทหารแก่อิสราเอลและอียิปต์ เขาให้คำนิยามคำว่าความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในการช่วยชีวิตว่าหมายถึง ยาหลักในการช่วยชีวิต บริการทางการแพทย์ อาหาร ที่พัก และความช่วยเหลือเพื่อการยังชีพ สิ่งของและค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผลในการจัดส่งความช่วยเหลือ นายรูบิโอย้ำว่า การยกเว้นนี้ไม่ครอบคลุมถึงการทำแท้ง การประชุมวางแผนครอบครัว การผ่าตัดแปลงเพศ และความช่วยเหลืออื่น ๆ ที่ไม่ใช่การช่วยชีวิต ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศระงับการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างชาติเป็นเวลา 90 วัน หลังจากรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคมตามเวลาสหรัฐได้ไม่กี่ชั่วโมง ส่งผลกระทบต่อโครงการในหลายประเทศ รวมถึงไทย เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์เผยว่า คลินิกตามค่ายผู้ลี้ภัยในไทยที่ดูแลผู้ลี้ภัยจากเมียนมาราว 100,000 คนถูกสั่งปิด หลังจากสหรัฐระงับการให้เงินคณะกรรมการกู้ภัยระหว่างประเทศหรือไออาร์ซี (IRC) สหรัฐเป็นผู้บริจาคเงินให้แก่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยได้บริจาคราว 13,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 468,290 ล้านบาท) ในปี 2567 คิดเป็นร้อยละ […]

Israeli strike hits Lebanon's Tripoli, kills Hamas leader longshot

อิสราเอลโจมตีเมืองตริโปลีของเลบานอนเป็นครั้งแรก

ตริโปลี 5 ต.ค.- แหล่งข่าวด้านความมั่นคงของเลบานอนเผยว่า อิสราเอลได้โจมตีเมืองตริโปลีเป็นครั้งแรกในเช้าวันนี้ สังหารสมาชิกฮามาสและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในเมืองนี้ แหล่งข่าวเผยว่า สมาชิกฮามาสถูกสังหารพร้อมกับภรรยาและลูก 2 คน ขณะที่สื่อที่โยงกับกลุ่มฮามาสรายงานว่า การโจมตีของอิสราเอลทำให้ผู้นำฝ่ายกองกำลังของฮามาสเสียชีวิต  เมืองตริโปลีเป็นเมืองใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดสำหรับพื้นที่ตอนเหนือของเลบานอน เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ และเป็นเมืองท่าเรือทางทะเลที่อยู่เหนือสุดของเลบานอน อิสราเอลได้เพิ่มการโจมตีเลบานอนตั้งแต่กลางเดือนกันยายน หลังจากแลกเปลี่ยนการยิงข้ามพรมแดนกับกลุ่มฮิซบอลเลาะห์มาร่วมปี คู่ขนานไปกับการทำสงครามกับกลุ่มฮามาสในกาซามาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2566.-814.-สำนักข่าวไทย

ช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม ส่งกลับเมื่อสงบ

มท.1 ยันช่วยเหลือผู้ลี้ภัยสู้รบจากเมียนมาตามหลักมนุษยธรรม ย้ำดูแลชั่วคราว ขึ้นทะเบียนไว้ทุกคน พร้อมส่งกลับเมื่อสถานการณ์สงบ มั่นใจเพื่อนบ้านเคารพอำนาจอธิปไตยของไทย

อินเดียเนรเทศเมียนมาลี้ภัยไม่ได้เพราะเมียนมาติดสู้รบ

อิมผาล 18 เม.ย. – เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของอินเดียแจ้งว่า การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมากับกองกำลังฝ่ายต่อต้านทำให้อินเดียยังไม่สามารถเนรเทศผู้ลี้ภัยไร้เอกสารที่เดินทางจากเมียนมาเข้าอินเดียผ่านทางรัฐมณีปุระ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย พลเรือนชาวเมียนมาหลายพันคนและทหารเมียนมาหลายร้อยนายหนีเข้าอินเดียตั้งแต่กองทัพเมียนมารัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นการข้ามพรมแดนที่ทั้ง 2 ฝั่งมีชาติพันธุ์และสายสัมพันธ์ทางครอบครัวร่วมกัน ทางการเมืองมณีปุระแจ้งเมื่อเดือนมีนาคมว่า จะทยอยเนรเทศผู้ลี้ภัยอย่างน้อย 77 คน ที่เข้าอินเดียโดยไม่มีเอกสารหลังการรัฐประหารในเมียนมา ในจำนวนนี้ 38 คน ถูกนำตัวจากเมืองอิมผาลที่เป็นเมืองเอกของรัฐมณีปุระไปยังเมืองมอเรย์ที่เป็นเมืองพรมแดนติดกับเมียนมา แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อจากทางฝั่งเมียนมาเรื่องจะนำตัวกลับไป รัฐบาลนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดียกล่าวโทษกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาที่ทะลักเข้าอินเดียว่า เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดเหตุรุนแรงขึ้นในรัฐมณีปุระ ซึ่งหมายถึงการที่กลุ่มชาติพันธุ์ปะทะกันมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2566 และมีคนถูกสังหารล้มตายแล้วอย่างน้อย 220 คน รัฐบาลอินเดียประกาศจะยกเลิกนโยบายยกเว้นวีซ่าให้แก่ผู้อาศัยอยู่ตามพรมแดน 2 ประเทศที่มีความยาวถึง 1,650 กิโลเมตรหลังจากใช้นโยบายนี้มาหลายทศวรรษ.-814.-สำนักข่าวไทย  

