“พวงเพ็ชร” จ่อเซ็น MOU สื่อใหญ่จีน ร่วมป้องกันข่าวลวง-ภัยไซเบอร์
“พวงเพ็ชร” เตรียมเซ็น MOU กับสื่อใหญ่จีน ร่วมมือป้องกันข่าวลวง-อาชญากรรมทางไซเบอร์-แก๊งคอลเซ็นเตอร์
“พวงเพ็ชร” เตรียมเซ็น MOU กับสื่อใหญ่จีน ร่วมมือป้องกันข่าวลวง-อาชญากรรมทางไซเบอร์-แก๊งคอลเซ็นเตอร์
อนุราธปุระ 2 มิ.ย.- ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิในศรีลังกาเกิดข่าวลวงสะพัดหลายครั้ง รวมถึงข่าวลวงเรื่องต้นไม้ได้รับความเสียหายจากคลื่นสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 5 จี (5G) ต้นพระศรีมหาโพธิ์ปลูกอยู่ในเมืองอนุราธปุระ ที่เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสิงหล เป็นต้นไม้อายุ 2,300 ปี เชื่อกันว่า โตมาจากหน่อของต้นพระศรีมหาโพธิ์ในอินเดียที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งขณะตรัสรู้เมื่อกว่า 2,500 ปีก่อน ถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิและสัญลักษณ์ของศรีลังกาที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน จากทั้งหมด 22 ล้านคน ข่าวลวงแรกที่อ้างว่า ต้นไม้กำลังตกอยู่ในอันตรายปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ท้องถิ่น โดยอ้างว่าคลื่นความถี่ 5 จีจากสถานีฐานหลายแห่งที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ใบของต้นพระศรีมหาโพธิ์เปลี่ยนเป็นสีดำ และกำลังเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะยืนต้นตาย ข่าวลวงนี้แพร่กระจายไปทั่วสื่อสังคมออนไลน์ในศรีลังกาอย่างเฟซบุ๊กและวอตส์แอปป์ มีพิธีกรคนหนึ่งนำข่าวลวงนี้ไปเผยแพร่ต่อในช่องยูทูป นอกจากนี้ยังมีข่าวลือว่า เจ้าอาวาสของวัดที่ดูแลต้นไม้ต้นนี้รับเงินจากบริษัทโทรคมนาคมให้ตั้งสถานีฐานใกล้วัด เจ้าอาวาสวัย 68 ปี จึงได้ร้องเรียนต่อประธานาธิบดีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งได้สั่งการให้ตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญขึ้นตรวจสอบโดยทันที ผู้อำนวยการคณะกรรมาธิการกำกับดูแลโทรคมนาคมเผยว่า มีสถานีฐานเก่า 4 แห่งตั้งอยู่ภายในรัศมี 500 เมตรจากต้นไม้ แต่ไม่พบคลื่นความถี่ 5 จีตามที่มีกระแสข่าวลือ อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวยังมีปริมาณรังสีต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ด้วย ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤกษศาสตร์ยืนยันว่า ไม่มีอันตรายจากคลื่นความถี่ 2จี, 3จี และ 4จีที่มีอยู่ในปัจจุบัน […]
บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ สืบเนื่องจากกระแสทั่วโลกที่ “ข่าวปลอม” “ข่าวลวง” ข้อมูลเท็จโหมกระหน่ำ และ ลามไปถึงการหลอกลวงในรูปแบบภัยไซเบอร์ ซึ่งไม่เพียงสร้างความความเข้าใจผิดทางสุขภาพ การเมือง กฎหมาย ข่าวสาร แต่ยังสร้างความเดือดร้อนถึงตัวตนและทรัพย์สินแก่ผู้คนมากมาย วันที่ 2 เมษายน 2566 จึงถูกกำหนดไว้ให้เป็น International Fact-Checking Day หรือ วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล ซึ่งวัตถุประสงค์ของการกำหนดวันนี้ขึ้นมา ก็ตรงไปตรงมาตามชื่อ นั่นคือ วันที่จะร่วมกันรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือ Fact-Checking หรือถ้าแปลเป็นไทยง่าย ๆ คือ การตรวจสอบข่าวปลอม การจับข่าวลวง เราจึงได้ยินการเรียกขานวันนี้ว่า “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” หรือแม้แต่ “วันชัวร์ก่อนแชร์” วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล นับเป็น “วันตั้งใหม่” เมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลของเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล (International Fact-Checking Network หรือ IFCN) บันทึกไว้ว่า วันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล หรือ IFCD ถูกกล่าวถึงในการประชุมเครือข่ายเมื่อปี […]
