ยูนิเซฟชี้ รร.ค่ายโรฮิงญาบังกลาเทศถูกวางเพลิง

ค็อกซ์บาซาร์ 19 ม.ค.- เกิดเหตุไฟไหม้โรงเรียน 4 แห่งที่องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟตั้งขึ้นเพื่อเด็กชาวโรฮิงญาในค่ายผู้ลี้ภัยบังกลาเทศ ยูนิเซฟระบุว่า เป็นการวางเพลิง กรรมาธิการผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศเผยกับสื่อว่า ทางการกำลังสอบสวนเหตุไฟไหม้ล่าสุด เชื่อว่าไม่ได้เกิดจากการจงใจ และวัสดุที่ใช้ก่อสร้างโรงเรียนก็เป็นวัสดุติดไฟง่าย เพราะไม่ได้สร้างขึ้นเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวร เหตุเกิดในช่วงที่โรงเรียนปลอดคน ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นมือของใครหรือกลุ่มใด หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพิ่งเกิดไฟไหม้กระท่อมไม้ไผ่หลายร้อยหลังในค่ายผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่ง ทำให้ชาวโรฮิงญาที่อพยพมาจากเมียนมาไร้ที่อยู่จำนวนมาก สันนิษฐานว่าต้นเพลิงมาจากเตาแก๊ส ด้านยูนิเซฟทวีตแย้งว่า เหตุไฟไหม้โรงเรียนเป็นการวางเพลิง ยูนิเซฟกำลังประสานกับผู้เกี่ยวข้องประเมินความเสียหาย และเร่งซ่อมแซมศูนย์การเรียนรู้เหล่านี้ขึ้นใหม่ ยูนิเซฟตั้งศูนย์การเรียนรู้ 2,500 แห่งในค่ายผู้ลี้ภัย 34 แห่งในเขตค็อกซ์บาซาร์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบังกลาเทศ มีเด็กชาวโรฮิงญาเข้าเรียนประมาณ 240,000 คน แต่ปิดไปหลายเดือนเพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระบาด เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์คาดว่า จะเปิดได้อีกครั้งในเดือนหน้า.-สำนักข่าวไทย

บังกลาเทศจะย้ายชาวโรฮิงญากลุ่มใหม่ไปเกาะร้าง

ธากา 28 ธ.ค. – บังกลาเทศจะย้ายชาวโรฮิงญากลุ่มที่สองในค่ายผู้ลี้ภัยไปยังเกาะที่มีพื้นที่ลุ่มต่ำในอ่าวเบงกอล แม้ว่ากลุ่มสิทธิเรียกร้องให้บังกลาเทศหยุดการย้ายชาวโรฮิงญาเพราะไม่ปลอดภัย เจ้าหน้าที่บังกลาเทศเผยว่า ทางการบังกลาเทศจะย้ายชาวโรฮิงญากว่า 1,100 คน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมที่หนีข้ามพรมแดนเมียนมาเข้ามาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยไปยังเกาะพาชันจาร์ ทางการเตรียมรถประจำทางและรถบรรทุกหลายคันไว้พร้อมสำหรับการย้ายชาวโรฮิงญาและขนสัมภาระต่าง ๆ ไปยังท่าเรือจิตตะกองในวันนี้ จากนั้นจะย้ายลงเรือกองทัพเรือไปยังเกาะพาชันจาร์ในวันพรุ่งนี้ ทางการบังกลาเทศเพิ่งย้ายชาวโรฮิงญากลุ่มแรกกว่า 1,600 คนไปยังเกาะดังกล่าวเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ด้านหน่วยงานด้านมนุษยธรรมและกลุ่มสิทธิได้ท้วงติงการจัดหาที่อยู่ใหม่ให้ชาวโรฮิงญา โดยระบุว่า เกาะดังกล่าวตั้งอยู่ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ เสี่ยงต่ออุทกภัยและพายุไซโคลนบ่อยครั้ง รวมถึงอาจจมอยู่ใต้น้ำในช่วงที่มีคลื่นสูง แต่ทางการบังกลาเทศแย้งว่า ทางการได้สร้างทำนบกันคลื่นยาว 12 กิโลเมตรป้องกันปัญหาน้ำท่วมเกาะ พร้อมกับสร้างบ้านให้ชาวโรฮิงญาอยู่ได้ราว 100,000 คน และการเดินทางย้ายที่อยู่อาศัยเป็นไปตามความสมัครใจของชาวโรฮิงญาโดยที่ทางการไม่ได้บังคับขู่เข็ญ อย่างไรก็ดี ผู้ลี้ภัยและเจ้าหน้าที่ด้านมนุษยธรรมหลายรายเผยว่า ชาวโรฮิงญาบางส่วนถูกบีบบังคับให้ย้ายไปยังเกาะพาชันจาร์ที่มีพื้นที่เพียง 52 ตารางกิโลเมตร และก่อตัวจากตะกอนเทือกเขาหิมาลัยในปี 2549 ที่โผล่พ้นน้ำเมื่อ 20 ปีก่อน โดยที่ไม่เคยมีใครอยู่อาศัยมาก่อน ชาวโรฮิงญากว่า 730,000 คนหนีข้ามพรมแดนมาจากเมียนมาในปี 2560 หลังเกิดเหตุกวาดล้างชาวโรฮิงญาภายใต้การนำของกองทัพเมียนมาที่องค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นระบุว่ามีเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่กองทัพเมียนมาออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่ากองทัพตั้งเป้าโจมตีทหารโรฮิงญาที่โจมตีสำนักงานของตำรวจเมียนมา. -สำนักข่าวไทย