กต. ไม่มีนโยบายนำผู้ลี้ภัยกลับสู่กระบวนการยุติธรรม

“ปานปรีย์” เผย นายกฯ พบประธานาธิบดีฝรั่งเศส อยากให้มีฟรีวีซ่าไทย – สหภาพยุโรป ยัน กต. ไม่มีนโยบายนำผู้ลี้ภัยกลับสู่กระบวนการยุติธรรม

ญี่ปุ่นให้สถานภาพผู้ลี้ภัยแก่นักเคลื่อนไหวเมียนมา

นาโกย่า 22 ก.พ.- สตรีจากเมียนมาที่เคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยเผยวันนี้ว่า เธอได้รับสถานภาพผู้ลี้ภัยในญี่ปุ่นแล้ว หลังจากยื่นขอเมื่อเดือนกันยายน 2566 โดยอ้างเรื่องถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง เว็บไซต์สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า มินต์ มินต์ เอ วัย 28 ปี เดินทางมาญี่ปุ่นในเดือนมกราคม 2562 ในฐานะผู้ฝึกงานทางเทคนิค เธอเรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมาด้วยการตระเวนบรรยายและระดมทุนนอกเวลาทำงาน การที่กองทัพรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ทำให้เธอไม่สามารถกลับบ้านได้ ขณะที่พี่ชายวัย 20 ปี และมารดาวัย 55 ปีที่สนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลถูกกองทัพสังหารในปี 2565 เธอเผยทั้งน้ำตาขณะมารับเอกสารที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองระดับภูมิภาคนาโกย่าว่า ตื้นตันใจมากที่เจ้าหน้าที่ยิ้มและแสดงความยินดีกับเธอขณะมอบหนังสือรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัย เธอจะเดินหน้าทำงานจากนอกประเทศเพื่อให้เมียนมามีสันติภาพต่อไป เกียวโดอ้างข้อมูลของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของญี่ปุ่นว่า ปี 2565 มีชาวเมียนมา 298 คนยื่นขอสถานภาพผู้ลี้ภัยในญี่ปุ่น และมีผู้ได้รับสถานภาพในปีเดียวกันจำนวน 26 คน.-814.-สำนักข่าวไทย

เตรียมหารือวางระบบดูแลผู้ลี้ภัย

“โรม” เผย กมธ.มั่นคงจ่อเชิญเลขาฯ สมช.คนใหม่ หารือวางระบบดูแลผู้ลี้ภัย หลังเกิดเหตุฆ่าหั่นศพชาวเมียนมา ระบุองค์กรระหว่างประเทศส่งหนังสือห่วงความปลอดภัยผู้ลี้ภัยช่วงสงคราม

โรฮีนจาเกือบ 200 คนติดค้างบนชายหาดอินโดนีเซีย

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาเกือบ 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรี ติดค้างอยู่บนชายหาดทางฝั่งตะวันตกของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นจุดที่เรือของพวกเขามาขึ้นฝั่ง เนื่องจากคนในพื้นที่ไม่ยอมรับผู้ลี้ภัยชุดใหม่

โรฮีนจากว่า 100 คนขึ้นฝั่งอินโดนีเซียวันนี้

อาเจะห์ 2 ธ.ค.- ชาวโรฮีนจามากว่า 100 คนล่องเรือขึ้นฝั่งจังหวัดอาเจะห์ ทางตะวันตกสุดของอินโดนีเซียในวันนี้ ขณะที่ชาวบ้านขู่จะผลักดันให้กลับขึ้นเรือออกจากฝั่งหากไม่มีฝ่ายใดเข้ามาดำเนินการ หัวหน้าหมู่บ้านจุดที่เรือโรฮีนจาล่องมาขึ้นฝั่งในวันนี้เผยว่า ตอนที่มาถึงก็เห็นชาวโรฮีนจาเหล่านี้อยู่บนชายหาดแล้ว มีทั้งเด็ก ผู้หญิง และผู้ชายรวม 139 คน เรือมาขึ้นฝั่งประมาณเวลา 02:30 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลาเดียวกันในไทย หมู่บ้านจะผลักดันผู้ลี้ภัยชุดล่าสุดนี้ขึ้นเรือออกจากฝั่ง หากไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดำเนินการภายในบ่ายวันนี้ โดยในระหว่างนี้จะให้ความช่วยเหลือไปก่อน พร้อมกับย้ำว่าคนในหมู่บ้านคัดค้านอย่างยิ่งเรื่องเรือโรฮีนจามาขึ้นฝั่ง สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) เผยว่า เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจามากกว่า 1,000 คน ล่องเรือมาขึ้นฝั่งจังหวัดอาเจะห์ของอินโดนีเซีย มากที่สุดนับจากปี 2558 ยูเอ็นเอชซีอาร์ประเมินว่า ปี 2565 มีชาวโรฮีนจามากกว่า 3,500 คนพยายามล่องเรือเสี่ยงชีวิตมายังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่เป็นอินโดนีเซียและมาเลเซีย โดยเดินทางมาจากเมียนมาหรือค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ และในจำนวนนี้เกือบ 350 คนเสียชีวิตหรือสูญหายกลางทะเล.-814.-สำนักข่าวไทย

โรฮีนจาขึ้นฝั่งอินโดนีเซียวันเดียวกว่า 500 คน

หน่วยงานของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น (UN) เผยว่า มีเรือ 3 ลำ บรรทุกผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจารวมมากกว่า 500 คน ขึ้นฝั่งจังหวัดอาเจะห์ที่อยู่ทางตะวันตกสุดของอินโดนีเซีย ในวันนี้

ไอเอ็มเอฟชี้สงครามอิสราเอล-ฮามาส กระทบเศรษฐกิจในภูมิภาคแล้ว

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ระบุว่า สงครามอิสราเอลและฮามาสที่ดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม ได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านเสียหายแล้ว

1 2 3 8
...