ฮาราเร 10 มิ.ย.- ชาวซิมบับเวกำลังเดือดร้อนหนักกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงถึง 1.3 เท่า เพราะมีปัญหาในการซื้ออาหารหาเลี้ยงครอบครัว จนมีข่าวลวงแพร่สะพัดทางออนไลน์ว่า ประชาชนถึงกับต้องตัดนิ้วเท้าขาย รัฐมนตรีช่วยกระทรวงข่าวสารซิมบับเว ซึ่งเป็นประเทศในแอฟริกา ออกตรวจตามท้องถนนเมื่อเดือนก่อนและขอให้พ่อค้าแม่ค้าถอดรองเท้าให้ดูเพื่อยืนยันว่ายังมีนิ้วเท้าครบทั้ง 10 นิ้ว ต่อมาตำรวจได้จับกุมพ่อค้าคนหนึ่งที่เป็นต้นตอปล่อยข่าวลวง และตั้งข้อหาก่อความเดือดร้อนรำคาญ มีโทษปรับหรือจำคุก 6 เดือน อย่างไรก็ดี สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงก็ไม่ได้ดีเท่าใดนัก สถิติของทางการระบุว่า นับตั้งแต่เกิดสงครามยูเครน อัตราเงินเฟ้อของซิมบับเวทะยานได้ขึ้นจากร้อยละ 66 ไปสูงกว่าร้อยละ 130 แล้ว รัฐมนตรีคลังซิมบับเวแถลงต่อรัฐสภาเมื่อเดือนพฤษภาคมว่า สงครามยูเครนและปัญหาความไม่สมดุลในประเทศที่เกิดขึ้นมายาวนานได้ทำให้เศรษฐกิจไร้เสถียรภาพ เห็นได้จากค่าเงินผันผวนและราคาสินค้าผันผวน ขณะที่สหภาพครูทวีตผ่านทวิตเตอร์เมื่อต้นเดือนมิถุนายนว่า ครูไม่สามารถหาเลี้ยงปากท้องได้แล้ว ขอให้รัฐบาลจ่ายเงินเดือนเป็นดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากดอลลาร์ซิมบับเวอ่อนค่าภายในช่วงข้ามคืน นักวิเคราะห์ชี้ว่า อัตราเงินเฟ้อสูงทำให้เงินในประเทศไม่ได้รับความเชื่อถืออีกต่อไป หลายคนเกรงว่า ประเทศจะกลับไปซ้ำรอยปี 2551 ที่เงินเฟ้อสุดขีดถึง 5 พันล้านเท่าตามข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ช่วงเวลานั้นธนบัตรชนิด 1 แสนล้านดอลลาร์ซิมบับเวเต็มถุงพลาสติกหลายใบก็ยังไม่เพียงพอที่จะซื้อของชำจำเป็นได้.-สำนักข่าวไทย
คลังเริ่มพิจารณาโครงการ “คนละครึ่ง ระยะที่ 4” คาดเปิดลงทะเบียนกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ เตือนอย่าเชื่อข่าวลวงเปิดลงทะเบียน 16 ม.ค.
เตือน! อย่าหลงเชื่อ 2 ข่าวลวงใหม่ ฟ้าทะลายโจรป้องกันโควิด-แอปฯ เป๋าตังกู้เงินได้ ด้าน สสส. เปิดรายงานครบรอบ 1 ปี นวัตกรรม “โคแฟค”
สังคมออนไลน์ในปี 2562 มีข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพมากมาย หลายข่าวทำให้สังคมรู้ตระหนักถึงโรคภัยรอบตัวแต่ก็มีบางข่าวที่ถูกแชร์ไปแล้วกลับทำให้สังคมยิ่งสับสน ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
เฟซบุ๊กเผยได้แจ้งเตือนแก้ไขใต้โพสต์ของผู้ใช้งานแล้วตามกฎหมายข่าวลวงของสิงคโปร์ แต่ก็ขอให้สิงคโปร์บังคับใช้กฎหมายโดยปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นของประชาชนด้วย
ทางการอินโดนีเซียแจ้งว่า เกิดข่าวลวงแพร่สะพัดว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่าเดิม หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 เขย่าหมู่เกาะโมลุกกะ
8 องค์กรลงนามร่วมประกาศปฏิญญารวมพลังขับเคลื่อนต่อต้านข่าวลวงข่าวปลอม พร้อมเปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนบทเรียนระหว่างประเทศ
“บิ๊กโจ๊ก”เผยตั้งกรอบเวลา 7 วันให้ชุดทำงานตรวจสอบผู้ปลอมแปลงราชกิจจานุเบกษาและปลอมแปลงข่าวลวง หลังพบต้นตอเซิร์ฟเวอร์มาจากโซนยุโรป ก่อนเสนออนุมัติหมายจับ
อินโดนีเซียเร่งปราบปรามข่าวเท็จเกี่ยวกับแผ่นดินไหวและสึนามิ ซึ่งตำรวจจับกุมตัวได้ 9 คนฐานเผยแพร่ข่าวโกหก