พื้นที่ป่าอนุรักษ์ แก้ปัญหาคนกับช้าง ภายใต้โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์

โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ แก้ปัญหาคนกับช้าง พัฒนาระบบติดตามและเฝ้าระวังช้างป่า ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านเครือข่ายชุดเฝ้าระวัง สร้างระบบเตือนภัยชุมชน ผ่านกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าอัตโนมัติ ซึ่งดำเนินงานโดย “ศูนย์ปฏิบัติการคชานุรักษ์” เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของช้างป่า พื้นที่ต้นแบบพื้นที่ป่าอนุรักษ์สร้างแหล่งน้ำและอาหารให้มีความอุดมสมบูรณ์ พืชอาหารช้าง ทุ่งหญ้าอาหารช้าง และโป่งดิน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง ขณะเดียวกัน ก็พยายามผลักดันให้ช้างกลับเข้าไปอยู่ในป่า

หมู่บ้านคชานุรักษ์ สมดุลคนและช้าง ภายใต้โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์

19 ก.ย.- สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. พาคณะสื่อมวลชนเดินทางลงพื้นที่โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ หรือหมู่บ้านคชานุรักษ์ ในจังหวัดระยอง และจันทบุรี เยี่ยมชมแปลงเกษตรชุมชน การปรับเปลี่ยนวิถีการเพาะปลูกพืช เรียนรู้วิธีอยู่กับช้างป่า จากปัญหาช้างป่าทำลายพืชผลการเกษตร นายสมชาย รถทอง ผู้ใหญ่บ้านเนินจำปา หมู่ 3 ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เปิดเผยถึงโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ที่เริ่มนำร่องฟื้นฟูพื้นที่ป่า ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม สร้างแหล่งน้ำใหม่ สร้างฝายชะลอน้ำ แหล่งอาหารสัตว์ป่าและโป่งเทียม พัฒนาคน ป่า แนวกันชนเส้นอยู่ระหว่างป่ากับชุมชน พร้อมกับสร้างระบบเตือนภัยชุมชน ผ่านกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าอัตโนมัติ ซึ่งดำเนินงานโดยศูนย์ปฏิบัติการคชานุรักษ์ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของช้างป่า โดยเฉพาะช้างที่มีแนวโน้มเดินออกนอกเส้นทางที่ควรเดิน ช่วยลดความสูญเสียที่อาจเกิดต่อชุมชน และนำข้อมูลการเดินของช้างมาใช้วางแผนฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศัยของช้าง โดยเริ่มมีหมู่บ้านนำร่องแปลงวิสาหกิจชุมชนสมาชิก 30 ราย ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก เป็นกรณีความขัดแย้งหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การแก่งแย่งเรื่องถิ่นที่อยู่อาศัย ปัญหาประชากรช้างป่า รวมถึงกรณีการปะทะระหว่างคนและช้างทั้งโดยเจตนาและโดยบังเอิญ จนอาจเกิดอันตราย และกรณีพืชผลทางการเกษตรที่เสียหาย เนื่องจากช้างป่าเคลื่อนย้ายมาหากิน หรือเคลื่อนที่ผ่านพื้นที่เพาะปลูก ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ “อาธร เอี่ยมละออ” […]

แก้ปัญหาความขัดแย้งคนกับช้างพื้นที่เกษตร

ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าเกือบ 5,000 ครั้ง สร้างความเสียหายให้กับพืชผลการเกษตรของชาวบ้าน และที่สำคัญเกิดเป็นความขัดแย้งของคนกับช้างป่า ส่งผลให้มีช้างป่าต้องตายไปมากกว่า 30 ตัว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามแก้ปัญหานี้

สีสันเศรษฐกิจ : ผึ้งช่วยแก้ปัญหาคนกับช้างที่แอฟริกาใต้

ปัญหากระทบกระทั่งระหว่างคนกับช้างป่าที่บุกเข้ามาทำลายพืชผลการเกษตร ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในไทย แต่ในประเทศแอฟริกาใต้ก็เกิดกรณีแบบเดียวกัน ไปดูแนวทางแก้ปัญหาว่า จะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

...