fbpx

ยานสำรวจดวงจันทร์จีนส่งภาพกลับโลกในวันไหว้พระจันทร์

ปักกิ่ง 2 ต.ค.- ยานสำรวจดวงจันทร์ของจีนส่งภาพที่ถ่ายบนดวงจันทร์กลับมายังโลกในวันไหว้พระจันทร์ ไชน่า มีเดีย กรุ๊ปหรือซีเอ็มจี (CMG) ซึ่งเป็นสื่อหลักของจีนรายงานว่า ยานอวี้ทู่-2 (Yutu-2) (อวี้ทู่ แปลว่า กระต่ายหยก) ซึ่งเป็นยานสำรวจดวงจันทร์ของจีน ได้ส่งภาพถ่ายที่ถ่ายบนดวงจันทร์ ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 380,000 กิโลเมตร กลับมายังโลกเมื่อวันศุกร์ 29 กันยายน 2566 ซึ่งเป็นเทศกาลไหว้พระจันทร์ของจีน กล้องของยานอวี้ทู่หมุนได้ 2 รอบ และถ่ายภาพได้ 56 ภาพ วิศวกรนำภาพถ่ายเหล่านี้มาต่อกันเพื่อสร้างภาพพาโนรามาของบริเวณที่อยู่โดยรอบอวี้ทู่ ภาพพาโนรามาที่ทำเสร็จสิ้นมีขนาดไฟล์มากกว่า 300 เมกะไบต์ วิศวกรเผยว่า ภาพถ่ายนี้ใช้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับดวงจันทร์ และที่สำคัญคือใช้ประกอบการพิจารณาว่า อวี้ทู่-2 ควรมุ่งหน้าไปทิศทางใด เนื่องจากพื้นผิวดวงจันทร์มีความซับซ้อน จึงต้องระมัดระวังในการวางแผนเส้นทาง เพื่อให้แน่ใจว่ายานสำรวจเดินทางได้อย่างน่าเชื่อถือ อวี้ทู่-2 เดินทางไปกับยานลงจอดฉางเอ๋อ-4 ที่ลงจอดที่ด้านไกลของดวงจันทร์เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562 และทำงานได้ยาวนานกว่าวงจรชีวิตที่ออกแบบไว้ โดยเดินทางแล้วมากกว่า 1.5 กิโลเมตร ส่งข้อมูลกลับมาเกือบเทราไบต์.-สำนักข่าวไทย

ยานสำรวจดวงจันทร์ของอินเดียหยุดทำหน้าที่ตามกำหนดแล้ว

นิวเดลี 29 ก.ย.- ยานสำรวจดวงจันทร์ของอินเดียยุติการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้แล้ว หลังจากเริ่มการสำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม สำนักข่าวเพรสส์ทรัสต์ออฟอินเดียรายงานว่า นายเอส. โสมนัธ ประธานองค์การวิจัยอวกาศอินเดียหรืออิสโร (ISRO) เผยกับสื่อเมื่อค่ำวันพุธว่า ไม่เป็นไรหากยานสำรวจปรัชญาณ (Pragyan) จะหยุดทำงานก่อนเข้าสู่กลางคืนบนดวงจันทร์ เนื่องจากเป็นไปตามที่กำหนด ยานสำรวจปรัชญาณลงจอดใกล้กับขั้วใต้ของดวงจันทร์สำเร็จเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ทำให้อินเดียเป็นชาติที่ 4 ของโลกที่ส่งยานอวกาศไปลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ อิสโรเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า หวังว่าจะสามารถติดต่อกับยานสำรวจปรัชญาณและยานลงจอดวิกรม (Vikram) ได้อีกครั้ง โดยคาดหวังว่า จะขยายอายุภารกิจด้วยการเดินเครื่องยานสำรวจปรัชญาณที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์อีกครั้ง ทันทีที่ดวงจันทร์ได้รับแสงอาทิตย์ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับสัญญาณใด ๆ การเข้าสู่กลางคืนบนดวงจันทร์จะกินเวลาเท่ากับ 14 วันบนโลก เนื่องจากเวลา 1 วันบนดวงจันทร์เท่ากับเวลา 1 เดือนบนโลก.-สำนักข่าวไทย

ญี่ปุ่นส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์ในภารกิจ “มูน สไนเปอร์”

จรวด เอช2เอ ที่บรรทุกยานสำรวจดวงจันทร์ของสำนักงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่น ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศแล้วในวันนี้จากศูนย์อวกาศทาเนกาชิมะ ในจังหวัดคาโกชิมะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นเมื่อเวลา 8.42 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ ตรงกับ 6.42 น. เช้าวันนี้ตามเวลาในประเทศไทย

ทั่วโลกเฝ้าชมปรากฏการณ์ “ซูเปอร์บลูมูน”

ผู้สนใจดาราศาสตร์ทั่วโลกเฝ้ารอชมปรากฏการณ์ “ซูเปอร์บลูมูน” (super blue Moon) เมื่อคืนวันพุธ ซึ่งจะไม่เกิดปรากฏการณ์พิเศษหายากเช่นนี้อีกจนกว่าจะถึงปี 2037

