ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ใบมะละกอ กับ การรักษามะเร็ง

7 มกราคม 2567 – จริง ๆ แล้ว ใบมะละกอ มีสรรพคุณในการรักษามะเร็งหรือไม่ มีข้อเท็จจริงใดอีกบ้าง ที่ผู้ป่วยมีสิทธิรับรู้ก่อนตัดสินใจลอง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ภญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร  และ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใบมะละกอ กับ การรักษามะเร็ง จากข้อมูลในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุแน่ชัดว่า น้ำต้มใบมะละกอนั้น รักษามะเร็งระยะสุดท้ายได้จริงหรือไม่ บางรายงานก็พบว่า น้ำต้มใบมะละกอ อาจมีฤทธิ์การต้านมะเร็ง แต่เวลานี้ก็ยังไม่มีการศึกษาในคน ภญ.ดร.ผกากรอง กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีความซับซ้อน หากไปดูข้อมูลผู้ป่วยที่ใช้ใบมะละกอ มีการกินปริมาณไม่เข้มข้นมาก ในตัวมะละกอก็จะมีสรรพคุณความเป็นอาหารอยู่ แต่ก็ยังมีข้อห้ามใช้ หรือข้อควรระวังในคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องตับ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็ก เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม กินไปแล้วก็ต้องติดตาม ที่สำคัญคือไม่ควรไปปักใจเชื่อวิธีการใดวิธีการหนึ่งมันจะดี เพราะเรายังไม่มีข้อมูลมาก ส่วนคนที่ออกมาให้ข้อมูลในคลิปที่มีการแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียว่าใช้จริง และหายจริงนั้น มีการให้ข้อมูลว่าตัวเขาใช้ หลังจากแพทย์ไม่ได้ทำการรักษาโรคแล้ว จึงมากินใบมะละกอ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัญหาโรคตาในเด็ก

4 มกราคม 2567 – ปัญหาโรคตา หรือภาวะดวงตาผิดปกติที่เกิดขึ้นในเด็กมีอะไรบ้าง และเราจะป้องกันหรือรักษาได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ปัญหาโรคตาในเด็ก มีอะไรบ้าง ? โรคตาในเด็ก ช่วงวัยที่ 1 (วัยแรกเกิด – ก่อนเริ่มเดินได้) -โรคตาที่ผิดปกติแต่กำเนิด ส่วนมากผิดปกติจากกล้ามเนื้อตา ดังนั้นผู้ปกครองต้องคอยสังเกตว่ามีภาวะขอบล่างของเปลือกตาบน อยู่ต่ำกว่าตำแหน่งปกติ หรือลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติหรือไม่ -จอประสาทตาผิดปกติ สาเหตุหนึ่งมาจากภาวะผิดปกติจากการคลอดก่อนกำหนด โรคตาในเด็ก ช่วงวัยที่ 2 (อายุประมาณ 3-12 ปี) -ตาเข ตาเหล่ มีสาเหตุเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น ผลกระทบจากภาวะสายตาผิดปกติ ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เด็กที่มีภาวะสายตายาว จะเกิดการเพ่งเมื่อใช้สายตา จะมีภาวะตาเขเข้าในตามมา ส่วนเด็กภาวะสายตาสั้นหรือเอียงนั้น จะมีภาวะตาเขออกนอก นอกจากนี้ อีกสาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะตาเข ตาเหล่ ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่สมดุลของกล้ามเนื้อควบคุมดวงตาทั้งสองข้างด้วย -สายตาผิดปกติ  ปัจจุบันพบเด็กช่วงปฐมวัยมีภาวะสายตาผิดปกเพิ่มมากขึ้น สาเหตุเกิดจากกรรมพันธุ์ และพฤติกรรมการใช้สายตาของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดิน

28 ธันวาคม 2566 – เมื่อมีเหตุที่ทำให้ต้องฝึกเดินอีกครั้ง การฟื้นฟูร่างกายโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยฝึกเดิน เหมาะกับผู้ป่วยลักษณะใดบ้าง และคาดหวังผลการรักษาได้มากเพียงใด ศูนย​์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ พญ.มณฑลี สุทธิธรรม แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลธนบุรี หมายเหตุ: เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลธนบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 20 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

25 ธันวาคม 2566 – เมื่อข้อเข่าเสื่อมจนต้องผ่าเปลี่ยนข้อเข่า มีทางเลือกในการผ่าแบบไหนบ้าง และการผ่าโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด มีข้อพึงพิจารณาอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นพ.วรวุฒิ กี่สุขพันธ์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ ผู้ชำนาญการด้านผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม โรงพยาบาลธนบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 20 ธันวาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ หมายเหตุ: เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลธนบุรี

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนหลับตาไม่สนิท หรือตากระต่าย

24 ธันวาคม 2566 – ตากระต่าย หรือนอนหลับตาไม่สนิท เกิดจากสาเหตุใด อันตรายหรือไม่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาโหล เบ้าตาลึก

21 ธันวาคม 2566 – ตาโหล เบ้าตาลึกเป็นยังไง และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคซึมเศร้า – การพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

18 ธันวาคม 2566 – คำพูดใดบ้าง ที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และเราควรจะปฏิบัติกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างไร เพื่อช่วยเหลือและดูแลจิตใจให้เขาหายป่วยได้โดยเร็ว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ : 5 กันยายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจโรคงูสวัด

14 ธันวาคม 2566 – โรคงูสวัดเกิดขึ้นได้ยังไง อันตรายแค่ไหน และจะมีวิธีการป้องกันได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายก สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย หัวหน้า สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีสัมภาษณ์เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566 และ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยหนัก และผู้สูงอายุ สัมภาษณ์เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : น้ำตาเทียม

15 ธันวาคม 2566 – น้ำตาเทียมมีกี่ชนิด ชนิดไหนเหมาะกับใคร และมีวิธีการใช้งานที่ถูกต้องอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : BED BUG รู้จัก “ตัวเรือด”

10 ธันวาคม 2566 – Bed Bug แมลงดูดเลือดที่กำลังแพร่ระบาด แมลงชนิดนี้อันตรายแค่ไหน และเราควรจัดการอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย BED BUG หรือตัวเรือด คืออะไร ? คือ แมลงดูดเลือดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นแมลงตัวเล็กสีดำหรือสีน้ำตาล ลำตัวจะออกแบน รี มีขาแต่ไม่มีปีก มีปากที่แหลม ทั้งตัวผู้และตัวเมียดูดเลือดมนุษย์ ตัวเรือดนั้นสามารถแพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ไข่จะมีสีขาวแต่พอใกล้ฟักตัวจะเป็นสีเข้มข้น ตัวเรือดมักชอบมาอยู่บนที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม หรือรอยแตกตามผนัง ดังนั้น ถ้ารู้สึกว่าตัวอะไรกัดบนที่นอน ให้สันนิษฐานว่าเป็นตัวเรือดไว้ก่อน จะได้เตรียมหาวิธีกำจัดทัน สัมภาษณ์เมื่อ : 23 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : BED BUG ป้องกันและกำจัด “ตัวเรือด”

11 ธันวาคม 2566 – ใครที่วางแผนเดินทางไปต่างประเทศ แต่ได้ยินข่าว Bed Bug แมลงดูดเลือดกำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ควรต้องเตรียมตัวอย่างไร และหากพบตัวเรือดที่บ้าน ต้องกำจัดอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำแนะนำวิธีกำจัดตัวเรือดเบื้องต้น 1. สำรวจแหล่งกบดานของตัวเรือดอยู่ตรงไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นตามโครงเตียง ที่นอน โซฟา ตามซอกหลืบของผนัง ฯลฯ ถ้าพบว่ามีมูลจุดดำเล็ก ๆ เดาไว้ก่อนว่าตรงนั้นต้องมีตัวเรือดอยู่ 2. ใช้ความร้อนกำจัดตัวเรือด การซักด้วยน้ำร้อนอุณหภูมินี้จะทำให้ตัวเรือดถูกฆ่าอย่างรวดเร็วส่วนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นไหนที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ต้องค้น รื้อ ออกมา และใช้สเปรย์กำจัดตัวเรือด ต้องฉีดพ่นให้โดนตัวเรือดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลังจากใช้สเปรย์ฉีดจนทั่วแล้วหรืออาจจะทิ้งของใช้ที่มีตัวเรือด ฟูกที่นอนก็ควรเปลี่ยนใหม่ 3. การใช้สารสกัดสมุนไพร หรือน้ำมันหอมระเหยถือเป็นการไล่ตัวเรือดให้อพยพหนีไปเองได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจว่าตัวเรือดเป็นแมลงสายพันธุ์อึด ถึก พวกมันสามารถแอบซ่อนโดยไม่ต้องออกมากินเลือดได้นานถึง 6 เดือนหรือมากกว่านั้น สัมภาษณ์เมื่อ : 23 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจสาเหตุเด็กมองไม่เห็นกะทันหัน

3 ธันวาคม 2566 ตามองไม่เห็นกระทันหันในเด็ก เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และจะต้องรักษาอย่างไร ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

1 3 4 5 6 7 8
...