นายกฯ นำประชุม ครม. ถกแนวทางแก้ปัญหาม็อบจะนะ
กลุ่มผู้ชุมนุมจะนะ ยังคงปักหลักทำเนียบ รอผลประชุม ครม. ปมนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ด้าน พล.อ.ประวิตร ระบุยังไม่ดำเนินการอะไรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่วนวาระอื่นๆ แต่ละกระทรวงจะทยอยเสนอของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน
กลุ่มผู้ชุมนุมจะนะ ยังคงปักหลักทำเนียบ รอผลประชุม ครม. ปมนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ด้าน พล.อ.ประวิตร ระบุยังไม่ดำเนินการอะไรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่วนวาระอื่นๆ แต่ละกระทรวงจะทยอยเสนอของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน
แกนนำเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ประกาศปักหลักชุมนุม รอฟังความชัดเจนเกี่ยวกับนิคมอุตสหากรรมจะนะ ในการประชุม ครม.วันพรุ่งนี้
กทม.13 ธ.ค.- “เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น” เคลื่อนขบวนสู่ทำเนียบรัฐบาล ปักหลักชุมนุม รอมติ ครม.พรุ่งนี้ ผู้ชุมนุมกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นและเครือข่ายแนวร่วมภาคประชาสังคม เคลื่อนขบวนออกจากด้านหน้าองค์การสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน มุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาล ก่อนประชิดแนวตำรวจควบคุมฝูงชนที่ตั้งแถวขวางขบวนที่เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ผู้ชุมนุมได้นั่งลงเพื่อรอตัวแทนขอเจรจาให้มีการเปิดทางนานกว่า 20 นาที ก่อนที่ผู้ชุมนุมจะเปลี่ยนเส้นทางไปถนนเลียบคลองผดุงกรุงเกษม เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานเทวกรรม มุ่งหน้าสู่สามแยกนางเลิ้ง เพื่อไปยังประตู 1 ทำเนียบรัฐบาล โดยมีกำลังตำรวจควบคุมฝูงชน ตั้งแนวขวางไว้อยู่ที่เชิงสะพานชมัยมรุเชฐ โดยตั้งแต่เคลื่อนขบวนมากว่า 1 ชั่วโมง สถานการณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย.-สำนักข่าวไทย
ไทยสร้างไทยซัดปมสลายชุมนุมเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น หลังมาทวงสัญญยุติโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จี้ รัฐบาลหยุดเล่นการเมือง แนะต้องฟังเสียงประชาชน สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
“ธรรมนัส” สวน ทำงานจบแล้วไม่ได้รับปากหรือสัญญากับชาวจะนะ ยันเข้า ครม. รับทราบถกกันเกือบ ชั่วโมง เชื่อพลาดตรงจุดสื่อสารประชาสัมพันธ์ ส่งผลให้เข้าใจผิด
ส.ส.ชงอนุกมธ.มีส่วนร่วมหาทางออกโครงการจะนะ
ทำเนียบฯ 15 ธ.ค.- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นที่มาปักหลักชุมนุมข้างทำเนียบรัฐบาล ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ประกาศยุติการชุมนุมบริเวณข้างทำเนียบรัฐบาลแล้ว วันนี้ (15 ธ.ค.) และเดินทางกลับบ้าน โดยรัฐบาลสนับสนุนรถโดยสารให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางกลับ หลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาแจ้งต่อกลุ่มผู้ชุมนุมว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติที่ให้ตั้งคณะกรรมการศึกษาผลกระทบต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมเพื่ออนาคตจะนะ มี ร.อ.ธรรมนัส เป็นประธาน และจะให้ทั้งกลุ่มสนับสนุนและคัดค้าน ร่วมหารือแนวทางการแก้ปัญหาการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะ อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีไม่ไดสั่งชะลอโครงการ เพียงเป็นการสั่งชะลอการประชุมผังเมืองใหม่ออกไปก่อน ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนอื่นๆ ของโครงการต้องชะลอไปด้วย “ผมขอดูรายชื่อคณะกรรมการก่อน จึงจะนัดประชุมเพื่อหาทางออก แต่เบื้องต้นจะลงพื้นที่ช่วงต้นปีหน้า” ร.อ.ธรรมนัส กล่าว ขณะที่ ผู้ชุมนุมย้ำว่า หากทุกอย่างไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ก็พร้อมจะกลับมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลทันที .- สำนักข่าวไทย
“ธรรมนัส” เจรจาเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เตรียมลงพื้นที่ด้วยตัวเอง
เจ้าหน้าที่ยังคงวางตู้คอนเทนเนอร์ปิดถนนข้างทำเนียบรัฐบาล หลังเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นปักหลักชุมนุมอยู่ ขณะที่ นายกฯ เลี่ยงเส้นทางเข้าทำเนียบรัฐบาล
องค์การสหประชาชาติ กทม.9 ก.ค.-คณะทำงานเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ยื่นยูเอ็น ขอให้ติดตามโครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมฯ ชี้ไม่เป็นไปตามหลักกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำลายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คณะทำงานเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น นำโดย น.ส.ไครียะห์ ระหมันยะ และนางไซหนับ ยะหมัดยะ เข้ายื่นหนังสือที่องค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) คัดค้านโครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบในหลักการไปก่อนหน้านี้ โดยมอบหมายให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งโครงการนี้ต้องการใช้พื้นที่ชายฝั่งทะเลของตำบลนาทับ ตำบลตลิ่งชัน และตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จำนวน 16,753 ไร่ ให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดที่สุดของภาคใต้ คณะทำงานจะนะรักษ์ถิ่น ระบุว่า ประชาชนทุกคนจะได้ประโยชน์และรัฐจะเปิดโอกาสให้ชาวบ้านสามารถขออะไรก็ได้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่กับนิคมอุตสาหกรรมได้อย่างดี แต่ทางเครือข่ายเห็นว่าโครงการนี้จะสร้างปัญหาให้กับประชาชนในอนาคตหลายมิติ และการเริ่มต้นโครงการนี้กำลังสร้างความขัดแย้งอย่างหนักในพื้นที่อันเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างจากการไม่เข้าใจถึงข้อเท็จจริงของโครงการ และเห็นว่าศอ.บต. และกลุ่มทุนที่ร่วมขับเคลื่อนโครงการ พยายามรวบรัดขั้นตอนกระบวนการดำเนินงาน โดยไม่สนใจระเบียบปฏิบัติทางกฎหมายและสภาวะทางสังคม วัฒนธรรมของคนในพื้นที่ อีกทั้ง โครงการนี้สร้างความเสียหายให้กับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในอนาคต ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสภาพของชายหาดอย่างรุนแรง รวมทั้งสภาพอากาศจากมลพิษโรงงานจำนวนมากและน้ำเสียที่จะปล่อยลงสู่ทะเล และจากการที่มีผู้ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านเรื่องนี้ถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่ ดังนั้น ทางเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ขอให้องค์การสหประชาชาติติดตามการดำเนินงานของรัฐบาลที่เกี่ยวกับการอนุมัติโครงการภายใต้แนวคิดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนและหลักสิทธิมนุษยชน และติดตามตรวจสอบและทำความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในกรณีที่ละเมิดสิทธิมนุษย์ชนสิทธิชุมชนและหลักการป้องกันคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตลอดทั้งการคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายใต้สนธิสัญญากติการะหว่างประเทศที่รัฐไทยได้ผูกพันไว้ และขอให้ติดตามและสังเกตการณ์ ที่ ศอ.บต. จะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 […]