กรมควบคุมโรคติดตาม-เฝ้าระวังเชื้อไวรัสเลย์วีในประเทศจีน ใกล้ชิด
กรมควบคุมโรคติดตามสถานการณ์พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเลย์วี ในประเทศจีน อย่างใกล้ชิด โดยเชื้อไวรัสเลย์วีแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คน หนูผีอาจเป็นพาหะในการแพร่เชื้อ เผยยังไม่พบแพร่ระบาดจากคนสู่คน
กรมควบคุมโรคติดตามสถานการณ์พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเลย์วี ในประเทศจีน อย่างใกล้ชิด โดยเชื้อไวรัสเลย์วีแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คน หนูผีอาจเป็นพาหะในการแพร่เชื้อ เผยยังไม่พบแพร่ระบาดจากคนสู่คน
อธิบดีกรมควบคุมโรคย้ำลดระดับเตือนภัยโควิดเหลือโรคติดต่อเฝ้าระวัง เริ่ม 1 ต.ค.นี้ สอดคล้องกับสถานการณ์ หลัง WHO เตรียมทบทวนระดับเตือนภัยโรคเช่นกัน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์และแนะแนวทางการป้องกันควบคุมโรคฝีดาษวานรอย่างใกล้ชิด พบผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ไม่ได้ติดต่อกันได้ง่ายๆ
กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนรับประทานเนื้อวัว-ควายสด ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงโรคพยาธิ เช่น ตืดวัวควาย โรคโปรโตซัวในลำไส้ซาร์โคซิสติส และยังมีโรคแบคทีเรียอื่น ๆ เช่น โรคแอนแทรกซ์ ซาลโมเนลลา แคมไพโลแบคเตอร์ อีโคไล ฯลฯ แถมท้ายด้วยโรคที่เป็นเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าได้ด้วย
กรมควบคุมโรค เข้มมาตรการคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศ พร้อมเตือนกลุ่มเสี่ยงลดการสัมผัสใกล้ชิดและมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก จะช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานรได้ แนะประชาชนปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention เน้นล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย และลดการสัมผัสใกล้ชิดคนแปลกหน้า
กรมควบคุมโรค เผยคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติฯ กำชับให้กรมควบคุมโรค กำกับติดตามและประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ เร่งติดตามค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกรณีผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร รายที่ 2 เพื่อดำเนินการสอบสวนโรคเพิ่มเติม
กรมควบคุมโรค เผยผลการเฝ้าระวังโรคฝีดาษวานรในผู้เดินที่ทางมาจากพื้นที่ระบาดจำนวนเกือบ 3,000 คน พบผู้มีอาการสงสัย 1 ราย ตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่เข้าเกณฑ์ฝีดาษวานร พร้อมย้ำฝีดาษวานรไม่ได้ติดง่ายเหมือนโควิด-19
“อนุทิน” จัดกำลังล่าตัวผู้ป่วยฝีดาษวานรหลบหนี สอบสวนโรค ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม
หลายหน่วยงานเร่งล่าตัวหนุ่มไนจีเรีย ตรวจพบเชื้อฝีดาษวานรรายแรกในไทย เตลิดหนีออกจากภูเก็ต พบข้อมูลบินมาจากประเทศเอธิโอเปีย เมื่อปลายปี 2564
จังหวัดภูเก็ตเตรียมแถลงข่าวความคืบหน้าและมาตรการรับมือ กรณีพบชายชาวไนจีเรียป่วยด้วยโรค “ฝีดาษวานร” รายแรกของไทย เบื้องต้นมีรายงานพบผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 6-7 ราย
กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนระวังภัยที่มากับหนู เช่น การถูกหนูกัดตามร่างกาย การกัดแทะทำลายข้าวของ และการติดโรคที่มากับหนู ได้แก่ โรคฉี่หนู กาฬโรค (จากหมัดหนู) สครับไทฟัส (จากไรหนู) เป็นต้น โดยเฉพาะโรคฉี่หนู ซึ่งติดต่อจากสัตว์สู่คนที่มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝนและพื้นที่น้ำท่วมขัง
กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก และเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อในประเทศอย่างใกล้ชิด เผยโรคติดต่อมีความรุนแรงน้อย หายเองได้ และอัตราป่วยตายต่ำ