เอกชนขอลดค่า ft งวดที่ 2 ค่าไฟไม่เกิน 5 บาท
เอกชนห่วงค่าไฟ ทำต้นทุนการผลิตสูง เสนอลดค่าไฟ ft งวดที่ 2 เดือน พ.ค.-ส.ค. ชี้ค่าไฟต้องไม่เกิน 5 บาท
เอกชนห่วงค่าไฟ ทำต้นทุนการผลิตสูง เสนอลดค่าไฟ ft งวดที่ 2 เดือน พ.ค.-ส.ค. ชี้ค่าไฟต้องไม่เกิน 5 บาท
กกพ. เดินหน้าพัฒนาการกำกับรองรับการแข่งขัน ถอดบทเรียนจากวิกฤตพลังงานเดินหน้าพัฒนากลไกการกำกับรองรับการใช้พลังงานหมุนเวียน หวังลดพึ่งพาก๊าซธรรมชาติต้นเหตุทำค่าไฟแพง พร้อมเตรียมประกาศ “ค่าไฟสีเขียว” ติดอาวุธเอกชนในเวทีการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ
คนใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน จ่ายเต็มไปก่อน เดือน ม.ค. หลังจากนั้นบิลค่าไฟฟ้าจะลดย้อนหลัง ตามมติ กบง. ช่วยลดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านที่ใช้ไฟไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน โดยวงเงินที่ ปตท. สนับสนุนราว 4.3 พันล้านบาท
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เผยทิศทางราคาพลังงานทรงตัวระดับสูง กดดันต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับสูงขึ้น ชี้การขึ้นค่าไฟฟ้าที่อัตรา 5.33 บาทต่อหน่วย ทำต้นทุนเพิ่มเฉลี่ย 4.88% ขณะที่ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าพุ่งถึง 12.41% แนะผู้ประกอบการหาแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อลดต้นทุนการผลิต
โตเกียว 10 ม.ค.- ดัชนีราคาผู้บริโภคในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นเดินหน้าสูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ถือว่าเร็วที่สุดในรอบ 40 ปี ชาวกรุงโตเกียวเดือดร้อนหนักจากค่าไฟฟ้า ค่าแก๊ส และราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่นแจ้งว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคใน 23 เขตพิเศษของกรุงโตเกียวเมื่อเดือนธันวาคม 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากเดือนธันวาคม 2564 เป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับจากเดือนเมษายน 2525 ราคาขายปลีกอาหาร ซึ่งไม่รวมอาหารสดที่มักมีราคาผันผวนตามสภาพอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 สูงที่สุดนับจากเดือนสิงหาคม 2519 เนื่องจากร้านค้าปรับขึ้นราคาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ค่าแก๊สและค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 และ 26 ตามลำดับ ดัชนีราคาผู้บริโภคในกรุงโตเกียวโดยรวมสำหรับปี 2565 ทั้งปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 มากที่สุดในรอบ 30 ปี โดยไม่รวมผลกระทบจากการขึ้นภาษีขายจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 10 เมื่อเดือนตุลาคม 2562 ดัชนีราคาผู้บริโภคในกรุงโตเกียวถือเป็นตัวชี้วัดดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งประเทศญี่ปุ่น.-สำนักข่าวไทย
กกร. หารือนอกรอบกับภาครัฐ ร่วมหาทางออกลดต้นทุนพลังงาน ฝ่าวิกฤติไปด้วยกัน ขอบคุณฟังเสียงภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าไฟครั้งนี้ แม้ไม่ได้ตรึงราคาตามข้อเสนอของภาคเอกชน แต่ถือว่าช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
กกพ.ทบทวนค่าไฟฟ้าเอฟทีใหม่ หลังจาก ปตท.- กฟผ. ทบทวนประมาณการสมมุติฐานต้นทุน ตามนโยบายรัฐบาล ส่งผลผู้ใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต้องจ่ายค่าเอฟที 154.92 สตางค์ต่อหน่วย จากเดิมที่ต้องจ่ายค่าเอฟที 190.44 สตางค์ต่อหน่วย ดังนั้นผู้ใช้ไฟฟ้าในกลุ่มนี้ จึงต้องจ่ายค่าไฟฟ้า 5.33 บาทต่อหน่วย ในรอบบิลค่าไฟฟ้า ม.ค. – เม.ย.66
กลุ่มเอกชนได้เฮ! ค่าไฟฟ้าได้ลดเพิ่มจากประมาณการเดิมอีก 35 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งปรับการบริหารจัดการเชื้อเพลิง และ กฟผ.ยอมให้ผ่อนชำระหนี้ค่าไฟฟ้าจาก 2 ปีเป็น 3 ปี ด้าน กกพ.บี้ ปตท.ต่อ ขอเงิน ผิดสัญญาการผลิตของเชฟรอน แหล่งเอราวัณ 4-5 พันล้านบาท มาลดค่าไฟแบบขั้นบันไดเพิ่ม
กรุงเทพ27.ธ.ค.-บอร์ด ปตท. เคาะแนวทางช่วยเหลือค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ลดต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซฯผลิตไฟฟ้าเทียบเท่า 6,000 ล้านบาท ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล
พรรคเพื่อไทย เห็นด้วย สภาอุตสาหกรรมฯ หยุดการขึ้นค่าไฟฟ้า ชี้ ความสามารถแข่งขันไทยจะลด เวียดนามหน่วย 2.88 บาท แนะ 4 แนวทางลดค่าไฟฟ้าในระยะสั้นและระยะยาว
กพช. เคาะแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ฝ่าวิกฤติราคาพลังงาน มกราคม – เมษายน 2566 ให้ ปตท.ร่วมรับภาระ 6 พันล้านบาท ปรับสูตรไฟฟ้าบ้านให้เหมาะสม ย้ำดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ไม่ขึ้นค่าไฟฟ้า
ชาวอังกฤษไม่ทนค่าไฟและข้าวของแพง รวมตัวชุมนุมในหลายสิบเมืองทั่วสหราชอาณาจักร เพื่อประท้วงการปรับขึ้นค่าก๊าซและค่าไฟฟ้า ด้วยสโลแกน “ไม่จ่าย”