ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : กะดึก เปลี่ยนไทม์โซน นอนอย่างไร

19 ตุลาคม 2566 – เตรียมนอนยังไง เมื่อเปลี่ยนไทม์โซน และการทำงานเป็นกะ ควรนอนอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิธีรักษา ตับคั่งไขมัน

16 ตุลาคม 2566 – ตับคั่งไขมัน มีกี่ระยะ หายเองได้หรือไม่ หากเป็นแล้วจะรักษาอย่างไร หายขาดหรือไม่ ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย โรคตับคั่งไขมัน สาเหตุหลักมักเกิดจากความอ้วน มีไขมันสะสมมาก และส่วนหนึ่งของไขมันได้เข้าไปอยู่ในตับ ทำให้ ตับอักเสบจนเกิดพังผืดตับ ในระยะแรก ๆ ของโรค มักไม่แสดงอาการ โดยเฉลี่ยเมื่อเกิน 10 ปีขึ้นไป ตับจะเริ่มอักเสบ เซลล์ตับถูกแทนที่ด้วยพังผืด นำไปสู่โรคตับแข็ง ตับคั่งไขมันระยะเริ่มมีพังผืดแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 และ 2 ระยะพังผืดเริ่มต้น เป็นโรคนี้มา 1-2 ปี ระยะนี้หายได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการรักษาของแพทย์ ระยะที่ 3 และ 4 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สูญเสียการนอน หรือการอดนอน

15 ตุลาคม 2566 – สูญเสียการนอนหรือ Sleep loss มีอาการเป็นอย่างไร เหมือนกับการนอนไม่หลับหรือไม่ และเราควรนอนวันละกี่ชั่วโมงจึงจะไม่ถือว่าอดนอน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สูญเสียการนอนหรือ Sleep loss มีอาการเป็นอย่างไร ? สูญเสียการนอนหรือ Sleep loss หมายถึง การที่เรามีเวลานอน มีโอกาสนอนเพียงพอ แต่เราไม่ได้นอนหลับอย่างเพียงพอและเหมาะสม เช่น ทำงานดึก ดูซีรี่ส์ และตอนเช้าต้องตื่นมาทำงาน ทำให้ระยะการนอนนั้นสั้น เรียกว่า สูญเสียการนอน การนอนไม่หลับ คือ มีโอกาสที่จะนอนให้เพียงพอได้ แต่นอนไม่หลับ ซึ่งต้องหาสาเหตุว่านอนไม่หลับเพราะเหตุใด อาจจะกังวล ความเครียด หรือโรคทางกาย อันตรายจากนอนดึก “การนอนหลับที่ดีนั้น” พฤติกรรมการนอนควรต้องหลับสนิทไม่ตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง โดยภายในคืนนึงต้องมีระยะเวลาในการนอนสะสมให้เพียงพอถึง 6-9 ชั่วโมงโดยประมาณ  การอดนอนจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้ได้อย่างไร ตับคั่งไขมัน

13 ตุลาคม 2566 – ตับคั่งไขมัน หรือที่หลายคนเรียกว่า ไขมันพอกตับ เมื่อโภชนาการเกิน ทำให้เกิดพังผืดในตับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคนี้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 22 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุโรคตับคั่งไขมัน

2 ตุลาคม 2566 – ไขมันพอกตับ หรือ ตับคั่งไขมัน โรคที่หลายคนอาจเป็น แต่อาจไม่รู้ตัว โรคนี้เป็นอย่างไร และมีสาเหตุมาจากอะไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย สาเหตุของโรคตับคั่งไขมัน 1.กลุ่มโภชนาการเกิน โรคอ้วน ส่วนมากผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันมักมีรูปร่างอ้วนและมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน ทำให้เกิดการสะสมไขมันที่ตับ 2.กลุ่มสัมพันธ์โดยตรงกับโรคเบาหวาน ภาวะนี้มักเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เพราะร่างกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการอักเสบของตับสูง ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของตับ นำไปสู่โรคตับคั่งไขมันได้ 3.กลุ่มซ่อนรูป คนที่มีรูปร่างผอมเพรียวก็อาจตรวจพบโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดมาจากพันธุกรรมเป็นเบาหวาน โรคตับคั่งไขมันอาการมักค่อยเป็นค่อยไป ทำให้หลายคนไม่ทราบว่ากำลังมีภาวะดังกล่าว ถึงแม้ว่าคนที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคตับคั่งไขมัน แต่ถ้าหากพูดถึงอาหารในแง่ของการเป็นปัจจัยสำคัญโดยตรงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคด้วยที่มีปัญหาเรื่องโรคตับคั่งไขมัน มักมีไขมันสะสมในเลือดสูง หลักการรักษาทำได้โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง ในกรณีผู้ป่วยเบาหวานให้ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สัมภาษณ์เมื่อ : 22 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนไม่หลับ

