เข้มเฝ้าระวังอุทกภัยภาคใต้ โดยเฉพาะ “หาดใหญ่” พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ

กรมชลประทาน เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำภาคใต้ตอนล่าง ที่ปัจจุบันปริมาณฝนจะมากกว่าค่าปกติ 27% สั่งโครงการชลประทานสงขลาเฝ้าระวัง “เทศบาลนครหาดใหญ่” ซึ่งเป็นเศรษฐกิจสำคัญแห่งหนึ่ง รวมถึงพื้นที่เสี่ยง จ.พัทลุง ตรัง และสตูล ในห้วงฤดูฝนของภาคใต้

กรมชลฯ สั่งเฝ้าระวังจุดเสี่ยงภัยจากฝนตกหนักภาคใต้ระยะนี้

อธิบดีกรมชลประทานสั่งโครงการชลประทานภาคใต้เฝ้าระวังจุดเสี่ยงภัยน้ำท่วม ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือน โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่างที่อาจมีน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลากระหว่างวันที่ 4-6 พ.ย. นี้

กรมชลฯ เร่งระบายน้ำท่วมขังมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กรมชลประทานเร่งช่วยเหลือและฟื้นฟูพื้นที่น้ำลดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ล่าสุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เร่งระบายน้ำจากพื้นที่รับน้ำของมหาวิทยาลัยราชธานีเพื่อให้เปิดทำการเรียนการสอนได้ตามปกติโดยเร็ว สำหรับถนนสายต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานีที่ถูกน้ำท่วมก่อนหน้านี้ น้ำลดและใช้สัญจรได้ทุกสายแล้ว

ระดมสูบน้ำท่วมขังช่วย “อ่างทอง-สิงห์บุรี”

ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลดลงต่อเนื่อง แต่ที่ลุ่มต่ำบางแห่งยังมีน้ำท่วมขัง ล่าสุดโครงการชลประทานอ่างทอง เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ระดมสูบน้ำที่ค้างในทุ่ง ช่วย 3 อำเภอ เช่นเดียวกับสิงห์บุรี เร่งสูบน้ำจาก อ.พรหมบุรี คาดกลับสู่ภาวะปกติใน 2-3 วันนี้

เร่งระบายน้ำเจ้าพระยา ระดับน้ำท่วมขังลงเร็วกว่าไทม์ไลน์เดิม

กรุงเทพฯ 1 พ.ย. – อธิบดีกรมชลประทานเผย ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการลดการระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเร็วกว่าไทม์ไลน์เดิม จะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำอ. เสนา บางบาง จ. พระนครศรีอยุธยา และอ. ป่าโมก จ. อ่างทองกลับสู่ระดับตลิ่งในวันที่ 10-11 พ.ย. นี้ ตลอดจนเร่งบูรณาการคลี่คลายสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำท่าจีนตามคำสั่งกอนช. 

ระดมติดตั้งเครื่องจักรเครื่องมือพร้อมรับฝน-พายุภาคใต้

อธิบดีกรมชลประทานสั่งทุกโครงการชลประทานในภาคใต้ ให้พร้อมปริมาณฝนที่จะเพิ่มขึ้น เสริมเครื่องจักรเครื่องมือ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องสูบน้ำประจำจุดเสี่ยง เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยที่อาจเกิดได้ ย้ำต้องติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า อาจมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าใกล้หรือเข้าสู่ภาคใต้ในเดือนพ.ย.-ธ.ค. นี้

กรมชลฯ พร้อมบูรณาการฟื้นฟูพื้นที่น้ำท่วมตามคำสั่งกอนช.

อธิบดีกรมชลประทานเผย คาดการณ์สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยากลับสู่ภาวะปกติกลางเดือนพ.ย. พร้อมกำหนดแผนบูรณาการหน่วยงานต่างๆ เข้าฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยตามคำสั่งกอนช.

เร่งระบายน้ำมูล กู้ถนน-ส่งประชาชนกลับบ้าน

อธิบดีกรมชลประทานเผย ยังคงเดินเครื่องผลักดันน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำลำน้ำมูลลงสู่แม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ถนนสายต่างๆ เริ่มกลับมาสัญจรได้ หลายพื้นที่น้ำลดแล้ว จึงจัดชุดปฏิบัติการเข้าร่วมฟื้นฟูความเสียหาย ส่งประชาชนกลับสู่บ้านเรือน โดยคาดว่า ลำน้ำมูลจะลดลงจนเข้าสู่ระดับตลิ่งกลางเดือนพ.ย. นี้

เขื่อนอุบลรัตน์ยังเกินความจุ แต่ปรับลดระบายน้ำต่อเนื่อง

เขื่อนอุบลรัตน์ ปรับลดการระบายน้ำลงกว่าแผนเดิม แม้น้ำยังเกินความจุ เนื่องจากปริมาณน้ำไหลเข้าเริ่มลดลงทำให้สามารถปรับลดเพื่อช่วยพื้นที่ด้านท้ายได้ ด้านกรมชลประทานแจงเหตุไม่เปิดรับน้ำที่ระบายจากเขื่อนอุบลรัตน์เข้าคลองในระบบชลประทานพื้นที่อำเภอน้ำพองเนื่องจากจะทำให้น้ำไหลเข้าสู่เขตเศรษฐกิจ อำเภอเมืองขอนแก่น

กรมชลฯ ระดมสูบระบายน้ำ ลดน้ำท่วมขัง-น้ำเสีย

กรมชลประทานนำรถสูบน้ำเคลื่อนที่เร็ว เร่งสูบน้ำในอ. สรรพยา จ. ชัยนาทและอ. อินทร์บุรี จ. สิงห์บุรีเพื่อลดระดับน้ำที่ท่วมขัง ทั้งยังช่วยป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสีย ชาวบ้านต่างดีใจเนื่องจากจะช่วยให้น้ำที่ท่วมมานาน ลดระดับลงอย่างรวดเร็ว

คาดระดับน้ำเจ้าพระยาจะต่ำกว่าตลิ่งต้นเดือนพ.ย.

กรมชลประทานปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาต่อเนื่องทุกวัน คาดจะระบายต่ำกว่า 2,000 ลบ.ม./วินาทีต้นเดือนพ.ย. ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาที่ยังล้นตลิ่งลดลงจนอยู่ในลำน้ำ พร้อมเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เสริมประสิทธิภาพการระบายน้ำ เพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

1 9 10 11 12 13 49
...