ยานสำรวจอินเดียยืนยันพบ “ซัลเฟอร์” ที่ขั้วใต้ดวงจันทร์

นิวเดลี 30 ส.ค.- องค์การสำรวจอวกาศอินเดียหรืออิสโร (ISRO) แจ้งว่า ยานสำรวจของอินเดียยืนยันว่า พบซัลเฟอร์ที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์ หลังจากลงจอดที่บริเวณดังกล่าวเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม อิสโรออกแถลงการณ์ลงวันที่ 28 สิงหาคมว่า อุปกรณ์เลเซอร์สเปกโทรสโกปี (Laser-Induced Breakdown Spectroscopy) บนยานสำรวจของจันทรายาน-3 ได้ทำการสำรวจในสถานการณ์จริงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนกับองค์ประกอบของพื้นผิวดวงจันทร์ใกล้ขั้วใต้ และได้ผลยืนยันชัดเจนว่ามีซัลเฟอร์อยู่ในบริเวณดังกล่าว สิ่งนี้ไม่สามารถทำได้ด้วยอุปกรณ์บนยานโคจรอื่น ๆ นอกจากนี้ยังได้ผลยืนยันว่า มีอะลูมิเนียม แคลเซียม เหล็ก โครเมียม และไทเทเนียมบนพื้นผิวดวงจันทร์ และเมื่อสำรวจเพิ่มเติมก็พบแมงกานีส ซิลิคอน และออกซิเจน ยานสำรวจปรัชญาณ (Pragyan) เป็นยาน 6 ล้อ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จะส่งภาพและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กลับมายังโลกตลอดอายุการใช้งานนาน 14 วันบนโลก เทียบเท่ากับ 1 วันบนดวงจันทร์ เนื่องจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของยานไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถทนทานต่อกลางคืนที่หนาวเหน็บบนดวงจันทร์ได้ อินเดียส่งยานสำรวจปรัชญาณและยานลงจอดวิกรม (Vikram) ในภารกิจจันทรายาน-3 ขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม และลงจอดบนดวงจันทร์สำเร็จเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม นับเป็นประเทศที่ […]

ญี่ปุ่นเลื่อนปล่อยยานสำรวจดวงจันทร์เป็นครั้งที่ 3

โตเกียว 28 ส.ค.- องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นหรือแจ็กซา (JAXA) ประกาศเลื่อนการปล่อยยานสำรวจดวงจันทร์เป็นครั้งที่ 3 ในวันนี้ เนื่องจากกระแสลมแรง แจ็กซาไม่ได้ประกาศกำหนดวันปล่อยครั้งใหม่ หลังจากยกเลิกในช่วงไม่ถึง 30 นาทีก่อนกำหนดการปล่อยมูน สไนเปอร์ (Moon Sniper) ซึ่งเป็นภารกิจการนำยานสลิม (SLIM) ย่อมาจาก Smart Lander for Investigating Moon ไปลงจอดภายในรัศมี 100 เมตรของเป้าหมายเจาะจงบนดวงจันทร์ พร้อมกับดาวเทียมวิจัยที่พัฒนาโดยแจ็กซา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐหรือนาซา (NASA) และองค์การอวกาศยุโรปหรืออีซา (ESA) เจ้าหน้าที่มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรีส์ที่รับผิดชอบเรื่องการปล่อยแจ้งสื่อว่า ภารกิจถูกเลื่อนเนื่องจากกระแสลมไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในการปล่อยยาน โดยจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 วันในการเตรียมการการปล่อยครั้งใหม่ และจะต้องปล่อยก่อนที่กระแสลมปัจจุบันจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กันยายน ญี่ปุ่นเคยปล่อยยานสำรวจดวงจันทร์ชื่อโอโมเตนะชิ (Omotenashi) ไปกับภารกิจอาร์เทมิสวัน (Artemis 1) ของนาซาเมื่อปี 2565 แต่ภารกิจเกิดปัญหาและการสื่อสารกับยานขาดหายไป ส่วนเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ไอสเปซ (ispace) สตาร์ทอัพญี่ปุ่นพลาดหวังที่จะได้เป็นเอกชนรายแรกที่ได้ลงจอดบนดวงจันทร์ เมื่อขาดการติดต่อกับยานสำรวจที่ตกกระแทกดวงจันทร์อย่างรุนแรง.-สำนักข่าวไทย

นายกฯ อินเดีย ตั้งชื่อจุดจอดบนดวงจันทร์ว่า ชีวะชักติ

นายกฯ อินเดีย ตั้งชื่อเรียกจุดที่จันทรายาน-3 ลงจอดใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์ว่า ชีวะชักติ หรือพลังอำนาจของพระศิวะ และกำหนดวันที่ 23 ส.ค. เป็นวันอวกาศแห่งชาติในอินเดีย