บังกลาเทศเริ่มอพยพโรฮิงญาไปอยู่เกาะเสี่ยงภัย

บังกลาเทศเริ่มอพยพชาวโรฮิงญาในค่ายผู้ลี้ภัยไปยังเกาะที่สหประชาชาติและกลุ่มสิทธิติงว่าเป็นที่พื้นที่ลุ่มต่ำ เสี่ยงภัยน้ำท่วมและไซโคลน

บังกลาเทศชุมนุมต้านฝรั่งเศสเรื่องการ์ตูนหมิ่น

ธากา 27 ต.ค.- ชาวบังกลาเทศหลายหมื่นคนเดินขบวนไปตามท้องถนนทั่วกรุงธากาในวันนี้ เรียกร้องให้คว่ำบาตรสินค้าของฝรั่งเศส และเผาหุ่นประธานาธิบดีเอมานูว์แอล มาครงของฝรั่งเศสที่ปกป้องการแสดงภาพการ์ตูนดูหมิ่นศาสดาของศาสนาอิสลาม ตำรวจประมาณว่า มีคนไม่ต่ำกว่า 40,000 คน เข้าร่วมการชุมนุมที่จัดขึ้นโดยพรรคการเมืองเคร่งศาสนาอิสลามใหญ่ที่สุดพรรคหนึ่ง ผู้ชุมนุมตะโกนให้คว่ำบาตรสินค้าฝรั่งเศสและลงโทษประธานาธิบดีฝรั่งเศส แต่ต้องหยุดขบวนก่อนเคลื่อนไปถึงสถานทูตฝรั่งเศส เพราะตำรวจวางรั้วลวดหนามขวางถนนห่างจากสถานทูต 5 กิโลเมตร ผู้ชุมนุมราดน้ำมันแล้วเผาหุ่นประธานาธิบดีมาครง เพราะไม่พอใจที่เขากล่าวปกป้องครูฝรั่งเศสที่ถูกวัยรุ่นชาวเชเชนฆ่าตัดศีรษะเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม หลังจากนำภาพการ์ตูนหมิ่นศาสดาศาสนาอิสลามมาสอนในชั้นเรียนเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก พรรคการเมืองที่เป็นผู้จัดการชุมนุมวันนี้ชักชวนชาวบังกลาเทศประท้วงทั่วประเทศในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์นี้ และเรียกร้องรัฐบาลขับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสออกนอกประเทศ ไม่เช่นนั้นจะช่วยกันรื้อถอนสถานทูตทิ้ง เพราะในเมื่อฝรั่งเศสเป็นศัตรูของมุสลิม ผู้เป็นตัวแทนของฝรั่งเศสจึงถือเป็นศัตรูด้วยเช่นกัน ฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าใหญ่ของบังกลาเทศที่มีประชากร 168 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นมุสลิม โรงงานสิ่งทอในบังกลาเทศผลิตสินค้าให้แก่แบรนด์ดังของฝรั่งเศสหลายแบรนด์.-สำนักข่าวไทย