8 ตุลาคม 2566 – การนอนไม่หลับทางการแพทย์เป็นยังไง เราจะต้องรักษาและปรับวิธีพฤติกรรมอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สัมภาษณ์เมื่อ : 29 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาเป็นหนอง

28 กันยายน 2566 – ตาเป็นหนองเกิดจากสาเหตุใด เกิดได้ที่บริเวณไหน และมีวิธีการป้องกันอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การเป็นหนองบริเวณดวงตา แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1.บริเวณเปลือกตา ที่พบบ่อยจะเป็น โรคตากุ้งยิง โดยมักเกิดบริเวณเปลือกตา เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณรอบ ๆ เปลือกตา การรักษาแพทย์จะขูดหนองที่อยู่บริเวณเปลือกตาออก เป็นอีกวิธีที่ทำให้การอักเสบหายได้เร็วขึ้น 2.บริเวณเยื่อบุตา พบบ่อยในโรคตาแดงหรือเยี่อบุตาอักเสบ คือ ภาวะที่เยื่อบุตาเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งเยื่อบุตาเป็นเยื่อเมือกใสที่คลุมตาขาวและบุด้านในของเปลือกตา ติดต่อกันได้ง่ายผ่านการสัมผัสโดยตรงผ่านทางขี้ตาหรือมือสัมผัสโดยตรง 3.บริเวณกระจกตาดำ กลุ่มนี้ถือว่ามีความรุนแรงต่อการมองเห็น สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา เช่น ถูกใบหญ้าหรือพืชผักบาดกระจกตาดำ หรือ การใส่คอนแทคเลนส์ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรค 4.ลูกตาหรือดวงตาเป็นหนอง มักเกิดตามหลังจากการเกิดอุบัติเหตุในดวงตา หรือจากการผ่าตัดดวงตาแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อนมีการติดเชื้อตามมา เป็นภาวะอันตรายสูงมาก มีความสำคัญยิ่งต่อการมองเห็นหากได้รับการรักษาช้า  อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการติดเชื้อที่ตาควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของการติดเชื้อที่ตา สัมภาษณ์เมื่อ : 19 กันยายน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ดวงตาบอกโรค

22 กันยายน 2566 – ดวงตาสามารถบอกโรคเราได้อย่างไร อาการทางตาแบบใดสามารถบอกโรคทางร่างกายได้บ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ประคบตา

21 กันยายน 2566 – การประคบตาที่ถูกต้องควรทำอย่างไร ? อาการแบบไหนควรประคบอุ่น หรือประคบเย็น ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การประคบตาเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบดวงตา กรณีไหนบ้างที่จะแพทย์แนะนำให้ประคบอุ่นหรือประคบเย็น ? อาการที่ควรประคบเย็น โรคภูมิแพ้ : การประคบเย็นทำให้หลอดเลือดหดตัว ลดอาการคันบริเวณดวงตาและลดอาการบวมจากภูมิแพ้ ตาล้า : ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบดวงตา บรรเทาอาการปวดตา ลดอาการแสบเคืองตา บวมช้ำรอบดวงตาจากอุบัติเหตุ : การประคบเย็นช่วยลดการอักเสบจากอุบัติเหตุ และช่วยให้หลอดเลือดหดตัว ลดอาการบวมช้ำได้ วิธีประคบเย็นตา – นำน้ำแข็งและน้ำใส่ในชามใบเล็ก– นำผ้าขนหนูผืนเล็กมาชุบน้ำเย็นในชาม บิดให้หมาดๆ หรือนำน้ำแข็งมาใส่ในผ้าขนหนู– นำผ้าขนหนูมาวางประคบบริเวณดวงตา อาการที่ควรประคบอุ่น การประคบอุ่นบริเวณดวงตาช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น บรรเทาอาการปวด กล้ามเนื้อรอบดวงตาทำให้เส้นเลือดขยายตัว ได้ประโยชน์ในกลุ่มที่อักเสบหรือติดเชื้อ วิธีประคบอุ่นตา – นำผ้าขนหนูผืนเล็กอุ่นหม้อที่ต้มน้ำบิดผ้าให้หมาด– นำออกมาแตะหลังมือตรวจความร้อนให้พอเหมาะ– นำผ้าแห้งมาห่ออีกชั้นหนึ่ง– วางประคบบนตา ในบางกรณี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อันตรายจากเมนูอาหารดิบ

