ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อันตรายจากเมนูอาหารดิบ

14 กันยายน 2566 ในสังคมไทยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแตกต่างจากอดีตมาก อาหารสุกดิบค่อนข้างแพร่หลาย เช่น ซอยจุ๊ กุ้งดอง หรือแม้แต่ปลาน้ำจืดดิบ เป็นต้น ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดพยาธิและอาจก่อให้เกิดโรคร้ายได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจร่วมกันถึงพฤติกรรมการทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ส่วนใหญ่เชื้อที่พบในเนื้อดิบ มีอะไรบ้าง ? 1.ซอยจุ๊ มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับพยาธิตัวตืด ซึ่งเกิดจากการกินตัวอ่อนพยาธิเข้าไป เมื่อตัวอ่อนเจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ รูปร่างคล้ายก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ พยาธิจะแย่งอาหารในลำไส้ คนติดโรคจะมีอาการหิวบ่อย ปวดบริเวณลิ้นปี่ ไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งท้องร่วง ท้องผูก น้ำหนักตัวลดลง 2.หมึกซ็อต เมนูยอดฮิตนี้อาจทำให้หมึกดิ้นและสำลักลงหลอดลมหรืออุดตันหลอดอาหาร เสี่ยงอันตราย การกินอาหารทะเลดิบโดยไม่ผ่านความร้อนหรือแช่แข็ง มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Vibrio ทำให้ติดเชื้อในทางเดินอาหารรุนแรง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวปริมาณมาก 3.กุ้งดิบแช่น้ำปลาในกุ้งสด ๆ อาจจะปนเปื้อนเชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามชายฝั่งทะเล ในน้ำทะเล อันตรายของเชื้อนี้ทำให้เกิดทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ในบางรายอาจเกิดอาการปวดหัว อาเจียนหรือมีไข้ 4.ปลาน้ำจืดดิบเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ในประเทศไทยเป็นแหล่งระบาดของพยาธิใบไม้ตับพบในปลาน้ำจืด ดังนั้นหากจะกินปลาดิบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษา มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ควรเลือกแนวทางการรักษาอย่างไร ควรกินอะไร หรือมีอาหารใดที่ห้ามกิน  ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไข้เลือดออก – สังเกตอาการ และ การรักษา

24 กรกฎาคม 2566 – ไข้เลือดออก โรคร้ายที่หลายคนละเลย เราจะรับมือและป้องกันได้อย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า “ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง แต่หากรุนแรงและรักษาไม่ทันก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ ปี 2566 ประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้น เดือนมกราคม – กรกฎาคม พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรวม 36,000 ราย เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาสูงขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยสัปดาห์ละ 5,000 ราย หากเทียบกับปี 2565 จะอยู่ในระดับ 1,000-2,000 ราย และพบผู้เสียชีวิตในประเทศ 32 ราย ส่วนมากเป็นผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงมาจากการได้รับวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกช้าหรือมีภาวะแทรกซ้อน อาการโรค โรคไข้เลือดออกอาจมีอาการแสดงเพียงไข้อย่างเดียว ซึ่งในบางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปวดเมื่อยตามตัว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เลสิก

23 กรกฎาคม 2566 –  เลสิกคืออะไร แก้ปัญหาสายตาได้อย่างไร มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เลสิก คืออะไร ? เลสิก เป็นการแก้ปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงโดยกำเนิด ให้หายกลับมาเป็นปกติได้ หลักการคือเจียระไนกระจกตาให้ได้ความโค้งที่ต้องการเพื่อปรับให้ภาพคมชัด แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดว่าคนไข้จะเข้ารับการรักษาด้วยเลสิกได้หรือไม่ คือ ความหนาและความแข็งแรงของกระจกตา ช่วงอายุที่เหมาะสมกับการทำเลสิก แพทย์แนะนำให้ทำเลสิกได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป เพราะเป็นอายุที่ค่าสายตาคงที่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ ความนิ่งของค่าสายตา ผู้ที่จะทำเลสิกได้นั้น ควรมีค่าสายตาที่ไม่เปลี่ยนแปลงแล้วอย่างน้อย 1 ปี ข้อดีของการทำเลสิก ทำให้ชีวิตสะดวกมากขึ้น เช่น นักกีฬา คนออกกำลังกายหรือคนเล่นกีฬาบางชนิด หรือเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจ ภาวะแทรกซ้อนของคนทำเลสิก อย่างไรก็ตาม สำหรับคนอยากทำเลสิก ต้องหาข้อมูลและตรวจสภาพตาอย่างละเอียดก่อนเลือกประเภทของการปรับค่าสายตา การตรวจประเมินสภาพตา จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก คนไข้ควรปรึกษาและวางแผนการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม สัมภาษณ์เมื่อ : 11 กรกฎาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย :  พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS

16 กรกฎาคม 2566 – โรค MS หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีวิธีการรักษาอย่างไร ผู้ป่วยสามารถหาซื้อยากินเองได้หรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โรค MS เป็นโรคที่ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด มีอาการกำเริบแบบเฉียบพลัน ได้แก่ ตามัว ไขสันหลังอักเสบ เป็นต้น วิธีรักษาอาการกำเริบของโรคโดยการใช้ยา 1. การให้ยาสเตียรอยด์ เป็นการรักษาในระยะที่มีการกำเริบของโรค โดยสเตียรอยด์จะออกฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบที่กำลังเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ 2. การให้ยารักษาโรคซึมเศร้า ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีภาวะโรคซึมเศร้า หรือแพทย์อาจจะพิจารณาเป็นยาเสริมแก้อาการปวดจากระบบประสาทส่วนกลาง จึงควรสั่งใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น 3. การรักษาตามอาการ เช่น การใช้กัญชา ยังไม่มีข้อมูลว่ารักษาโรคได้ แต่ก็มีข้อมูลว่าสามารถรักษาอาการเกร็ง มีผลข้างเคียงคือ ทำให้ง่วงนอน การใช้กัญชาแนะนำให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม คนไข้ควรดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ดี ลดความวิตกกังวล หมั่นออกกำลังกาย งดอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทุกชนิด เน้นอาหารสุกสะอาด และไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ หากมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรรีบไปพบแพทย์ก่อน เพื่อรีบทำการรักษา หรือทำกายภาพบำบัด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาเหล่หรือตาเข

29 มิถุนายน 2566 – ภาวะตาเหล่หรือตาเขคืออะไร ตาเหล่ ตาเข เหมือนกันหรือไม่ เกิดจากสาเหตุใดและมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ตาเหล่ ตาเข เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา กล้ามเนื้อตาทำงานไม่สัมพันธ์กัน เมื่อมองตรง ตาดำข้างหนึ่งจะไม่อยู่ตรงกลาง อาจจะมีข้างหนึ่งเขเข้า หรือเขออก ตาเหล่เทียม เป็นลักษณะที่ดูคล้ายกับอาการของการเป็นตาเข ตาเหล่ แต่ความจริงแล้วผู้ที่เป็นตาเหล่เทียมไม่ได้มีความผิดปกติใด ๆ เลย ตาเหล่ซ่อนเร้น หรือตาส่อน  อาการของตาเหล่ซ่อนเร้นจะแสดงออกเมื่อผู้ป่วยเหม่อ ไม่ได้โฟกัสวัตถุใด หรือปิดตาไว้หนึ่งข้าง ตาข้างที่ไม่ได้ใช้มองจะค่อย ๆ เหล่ออกด้านข้าง เกิดจากกล้ามเนื้อหัวตาผ่อนแรงจนไม่ได้ดึงตาข้างหนึ่งกลับมาให้ตรงเหมือนกับอีกข้าง ตาเหล่ เกิดจากสาเหตุใด ? การรักษาอาการตาเหล่ สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาจากลักษณะตาเข การผ่าตัดแก้ไขตาเข ไม่ยุ่งยาก ให้ผลลัพธ์ดี ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากสามารถขอใช้สิทธิประกันการรักษาได้อีกด้วย สัมภาษณ์เมื่อ : 9 มิถุนายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไข่เบอร์ไหนดี ที่เหมาะกับเรา จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์คำแนะนำเรื่องการเลือกไข่ ว่าขนาดหรือเบอร์ไหนที่เหมาะกับเรานั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล ที่ปรึกษาสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ Q : มีไข่ที่เหมาะกับกลุ่มใดเป็นพิเศษ จริงหรือ ?A : ไม่จริง เบอร์ของไข่มีความต่างกันเรื่องสารอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเจาะจงว่าไข่เบอร์ไหนเหมาะกับใคร Q : ไข่ขนาด M หรือ เบอร์ 3 เบอร์ 4 มีคอเลสเตอรอลต่ำ โซเดียมต่ำ ไขมันปานกลาง โปรตีนต่ำ ความเข้มข้นวิตามินสูง จริงหรือ?A : ที่แชร์บอกว่า “คอเลสเตอรอลต่ำ” นั้นยังไม่ถูกต้อง ควรใช้คำว่า “ไข่เบอร์เล็กมีคอเลสเตอรอลต่ำกว่าเบอร์ใหญ่” จึงจะถูกต้อง แต่ถึงอย่างไรไม่ว่าจะเป็นไข่ชนิดไหนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพด้วยกันทั้งนั้น หากกินในปริมาณที่เหมาะสม Q : ไข่ขนาด M เหมาะกับผู้สูงวัย ผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคไต จริงหรือ ?A : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ลักษณะของผู้ป่วย SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง

11 มิถุนายน 2566 – โรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองจะแสดงอาการบ่งบอกโรคตอนไหน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรค SLE และ สัดส่วนสถิติการเกิดโรคเป็นอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สถิติการเกิดโรค SLE เราสามารถพบผู้ป่วยโรค SLE ประมาณ 40-50 คนใน 100,000 คน และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 8 – 9 เท่า ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังไม่มีการรักษาในปัจจุบันที่ทำให้หายขาดได้ แต่ทำให้อาการสงบจากการรับประทานยาได้ การวินิจฉัยโรค SLE แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วย การตรวจร่างกายพบรอยโรคร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เนื่องจากโรค SLE มีความสลับซับซ้อนผู้ป่วยมีความรุนแรงในระดับแตกต่างกัน การใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรค SLE เพียงแบบเดียวอาจจะไม่เพียงพอกับผู้ป่วย SLE บางราย อาการของโรคเป็นอย่างไร ? นอกจากอาการที่แสดงทางร่างกายแล้ว ผู้ป่วยบางรายยังมีภาวะจิตตกหรือโรคซึมเศร้า (Depession) ร่วมด้วย ครอบครัวและคนรอบข้างจึงมีความสำคัญในการสนับสนุนผู้ป่วยที่จะทำคนไข้จะมีกำลังใจที่ดีต่อสู้กับโรค SLE ได้ดีขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศ

1 มิถุนายน 2566-เครื่องฟอกอากาศใช้กับห้องแบบไหน ควรติดตั้งไว้ตำแหน่งใด และดูแลรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศ มีดังนี้ 1. เครื่องฟอกอากาศ ใช้ได้กับห้องทุกขนาด ? ตอบ : การเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดห้อง เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่คุ้มค่าที่สุด 2. เครื่องฟอกอากาศ ใช้กับห้องที่เปิดโล่งได้ ? ตอบ : เครื่องฟอกอากาศสามารถทำงานได้ดีในห้องปิด ไม่ควรเปิดหน้าต่างขณะที่ใช้เครื่องฟอกอากาศเนื่องจากการเปิดหน้าต่างทิ้งไว้จะทำให้เครื่องฟอกอากาศทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ 3. เครื่องฟอกอากาศ ไม่ต้องเปลี่ยนฟิลเตอร์ ? ตอบ : เครื่องฟอกอากาศนั้นควรเปลี่ยนฟิลเตอร์ทุก 3 – 6 เดือน หรืออาจจะพิจารณาควรเปลี่ยนเมื่อความสามารถในการกรองฝุ่นลดลงเพื่อให้เครื่องฟอกอากาศสามารถระบายอากาศได้ดีเหมือนเดิม 4. ฟิลเตอร์สามารถล้างน้ำได้ ? ตอบ : ไม่สามารถล้างน้ำได้ การล้างแผ่นกรอง HEPA ด้วยน้ำจะลดประสิทธิภาพการทำงานของ HEPA ลงอย่างมาก ประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นขนาดเล็กลดลง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาหารแพลนต์เบส ผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากพืช

อาหารแพลนต์เบส คือ รูปแบบการกินที่เน้นพืช อาจจะประกอบด้วย  ผักผลไม้, พืชตระกูลถั่ว, เมล็ดพืช และธัญพืช เป็นอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการลดหรือหลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์นั่นเอง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เสียงดังในหู

เสียงดังในหู คืออะไร เราจะได้ยินตอนไหน และควรทำอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.พญ.ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล อาจารย์สาขาวิชาโรคหู โสตประสาท การได้ยินและการทรงตัว ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทำความเข้าใจกับอาการเสียงดังในหู ผศ.พญ.ศิริพร กล่าวว่า “เสียงดังในหูเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยปกติเวลาหูทำงานจะมีการส่งเสียงกลับมาด้วย เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์รับเสียงเริ่มเสื่อมลงตามอายุ ต้องกระตุ้นแรงขึ้นเลยส่งเสียงกลับมาแรงขึ้น ทำให้เราได้ยินเสียงดังในหู” ลักษณะเสียงที่ได้ยินเป็นแบบไหน ? “ขึ้นอยู่กับความถี่ที่เสียง ส่วนใหญ่จะเป็นเสียงวี๊ด ถ้าตามอายุหรือตามเซลล์รับเสียงในหูตาย จะตายที่บริเวณเสียงสูงก่อนเป็นอันดับแรก  แต่ถ้าหากว่าเสียงต่ำเสียก่อน ก็จะเป็นเสียงหึ่ง ๆ เหมือนเครื่องจักร” ผศ.พญ.ศิริพร กล่าว เราจะได้ยินเสียงแบบนี้ตอนไหน ? “เรามักจะได้ยินเมื่อเวลาเรามีความเครียด นอนไม่หลับ อยู่เงียบ ๆ คนเดียว เช่น เมื่อเราอยู่ในห้องเงียบ ๆ ทุกคนจะได้ยินเสียงดังในหู กลับกันหากยืนอยู่ตามท้องถนนมีเสียงที่ดังกว่า สมองของเราจะเลือกฟังเสียงที่ดังกว่า เหมือนเราทำงานเพลิน ๆ ไม่ได้สนใจเสียงแอร์ เสียงดังในหูก็คล้ายกับเสียงแอร์นั่นเอง” ผศ.พญ.ศิริพร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : คอนแทคเลนส์แก้สายตายาว

7 พฤษภาคม 2566 – ปัญหาสายตายาว สามารถแก้ด้วยคอนแทคเลนส์ ได้หรือไม่ ? และใครควรใช้ หรือไม่ควรใช้ ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะสายตายาว 1.สายตายาวแต่กำเนิด เกิดจากการที่กระบอกตาสั้นกว่าปกติหรือกระจกตามีความโค้งน้อยกว่าปกติ ทำให้แสงไปกระทบที่จอประสาทตา จึงไม่มีระยะที่ชัดทั้งใกล้และไกล 2.สายตายาวตามวัย คนที่มีปัญหาสายตายาวเมื่อถึงวัย 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการที่เลนส์แก้วตาแข็งขึ้น ความยืดหยุ่นน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น ทำให้มีความยากลำบากในการมองระยะใกล้ คอนแทคเลนส์สายตายาว จะมีการใส่คอนแทคเลนส์ในตาข้างที่ไม่ถนัด ให้สามารถมองใกล้ชัด ส่วนตาข้างที่ถนัด ยังคงใช้คอนแทคเลนส์อันเดิมเพื่อมองไกลชัด ต้องอาศัยการปรับตัวในการใช้ตา 2 ข้างพร้อมกันในการมองเห็นชัดเจนทั้งระยะใกล้และระยะไกล แต่การใส่คอนแทคเลนส์มีข้อจำกัดที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเรื่องของความสะอาด หรือ ระยะเวลาการใช้งาน และต้องระวังในเรื่องของการติดเชื้อของดวงตาอีกด้วย ทั้งนี้แพทย์แนะนำว่า ไม่ควรซื้อคอนแทคเลนส์สายตายาวทางออนไลน์ และต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเสียก่อน เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด ไปใช้ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล สัมภาษณ์เมื่อ : 8 มีนาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย […]

1 6 7 8 9
...