“จันทรายาน-3” ของอินเดียเตรียมลงจอดบนดวงจันทร์

เบงกาลูรู 23 ส.ค.- ยานสำรวจของอินเดียมีกำหนดลงจอดใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์ในเย็นวันนี้ หากประสบความสำเร็จก็จะเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถลงจอดในจุดนี้   ยานสำรวจในภารกิจจันทรายาน-3 (Chandrayaan-3) มีกำหนดลงจอดหลังเวลา 18:00 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับหลังเวลา 19:00 น.วันนี้ตามเวลาไทย เป็นความพยายามล่าสุดของอินเดีย หลังจากภารกิจจันทรายาน-2 ล้มเหลวไปในปี 2562 และหลังจากยานลูนา-25 (Luna-25) ของรัสเซียตกกระแทกพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมตามเวลาท้องถิ่น เป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งแรกของรัสเซียนับจากปี 2519 หากไม่ตกกระแทกพื้นก็จะลงจอดใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์เป็นประเทศแรกของโลก นายเค สิวาน อดีตประธานองค์กรสำรวจอวกาศอินเดียหรืออิสโร (ISRO) เผยว่า ภาพถ่ายล่าสุดที่ยานลงจอดวิกรม (Vikram) ของจันทรายาน-3 ส่งกลับมายังโลกทำให้มั่นใจได้ว่า การลงจอดจะประสบความสำเร็จ และอิสโรได้แก้ไขข้อบกพร่องจากความล้มเหลวเมื่อ 4 ปีก่อนที่คณะนักวิทยาศาสตร์ขาดการติดต่อกับยานของจันทรายาน-2 ในช่วงที่ยังไม่ลงจอด อินเดียปล่อยจรวดในภารกิจจันทรายาน-3 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ใช้เวลาในการเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์นานกว่ายานอวกาศของประเทศอื่น รวมถึงยานอะพอลโลของสหรัฐช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 ที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน เนื่องจากอินเดียใช้จรวดที่มีกำลังน้อยกว่า จึงต้องโคจรรอบโลกหลายรอบเพื่อเพิ่มความเร็วก่อนเข้าสู่เส้นทางมุ่งหน้าไปยังดวงจันทร์ และเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม […]

ยานรัสเซียตกกระแทกดวงจันทร์

ยานสำรวจดวงจันทร์ ลูนา-25 (Luna-25) ของรัสเซียตกกระแทกพื้นผิวดวงจันทร์ ไม่นานหลังเผชิญเหตุขัดข้องทางเทคนิค ทำให้ความพยายามของรัสเซียในการสำรวจดวงจันทร์ครั้งที่ 2 ในรอบกว่า 50 ปี ล้มเหลว

ยานสำรวจรัสเซียจะเข้าวงโคจรดวงจันทร์วันนี้

มอสโก 16 ส.ค.- ยานสำรวจลูนา-25 (Luna-25) ของรัสเซียจะเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ในวันนี้ ตามตารางขององค์การอวกาศรัสเซียหรือ รอสคอสมอส (Roscosmos) ยานลูนา-25 หนักประมาณ 800 กิโลกรัมทะยานขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดโซยุซเมื่อวันที่ 11 สิงหาคมจากศูนย์วอสตอชนี คอสโมโดรม (Vostochny Cosmodrome) ทางตะวันออกไกลของรัสเซีย เป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของรัสเซียครั้งแรกนับจากปี 2519 ยานจะโคจรอยู่เหนือพื้นผิวดวงจันทร์ประมาณ 100 กิโลเมตร แล้วจะลงจอดในวันจันทร์หน้าในจุดที่อยู่ทางเหนือของหลุมอุกกาบาตโบกุสลัฟสกี (Boguslawsky crater) บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ โดยจะปฏิบัติภารกิจอยู่บนดวงจันทร์นาน 1 ปี ด้วยการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ดินบนดวงจันทร์ รอสคอสมอสแจ้งว่า กล้องที่ติดตั้งบนยานลูนา-25 ได้ถ่ายภาพระยะไกลของโลกและดวงจันทร์ขณะยานเดินทางอยู่ในอวกาศ รัสเซียเผยว่า จะเดินหน้าแผนการสำรวจดวงจันทร์ของตนเอง แม้ว่าองค์การอวกาศยุโรปประกาศว่า จะไม่ร่วมมือกับรัสเซียเรื่องภารกิจอวกาศในอนาคต เพราะรัสเซียทำสงครามในยูเครน.-สำนักข่าวไทย

ยานอวกาศอินเดียเข้าวงโคจรดวงจันทร์

ยานอวกาศของอินเดีย เข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์แล้ว หากลงจอดได้ จะเป็นประเทศที่ 4 ที่ส่งยานลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ

ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพสำรวจดวงจันทร์เป็นของปลอม เพราะไม่มีช่างภาพบนดวงจันทร์ จริงหรือ?

คลิปวิดีโอการเดินทางออกจากดวงจันทร์ บันทึกโดยกล้องบนยาน Lunar Rover ที่ควบคุมการสั่งการจากพื้นโลก

1 2 3 4 8
...