14 กันยายน 2566 ในสังคมไทยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแตกต่างจากอดีตมาก อาหารสุกดิบค่อนข้างแพร่หลาย เช่น ซอยจุ๊ กุ้งดอง หรือแม้แต่ปลาน้ำจืดดิบ เป็นต้น ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดพยาธิและอาจก่อให้เกิดโรคร้ายได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจร่วมกันถึงพฤติกรรมการทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ส่วนใหญ่เชื้อที่พบในเนื้อดิบ มีอะไรบ้าง ? 1.ซอยจุ๊ มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับพยาธิตัวตืด ซึ่งเกิดจากการกินตัวอ่อนพยาธิเข้าไป เมื่อตัวอ่อนเจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ รูปร่างคล้ายก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ พยาธิจะแย่งอาหารในลำไส้ คนติดโรคจะมีอาการหิวบ่อย ปวดบริเวณลิ้นปี่ ไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งท้องร่วง ท้องผูก น้ำหนักตัวลดลง 2.หมึกซ็อต เมนูยอดฮิตนี้อาจทำให้หมึกดิ้นและสำลักลงหลอดลมหรืออุดตันหลอดอาหาร เสี่ยงอันตราย การกินอาหารทะเลดิบโดยไม่ผ่านความร้อนหรือแช่แข็ง มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Vibrio ทำให้ติดเชื้อในทางเดินอาหารรุนแรง มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวปริมาณมาก 3.กุ้งดิบแช่น้ำปลาในกุ้งสด ๆ อาจจะปนเปื้อนเชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) ซึ่งเป็นเชื้อที่พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามชายฝั่งทะเล ในน้ำทะเล อันตรายของเชื้อนี้ทำให้เกิดทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ในบางรายอาจเกิดอาการปวดหัว อาเจียนหรือมีไข้ 4.ปลาน้ำจืดดิบเป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ ในประเทศไทยเป็นแหล่งระบาดของพยาธิใบไม้ตับพบในปลาน้ำจืด ดังนั้นหากจะกินปลาดิบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษา มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ควรเลือกแนวทางการรักษาอย่างไร ควรกินอะไร หรือมีอาหารใดที่ห้ามกิน  ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไข้เลือดออก – สังเกตอาการ และ การรักษา

24 กรกฎาคม 2566 – ไข้เลือดออก โรคร้ายที่หลายคนละเลย เราจะรับมือและป้องกันได้อย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า “ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง แต่หากรุนแรงและรักษาไม่ทันก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ ปี 2566 ประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้น เดือนมกราคม – กรกฎาคม พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรวม 36,000 ราย เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาสูงขึ้นหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคใต้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยสัปดาห์ละ 5,000 ราย หากเทียบกับปี 2565 จะอยู่ในระดับ 1,000-2,000 ราย และพบผู้เสียชีวิตในประเทศ 32 ราย ส่วนมากเป็นผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงมาจากการได้รับวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกช้าหรือมีภาวะแทรกซ้อน อาการโรค โรคไข้เลือดออกอาจมีอาการแสดงเพียงไข้อย่างเดียว ซึ่งในบางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปวดเมื่อยตามตัว […]

1 5 6 7 8
...