หัวหอมในบังกลาเทศแพงหลังอินเดียห้ามส่งออก

ราคาหัวหอมในบังกลาเทศพุ่งขึ้นกว่าร้อยละ 50 ในวันนี้ หลังจากอินเดีย ผู้ส่งออกใหญ่ที่สุดในโลกห้ามส่งออกเพราะฝนตกหนักทำให้ผลผลิตเสียหายและต้องชะลอการเพาะปลูก

ส่งออกสิ่งทอบังกลาเทศดีดตัวแรง

อุตสาหกรรมสิ่งทอที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจบังกลาเทศดีดตัวแรงในเดือนสิงหาคม ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่ง โรงงานกลับมาผลิตเต็มกำลังอีกครั้งรองรับคำสั่งซื้อจากร้านค้าปลีกระดับโลก

บังกลาเทศฝนตกหนัก ประชาชนต้องทิ้งบ้านเรือนไปยังที่ปลอดภัย

ฝนตกหนักในบังกลาเทศ ส่งผลให้ประชาชนหลายล้านคนต้องอพยพทิ้งบ้านเรือนไปยังที่ปลอดภัย บ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมเสียหายจำนวนมหาศาล

วิกฤติน้ำท่วมทำชาวบังกลาเทศหลายล้านไร้ที่อยู่อาศัย

ชาวบังกลาเทศหลายล้านคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย จากวิกฤติน้ำท่วมที่กินพื้นที่ทั่วประเทศไปถึง 1 ใน 3 และทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 160 คน พื้นที่เพาะปลูกข้าวเสียหายเกือบ 500,000 ไร่

พบโรฮิงญา 26 คนซ่อนบนเกาะมาเลเซีย

กัวลาลัมเปอร์ 27 ก.ค.- เจ้าหน้าที่มาเลเซียแจ้งว่า พบชาวโรฮิงญา 26 คนที่เดิมคาดว่าจมน้ำเสียชีวิตนอกชายฝั่งมาเลเซียแล้ว ทั้งหมดยังมีชีวิตอยู่โดยหลบซ่อนตัวอยู่บนเกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง หน่วยยามฝั่งมาเลเซียเผยว่า เจ้าหน้าที่เห็นชาวโรฮิงญาคนหนึ่งว่ายน้ำขึ้นฝั่งมาจากเรือที่ลอยลำนอกชายฝั่งตะวันตกของลังกาวี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเมื่อวันเสาร์ เดิมคิดว่าคนที่เหลือจมน้ำเสียชีวิตหมดแล้ว แต่เมื่อค้นหาจึงพบผู้รอดชีวิตกลุ่มหนึ่งหลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้ของเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน ทั้งหมดถูกควบคุมตัวและต้องรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาก่อนนำตัวส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองต่อไป ทางการเชื่อว่า แก๊งค้ามนุษย์ย้ายชาวโรฮิงญากลุ่มนี้มาจากเรือลำใหญ่ที่นำชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนมาจากบังกลาเทศ โดยให้ลงเรือลำเล็กเพื่อลอบขึ้นฝั่งมาเลเซีย และใช้เรือประมงบังหน้าเป็นคนพาขึ้นฝั่ง หวังตบตาเจ้าหน้าที่ เดือนที่แล้วมาเลเซียควบคุมตัวชาวโรฮิงญา 269 คน ที่ขึ้นฝั่งเกาะลังกาวีมาพร้อมกับเรือที่เสียหาย เจ้าหน้าที่เผยในเวลานั้นว่า คาดว่ามีจำนวนหนึ่งเสียชีวิตระหว่างการล่องเรือที่กินเวลานานถึง 4 เดือน ขณะที่นายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยาสซินกล่าวว่า มาเลเซียไม่สามารถรับชาวโรฮิงญาเข้าประเทศได้อีกแล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจเสียหายหนักจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 มาเลเซียเป็นจุดหมายหลักของชาวโรฮิงญาที่หนีจากค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศหวังมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการทำงานค่าแรงต่ำในภาคการเกษตรและการก่อสร้าง.-สำนักข่าวไทย

บังกลาเทศอนุมัติทดลองฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ระยะที่ 3 จากจีน

บังกลาเทศประกาศอนุมัติให้นำวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ซึ่งผลิตโดยบริษัทซิโนวัค ไบโอเทค ของจีน มาทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ต่ออาสาสมัครชาวบังกลาเทศ

1 9 10 11 12 13 36
...